วันที่ 1 กันยายนของทุกปี ถูกยกให้เป็นวันรำลึกการจากไปของ ‘สืบ นาคะเถียร’ นักอนุรักษ์ ผู้เสียสละชีวิตตัวเองเพื่อปกป้องผืนป่าและสัตว์ป่า และทำให้ผืนป่าห้วยขาแข้งได้รับการประกาศให้เป็นมรดกทางธรรมชาติแห่งแรกของไทย โดยปีนี้นับเป็นปีที่ 33 แล้ว ที่การเสียสละของเขาได้สร้างการตระหนักรู้ให้มนุษย์หันมาหวงแหนผืนป่าและสัตว์ป่ากันมากขึ้น
โดยเพจ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ได้โพสต์ข้อความรำลึก 33 ปี ‘สืบ นาคะเสถียร’ โดยยกวาทะตอนหนึ่งของชายผู้นี้มาย้ำเตือนคนไทยอีกครั้งว่า
“จะเป็นไปได้ไหมที่รัฐจะเปิดใจกว้าง โดยการให้ทุกฝ่าย ทั้งประชาชน ผู้นำในท้องถิ่น ผู้แทนราษฎร นักวิชาการที่เกี่ยวข้องมาพูดคุยร่วมกัน คือบางคนอาจจะต้องยอมรับสถานภาพของบางกลุ่ม ข้าราชการอาจจะต้องยอมรับสถานภาพของประชาชน คือ ลดตัวลง ในขณะเดียวกันก็เท่ากับเพิ่มฐานะของเขาให้ขึ้นมามีส่วนในการแก้ปัญหาร่วมกัน แทนที่จะพูดกันคนละที
“ในปัจจุบันเราอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถที่จะคุยกันได้ หรือคุยกันคนละทาง รัฐอาจพัฒนาประเทศตามแนวทางที่รัฐคิด ในขณะเดียวกันประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่เดือดร้อนก็จัดการชุมนุม หรือว่ามีการสัมมนา อภิปรายอะไรต่างๆ ผมจึงคิดว่าเรื่องนี้มีทางออก คือ รัฐบาลเปิดใจกว้าง แล้วให้ทุกฝ่ายเสนอข้อขัดข้อง ระบบเก่าๆ ที่ว่าข้าราชการเป็นนายของชาวบ้าน หรือว่าใช้อำนาจหน้าที่ในการปกครอง ผมคิดว่ามันหมดยุคไปแล้ว
“มันควรจะมาถึงยุคที่ทุกคนมีความเสมอภาคในการแสดงความคิดเห็น ช่วยกันแก้ปัญหา เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมมันไม่ได้เกิดกับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง”
- สืบ นาคะเสถียร -
31 ธันวาคม พ.ศ. 2492 – 1 กันยายน พ.ศ. 2533
ขณะที่เพจ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้โพสต์ข้อความพร้อมรูปภาพของเหล่าอนุรักษ์ที่มารวมตัวกันจุดเทียนหน้ารูปปั้น ‘สืบ นาคะเสถียร’ เมื่อช่วงคืนวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมา เพื่อรำลึกถึงการจากไป และย้ำเตือนถึงเจตนารมณ์ของการอนุรักษ์และการอยู่รวมกับธรรมชาติเช่นทุกปี
สำหรับ ‘สืบ นาคะเสถียร’ เสียชีวิต เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2533 ขณะดำรงตำแหน่งหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เพื่อเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนหันมาสนใจปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้และสัตว์ป่าอย่างจริงจัง และในวันที่ 18 กันยายน ปีเดียวกัน แนวร่วมนักอนุรักษ์ได้ร่วมกันก่อตั้งมูลนิธิสืบนาคะเสถียรขึ้น เพื่อสืบทอดเจตนาในทำงานเพื่อดูแลผืนป่าห้วยขาแข้งและผืนป่าตะวันตกต่อไป
โดยวันที่ 8 – 10 กันยายนนี้ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ได้จัดกิจกรรมรำลึก ‘สืบ นาคะเสถียร’ ที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยมีทั้งวงเสวนาเรื่องผืนป่า และร่วมฟังดนตรีพร้อมกันเต็มอิ่มตลอด 3 วัน
โดยเพจ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ได้โพสต์ข้อความรำลึก 33 ปี ‘สืบ นาคะเสถียร’ โดยยกวาทะตอนหนึ่งของชายผู้นี้มาย้ำเตือนคนไทยอีกครั้งว่า
“จะเป็นไปได้ไหมที่รัฐจะเปิดใจกว้าง โดยการให้ทุกฝ่าย ทั้งประชาชน ผู้นำในท้องถิ่น ผู้แทนราษฎร นักวิชาการที่เกี่ยวข้องมาพูดคุยร่วมกัน คือบางคนอาจจะต้องยอมรับสถานภาพของบางกลุ่ม ข้าราชการอาจจะต้องยอมรับสถานภาพของประชาชน คือ ลดตัวลง ในขณะเดียวกันก็เท่ากับเพิ่มฐานะของเขาให้ขึ้นมามีส่วนในการแก้ปัญหาร่วมกัน แทนที่จะพูดกันคนละที
“ในปัจจุบันเราอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถที่จะคุยกันได้ หรือคุยกันคนละทาง รัฐอาจพัฒนาประเทศตามแนวทางที่รัฐคิด ในขณะเดียวกันประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่เดือดร้อนก็จัดการชุมนุม หรือว่ามีการสัมมนา อภิปรายอะไรต่างๆ ผมจึงคิดว่าเรื่องนี้มีทางออก คือ รัฐบาลเปิดใจกว้าง แล้วให้ทุกฝ่ายเสนอข้อขัดข้อง ระบบเก่าๆ ที่ว่าข้าราชการเป็นนายของชาวบ้าน หรือว่าใช้อำนาจหน้าที่ในการปกครอง ผมคิดว่ามันหมดยุคไปแล้ว
“มันควรจะมาถึงยุคที่ทุกคนมีความเสมอภาคในการแสดงความคิดเห็น ช่วยกันแก้ปัญหา เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมมันไม่ได้เกิดกับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง”
- สืบ นาคะเสถียร -
31 ธันวาคม พ.ศ. 2492 – 1 กันยายน พ.ศ. 2533
ขณะที่เพจ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้โพสต์ข้อความพร้อมรูปภาพของเหล่าอนุรักษ์ที่มารวมตัวกันจุดเทียนหน้ารูปปั้น ‘สืบ นาคะเสถียร’ เมื่อช่วงคืนวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมา เพื่อรำลึกถึงการจากไป และย้ำเตือนถึงเจตนารมณ์ของการอนุรักษ์และการอยู่รวมกับธรรมชาติเช่นทุกปี
สำหรับ ‘สืบ นาคะเสถียร’ เสียชีวิต เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2533 ขณะดำรงตำแหน่งหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เพื่อเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนหันมาสนใจปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้และสัตว์ป่าอย่างจริงจัง และในวันที่ 18 กันยายน ปีเดียวกัน แนวร่วมนักอนุรักษ์ได้ร่วมกันก่อตั้งมูลนิธิสืบนาคะเสถียรขึ้น เพื่อสืบทอดเจตนาในทำงานเพื่อดูแลผืนป่าห้วยขาแข้งและผืนป่าตะวันตกต่อไป
โดยวันที่ 8 – 10 กันยายนนี้ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ได้จัดกิจกรรมรำลึก ‘สืบ นาคะเสถียร’ ที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยมีทั้งวงเสวนาเรื่องผืนป่า และร่วมฟังดนตรีพร้อมกันเต็มอิ่มตลอด 3 วัน