ดีอีเอสดักจับ ‘ข่าวปลอม’ พบกระแสรักสุขภาพมาแรง ประชาชนสนใจเรื่องรักษาโรคมากที่สุด ขณะที่โจรไซเบอร์ยังไม่แผ่ว ปลอมเป็นแบงก์ปล่อยกู้วงเงินสูงระบาดต่อเนื่อง
ข้อมูลเชิงสถิติตัวเลข มีดังนี้
3,275,854 ข้อความ คือ จำนวนข้อความทั้งหมดที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) สรุปผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม วันที่ 27 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ 2566
ในจำนวนนั้น มีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 243 ข้อความ แบ่งเป็น
- 228 ข้อความจาก Social Listening
- 15 ข้อความจาก Line Official
รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 117 เรื่อง
ส่วน ‘ข่าวปลอม’ ที่ได้รับความสนใจ ดีอีเอสแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย
1. ข่าวปลอมเรื่องนโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ขัดศีลธรรมอันดี และความมั่นคงภายในประเทศ จำนวน 70 เรื่อง
2. ข่าวปลอมเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมาย จำนวน 29 เรื่อง
3. ข่าวปลอมเรื่องภัยพิบัติ จำนวน 7 เรื่อง
4. ข่าวปลอมเศรษฐกิจ จำนวน 11 เรื่อง
โดยข่าวปลอมทั้ง 4 กลุ่ม มีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องโควิค-19 จำนวน 3 เรื่องด้วยกัน และเมื่อพิจารณาจากข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจลำดับต้นๆ พบว่าส่วนใหญ่เกี่ยวกับเรื่องของสุขภาพและการรักษาโรค สอดคล้องกับกระแสที่คนหันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น
ขณะที่ข่าวปลอมการเชิญชวนให้กู้เงินออนไลน์ โดยแอบอ้างเป็นผู้ให้บริการเงินกู้จากสถาบันการเงิน หลอกลวงประชาชน ผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งข้อความในโทรศัพท์มือถือ สื่อสังคมออนไลน์ เช่น ไลน์ เฟซบุ๊ก และแอปพลิเคชันเงินกู้ ก็ยังมีมาอย่างต่อเนื่อง
ดีอีเอสจึงขอให้ประชาชนตรวจสอบให้แน่ใจว่า คนที่ส่งข้อความเป็นผู้ให้บริการที่ถูกต้องตามกฎหมาย และควรติดต่อไปยังผู้ให้บริการที่ถูกอ้างชื่อถึงก่อนตัดสินใจโอนเงิน เพื่อป้องกันการสูญเสียทรัพย์สิน
ข้อมูลเชิงสถิติตัวเลข มีดังนี้
3,275,854 ข้อความ คือ จำนวนข้อความทั้งหมดที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) สรุปผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม วันที่ 27 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ 2566
ในจำนวนนั้น มีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 243 ข้อความ แบ่งเป็น
- 228 ข้อความจาก Social Listening
- 15 ข้อความจาก Line Official
รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 117 เรื่อง
ส่วน ‘ข่าวปลอม’ ที่ได้รับความสนใจ ดีอีเอสแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย
1. ข่าวปลอมเรื่องนโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ขัดศีลธรรมอันดี และความมั่นคงภายในประเทศ จำนวน 70 เรื่อง
2. ข่าวปลอมเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมาย จำนวน 29 เรื่อง
3. ข่าวปลอมเรื่องภัยพิบัติ จำนวน 7 เรื่อง
4. ข่าวปลอมเศรษฐกิจ จำนวน 11 เรื่อง
โดยข่าวปลอมทั้ง 4 กลุ่ม มีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องโควิค-19 จำนวน 3 เรื่องด้วยกัน และเมื่อพิจารณาจากข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจลำดับต้นๆ พบว่าส่วนใหญ่เกี่ยวกับเรื่องของสุขภาพและการรักษาโรค สอดคล้องกับกระแสที่คนหันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น
ขณะที่ข่าวปลอมการเชิญชวนให้กู้เงินออนไลน์ โดยแอบอ้างเป็นผู้ให้บริการเงินกู้จากสถาบันการเงิน หลอกลวงประชาชน ผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งข้อความในโทรศัพท์มือถือ สื่อสังคมออนไลน์ เช่น ไลน์ เฟซบุ๊ก และแอปพลิเคชันเงินกู้ ก็ยังมีมาอย่างต่อเนื่อง
ดีอีเอสจึงขอให้ประชาชนตรวจสอบให้แน่ใจว่า คนที่ส่งข้อความเป็นผู้ให้บริการที่ถูกต้องตามกฎหมาย และควรติดต่อไปยังผู้ให้บริการที่ถูกอ้างชื่อถึงก่อนตัดสินใจโอนเงิน เพื่อป้องกันการสูญเสียทรัพย์สิน
