คดีเน็ตไอดอลสาว ถูกยิงเสียชีวิต พร้อมแฟนหนุ่ม เป็นประเด็นร้อนที่กำลังถูกพูดถึงอย่างหนัก ชาวเน็ตไม่น้อยตั้งคำถามถึงความเหมาะสมในการพกพาอาวุธปืนของแฟนหนุ่ม และการใช้ความรุนแรง ที่งัดหลักฐานจากโซเชียลมีเดียและแชท ออกมาโชว์ว่าฝ่ายชายนั้น มีพฤติกรรมหัวรุนแรง ทำร้ายร่างกายแฟนสาวหลายครั้ง ด่าทอและข่มขู่ด้วยถ้อยคำหยาบคาย กิจกรรมที่ฝ่ายชายชื่นชอบก็คือการสะสมอาวุธปืน และยิงปืน
หนึ่งในประเด็นถกเถียง หนีไม่พ้นเรื่องการเลี้ยงดูของครอบครัว ที่คราวนี้วิจารณ์กันค่อนข้างหนัก เพราะฝ่ายชายเป็นนักเรียนเตรียมทหาร ลูกชายทหารระดับสูง ชาวเน็ตขุดภาพการสวมใส่เสื้อผ้าและนาฬิกาแบรนด์หรู และข้อความที่อ้างว่าเป็นจดหมายของฝ่ายชาย เขียนว่าขอบคุณแฟนสาวที่ทำให้มีกำลังใจในการมีชีวิตอยู่ คาดว่าถูกกดดันจากครอบครัว
แต่นี้ไม่ใช่ครั้งแรก ที่พอเกิดเหตุอาชญากรรม เราจะต้องย้อนไปดูพื้นเพของผู้ก่อเหตุว่าถูกเลี้ยงดูมาอย่างไร มีลักษณะนิสัยเป็นอย่างไร อยู่ในครอบครัวและสังคมแบบไหน
รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม และกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น อธิบายว่า เด็กแต่ละคนจะเติบโตมาเป็นคนอย่างไร ใช้ความรุนแรงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยด้วยกัน คือ
1. พื้นฐานอารมณ์ของเด็ก ต้องยอมรับก่อนว่าเด็กไม่ได้เปรียบเหมือนผ้าขาวอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่เด็กเปรียบเหมือนผ้าสีพื้น คือเด็กแต่ละคนมีพื้นฐานอารมณ์ที่แตกต่างกัน เช่น เป็นคนอารมณ์ร้อน อ่อนไหว บางคนเลี้ยงง่าย บางคนเลี้ยงยาก บางคนบ้าพลัง
2. การเลี้ยงดูของครอบครัว ปัจจุบันในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบกว้างๆ คือ
3. รูปแบบของสังคมที่หล่อหลอม เป็นปัจจัยสุดท้ายที่ส่งผลต่อเด็กแต่สำคัญไม่แพ้กัน คำว่า สังคม ไม่ได้หมายถึงชุมชนหรือบริเวณที่เด็กอาศัยอยู่เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงสังคมออนไลน์ หรือโซเชียลมีเดีย และสื่อต่างๆ ที่เด็กได้เห็นได้สัมผัส แม้ว่าปัจจัยนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงทุกคน แต่เรียกว่าเป็นปัจจัยกระตุ้นที่อาจหล่อหลอมให้เด็กใช้ความรุนแรงได้ เช่น ถ้าเด็กเป็นคนบ้าพลัง เลี้ยงยาก ถ้าอยู่ในสังคมที่ใช้ความรุนแรง ก็ทำให้เด็กมีแนวโน้มใช้ความรุนแรง แต่ถ้าเด็กเป็นคนเลี้ยงง่าย ปรับตัวได้ และเลือกเลียนแบบต้นแบบดีๆ แม้อยู่ในสังคมที่ใช้ความรุนแรง เขาก็เลือกที่จะไม่ใช้ความรุนแรงได้
ถ้าครอบครัวปฏิบัติในทางตรงกันข้าม เช่น ใช้ความรุนแรง ไม่เป็นพื้นที่ปลอดภัย เผด็จการ ไม่ฟังซึ่งกันและกัน ไม่ให้เกียรติกัน ให้ความรักแบบผิดๆ คือตามใจ ปรนเปรอให้ทุกอย่างเรียกว่าสำลักความรัก ไม่เป็นต้นแบบที่ดีให้ลูก ย่อมเกิดปัญหาตามมา
หนึ่งในประเด็นถกเถียง หนีไม่พ้นเรื่องการเลี้ยงดูของครอบครัว ที่คราวนี้วิจารณ์กันค่อนข้างหนัก เพราะฝ่ายชายเป็นนักเรียนเตรียมทหาร ลูกชายทหารระดับสูง ชาวเน็ตขุดภาพการสวมใส่เสื้อผ้าและนาฬิกาแบรนด์หรู และข้อความที่อ้างว่าเป็นจดหมายของฝ่ายชาย เขียนว่าขอบคุณแฟนสาวที่ทำให้มีกำลังใจในการมีชีวิตอยู่ คาดว่าถูกกดดันจากครอบครัว
แต่นี้ไม่ใช่ครั้งแรก ที่พอเกิดเหตุอาชญากรรม เราจะต้องย้อนไปดูพื้นเพของผู้ก่อเหตุว่าถูกเลี้ยงดูมาอย่างไร มีลักษณะนิสัยเป็นอย่างไร อยู่ในครอบครัวและสังคมแบบไหน
ทำไมลูกทำร้ายคนอื่น
เราศึกษากรณีตัวอย่างมาหลายครั้ง ทบทวนถึงอดีตที่ผ่านมา แต่จะมีสักกี่ครั้ง ที่จะหาวิธีร่วมกันว่า แล้วอนาคตเราจะลดเหตุอาชญากรรมได้อย่างไร ซึ่งหลายคนต่างก็รู้ดีว่า ต้องเริ่มที่ “ครอบครัวและการเลี้ยงดู”รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม และกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น อธิบายว่า เด็กแต่ละคนจะเติบโตมาเป็นคนอย่างไร ใช้ความรุนแรงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยด้วยกัน คือ
1. พื้นฐานอารมณ์ของเด็ก ต้องยอมรับก่อนว่าเด็กไม่ได้เปรียบเหมือนผ้าขาวอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่เด็กเปรียบเหมือนผ้าสีพื้น คือเด็กแต่ละคนมีพื้นฐานอารมณ์ที่แตกต่างกัน เช่น เป็นคนอารมณ์ร้อน อ่อนไหว บางคนเลี้ยงง่าย บางคนเลี้ยงยาก บางคนบ้าพลัง
2. การเลี้ยงดูของครอบครัว ปัจจุบันในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบกว้างๆ คือ
- ใช้อำนาจในการเลี้ยงลูก คือตัดสินใจให้ลูกทุกอย่าง บังคับให้ลูกดำเนินชีวิตไปตามบริบทแบบที่พ่อแม่ต้องการ ซึ่งในประเทศไทยมีครอบครัวที่เลี้ยงลูกแบบอำนาจแฝงนี้ เกือบครึ่งหนึ่ง คือ 10 ล้านครอบครัว จาก 20 ครอบครัว ถือว่าเป็นจำนวนที่สูงมาก ในจำนวนนี้ เป็น ‘ครอบครัวป่วย’ หรือ เลี้ยงลูกป่วย คือเลี้ยงลูกโดยไม่พัฒนาทักษะชีวิต ไม่พัฒนาจิตสำนึก หรือเรียกว่า เลี้ยงลูกให้มีทุนชีวิตต่ำ แต่กลับไปพัฒนาด้วยวัตถุนิยมหรือทุนนิยม
- ปล่อยปละละเลย ใช้เงินซื้อระบบนิเวศน์ให้เด็ก เช่น การจ่ายค่าเทอมแพงให้ลูกอยู่ในโรงเรียนคุณภาพสูง ตั้งใจซื้อสังคมดีๆ โดยคาดหวังว่าสังคมนั้นจะทำให้ลูกเป็นคนดี เรียกว่าฝากให้สังคมเลี้ยง ซึ่งครอบครัวที่เลี้ยงแบบนี้มีจำนวนไม่น้อย
- ครอบครัวหัวใจประชาธิปไตย เลี้ยงลูกอย่างคลุกวงใน เป็นที่ปรึกษาที่ดีให้ลูก มีสุทรียสนทนาในครอบครัว เปิดโอกาสให้ลูกแสดงความคิดเห็น พัฒนาทักษะชีวิต ร่วมทุกข์ร่วมสุขไปด้วยกัน พ่อแม่ทำดี เป็นต้นแบบที่ดีให้ลูก ซึ่งรูปแบบนี้เป็นการเลี้ยงลูกที่ดี แต่มีครอบครัวรูปแบบนี้เพียงประมาณ 20 – 30 % เท่านั้น
3. รูปแบบของสังคมที่หล่อหลอม เป็นปัจจัยสุดท้ายที่ส่งผลต่อเด็กแต่สำคัญไม่แพ้กัน คำว่า สังคม ไม่ได้หมายถึงชุมชนหรือบริเวณที่เด็กอาศัยอยู่เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงสังคมออนไลน์ หรือโซเชียลมีเดีย และสื่อต่างๆ ที่เด็กได้เห็นได้สัมผัส แม้ว่าปัจจัยนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงทุกคน แต่เรียกว่าเป็นปัจจัยกระตุ้นที่อาจหล่อหลอมให้เด็กใช้ความรุนแรงได้ เช่น ถ้าเด็กเป็นคนบ้าพลัง เลี้ยงยาก ถ้าอยู่ในสังคมที่ใช้ความรุนแรง ก็ทำให้เด็กมีแนวโน้มใช้ความรุนแรง แต่ถ้าเด็กเป็นคนเลี้ยงง่าย ปรับตัวได้ และเลือกเลียนแบบต้นแบบดีๆ แม้อยู่ในสังคมที่ใช้ความรุนแรง เขาก็เลือกที่จะไม่ใช้ความรุนแรงได้
เลี้ยงลูกอย่างไรให้ไม่ใช้ความรุนแรง
รูปแบบการเลี้ยงลูกที่จะทำให้ไม่ใช้ความรุนแรง หรือทำร้ายผู้อื่น คือรูปแบบที่ 3 ครอบครัวหัวใจประชาธิปไตย ซึ่งหัวใจสำคัญ อยู่ที่คุณลักษณะของพ่อแม่ ต้องเป็นต้นแบบที่ดี- ไม่ใช้ความรุนแรงในบ้าน (ทั้งการกระทำและคำพูด) จัดการอารมณ์ได้
- ให้เกียรติซึ่งกันและกัน
- ให้ความรักความอบอุ่น เป็นพื้นที่ปลอดภัย
- รับฟังซึ่งกันและกัน ไม่ออกคำสั่ง ไม่เผด็จการ
- มีวินัย โดยให้สมาชิกในครอบครัวมีส่วนร่วมกำหนดกฎกติกา และไม่มีผู้ใดได้รับข้อยกเว้น เช่น พ่อ
ถ้าครอบครัวปฏิบัติในทางตรงกันข้าม เช่น ใช้ความรุนแรง ไม่เป็นพื้นที่ปลอดภัย เผด็จการ ไม่ฟังซึ่งกันและกัน ไม่ให้เกียรติกัน ให้ความรักแบบผิดๆ คือตามใจ ปรนเปรอให้ทุกอย่างเรียกว่าสำลักความรัก ไม่เป็นต้นแบบที่ดีให้ลูก ย่อมเกิดปัญหาตามมา

จากข้อมูลของศูนย์คุณธรรม มีข้อมูลที่น่าตกใจเกี่ยวกับต้นทุนชีวิตเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นการวัดพลังบวกของเด็กไทยประกอบด้วยพลังตัวตน พลังครอบครัว พลังสร้างปัญญา พลังเพื่อนและกิจกรรม และพลังชุมชน โดยให้เด็กตอบว่ารู้สึกดีกับแต่ละอย่างอย่างไร พบว่าต้นทุนชีวิตหรือพลังบวกของเด็กและเยาวชน ลดน้อยลงทุกปี จนถึงระดับที่ค่อนข้างน้อย ในปี 2564 นั่นหมายความว่ายิ่งอ่อนแอ ยิ่งวิกฤต สะท้อนว่าเกิดปัญหาความรุนแรงทั้งในครอบครัว และเด็กก่อการเอง


ดูจากกราฟนี้จะเห็นว่า พลังชุมชน ซึ่งหมายถึงจิตสำนึกสาธารณะของเด็กหรือความคิดผิดชอบชั่วดีต่อสังคม อยู่ในระดับสีแดง หรือค่อนข้างน้อย ประกอบกับพลังครอบครัว ค่อยๆ ต่ำลงในแต่ละปี นั่นหมายความว่าต้นทุนชีวิตหรือพลังบวกของเด็กและเยาวชนไทย อยู่ในระดับวิกฤตและน่าเป็นห่วง มีแนวโน้มที่จะลดต่ำลง
หากปล่อยไว้ไม่มีทางที่ตัวเลขการก่อเหตุอาชญากรรม และการใช้ความรุนแรงต่อผู้อื่นจะลดน้อยลง เพราะเด็กก็คืออนาคตของชาติ และอนาคตของประเทศไทยจะเป็นอย่างไร ก็ต้องย้อนกลับไปที่การเลี้ยงดูของครอบครัวอยู่ดี
หากปล่อยไว้ไม่มีทางที่ตัวเลขการก่อเหตุอาชญากรรม และการใช้ความรุนแรงต่อผู้อื่นจะลดน้อยลง เพราะเด็กก็คืออนาคตของชาติ และอนาคตของประเทศไทยจะเป็นอย่างไร ก็ต้องย้อนกลับไปที่การเลี้ยงดูของครอบครัวอยู่ดี