ทุกวันที่ 13 สิงหาคม ของทุกปี ชื่อของ หะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ หรือ หะยีสุหลง โต๊ะมีนา มักจะถูกหยิบยกขึ้นเขียนถึงเสมอ
เพราะวันที่ 13 สิงหาคม จะเป็นวันครบรอบการสูญหายไปของหะยีสุหลง พร้อมลูกชายคนโต อาหมัด โต๊ะมีนา เมื่อปี พ.ศ.2497
13 สิงหาคม 2566 ปีนี้หะยีสุหลงสูญหายไปแล้ว 69 ปี จนถึงปัจจุบัน ยังไม่เคยมีใครพบร่าง หรือหลักฐานที่บ่งบอกว่าหะยีสุหลงและอาหมัดได้เสียชีวิตไปแล้ว นอกจากคำรับสารภาพของพันตำรวจเอกพุฒ บูรณะสมภพ หนึ่งในนายตำรวจแหวนอัศวินยุคพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจเจ้าของวาทะ “ไม่มีอะไรภายใต้ดวงอาทิตย์ที่ตำรวจไทยทำไม่ได้”
ทุกปีจะมีรายงานพิเศษรำลึกหะยีสุหลงในหลายๆ สื่อ
ทุกปีจะมีการหยิบยกเหตุการณ์อุ้มหายหะยีสุหลงขึ้นมาเป็นกรณีศึกษาเทียบเคียงการใช้อำนาจรัฐแบบผิดกฏหมาย
ปีนี้ก็เช่นกัน เชื่อว่าเมื่อลุเข้าช่วงต้นเดือนสิงหาคม ก่อนถึงวันที่ 13 สิงหาคม ชื่อหะยีสุหลงน่าจะปรากฏบนสื่อจำนวนมากอีกครั้ง และมีแนวโน้มว่า น่าจะมีการนำเสนอมากกว่าทุกปี และนำเสนอในหลายประเด็น
โดยเฉพาะเมื่อปีนี้ (พ.ศ.2566) เป็นปีที่มีความแหลมคมทางการเมือง และการต่อสู้ทางความคิดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้มข้นมากกว่าทุกปี
เพราะวันที่ 13 สิงหาคม จะเป็นวันครบรอบการสูญหายไปของหะยีสุหลง พร้อมลูกชายคนโต อาหมัด โต๊ะมีนา เมื่อปี พ.ศ.2497
13 สิงหาคม 2566 ปีนี้หะยีสุหลงสูญหายไปแล้ว 69 ปี จนถึงปัจจุบัน ยังไม่เคยมีใครพบร่าง หรือหลักฐานที่บ่งบอกว่าหะยีสุหลงและอาหมัดได้เสียชีวิตไปแล้ว นอกจากคำรับสารภาพของพันตำรวจเอกพุฒ บูรณะสมภพ หนึ่งในนายตำรวจแหวนอัศวินยุคพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจเจ้าของวาทะ “ไม่มีอะไรภายใต้ดวงอาทิตย์ที่ตำรวจไทยทำไม่ได้”
ทุกปีจะมีรายงานพิเศษรำลึกหะยีสุหลงในหลายๆ สื่อ
ทุกปีจะมีการหยิบยกเหตุการณ์อุ้มหายหะยีสุหลงขึ้นมาเป็นกรณีศึกษาเทียบเคียงการใช้อำนาจรัฐแบบผิดกฏหมาย
ปีนี้ก็เช่นกัน เชื่อว่าเมื่อลุเข้าช่วงต้นเดือนสิงหาคม ก่อนถึงวันที่ 13 สิงหาคม ชื่อหะยีสุหลงน่าจะปรากฏบนสื่อจำนวนมากอีกครั้ง และมีแนวโน้มว่า น่าจะมีการนำเสนอมากกว่าทุกปี และนำเสนอในหลายประเด็น
โดยเฉพาะเมื่อปีนี้ (พ.ศ.2566) เป็นปีที่มีความแหลมคมทางการเมือง และการต่อสู้ทางความคิดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้มข้นมากกว่าทุกปี

การต่อสู้ของหะยีสุหลงถูกบันทึกไว้ว่า น่าจะเริ่มต้นตั้งแต่หลังเดินทางกลับจากไปศึกษาด้านศาสนาที่เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย เมื่อปี พ.ศ.2470 แล้วตัดสินใจตั้งโรงเรียนสอนศาสนาแห่งแรกขึ้นที่จังหวัดปัตตานี
เพราะทันทีที่เริ่มตั้งโรงเรียนสอนศาสนา หะยีสุหลงก็ประสบปัญหาทั้งขาดแคลนเงินทุน และต้องฝ่าฟันอุปสรรคกับความเชื่อด้านภูติผีปีศาจของคนในพื้นที่
บันทึกหลายฉบับที่บอกเล่าเรื่องราวของหะยีสุหลงในห้วงเวลาตั้งแต่พ.ศ.2470–2475 ก่อนเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งใหญ่ ไม่ปรากฏว่าจะมีฉบับไหนที่ระบุว่า หะยีสุหลงเริ่มต้นแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการเมืองและการปกครอง
ตรงกันข้ามบันทึกส่วนใหญ่ระบุว่า ช่วงแรกหะยีสุหลงต้องพยายามอย่างหนักที่จะรวบรวมเงินทุนในการก่อตั้ง ‘ปอเนาะ’ แห่งแรก จากเงินทุนเบื้องต้นจำนวน 3,500 บาท จนเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงใน พ.ศ.2475 หะยีสุหลงจึงเดินทางมาพบตัวแทนรัฐบาลของพลเอกพหลพลพยุหเสนา เพื่อขอรับการสนับสนุนจนได้เงินเพิ่มมาอีก 3,500 บาท ซึ่งทำให้ก่อตั้งปอเนาะแห่งแรกของประเทศไทยในจังหวัดปัตตานีสำเร็จ
เพราะทันทีที่เริ่มตั้งโรงเรียนสอนศาสนา หะยีสุหลงก็ประสบปัญหาทั้งขาดแคลนเงินทุน และต้องฝ่าฟันอุปสรรคกับความเชื่อด้านภูติผีปีศาจของคนในพื้นที่
บันทึกหลายฉบับที่บอกเล่าเรื่องราวของหะยีสุหลงในห้วงเวลาตั้งแต่พ.ศ.2470–2475 ก่อนเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งใหญ่ ไม่ปรากฏว่าจะมีฉบับไหนที่ระบุว่า หะยีสุหลงเริ่มต้นแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการเมืองและการปกครอง
ตรงกันข้ามบันทึกส่วนใหญ่ระบุว่า ช่วงแรกหะยีสุหลงต้องพยายามอย่างหนักที่จะรวบรวมเงินทุนในการก่อตั้ง ‘ปอเนาะ’ แห่งแรก จากเงินทุนเบื้องต้นจำนวน 3,500 บาท จนเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงใน พ.ศ.2475 หะยีสุหลงจึงเดินทางมาพบตัวแทนรัฐบาลของพลเอกพหลพลพยุหเสนา เพื่อขอรับการสนับสนุนจนได้เงินเพิ่มมาอีก 3,500 บาท ซึ่งทำให้ก่อตั้งปอเนาะแห่งแรกของประเทศไทยในจังหวัดปัตตานีสำเร็จ

เด่น โต๊ะมีนา อดีตรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรหลายสมัยของจังหวัดปัตตานี บอกกับ BBC เมื่อ พ.ศ.2563 บันทึก 66 ปีการสูญหายของหะยีสุหลงว่า หะยีสุหลงก่อตั้งโรงเรียนสอนศาสนาขึ้นมาไม่ใช่เพื่อสอนหลักศาสนาแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น จึงไม่เลือกที่จะสร้างโรงเรียนในแนวทางปอเนาะ แต่ให้โรงเรียนสอนเพิ่มเติมในหลักสูตรเศรษฐกิจ และสังคมควบคู่กันไปด้วย
โรงเรียนสอนศาสนาแบบใหม่ที่ก้าวหน้าในยุคนั้นถูกให้ชื่อว่า มัดราเซาะห์ อัลมูอารีฟ อัลว่าฏอนียะห์ ปัตตานี
นับจากนั้นโรงเรียนแห่งนี้ จึงเป็นเสมือนดั่งศูนย์กลางที่ก่อกำเนิดศรัทธาเชื่อถือของคนมลายูที่มีต่อตัวหะยีสุหลงเป็นอย่างมาก
ซึ่งท้ายที่สุด จุดเริ่มต้นของศูนย์กลางแห่งศรัทธาแห่งนี้ก่อให้เกิดความหวาดระแวงจากศูนย์กลางอำนาจในสมัยรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม โดยเฉพาะเมื่อช่วงนั้นเป็นช่วงที่ ‘จอมพลกระดูกเหล็ก’ ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยแรก (พ.ศ.2481-2487) พร้อมกับเริ่มนโยบาย ‘สร้างชาติ’ ผ่านการประกาศรัฐนิยม 12 ฉบับ ที่เนื้อหาหลายส่วนกระทบต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวมลายูในขณะนั้น
โรงเรียนสอนศาสนาของหะยีสุหลงเป็นศูนย์รวมการพูดคุย หารือถึงแนวทางแก้ปัญหาจากผลกระทบในการใช้ชีวิตที่เกิดขึ้นจากนโยบายทั้งหมด
ต่อมาข้อหารือได้กลายเป็นข้อเรียกร้อง 7 ข้อของหะยีสุหลงต่อรัฐบาล และเป็นข้อเรียกร้องที่ทำให้หะยีสุหลงถูกกล่าวหาว่า มีแนวคิดใน ‘การแบ่งแยกดินแดน’ อย่างเต็มตัว
7 ข้อเรียกร้องของหะยีสุหรงคืออะไร ทำไมถึงเป็นชนวน ‘อุ้มหาย’ ในเวลาต่อมา ติดตามได้ในตอนหน้า
โรงเรียนสอนศาสนาแบบใหม่ที่ก้าวหน้าในยุคนั้นถูกให้ชื่อว่า มัดราเซาะห์ อัลมูอารีฟ อัลว่าฏอนียะห์ ปัตตานี
นับจากนั้นโรงเรียนแห่งนี้ จึงเป็นเสมือนดั่งศูนย์กลางที่ก่อกำเนิดศรัทธาเชื่อถือของคนมลายูที่มีต่อตัวหะยีสุหลงเป็นอย่างมาก
ซึ่งท้ายที่สุด จุดเริ่มต้นของศูนย์กลางแห่งศรัทธาแห่งนี้ก่อให้เกิดความหวาดระแวงจากศูนย์กลางอำนาจในสมัยรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม โดยเฉพาะเมื่อช่วงนั้นเป็นช่วงที่ ‘จอมพลกระดูกเหล็ก’ ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยแรก (พ.ศ.2481-2487) พร้อมกับเริ่มนโยบาย ‘สร้างชาติ’ ผ่านการประกาศรัฐนิยม 12 ฉบับ ที่เนื้อหาหลายส่วนกระทบต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวมลายูในขณะนั้น
โรงเรียนสอนศาสนาของหะยีสุหลงเป็นศูนย์รวมการพูดคุย หารือถึงแนวทางแก้ปัญหาจากผลกระทบในการใช้ชีวิตที่เกิดขึ้นจากนโยบายทั้งหมด
ต่อมาข้อหารือได้กลายเป็นข้อเรียกร้อง 7 ข้อของหะยีสุหลงต่อรัฐบาล และเป็นข้อเรียกร้องที่ทำให้หะยีสุหลงถูกกล่าวหาว่า มีแนวคิดใน ‘การแบ่งแยกดินแดน’ อย่างเต็มตัว
7 ข้อเรียกร้องของหะยีสุหรงคืออะไร ทำไมถึงเป็นชนวน ‘อุ้มหาย’ ในเวลาต่อมา ติดตามได้ในตอนหน้า
