








17 เม.ย. 66 ที่สถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง ‘ปิยบุตร แสงกนกกุล’ เลขาธิการคณะก้าวหน้า ในฐานะผู้ช่วยหาเสียงพรรคก้าวไกล เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวน จากกรณีที่ตกเป็นผู้ต้องหาในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ตามที่ ‘ณฐพร โตประยูร’ อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดินร้องทุกข์กล่าวโทษข้อหายุยงปลุกปั่น และมีการลงนามออกหมายเรียกโดย ‘พ.ต.ท. สำเนียง โสธร’ รองผู้กำกับการ (สอบสวน)
โดยบรรยากาศที่หน้าโรงพักครึกครื้น มีบรรดามวลชนที่ให้การสนับสนุนคณะก้าวหน้า และผู้สมัคร ส.ส. - แกนนำพรรคก้าวไกล ที่ส่วนใหญ่มาด้วยสวมเสื้อสีส้ม ชูพร้อมมือเป็นสัญลักษณ์ 3 นิ้ว และมอบดอกกุหลาบสีแดงเป็นกำลังใจให้ ‘ปิยบุตร’ ขณะที่เดินทางมารับทราบข้อกล่าวหาด้วยท่าทีมั่นใจ
เลขาธิการคณะก้าวหน้า กล่าวว่า คดีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อปี 2564 ซึ่งผ่านมากว่า 1 ปี จึงได้ทราบว่ามีหมายเรียกเมื่อวันที่ 7 มี.ค. ภายหลังที่ไปช่วย ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ หัวหน้าพรรคก้าวไกลหาเสียงที่ต่างจังหวัด โดยก่อนหน้านี้ได้ประสานพนักงานเพื่อขอเลื่อนการเข้าพบเป็นช่วงหลังการเลือกตั้งวันที่ 14 พ.ค. และเนื่องจากอยู่ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง และไม่มีเวลาว่าง แต่เจ้าพนักงานนั้นไม่ยอม ให้เหตุผลว่าพรรคการเมืองขาดผู้ช่วยหาเสียงเพียงหนึ่งคนก็คงไม่เป็นอะไร ให้มารายงานตัวให้มันจบๆ ไป แต่นั่นทำให้เพื่อนพ้องน้องพี่ในพรรคต้องเสียเวลามาให้กำลังใจตน แทนที่จะไปทำหน้าที่หาเสียง
ดังนั้น เมื่อมีการออกหมายเรียกเป็นครั้งที่ 2 จึงเดินทางมาเข้าพบวันนี้เพื่อมาดูว่าสิ่งที่ ‘ณฐพร โตประยูร’ ฟ้องร้องเข้าข่ายหรือไม่ หรือเป็นการกล่าวหาลอยๆ เพราะที่ผ่านมา เจ้าตัวถือว่าเป็นนักร้องมืออาชีพ ซึ่งเคยร้องเข้าเป้าตั้งแต่สมัยพรรคอนาคตใหม่จนถึงขั้นโดนยุบพรรค รวมถึงนิสิต นักศึกษา เยาวชนคนรุ่นใหม่ต่างก็โดนฟ้องร้องด้วยเหมือนกัน
เมื่อถามว่าจะมีแนวทางอย่างไรเพื่อตรวจสอบดุลยพินิจของเจ้าพนักงานสอบสวน ปิยบุตร กล่าวว่า ตอนสมัยเป็นอาจารย์ไม่ได้โดนหมายเรียก แต่เมื่อมาเป็นนักการเมืองกลับถูกหมายเรียกในคดีต่างๆ มาเป็นชุด และเมื่อช่วงที่ถอยออกจากการเมืองก็เงียบหายไป และโดยเฉพาะคดี ม.116 ที่หลายคดีอัยการไม่สั่งฟ้อง หรือเรื่องไปถึงศาลฯ ก็ไม่ถูกสั่งฟ้อง แต่ยังสงสัยว่าทำไมเจ้าพนักงานถึงทำสำนวนคดีสั่งฟ้องอยู่ตลอด
ส่วนตัวและเจ้าพนักงานสอบสวนก็เรียนนิติศาสตร์มาด้วยกัน จึงอยากให้ระลึกถึงตอนเป็นนักศึกษาปริญญาตรี ให้มีดุลยพินิจ เพราะเจ้าพนักงานสอบสวนไม่ใช่บุรุษไปรษณีย์ที่เมื่อใครมาร้องทุกข์กล่าวโทษก็ต้องทำสำนวนคดี เพื่อออกหมายเรียกทุกกรณีไป
เมื่อถามว่า เจ้าพนักงานสอบสวนโดนใบสั่งหรือไม่ ปิยบุตร กล่าวว่า คงไม่อาจกล่าวเช่นนั้นได้ เพราะเจ้าพนักงานก็ทำหน้าที่ แต่อยากจะให้มีดุลยพินิจถ้าหากเรื่องไหนไม่เข้าข่ายก็ควรปัดตกไป มิเช่นนั้นจะทำให้นักร้องทำงานได้เต็มที่ อย่าเพียงแต่บอกว่า เราอยู่ในประเทศที่ใช้ระบบกล่าวหา นั่นจะทำให้ผู้ถูกร้องได้รับความเสียหาย โดยเบื้องต้นวันนี้จะตรวจสอบดูก่อนว่า ข้อความใดที่ถูกยกมาฟ้องร้อง ซึ่งส่วนตัวตนเรียนกฎหมายมาจึงระมัดระวังทุกความคิดเห็น และทราบดีว่าประเทศนี้มีกรอบทางกฎหมายอย่างไร
ทั้งนี้ ปิยบุตร ยังระบุอีกว่า กฎหมาย ม.116 มีขอบข่ายที่กว้างมาก ทั้งที่เป็นข้อหาร้ายแรงเกี่ยวกับความมั่นคง ทำให้เป็นช่องโหว่ให้นักร้องเรียนนำมาใช้ ทำราวกับว่าพลเมืองไทยมีปัญหากับรัฐไทยมาขนาดนี้หรือ ถึงร้องเรียนได้มากมายขนาดนี้ แสดงว่าตัวกฎหมายต้องมีปัญหา และการใช้กฎหมายนี้ก็มีปัญหา ทางพรรคก้าวไกลก็เสนอให้มีการแก้กฎหมายนี้มาโดยตลอด
โดยบรรยากาศที่หน้าโรงพักครึกครื้น มีบรรดามวลชนที่ให้การสนับสนุนคณะก้าวหน้า และผู้สมัคร ส.ส. - แกนนำพรรคก้าวไกล ที่ส่วนใหญ่มาด้วยสวมเสื้อสีส้ม ชูพร้อมมือเป็นสัญลักษณ์ 3 นิ้ว และมอบดอกกุหลาบสีแดงเป็นกำลังใจให้ ‘ปิยบุตร’ ขณะที่เดินทางมารับทราบข้อกล่าวหาด้วยท่าทีมั่นใจ
เลขาธิการคณะก้าวหน้า กล่าวว่า คดีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อปี 2564 ซึ่งผ่านมากว่า 1 ปี จึงได้ทราบว่ามีหมายเรียกเมื่อวันที่ 7 มี.ค. ภายหลังที่ไปช่วย ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ หัวหน้าพรรคก้าวไกลหาเสียงที่ต่างจังหวัด โดยก่อนหน้านี้ได้ประสานพนักงานเพื่อขอเลื่อนการเข้าพบเป็นช่วงหลังการเลือกตั้งวันที่ 14 พ.ค. และเนื่องจากอยู่ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง และไม่มีเวลาว่าง แต่เจ้าพนักงานนั้นไม่ยอม ให้เหตุผลว่าพรรคการเมืองขาดผู้ช่วยหาเสียงเพียงหนึ่งคนก็คงไม่เป็นอะไร ให้มารายงานตัวให้มันจบๆ ไป แต่นั่นทำให้เพื่อนพ้องน้องพี่ในพรรคต้องเสียเวลามาให้กำลังใจตน แทนที่จะไปทำหน้าที่หาเสียง
ดังนั้น เมื่อมีการออกหมายเรียกเป็นครั้งที่ 2 จึงเดินทางมาเข้าพบวันนี้เพื่อมาดูว่าสิ่งที่ ‘ณฐพร โตประยูร’ ฟ้องร้องเข้าข่ายหรือไม่ หรือเป็นการกล่าวหาลอยๆ เพราะที่ผ่านมา เจ้าตัวถือว่าเป็นนักร้องมืออาชีพ ซึ่งเคยร้องเข้าเป้าตั้งแต่สมัยพรรคอนาคตใหม่จนถึงขั้นโดนยุบพรรค รวมถึงนิสิต นักศึกษา เยาวชนคนรุ่นใหม่ต่างก็โดนฟ้องร้องด้วยเหมือนกัน
เมื่อถามว่าจะมีแนวทางอย่างไรเพื่อตรวจสอบดุลยพินิจของเจ้าพนักงานสอบสวน ปิยบุตร กล่าวว่า ตอนสมัยเป็นอาจารย์ไม่ได้โดนหมายเรียก แต่เมื่อมาเป็นนักการเมืองกลับถูกหมายเรียกในคดีต่างๆ มาเป็นชุด และเมื่อช่วงที่ถอยออกจากการเมืองก็เงียบหายไป และโดยเฉพาะคดี ม.116 ที่หลายคดีอัยการไม่สั่งฟ้อง หรือเรื่องไปถึงศาลฯ ก็ไม่ถูกสั่งฟ้อง แต่ยังสงสัยว่าทำไมเจ้าพนักงานถึงทำสำนวนคดีสั่งฟ้องอยู่ตลอด
ส่วนตัวและเจ้าพนักงานสอบสวนก็เรียนนิติศาสตร์มาด้วยกัน จึงอยากให้ระลึกถึงตอนเป็นนักศึกษาปริญญาตรี ให้มีดุลยพินิจ เพราะเจ้าพนักงานสอบสวนไม่ใช่บุรุษไปรษณีย์ที่เมื่อใครมาร้องทุกข์กล่าวโทษก็ต้องทำสำนวนคดี เพื่อออกหมายเรียกทุกกรณีไป
เมื่อถามว่า เจ้าพนักงานสอบสวนโดนใบสั่งหรือไม่ ปิยบุตร กล่าวว่า คงไม่อาจกล่าวเช่นนั้นได้ เพราะเจ้าพนักงานก็ทำหน้าที่ แต่อยากจะให้มีดุลยพินิจถ้าหากเรื่องไหนไม่เข้าข่ายก็ควรปัดตกไป มิเช่นนั้นจะทำให้นักร้องทำงานได้เต็มที่ อย่าเพียงแต่บอกว่า เราอยู่ในประเทศที่ใช้ระบบกล่าวหา นั่นจะทำให้ผู้ถูกร้องได้รับความเสียหาย โดยเบื้องต้นวันนี้จะตรวจสอบดูก่อนว่า ข้อความใดที่ถูกยกมาฟ้องร้อง ซึ่งส่วนตัวตนเรียนกฎหมายมาจึงระมัดระวังทุกความคิดเห็น และทราบดีว่าประเทศนี้มีกรอบทางกฎหมายอย่างไร
ทั้งนี้ ปิยบุตร ยังระบุอีกว่า กฎหมาย ม.116 มีขอบข่ายที่กว้างมาก ทั้งที่เป็นข้อหาร้ายแรงเกี่ยวกับความมั่นคง ทำให้เป็นช่องโหว่ให้นักร้องเรียนนำมาใช้ ทำราวกับว่าพลเมืองไทยมีปัญหากับรัฐไทยมาขนาดนี้หรือ ถึงร้องเรียนได้มากมายขนาดนี้ แสดงว่าตัวกฎหมายต้องมีปัญหา และการใช้กฎหมายนี้ก็มีปัญหา ทางพรรคก้าวไกลก็เสนอให้มีการแก้กฎหมายนี้มาโดยตลอด