
















เป็นอีกครั้งที่ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ผู้ว่าฯ กทม. คนปัจจุบัน ถูกวิจารณ์เรื่องการทำงาน โดยประเด็นล่าสุดที่ ชัชชาติ ถูกชาวโซเชียลโจมตีหลังบริหารงานมากว่า 6 เดือน คือ เรื่องการพัฒนาพื้นที่ถนนคนเดินคลองโอ่งอ่าง สถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อแนว Street food ใจกลางกรุง ที่รุ่งเรืองในยุคของอดีตผู้ว่าฯ กทม. คนก่อน แต่ตอนนี้กลับอยู่ในสภาพร้างผู้คน
ทีมข่าว SPACEBAR ลงพื้นที่สำรวจบรรยากาศบริเวณคลองโอ่งอ่าง เมื่อช่วงบ่ายวันศุกร์ที่ผ่านมา ( 6 ม.ค.) พบว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ หลายคนจับจองที่นั่งในร้านอาหารและร้านเครื่องดื่ม บางคนดื่มด่ำกับการเดินถ่ายรูปอาคารบ้านเรือน ที่มีภาพแนว Street Art อยู่ตามกำแพงเรียงรายให้ชวนเก็บภาพเป็นที่ระลึก พอแต่งเติมบรรยากาศให้ดูไม่เงียบเหงาจนเกินไป ส่วนร้านค้าแนว Street food และแนว Handmade ที่ปกติจะมาเปิดร้านเรียงต่อกันยาวเป็นแถวในช่วงที่มีถนนคนเดิน จากเดิมที่เคยมีหลายสิบร้าน วันนี้เหลือไม่ถึงสิบร้าน
จากการพูดคุยกับผู้ค้าในพื้นที่หลายคนให้ข้อมูลว่า ถนนคนเดินคลองโอ่งอ่างจะมีทุกวันศุกร์ วันเสาร์ และวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 15.00 - 20.00 น. ของทุกสัปดาห์ โดยคนจะเริ่มทยอยมาเที่ยวกันตั้งแต่ช่วงเย็นหลังเลิกงาน แต่พักหลังนักท่องเที่ยวและผู้ค้าขาจรที่มาถนนคนเดินเริ่มน้อยลงมาสักระยะหนึ่งแล้ว ยกเว้นในช่วงที่มีอีเวนต์พิเศษ หรือในช่วงเทศกาลที่คนจะมาเที่ยวค่อนข้างเยอะ ส่วนวันธรรมดาจะมีร้านค้าเจ้าประจำเปิดแผงขายของเหมือนตลาดทั่วไปตามปกติ
ส่วนสาเหตุที่คนเริ่มน้อยลง เจ้าของร้านเสื้อผ้า ที่อยู่บริเวณเชิงสะพานหัน มองว่าเป็นเพราะขาดการโปรโมทอย่างต่อเนื่อง และช่วงหลังไม่ค่อยมีการจัดอีเวนต์พิเศษ ทำให้ขาดสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างจากยุคของอดีตผู้ว่าฯ คนก่อน ที่จัดอีเวนต์บ่อย อีกทั้งคลองโอ่งอ่าง ยังอยู่ใกล้กับย่านสำเพ็ง และเยาวราช ซึ่งเป็นจุดท่องเที่ยวยอดฮิตที่ครบวงจร มีสินค้าให้เลือกหลากหลายมากกว่า จึงไม่แปลกที่คนจะเลือกไปที่อื่น ส่วนถนนคนเดินคลองโอ่งอ่าง ใกล้ถึงคราวล่มสลายแล้วใช่หรือไม่นั้น ผู้ค้าคลองโอ่งอ่าง เชื่อว่าคงไม่ถึงขั้นนั้น แต่ก็ยอมรับว่าตอนนี้ยังมองไม่เห็นทางว่าจะทำอย่างไร ให้คลองโอ่งอ่างกลับมารุ่งเรืองเหมือนเดิม หากไร้การสนับสนุนจาก กทม. และส่วนตัวก็นึกไม่ออกว่าอะไรคืออัตลักษณ์ หรือจุดขาย ของคลองโอ่งอ่าง เพราะอาหารที่นี่รสชาติไม่ได้ต่างจากที่อื่นเท่าไหร่
นอกจากนี้ผู้ค้าขาจรและผู้ค้าเจ้าประจำ อย่างน้อยสองคนที่พูดคุยกับทีมข่าว บอกว่ารู้สึกผิดหวังกับการบริหารงานของผู้ว่าฯ คนปัจจุบัน ที่พวกเขาเลือกมากับมือ เพราะจนถึงตอนนี้ยังไม่เห็นผลงานการแก้ปัญหา หรือการพัฒนาอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอัน
ขณะที่ก่อนหน้านี้ ผู้ว่าฯ กทม. คนปัจจุบัน ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้ให้สัมภาษณ์ถึงแนวคิดการพัฒนาคลองโอ่งอ่างว่า ควรเป็นตลาดที่อยู่ได้ด้วยตัวเอง มีชุมชนช่วยกันดูแล และสร้างกิจกรรม ดึงดูดคนเอง เพราะคงไม่ได้สามารถนำงบประมาณไปจัดอีเวนต์ได้ทุกสัปดาห์ ซึ่งเรื่องนี้ได้มอบหมายให้ รองผู้ว่าฯ ศานนท์ หวังสร้างบุญ เข้าไปดูแล้ว
สำหรับคลองโอ่งอ่าง ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา กรุงเทพมหานคร ในยุคของ พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ได้เข้ามาปรับปรุงภมิทัศน์และพัฒนาพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ตามนโยบายของรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งต่อมาโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองโอ่งอ่าง สามารถคว้ารางวัลต้นแบบการปรับปรุงภูมิทัศน์ในเขตเมืองของเอเชีย ประจำปี ค.ศ 2020 ที่แสดงถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ควบคู่ไปกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย ศิลปวัฒนธรรม ให้สอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินชีวิต จากโครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ มาครองจนกลายเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจที่ พลเอกประยุทธ์ มักจะเอ่ยปากชมอยู่หลายครั้ง ขณะที่ภาครัฐเองก็มุ่งหวังว่าสถานที่แห่งนี้จะกลายเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยว และสร้างเม็ดเงินให้กับประเทศและคนในพื้นที่ได้
แต่การคว้ารางวัลดังกล่าว ไม่ใช่เครื่องการันตีว่าการพัฒนาพื้นที่คลองโอ่งอ่างจะถือเป็นความสำเร็จในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
ประเด็นที่เกิดขึ้นจึงชวนให้ตั้งคำถามว่าจะทำอย่างไร ให้ชุมชนอยู่ได้ด้วยตัวเองอย่างยั่งยืน โดยไม่ต้องนั่งรอความหวังให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลืออย่างเดียว เพราะไม่เช่นนั้น การพัฒนาเมือง จะกลายเป็นแค่เรื่อง ‘การเมือง’ ที่ไม่ว่าจะเปลี่ยนตัวผู้ว่าฯ สักกี่คน แต่สุดท้ายบ้านเมือง ก็ยังอยู่ในวังวนแบบเดิม
ทีมข่าว SPACEBAR ลงพื้นที่สำรวจบรรยากาศบริเวณคลองโอ่งอ่าง เมื่อช่วงบ่ายวันศุกร์ที่ผ่านมา ( 6 ม.ค.) พบว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ หลายคนจับจองที่นั่งในร้านอาหารและร้านเครื่องดื่ม บางคนดื่มด่ำกับการเดินถ่ายรูปอาคารบ้านเรือน ที่มีภาพแนว Street Art อยู่ตามกำแพงเรียงรายให้ชวนเก็บภาพเป็นที่ระลึก พอแต่งเติมบรรยากาศให้ดูไม่เงียบเหงาจนเกินไป ส่วนร้านค้าแนว Street food และแนว Handmade ที่ปกติจะมาเปิดร้านเรียงต่อกันยาวเป็นแถวในช่วงที่มีถนนคนเดิน จากเดิมที่เคยมีหลายสิบร้าน วันนี้เหลือไม่ถึงสิบร้าน
จากการพูดคุยกับผู้ค้าในพื้นที่หลายคนให้ข้อมูลว่า ถนนคนเดินคลองโอ่งอ่างจะมีทุกวันศุกร์ วันเสาร์ และวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 15.00 - 20.00 น. ของทุกสัปดาห์ โดยคนจะเริ่มทยอยมาเที่ยวกันตั้งแต่ช่วงเย็นหลังเลิกงาน แต่พักหลังนักท่องเที่ยวและผู้ค้าขาจรที่มาถนนคนเดินเริ่มน้อยลงมาสักระยะหนึ่งแล้ว ยกเว้นในช่วงที่มีอีเวนต์พิเศษ หรือในช่วงเทศกาลที่คนจะมาเที่ยวค่อนข้างเยอะ ส่วนวันธรรมดาจะมีร้านค้าเจ้าประจำเปิดแผงขายของเหมือนตลาดทั่วไปตามปกติ
ส่วนสาเหตุที่คนเริ่มน้อยลง เจ้าของร้านเสื้อผ้า ที่อยู่บริเวณเชิงสะพานหัน มองว่าเป็นเพราะขาดการโปรโมทอย่างต่อเนื่อง และช่วงหลังไม่ค่อยมีการจัดอีเวนต์พิเศษ ทำให้ขาดสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างจากยุคของอดีตผู้ว่าฯ คนก่อน ที่จัดอีเวนต์บ่อย อีกทั้งคลองโอ่งอ่าง ยังอยู่ใกล้กับย่านสำเพ็ง และเยาวราช ซึ่งเป็นจุดท่องเที่ยวยอดฮิตที่ครบวงจร มีสินค้าให้เลือกหลากหลายมากกว่า จึงไม่แปลกที่คนจะเลือกไปที่อื่น ส่วนถนนคนเดินคลองโอ่งอ่าง ใกล้ถึงคราวล่มสลายแล้วใช่หรือไม่นั้น ผู้ค้าคลองโอ่งอ่าง เชื่อว่าคงไม่ถึงขั้นนั้น แต่ก็ยอมรับว่าตอนนี้ยังมองไม่เห็นทางว่าจะทำอย่างไร ให้คลองโอ่งอ่างกลับมารุ่งเรืองเหมือนเดิม หากไร้การสนับสนุนจาก กทม. และส่วนตัวก็นึกไม่ออกว่าอะไรคืออัตลักษณ์ หรือจุดขาย ของคลองโอ่งอ่าง เพราะอาหารที่นี่รสชาติไม่ได้ต่างจากที่อื่นเท่าไหร่
นอกจากนี้ผู้ค้าขาจรและผู้ค้าเจ้าประจำ อย่างน้อยสองคนที่พูดคุยกับทีมข่าว บอกว่ารู้สึกผิดหวังกับการบริหารงานของผู้ว่าฯ คนปัจจุบัน ที่พวกเขาเลือกมากับมือ เพราะจนถึงตอนนี้ยังไม่เห็นผลงานการแก้ปัญหา หรือการพัฒนาอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอัน
ขณะที่ก่อนหน้านี้ ผู้ว่าฯ กทม. คนปัจจุบัน ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้ให้สัมภาษณ์ถึงแนวคิดการพัฒนาคลองโอ่งอ่างว่า ควรเป็นตลาดที่อยู่ได้ด้วยตัวเอง มีชุมชนช่วยกันดูแล และสร้างกิจกรรม ดึงดูดคนเอง เพราะคงไม่ได้สามารถนำงบประมาณไปจัดอีเวนต์ได้ทุกสัปดาห์ ซึ่งเรื่องนี้ได้มอบหมายให้ รองผู้ว่าฯ ศานนท์ หวังสร้างบุญ เข้าไปดูแล้ว
สำหรับคลองโอ่งอ่าง ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา กรุงเทพมหานคร ในยุคของ พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ได้เข้ามาปรับปรุงภมิทัศน์และพัฒนาพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ตามนโยบายของรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งต่อมาโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองโอ่งอ่าง สามารถคว้ารางวัลต้นแบบการปรับปรุงภูมิทัศน์ในเขตเมืองของเอเชีย ประจำปี ค.ศ 2020 ที่แสดงถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ควบคู่ไปกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย ศิลปวัฒนธรรม ให้สอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินชีวิต จากโครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ มาครองจนกลายเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจที่ พลเอกประยุทธ์ มักจะเอ่ยปากชมอยู่หลายครั้ง ขณะที่ภาครัฐเองก็มุ่งหวังว่าสถานที่แห่งนี้จะกลายเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยว และสร้างเม็ดเงินให้กับประเทศและคนในพื้นที่ได้
แต่การคว้ารางวัลดังกล่าว ไม่ใช่เครื่องการันตีว่าการพัฒนาพื้นที่คลองโอ่งอ่างจะถือเป็นความสำเร็จในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
ประเด็นที่เกิดขึ้นจึงชวนให้ตั้งคำถามว่าจะทำอย่างไร ให้ชุมชนอยู่ได้ด้วยตัวเองอย่างยั่งยืน โดยไม่ต้องนั่งรอความหวังให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลืออย่างเดียว เพราะไม่เช่นนั้น การพัฒนาเมือง จะกลายเป็นแค่เรื่อง ‘การเมือง’ ที่ไม่ว่าจะเปลี่ยนตัวผู้ว่าฯ สักกี่คน แต่สุดท้ายบ้านเมือง ก็ยังอยู่ในวังวนแบบเดิม