https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/o0Qne36baEi2Xd1VNxEPq/091cff592ad564182119cae3431a02f7/Academic-Dialogue-on-Right-to-Education-SPACEBAR-Photo00
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5uN4f4Sq2UCa5r9NdGJ9ES/911fedeac24844a55203f4fa81a7287b/Academic-Dialogue-on-Right-to-Education-SPACEBAR-Photo01
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/53V0pHRo9xyQoCn43j9fwd/72b9c8678a8ff7ea1da8c6eb8f691023/Academic-Dialogue-on-Right-to-Education-SPACEBAR-Photo02
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4r1piYwD4rWOqXC6VG7S3q/2ede7c1a57d46c594c233d88986c8a57/Academic-Dialogue-on-Right-to-Education-SPACEBAR-Photo03

Photo Story: ถอดบทเรียนนอกรั้ว กรณี ‘น้องหยก’ ผ่านเวทีเสวนา

25 มิ.ย. 2566 - 10:24

  • นักสิทธิมนุษยชน - นักการเมือง ชี้ปรากฏการณ์ ‘น้องหยก’ ประเด็นหลักคือ การบีบเด็กออกจากโรงเรียน ย้ำเครื่องแบบนักเรียนคลายความศักดิสิทธิ์ ไม่สามารถรักษาความเท่าเทียมของน้องหยกได้

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/o0Qne36baEi2Xd1VNxEPq/091cff592ad564182119cae3431a02f7/Academic-Dialogue-on-Right-to-Education-SPACEBAR-Photo00
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5uN4f4Sq2UCa5r9NdGJ9ES/911fedeac24844a55203f4fa81a7287b/Academic-Dialogue-on-Right-to-Education-SPACEBAR-Photo01
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/53V0pHRo9xyQoCn43j9fwd/72b9c8678a8ff7ea1da8c6eb8f691023/Academic-Dialogue-on-Right-to-Education-SPACEBAR-Photo02
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4r1piYwD4rWOqXC6VG7S3q/2ede7c1a57d46c594c233d88986c8a57/Academic-Dialogue-on-Right-to-Education-SPACEBAR-Photo03
25 มิ.ย. 66 ที่ห้องประชุม อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ถนนราชดำเนิน ได้มีการจัดเวทีสาธารณะ สภาที่ 3 เรื่อง ‘ถอดบทเรียนอำนาจนิยม #กรณีหยก #ขบถโรงเรียน กับทิศทางการปฏิรูปการศึกษาไทย? ‘ นำโดย ‘เมธา มาสขาว’ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ถึง 5 ประเด็นที่สังคมต้องถอดบทเรียน คือ  
  1. สิ่งที่เกิดขึ้นกับหยกเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งในสังคมไทย ที่เกิดขึ้นจากความต้องการของเด็กในการเรียนหนังสือ เนื้อหาวิชาที่ตนเองชอบ และระบบโรงเรียนที่ไม่ตอบสนองภายใต้กรอบของระบบอำนาจนิยมระเบียบ กฎหมาย กฎกระทรวง  
  2. แม้สิ่งที่หยกกระทำจะไม่ถูกใจใครก็ตาม ต้องถือว่านี่เป็นกรณีศึกษา ที่จะนำไปสู่การปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ เพื่อแก้ไขปัญหาคุณภาพการศึกษาอย่างแท้จริง   
  3. ขอเป็นกำลังใจให้หยก ซึ่งเป็นตัวแทนของนักเรียนคนหนึ่งที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อสิทธิทางการศึกษา และเป็นขบถในระบบอำนาจนิยมในโรงเรียนที่ไม่มีคำตอบ   
  4. ระบอบอำนาจนิยม และโครงข่ายของวัฒนธรรมแบบอุปถัมภ์นิยม เป็นปัจจัยฉุดดึงสังคมไทยให้ล้าหลังรั้งท้ายคุณภาพการศึกษาในโลกปัจจุบัน 
  5. ในช่วง 8 ปี ของ ‘รัฐบาลประยุทธ์’ สร้างปัญหาความล้าหลังให้กับวงการการศึกษาไทย โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา   
ด้าน ‘อังคณา นีละไพจิตร’ อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้ความเห็นกรณีปรากฏการณ์น้องหยกว่า ทั้งกฎหมายไทย และข้อตกลงของสหประชาชาตอ  ระบุว่าชัดเจนว่า กรณีการศึกษาเด็กทุกคนมีสิทธิในการเข้าถึงการเรียน และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นได้อย่างมีเสรีภาพ  

ในกรณีของหยก ส่วนตัวมีความกังวล คิดว่าบทบาทของทางบ้านและโรงเรียนมีความร่วมมือกันน้อยเกินไป เวลามีปัญหาเกิดขึ้นควรนำเรื่องนี้พูดคุยร่วมกัน พร้อมยอมรับว่ารู้สึกผิดหวังกับแถลงการณ์ทั้ง 2 ฉบับที่โรงเรียนเตรียมพัฒนาการเผยแพร่ออกมา ที่ยืนยันว่าหยกไม่มีสิทธิ์อยู่ในระบบการศึกษาเนื่องจากไม่มีผู้ปกครองพามอบตัว 

ทั้งนี้ รู้สึกแปลกใจหลายประเด็นที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะกรณีการเข้ามายุ่งเกี่ยวของสมาคมผู้ปกครอง ในการเข้ามามีส่วนร่วมของปรากฏการณ์ อันดูเป็นการกดดันนักเรียนที่เห็นต่าง อย่างแบ่งขั้วชัดเจน ซึ่งตามความเป็นจริงไม่มีอำนาจทางกฎหมายใด ๆ ให้กระทำการเช่นนั้น  

มีทางเดียวครอบครัวต้องมาคุยกันกับโรงเรียน พร้อมกับหน่วยงานกับภาครัฐ ทั้งกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  เพื่อให้การการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้อยากให้ทุกคนให้กำลังใจแม่ของหยก เพราะเชื่อว่าหวังดีกับเด็ก ทั้งนี้ในส่วนผู้ที่อ้างแสดงความพร้อมในการเข้ามาดูแลหยก 

“การที่นำกำลังตำรวจ (ผู้หญิง) ติดอาวุธเข้ามา เป็นการใช้ไม้แข็งเข้ามาจัดการปัญหานักเรียน มันไม่สมควรอย่างยิ่ง ดิฉันเห็นว่าโรงเรียนต้องหาทางออกร่วมกันโดยคุยกับทุกภาคส่วน เรื่องนี้แก้ไม่ยาก แต่โรงเรียนกลับทำเรื่องที่ไม่ซับซ้อน กลายเป็นเรื่องซับซ้อน” อังคณา นีละไพจิตร กล่าว 

ขณะที่ ‘รัชนี ธงไชย’ ผู้อำนวยการโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก กล่าวว่า เรื่องปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ขอวิจารณ์ไปที่ ‘ระบบ’ ที่ครอบคลุมรังแกบุคคลที่ลุกมาต่อต้านอย่างกรณีน้องหยก โดยเฉพาะกรณีให้ ‘สิทธิการมีส่วนร่วม’ ของทั้ง ‘ครู’ และ ‘นักเรียน’ ต้องมาออกแบบวิธีการร่วมกัน และใช้เสียงส่วนใหญ่มาใช้ในการคัดสรรแนวทางปฏิบัติ 

กรณีน้องหยกใช้เครื่องแบบมาปลดปล่อยเรื่องอำนาจนิยมในโรงเรียน นักการศึกษาและปัญญาชนหลาย ๆ คนในต่างประเทศ เคยให้แนวคิดเรื่องการพัฒนาการเรียนรู้ โดยพุ่งเป้าไปที่ตัวเด็กเป็นศูนย์กลาง ให้เกิดความก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพและชาญฉลาด สวนทางกับแนวคิดของเมืองไทยที่ยังถูกอำนาจบางอย่างคอยฉุดรั้ง  

“ถ้าถามว่าเครื่องแบบยังจำเป็นไหม ต้องบอกว่าถ้ามองการแต่งตัวเหมือนกันหมก มันกลายประสบการณ์อย่างหนึ่ง ที่จะทำให้เด็กไม่กล้าเรียนรู้นอกกรอบ หรือไม่มีความกล้าเรียนรู้จากคนนอกคนอื่นที่ไม่ใช่ครู โลกมีความเปลี่ยนไป เขาจำเป็นต้องกว้างขึ้น ซึ่งครูเองก็อยู่ภายใต้ระบบอำนาจที่ครอบไว้ เขาจึงออกมาต่อต้านเรื่องนี้” รัชนี ธงไชย 

สำหรับ ‘วิโรจน์ ลักขณาอดิสร’ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ให้ความเห็นว่า เวลาพูดเรื่องน้องหยกผู้คนมักนำสิ่งภายนอกไปขยายจนใหญ่คลุมประเด็นที่เป็นแก่นสาร  อย่างการมองเป้าไปที่เรื่องเครื่องแต่งกายและทรงผมของเด็ก ซึ่งหาข้อสรุปได้ยากมันเป็นแนวคิดเชิงปัจเจก แต่คำถามสำคัญที่ทุกคนหลงลืมไป คือการที่สถาบันการศึกษาพยายามบีบเด็กให้หลุดจากระบบการเรียน เพียงเพราะเหตุผลเรื่องการมอบตัวของผู้ปกครอง 

ส่วนตัวมีความกังวลว่า ระบบจะจดจำกรณีดังกล่าวและกลายเป็นบรรทัดฐานของสังคม ในการผลักเด็กคนอื่นๆ ที่มีลักษณะทางครอบครัวคล้ายคลึงกับหยก ให้ถูกบีบออกจากการศึกษาอย่างจำใจ เพราะในหลายครอบครัว เขามีปัญหาเรื่องสถานะของผู้ปกครองอยู่  

ทั้งนี้ ขอตั้งคำถามอย่างไม่มีอคติ ว่าจริงๆ แล้วทางโรงเรียนเตรียมพัฒนาการ มีแนวคิดเริ่องการมอบตัวอย่างไร หรือจริงๆ เป็นความตั้งใจที่จะตัดออกจากระบบอยู่แต่แรกแล้ว  

“โรงเรียนอย่าอ้างเรื่องการเซ็นเข้ามอบตัว มันจะเพี้ยนไปหมด เราต้องตั้งคำถามใหม่ว่า ธงของโรงเรียนคืออะไร? เพราะอะไรถึงไม่หารือกับเด็ก หรือจริงๆ ต้องการผลักให้ออกจากโรงเรียน และถ้าสมมติหยกต้องหมดสถานะเป็นนักเรียนจริง น้องต้องหาโรงเรียนใหม่ มันจะเป็นการโยนปัญหาให้เด็กอายุ 15 หรือเปล่า?” 

วิโรจน์ให้ความเห็นสอดคล้องกับวิทยากรทุกคน ว่าต้องหาแนวทางในการพูดคุยทั้งภาครัฐครอบครัว ต้องหาข้อสรุปกัน แต่ที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนหรือครู กลับพยายามสร้างเงื่อนไขความขัดแย้ง โดยการไม่อธิบาย สร้างความเข้าใจให้กับเด็ก  

กระนั้น บางสิ่งที่เด็กผิดทางวินัยคุณครูมีสิทธิตักเตือนได้ตามข้อบังคับและระเบียบ แต่ต้องมีเหตุผลในการชี้แจงและสร้างข้อตกลงร่วมกัน ให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน อย่างกรณีการกระทำของหยก บางประเด็นก็ไม่เหมาะสม แต่เหตุผลที่เชื่อว่าส่งผลให้เกิดการแสดงพฤติกรรมดังกล่าว มาจากความไม่เชื่อมั่นต่อเครื่องแบบนักเรียน ที่อดีตมักพร่ำสอนกันไว้ว่าเป็นการสร้างความเท่าเทียม และคอยพิทักษ์รักษาสิทธิของเด็ก  

“การลงโทษเด็กไม่ได้สำคัญเท่ากับการพูดคุยเพื่อความเข้าใจ ผมไม่ได้เห็นกระบวนการที่จะหารือกันเลย แต่กลับใช้อำนาจและความรุนแรงต่อกัน ยิ่งจะทำให้บานปลายและหาจุดลงตัวไม่ได้ อย่างชุดนักเรียนเองมันเป็นเพียงปัญหาปลายเหตุ มองได้ต่างมุม แต่ที่แน่ๆ คือสิทธิในการเป็นนักเรียนที่ขาดหายไป เราต้องหารือกันเพื่อให้เกิดคงามชัดเจน” วิโรจน์ ลักขณาอดิสร กล่าว 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์