นักวิชาการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา กังขา ตำรวจไม่ตั้งข้อหาเมาแล้วขับกับเสี่ย ‘เบนท์ลีย์’

10 ม.ค. 2566 - 10:43

  • นักวิชาการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา กังขา ตำรวจไม่ตั้งข้อหาเมาแล้วขับกับเสี่ย ‘เบนท์ลีย์’

Accident-Drink-driving-Police-SPACEBAR-Thumbnail
กรณีมีผู้ขับรถหรูเบนท์ลีย์ บนทางพิเศษเฉลิมมหานคร จากถนนสุขสวัสดิ์มุ่งหน้าไปดินแดง ด้วยความเร็ว ก่อนพุ่งชนท้ายรถยนต์ที่อยู่สัญจรอยู่บริเวณใกล้เคียง เมื่อช่วงดึกคืนวันที่ 8 ม.ค. ที่ผ่านมา จนป็นเหตุให้มีรถยนต์พังเสียหายยับเยิน 3 คัน และมีผู้บาดเจ็บหลายราย โดยเจ้าหน้าที่อาสาสมัครสังเกตเห็นอาการคนขับรถหรูมีอาการมึนเมา และไม่ยอมเป่าหรือตรวจแอลกอฮอล์ พร้อมกับพยายามที่จะไปดื่มน้ำ โดยทราบภายหลังจากทางตำรวจ ผู้ก่อเหตุขอตรวจเลือดที่โรงพยาบาลตำรวจ และคาดว่าผลตรวจจะออกอย่างเร็วใน 7 วัน 

ประเด็นนี้ นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ นักวิชาการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา ได้ออกมาตั้งคำถามว่า “ถ้าไม่เมา จะกลัวทำไม” กับการเป่าหรือตรวจแอลกอฮอล์หลังเกิดเหตุในทันที ซึ่งตามมาตรา 142 แก้ไขเพิ่มเติม ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก 2557 ระบุว่า “ในกรณีที่มีพฤติการณ์อันควรเชื่อว่าผู้ขับขี่ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น หากผู้นั้นยังไม่ยอมให้ทดสอบตามวรรคสามโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นฝ่าฝืนมาตรา 43 (2)” นั่นคือ การขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น แต่ก็ยังไม่มีการตั้งข้อหาดังกล่าว 

และจากหลักฐานวิชาการประกอบข้อแนะนําสำหรับบุคคลที่ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 พ.ศ. 2565 พบว่า ระดับของแอลกอฮอล์จะลดลงประมาณ 15-20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ต่อชั่วโมงในคนทั่วไป และประมาณ 25-35 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ต่อชั่วโมงในผู้ดื่มประจำมาเป็นระยะเวลานาน ดังนั้น การที่ผู้ก่อเหตุขอตรวจเลือดในภายหลังย่อมมีผลต่อระดับปริมาณแอลกอฮอล์อย่างแน่นอน บวกกับที่พยายามจะดื่มน้ำ ก็จะยิ่งทำให้อวัยวะในส่วนของกระเพาะและสำไส้ดูดซึมแอลกอฮอล์ได้เร็วขึ้นด้วยเช่นกัน แล้วสังคมจะต้องยอมรับกับผลกระทบที่เกิดจากเหตุการณ์ซ้ำๆ จากความประมาท และพยายามที่จะเลี่ยงความผิดจากการดื่มแล้วขับ เพียงเพราะเป็นคงดัง รวย และมีอำนาจเช่นนั้นหรือ

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์