ถ้าลูกกำลังร้องไห้ ทำหน้าทะเล้น หกล้ม อาละวาด คุณจะถ่ายรูปหรือคลิปวิดีโอแล้วโพสต์ลงโซเชียลมีเดียไหม?
ถ้าตอบแบบไม่ต้องคิด ก็อาจจะโพสต์ ไม่อย่างนั้นเราคงไม่เห็นภาพและคลิปเด็กๆ ในพฤติกรรมเหล่านี้อยู่บนโลกออนไลน์ตลอดเวลา
มองผ่านๆ เราอาจคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่ลืมไปแล้วหรือไม่ ว่าภาพและคลิปเหล่านั้นจะอยู่ในโลกออนไลน์ไปตลอด จนลูกคุณโตขึ้น ไปเรียนโรงเรียน มหาวิทยาลัย เข้าทำงาน จนเป็นพ่อแม่ ปู่ย่าตายายในวันข้างหน้า นั่นก็คือ Digital Footprint เราสามารถแกะรอย หรือรู้เรื่องราวของใครสักคนย้อนหลังได้ เพียงแค่เสิร์จหาในโลกออนไลน์
ภาพที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองโพสต์ไว้ อาจทำให้เด็กถูกล้อเลียน ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ ภาพลักษณ์ เสี่ยงต่อความปลอดภัย การลักพาตัว และอาจถูกนำไปใช้ในสื่อลามกอนาจาร ดังนั้น จึงมีกฎหมายคุ้มครองเด็ก เพื่อไม่ให้ผู้ใหญ่โพสต์รูปเด็ก ที่จะส่งผลเสียต่อเด็ก เพราะเด็กทุกคนมีสิทธิของตัวเอง
รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม ให้ความเห็นว่า พ่อแม่ผู้ปกครองควรเข้าใจว่า ลูกไม่ใช่ทรัพย์สมบัติของพ่อแม่ ที่อยากทำอะไรแบบไหนก็ได้ จะแต่งตัวให้แบบไหนก็ได้ ถือว่ามีสิทธิ มีอำนาจจัดการได้หมด และตอนเล็กเขาไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าภาพของเขาจะไปปรากฏอยู่ที่ไหน
ก่อนโพสต์ภาพหรือคลิปลูก ควรคิด และพิจารณาให้ดีก่อนว่า ภาพเหล่านั้นจะส่งผลเสียต่อเด็กหรือไม่ ซึ่งอาจเกิดผลกระทบในอนาคต เมื่อเขาโตขึ้น
เมื่อเด็กอยู่ในวัยที่พูดได้ และเข้าใจถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ต้องขออนุญาตจากลูกก่อนโพสต์ และถามย้อนหลังไปถึงภาพที่เคยโพสต์ด้วย ถ้าลูกไม่ยินยอม ต้องลบออก
ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ยังกังวลด้วยว่า พ่อแม่ผู้ปกครองที่เป็นคนดัง อินฟลูเอนเซอร์ มักใช้ลูกมาสร้างคอนเทนต์ เพื่อเรียกยอดไลก์ ยอดแชร์ จนอาจทำให้เด็กสูญเสียความเป็นตัวตน เกิดความกดดัน และความเครียด บางครอบครัว สร้างภาพว่ารักกันในโลกออนไลน์ แต่ไม่ใช่ในชีวิตจริง ทำให้เด็กไม่มีความสุข
ขอให้พ่อแม่ทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวลูกว่าเขาชอบหรือไม่ชอบอะไร เพราะบางครั้งการที่เขาแสดงว่าชอบ อาจเพื่อต้องการเอาใจ แต่พ่อแม่ต้องปกป้องเขาจากพื้นที่สาธารณะ ถ้าไม่ปกป้อง เท่ากับกำลังละเมิดอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
ต่างประเทศใช้คำว่า ‘Sharenting’ อธิบายพฤติกรรมของพ่อแม่ที่โพสต์ภาพหรือคลิปลูก ลงโซเชียลมีเดียมากเกินไป มาจากคำว่า Share ผสมกับ Parenting เหมือนจะเป็นเรื่องปกติของคนยุคใหม่
แต่ก็มีกรณีที่ลูกฟ้องร้องศาลฯ ต่อพ่อแม่ที่โพสต์รูปลูกโดยไม่ยินยอมแล้ว และเกิดกฎหมายห้ามพ่อแม่โพสต์รูปลูก ถ้าการโพสต์นั้น “ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อศักดิ์ศรีของเด็ก” ในฝรั่งเศสด้วย
คนยุคใหม่ใช้ชีวิตอยู่ในโลกออนไลน์ทุกวัน แทบจะทั้งวัน บางครั้งอาจเผลอโพสต์ หรือคอมเมนท์ เรื่องลบๆ โดยไม่ทันระวัง บางคนใช้เป็นที่ระบาย หรือว่าร้ายผู้อื่น ร้ายแรงไปจนถึงใช้หลอกลวง ฉ้อโกง หรือก่อเหตุอาชญากรรม ดังนั้นผู้เป็นพ่อแม่ต้องระลึกว่า โลกออนไลน์ไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัยเสมอไป และเมื่อโพสต์แล้ว ไม่สามารถควบคุมคอนเทนต์นั้นต่อไปได้เลย แม้ตัวเองมีเจตนาหรือปรารถนาดี แต่ข้อมูลที่โพสต์เกินพอดี อาจทำให้เสียใจในภายหลังได้
ถ้าตอบแบบไม่ต้องคิด ก็อาจจะโพสต์ ไม่อย่างนั้นเราคงไม่เห็นภาพและคลิปเด็กๆ ในพฤติกรรมเหล่านี้อยู่บนโลกออนไลน์ตลอดเวลา
มองผ่านๆ เราอาจคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่ลืมไปแล้วหรือไม่ ว่าภาพและคลิปเหล่านั้นจะอยู่ในโลกออนไลน์ไปตลอด จนลูกคุณโตขึ้น ไปเรียนโรงเรียน มหาวิทยาลัย เข้าทำงาน จนเป็นพ่อแม่ ปู่ย่าตายายในวันข้างหน้า นั่นก็คือ Digital Footprint เราสามารถแกะรอย หรือรู้เรื่องราวของใครสักคนย้อนหลังได้ เพียงแค่เสิร์จหาในโลกออนไลน์
ภาพที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองโพสต์ไว้ อาจทำให้เด็กถูกล้อเลียน ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ ภาพลักษณ์ เสี่ยงต่อความปลอดภัย การลักพาตัว และอาจถูกนำไปใช้ในสื่อลามกอนาจาร ดังนั้น จึงมีกฎหมายคุ้มครองเด็ก เพื่อไม่ให้ผู้ใหญ่โพสต์รูปเด็ก ที่จะส่งผลเสียต่อเด็ก เพราะเด็กทุกคนมีสิทธิของตัวเอง
รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม ให้ความเห็นว่า พ่อแม่ผู้ปกครองควรเข้าใจว่า ลูกไม่ใช่ทรัพย์สมบัติของพ่อแม่ ที่อยากทำอะไรแบบไหนก็ได้ จะแต่งตัวให้แบบไหนก็ได้ ถือว่ามีสิทธิ มีอำนาจจัดการได้หมด และตอนเล็กเขาไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าภาพของเขาจะไปปรากฏอยู่ที่ไหน
ก่อนโพสต์ภาพหรือคลิปลูก ควรคิด และพิจารณาให้ดีก่อนว่า ภาพเหล่านั้นจะส่งผลเสียต่อเด็กหรือไม่ ซึ่งอาจเกิดผลกระทบในอนาคต เมื่อเขาโตขึ้น
เมื่อเด็กอยู่ในวัยที่พูดได้ และเข้าใจถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ต้องขออนุญาตจากลูกก่อนโพสต์ และถามย้อนหลังไปถึงภาพที่เคยโพสต์ด้วย ถ้าลูกไม่ยินยอม ต้องลบออก
- ไม่โพสต์ภาพเด็กขณะโป๊เปลือย
- ไม่โพสต์ภาพที่ทำให้เด็กรู้สึกแย่ เช่น ตอนร้องไห้ มอมแมม
- หลีกเลี่ยงการโพสต์รูปหน้าตรง
- ไม่เปิดเผยข้อมูลรายละเอียด เกี่ยวกับเด็ก เช่น ชื่อจริง ที่อยู่ โรงเรียน
- งดเช็กอิน
- โพสต์ด้วยเจตนาบริสุทธิ์ ไม่ใช่การสร้างภาพ
- ไม่โพสต์บ่อยจนเกินไป
ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ยังกังวลด้วยว่า พ่อแม่ผู้ปกครองที่เป็นคนดัง อินฟลูเอนเซอร์ มักใช้ลูกมาสร้างคอนเทนต์ เพื่อเรียกยอดไลก์ ยอดแชร์ จนอาจทำให้เด็กสูญเสียความเป็นตัวตน เกิดความกดดัน และความเครียด บางครอบครัว สร้างภาพว่ารักกันในโลกออนไลน์ แต่ไม่ใช่ในชีวิตจริง ทำให้เด็กไม่มีความสุข
ขอให้พ่อแม่ทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวลูกว่าเขาชอบหรือไม่ชอบอะไร เพราะบางครั้งการที่เขาแสดงว่าชอบ อาจเพื่อต้องการเอาใจ แต่พ่อแม่ต้องปกป้องเขาจากพื้นที่สาธารณะ ถ้าไม่ปกป้อง เท่ากับกำลังละเมิดอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
ต่างประเทศใช้คำว่า ‘Sharenting’ อธิบายพฤติกรรมของพ่อแม่ที่โพสต์ภาพหรือคลิปลูก ลงโซเชียลมีเดียมากเกินไป มาจากคำว่า Share ผสมกับ Parenting เหมือนจะเป็นเรื่องปกติของคนยุคใหม่
แต่ก็มีกรณีที่ลูกฟ้องร้องศาลฯ ต่อพ่อแม่ที่โพสต์รูปลูกโดยไม่ยินยอมแล้ว และเกิดกฎหมายห้ามพ่อแม่โพสต์รูปลูก ถ้าการโพสต์นั้น “ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อศักดิ์ศรีของเด็ก” ในฝรั่งเศสด้วย
คนยุคใหม่ใช้ชีวิตอยู่ในโลกออนไลน์ทุกวัน แทบจะทั้งวัน บางครั้งอาจเผลอโพสต์ หรือคอมเมนท์ เรื่องลบๆ โดยไม่ทันระวัง บางคนใช้เป็นที่ระบาย หรือว่าร้ายผู้อื่น ร้ายแรงไปจนถึงใช้หลอกลวง ฉ้อโกง หรือก่อเหตุอาชญากรรม ดังนั้นผู้เป็นพ่อแม่ต้องระลึกว่า โลกออนไลน์ไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัยเสมอไป และเมื่อโพสต์แล้ว ไม่สามารถควบคุมคอนเทนต์นั้นต่อไปได้เลย แม้ตัวเองมีเจตนาหรือปรารถนาดี แต่ข้อมูลที่โพสต์เกินพอดี อาจทำให้เสียใจในภายหลังได้