ทำไมคนบางคนถึงสามารถฆ่าคนได้โดยไม่รู้สึกผิด เอาทรัพย์สินของเขาไปจนหมดเนื้อหมดตัว ทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า แบบไม่กลัวถูกจับ ไม่สนใจว่าผิดกฎหมาย หรือผิดศีลธรรมหรือไม่ ยอมทำทุกอย่างเพื่อให้ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการ ลักษณะแบบนี้เป็นอาการที่เข้าข่ายไซโคพาธ (Psychopath) ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มของโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (Antisocial Personality Disorder : ASPD) โดยมีลักษณะขาดความเห็นใจผู้อื่น ขาดความสำนึกผิด เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง ซึ่งมีสัญญาณบางอย่างที่สามารถเช็กได้ว่าคนคนนั้นอาจเป็นไซโคพาธ
แต่มีอีกคำหนึ่งที่คนในสังคมยังถกเถียงกันว่าหรือคนคนนั้นเป็น ‘โซซิโอพาธ’
(Sociopath) กันแน่ เพราะทั้งสองอาการจัดอยู่ในกลุ่มโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม(ASPD)เหมือนกัน และมีหลายอาการที่คาบเกี่ยวกัน
แต่มีนักจิตวิทยาและนักวิจัยบางคนได้จำแนกความแตกต่างของไซโคพาธ และโซซิโอพาธ เพราะเมื่อดูในรายละเอียดจะพบว่ามีบางจุดที่แตกต่างกัน
พบว่าคนที่เป็นโซซิโอพาธ มีการเพิ่มขึ้นของเซลล์ประสาทในสมอง เป็นเหตุให้เกิดการพัฒนาความรู้สึกด้านจริยธรรมมากกว่า
แม้ว่าสมองและพันธุกรรมจะมีส่วน แต่การเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนในวัยเด็ก รวมถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมมีผลมากที่สุด ขณะที่ไซโคพาธ พบว่ามีปัจจัยมาจากพันธุกรรมหรือลักษณะทางกายตั้งแต่กำเนิดมากกว่า
เด็กที่ไม่ได้รับความสนใจในการเลี้ยงดูจะเติบโตมาโดยการเรียนรู้ที่จะดูแลตัวเอง โดยเฉพาะเด็กที่ถูกทำร้ายร่างกายและอยู่ท่ามกลางความรุนแรงตั้งแต่เล็ก มีแนวโน้มมีพฤติกรรมแบบเดียวกันเมื่อโตขึ้น
งานวิจัยยังพบว่า มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดจากอุบัติเหตุและการได้รับบาดเจ็บบริเวณสมอง การรักษาโซซิโอพาธ
คนที่เป็นโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม มักไม่รู้ตัวว่าตัวเองผิดปกติ จึงไม่ได้เข้ารับการรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญ ผู้ใกล้ชิด เช่น คนในครอบครัว คนรัก หรือหัวหน้างาน ควรสังเกตพฤติกรรม เช่น ก้าวร้าว รุนแรง วู่วาม ถ้าพบความผิดปกติควรเข้ารับการปรึกษา วินิจฉัยอย่างถูกต้องและรับการรักษา ซึ่ง
โดยการพูดคุยกับนักจิตบำบัดเกี่ยวกับความคิด ความรู้สึกที่ทำให้มีพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง และรับคำแนะนำในการปรับพฤติกรรมที่ผิดปกติของผู้ป่วยแต่ละคน เช่น การปรับอารมณ์โมโหร้าย และป้องกันการใช้สารเสพติด เช่น การบำบัดด้วยการปรับความคิดและพฤติกรรม สติบำบัด และชุมชนบำบัด
2.การใช้ยา
ปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้รักษาโซซิโอพาธโดยตรง ซึ่งยาที่ใช้ในการรักษามักเป็นยาที่ช่วยปรับสภาวะอารมณ์ เช่น ยาต้านอาการทางจิต (Antipsychotics) ยาต้านเศร้า SSRI และยาปรับสภาพอารมณ์ (Mood Stabilizers) ที่ใช้รักษาอารมณ์ก้าวร้าวรุนแรง และยากันชักที่ใช้รักษาอาการหุนหันพลันแล่น เป็นต้น
ในชีวิตประจำวันเราอาจไม่จำเป็นต้องระบุว่าคนที่เรารู้จักเป็นโซซิโอพาธหรือไซโคพาธ เพราะทั้งสองแบบมีพฤติกรรมที่เหมือนกันคือไม่สนใจและไม่เห็นใจความรู้สึกผู้อื่น ละเมิดสิทธิผู้อื่น ใช้ความรุนแรง หลอกลวง จึงเป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญในการวินิจฉัยโรค หากพบคนที่มีลักษณะอาการเหล่านี้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาวิธีการให้เขาเข้ารับการรักษา แต่การรักษาโรคนี้จะหายได้ ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยเต็มใจที่จะเข้ารับการรักษาด้วย
แต่มีอีกคำหนึ่งที่คนในสังคมยังถกเถียงกันว่าหรือคนคนนั้นเป็น ‘โซซิโอพาธ’
(Sociopath) กันแน่ เพราะทั้งสองอาการจัดอยู่ในกลุ่มโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม(ASPD)เหมือนกัน และมีหลายอาการที่คาบเกี่ยวกัน
แต่มีนักจิตวิทยาและนักวิจัยบางคนได้จำแนกความแตกต่างของไซโคพาธ และโซซิโอพาธ เพราะเมื่อดูในรายละเอียดจะพบว่ามีบางจุดที่แตกต่างกัน
โซซิโอพาธ คืออะไร
โซซิโอพาธเป็นอาการของคนที่มีบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (ASPD) ซึ่งหมายถึงคนที่ไม่สนใจการทำตามกฎหรือแปลกแยกจากสังคม และละเมิดสิทธิของผู้อื่นซ้ำๆอยู่เสมอ บางคนภายนอกดูมีเสน่ห์แต่แท้จริงแล้วเขาไม่เข้าใจความรู้สึกของคนอื่นเลย มักมีพฤติกรรมดังนี้- ทำผิดกฎระเบียบและกฎหมาย
- มีพฤติกรรมก้าวร้าว และวู่วาม
- มีความรู้สึกผิดเล็กน้อยเมื่อทำร้ายผู้อื่น
- มีการจัดฉาก หลอกลวง และควบคุมผู้อื่น
คำว่า ไซซิโอพาธ เกิดขึ้นมานาน ตั้งแต่ยุคของการศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ในเชิงจิตวิทยา ช่วงปี 1920 - 1950 แต่หลังจากนั้นคำนี้ถูกเลิกใช้ไป โดย ดร.เคนท์ คีล นักวิทยาศาสตร์ระบบประสาท และผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับสมองและโรคจิตเภท ในรัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ในการศึกษาของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ไม่ใช้คำว่าโซซิโอพาธเป็นเวลาหลายสิบปี ยกตัวอย่างว่า อาจเพราะไม่ได้รับเงินทุนในการศึกษาโซซิโอพาธจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institute of Health)
ความแตกต่างระหว่างโซซิโอพาธ กับ ไซโคพาธ
ในทางคลินิกไม่ระบุความแตกต่างระหว่างโซซิโอพาธและไซโคพาธอย่างชัดเจน ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตยังอาจไม่วินิจฉัยว่าเป็นโรคใดโรคหนึ่ง เพราะมีลักษณะเฉพาะที่เหมือนกันในกลุ่มโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม แต่ถ้ามองในแง่โครงสร้างทางสังคม ทั้งสองคำมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง โดยเฉพาะ- คนที่เป็นโซซิโอพาธมีอารมณ์วู่วาม หรือหุนหันพลันแล่น และไม่อยู่กับร่องกับรอยมากกว่า
- คนที่เป็นไซโคพาธ คิดวางแผนได้ดีกว่า ทำอะไรโดยคิดไตร่ตรองไว้เป็นอย่างดี ไม่ได้มีพฤติกรรมใช้ความรุนแรงเสมอไป
- คนที่เป็นโซซิโอพาธ มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี รู้ว่าสิ่งไหน “ถูก” หรือ “ผิด” และมีคุณธรรมมากกว่า
- แต่คุณธรรมนั้นอาจไม่ได้อยู่ในจารีต หรือแบบแผนของสังคมและวัฒนธรรมที่ปฏิบัติกันมา ดังนั้นสิ่งที่เขากระทำจึงถูกตัดสินว่า “ผิด”
- คนที่เป็นไซโคพาธ รู้สึกผิดน้อยกว่า และไม่มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี หรือความเห็นใจเลย
พบว่าคนที่เป็นโซซิโอพาธ มีการเพิ่มขึ้นของเซลล์ประสาทในสมอง เป็นเหตุให้เกิดการพัฒนาความรู้สึกด้านจริยธรรมมากกว่า
สัญญาณของคนเป็นโซซิโอพาธ
โซซิโอพาธไม่ได้มีสัญญาณที่เป็นเกณฑ์ชัดเจน แต่มีสัญญาณและอาการของโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคมที่มีรูปแบบชัดเจน คือการไม่สนใจความรู้สึกของผู้อื่น เช่น- ไม่สนใจระเบียบสังคม หรือกฎหมาย ทำผิดกฎที่โรงเรียนและที่ทำงาน ขโมย สะกดรอยตาม ทำร้ายผู้อื่น และทำลายทรัพย์สิน
- หลอกลวง ไม่สุจริต เช่น ใช้ตัวตนปลอม และจัดฉากเพื่อให้ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการ
- ยากที่จะควบคุมแรงกระตุ้นของตัวเอง และการวางแผนอนาคต หรือทำโดยไม่คิดถึงสิ่งที่จะตามมา
- มีพฤติกรรมก้าวร้าว ขี้โมโห มักทะเลาวิวาท ต่อสู้กับคนอื่น
- ไม่สนใจความปลอดภัยของตัวเองและคนอื่น
- ยากที่จะจัดการงานความรับผิดชอบของตัวเอง เช่น การทำงาน การจ่ายบิล
- แทบไม่รู้สึกผิด หรือสงสาร ในการกระทำแย่ๆต่อคนอื่น
สาเหตุของโซซิโอพาธ
ผู้เชี่ยวชาญหลายคนพิจารณาว่าโซซิโอพาธมีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อม มากกว่าพันธุกรรมแม้ว่าสมองและพันธุกรรมจะมีส่วน แต่การเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนในวัยเด็ก รวมถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมมีผลมากที่สุด ขณะที่ไซโคพาธ พบว่ามีปัจจัยมาจากพันธุกรรมหรือลักษณะทางกายตั้งแต่กำเนิดมากกว่า
เด็กที่ไม่ได้รับความสนใจในการเลี้ยงดูจะเติบโตมาโดยการเรียนรู้ที่จะดูแลตัวเอง โดยเฉพาะเด็กที่ถูกทำร้ายร่างกายและอยู่ท่ามกลางความรุนแรงตั้งแต่เล็ก มีแนวโน้มมีพฤติกรรมแบบเดียวกันเมื่อโตขึ้น
งานวิจัยยังพบว่า มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดจากอุบัติเหตุและการได้รับบาดเจ็บบริเวณสมอง การรักษาโซซิโอพาธ
คนที่เป็นโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม มักไม่รู้ตัวว่าตัวเองผิดปกติ จึงไม่ได้เข้ารับการรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญ ผู้ใกล้ชิด เช่น คนในครอบครัว คนรัก หรือหัวหน้างาน ควรสังเกตพฤติกรรม เช่น ก้าวร้าว รุนแรง วู่วาม ถ้าพบความผิดปกติควรเข้ารับการปรึกษา วินิจฉัยอย่างถูกต้องและรับการรักษา ซึ่ง
วิธีการรักษาอาจไม่สามารถใช้วิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งได้
1.จิตบำบัดโดยการพูดคุยกับนักจิตบำบัดเกี่ยวกับความคิด ความรู้สึกที่ทำให้มีพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง และรับคำแนะนำในการปรับพฤติกรรมที่ผิดปกติของผู้ป่วยแต่ละคน เช่น การปรับอารมณ์โมโหร้าย และป้องกันการใช้สารเสพติด เช่น การบำบัดด้วยการปรับความคิดและพฤติกรรม สติบำบัด และชุมชนบำบัด
2.การใช้ยา
ปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้รักษาโซซิโอพาธโดยตรง ซึ่งยาที่ใช้ในการรักษามักเป็นยาที่ช่วยปรับสภาวะอารมณ์ เช่น ยาต้านอาการทางจิต (Antipsychotics) ยาต้านเศร้า SSRI และยาปรับสภาพอารมณ์ (Mood Stabilizers) ที่ใช้รักษาอารมณ์ก้าวร้าวรุนแรง และยากันชักที่ใช้รักษาอาการหุนหันพลันแล่น เป็นต้น
ในชีวิตประจำวันเราอาจไม่จำเป็นต้องระบุว่าคนที่เรารู้จักเป็นโซซิโอพาธหรือไซโคพาธ เพราะทั้งสองแบบมีพฤติกรรมที่เหมือนกันคือไม่สนใจและไม่เห็นใจความรู้สึกผู้อื่น ละเมิดสิทธิผู้อื่น ใช้ความรุนแรง หลอกลวง จึงเป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญในการวินิจฉัยโรค หากพบคนที่มีลักษณะอาการเหล่านี้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาวิธีการให้เขาเข้ารับการรักษา แต่การรักษาโรคนี้จะหายได้ ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยเต็มใจที่จะเข้ารับการรักษาด้วย