‘เวลา’ คือ สิ่งมีค่ามากที่สุดในชีวิต
ทุกคนต่างรู้ความจริงข้อนี้ แต่จะถึงขั้นตระหนักซาบซึ้งหรือไม่ พฤติกรรม ‘การใช้เวลา’ ของเราแต่ละคนน่าจะตอบคำถามข้อนี้ได้ดี
อย่างไรก็ตาม แม้เราจะพยายามใช้เวลาแต่ละวันให้คุ้มค่าที่สุด แต่การอาศัยอยู่ในมหานครที่รถติดอันดับที่ 11 ของโลกอย่าง กรุงเทพฯ ดูจะเป็นหลุมดำที่ดูดกลืนเวลาชีวิตเราในแต่ละวัน จนแทบไม่เหลือให้ทำ 'อะไรๆ' ได้มากนัก
ทุกคนต่างรู้ความจริงข้อนี้ แต่จะถึงขั้นตระหนักซาบซึ้งหรือไม่ พฤติกรรม ‘การใช้เวลา’ ของเราแต่ละคนน่าจะตอบคำถามข้อนี้ได้ดี
อย่างไรก็ตาม แม้เราจะพยายามใช้เวลาแต่ละวันให้คุ้มค่าที่สุด แต่การอาศัยอยู่ในมหานครที่รถติดอันดับที่ 11 ของโลกอย่าง กรุงเทพฯ ดูจะเป็นหลุมดำที่ดูดกลืนเวลาชีวิตเราในแต่ละวัน จนแทบไม่เหลือให้ทำ 'อะไรๆ' ได้มากนัก

เวลาที่หายไปบนท้องถนน
คนกรุงเทพฯ สูญเสียเวลาไปกับช่วงเวลารถติดราว 8 วันต่อปีคิดเป็นชั่วโมงคือ 192 ชั่วโมง
คือข้อมูลจาก TOMTOM Traffic Index ผู้ผลิตอุปกรณ์นำทางสัญชาติดัตช์ หน่วยงานที่ทำรายงานดัชนีการจราจรทุกปีบอกกับเรา
ถึงแม้รายงานจะปลอบใจว่า กรุงเทพฯ ไม่ใช่เมืองรถติดที่เลวร้ายที่สุดในโลก (ข้อมูลใน ปี 2022 ระบุว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองรถติดอันดับที่ 57 ซึ่งหมายถึง มีอีก 56 เมืองที่เลวร้ายยิ่งกว่า)

แต่เราก็รู้ดีว่า ตัวเลขในรายงานไม่ได้บอกเล่าอะไรมากกว่าค่าทางสถิติเชิงปริมาณ แต่ไม่ได้บันทึกข้อมูลเชิงคุณภาพชีวิตของผู้คนในระดับสายตา
เวลาที่สูญหายไปบนท้องถนนราว 8 วันต่อปี อาจเป็นตัวเลขที่ดีเกินจริงกว่าความจริงที่คนกรุงเทพฯ พบเจอ
เวลาที่สูญหายไปบนท้องถนนราว 8 วันต่อปี อาจเป็นตัวเลขที่ดีเกินจริงกว่าความจริงที่คนกรุงเทพฯ พบเจอ

‘เวลาจริงที่สูญหาย’ ของมนุษย์ออฟฟิศ พ.ศ.2566
สมมติว่า คุณเป็นพนักงานออฟฟิศทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ มาดูกันว่า คุณเสียเวลาไปบนท้องถนนเพราะรถติดมากแค่ไหน?เราจะมาลองหาคำตอบด้วยคณิตศาสตร์แบบง่ายๆ ที่เด็กประถมก็ทำได้กัน
เริ่มจาก... 1 ปี มีทั้งหมด 52 สัปดาห์ คิดเป็นวันคือ 365 วัน
มนุษย์ออฟฟิศ (ส่วนใหญ่) ทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ วันทำงานทั้งปี จะเท่ากับ 260 วัน (52 x 5)
ทีนี้ใน พ.ศ.2566 รัฐบาลประกาศวันหยุดประจำปีทั้งหมด 22 วัน ในจำนวนนั้นมี 5 วันที่ตรงกับวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ก็จะเหลือวันหยุดจริงๆ (ไม่รวม เสาร์-อาทิตย์) คือ 17 วัน
เพราะฉะนั้น วันทำงาน (ที่ต้องทำ) จะเท่ากับ 243 วัน
นี่คือจำนวนวันทำงานจริงของคุณในปี พ.ศ.2566 (กรณีที่ไม่ลาป่วย-ลากิจ)

ต่อมา เราได้สำรวจคนหนุ่มสาวในออฟฟิศ SPACEBAR (ออฟฟิศอยู่ตึกออลซีซั่น ถนนวิทยุ) แบ่งคนเดินทางมาทำงานได้ 4 กลุ่ม
- เวลาที่เสียไป 243 x (60 - 60) = 0 นาที
- เวลาที่เสียไป 243 x (90 - 60) = 7,290 นาที หรือ 121.5 ชั่วโมงต่อปี
- เวลาที่เสียไป 243 x (180 - 60) = 29,160 นาที หรือ 486 ชั่วโมงต่อปี
- เวลาที่เสียไป 243 x (240 - 60) = 43,740 นาที หรือ 729 ชั่วโมงต่อปี
หากอ้างอิง กฎ 1 ชั่วโมง (One-Hour Rule) ซึ่งเป็นจำนวนเวลาเฉลี่ยที่ ‘เฮลตี้’ ต่อการเดินทางในเมืองในหนึ่งวัน มากกว่านี้จะถือว่า “เสียเวลา”
- กลุ่ม 1: คนบ้านใกล้ (รัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตรจากออฟฟิศ) เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว
- เวลาที่เสียไป 243 x (60 - 60) = 0 นาที
- กลุ่ม 2: คนบ้านใกล้ (รัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตรจากออฟฟิศ) เดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ
- เวลาที่เสียไป 243 x (90 - 60) = 7,290 นาที หรือ 121.5 ชั่วโมงต่อปี
- กลุ่ม 3: คนบ้านไกล (รัศมีเกิน 5 กิโลเมตรจากออฟฟิศ) เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว
- เวลาที่เสียไป 243 x (180 - 60) = 29,160 นาที หรือ 486 ชั่วโมงต่อปี
- กลุ่ม 4: คนบ้านไกล (รัศมีเกิน 5 กิโลเมตรจากออฟฟิศ) เดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ
- เวลาที่เสียไป 243 x (240 - 60) = 43,740 นาที หรือ 729 ชั่วโมงต่อปี
หากอ้างอิง กฎ 1 ชั่วโมง (One-Hour Rule) ซึ่งเป็นจำนวนเวลาเฉลี่ยที่ ‘เฮลตี้’ ต่อการเดินทางในเมืองในหนึ่งวัน มากกว่านี้จะถือว่า “เสียเวลา”

เราจะพบว่ากลุ่ม ‘คนบ้านใกล้’ ที่มีบ้านหรือพักอาศัยอยู่ในเขตในเมือง คือกลุ่มคนที่โชคดี ไม่ถูกการจราจรกรุงเทพฯ ทำร้ายเหมือนคนบ้านไกล
แต่ในยุคที่ราคาอสังหาฯ แพงอย่างทารุณ จะมีกี่สักคนที่ได้รับสิทธิ์นั้น คนส่วนใหญ่ถ้าไม่อยู่ห้องเช่าเล็กๆ คอนโดไซส์จำกัด ก็ต้องถูกเบียดขับออกไปอยู่เขตชานเมือง
แต่ในยุคที่ราคาอสังหาฯ แพงอย่างทารุณ จะมีกี่สักคนที่ได้รับสิทธิ์นั้น คนส่วนใหญ่ถ้าไม่อยู่ห้องเช่าเล็กๆ คอนโดไซส์จำกัด ก็ต้องถูกเบียดขับออกไปอยู่เขตชานเมือง

กลุ่ม ‘คนบ้านไกล’ ไม่ว่าจะเดินทางด้วยวิธีไหน พวกเขาหรือเธอล้วนกำลังถูก ‘ปัญหาจราจร’ รีดไถเวลาชีวิตไปอย่างเหี้ยมโหด
“พี่คะ หนูขอไม่เข้าออฟฟิศทุกวันได้ไหม” หญิงสาวคนหนึ่งที่เพิ่งจบมาทำงานได้ปีกว่าๆ พูดกับหัวหน้างาน
เธอไม่ได้มีเจตนาจะขี้เกียจหรืออู้งาน เพียงแค่จะขอ WFH บ้างในบางวัน เพราะรู้สึกเหนื่อยล้าจากการเดินทาง ไป-กลับ บ้านย่านปทุมธานีกับออฟฟิศบนถนนวิทยุ ที่ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงต่อวัน โชคดีที่หัวหน้าของเธออนุญาตตามคำขอ
สมมติหญิงสาวบ้านไกลโชคร้ายไม่ได้รับอนุญาตให้ WFH และต้องเข้าออฟฟิศมา ‘สแกนนิ้ว’ ทุกวันล่ะก็...
“พี่คะ หนูขอไม่เข้าออฟฟิศทุกวันได้ไหม” หญิงสาวคนหนึ่งที่เพิ่งจบมาทำงานได้ปีกว่าๆ พูดกับหัวหน้างาน
เธอไม่ได้มีเจตนาจะขี้เกียจหรืออู้งาน เพียงแค่จะขอ WFH บ้างในบางวัน เพราะรู้สึกเหนื่อยล้าจากการเดินทาง ไป-กลับ บ้านย่านปทุมธานีกับออฟฟิศบนถนนวิทยุ ที่ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงต่อวัน โชคดีที่หัวหน้าของเธออนุญาตตามคำขอ
สมมติหญิงสาวบ้านไกลโชคร้ายไม่ได้รับอนุญาตให้ WFH และต้องเข้าออฟฟิศมา ‘สแกนนิ้ว’ ทุกวันล่ะก็...


เธอจะสูญเสียเวลาชีวิตในวัยสาว (หักลบ 1 ชั่วโมง--เวลาที่ควรใช้ในการเดินทางตาม 'กฎ 1 ชั่วโมง' ออก) มากถึง 729 ชั่วโมง หรือคิดเป็น 30 วัน 9 ชั่วโมง ต่อปีไปกับการเดินทางไปกลับระหว่างบ้านกับที่ทำงาน
ถ้า ‘เวลา’ เป็นสิ่งมีค่าในชีวิตอย่างที่ใครๆ พูดกัน ทำไมคนส่วนใหญ่ถึงยอมทนทู่ซี้ใช้ชีวิตแบบนี้ แล้วอยู่กับการบ่นพอให้ระบายความตึงเครียดไปวันๆ
นี่คือเรื่องโศกนาฏกรรมและเป็นความบัดซบแห่งชีวิตคนกรุงเทพฯ ใช่หรือไม่
หรือใครจะปฏิเสธ
ถ้า ‘เวลา’ เป็นสิ่งมีค่าในชีวิตอย่างที่ใครๆ พูดกัน ทำไมคนส่วนใหญ่ถึงยอมทนทู่ซี้ใช้ชีวิตแบบนี้ แล้วอยู่กับการบ่นพอให้ระบายความตึงเครียดไปวันๆ
นี่คือเรื่องโศกนาฏกรรมและเป็นความบัดซบแห่งชีวิตคนกรุงเทพฯ ใช่หรือไม่
หรือใครจะปฏิเสธ

เวลาที่สูญหายมี ‘ต้นทุน’ เท่าไหร่?
ตัวเลข 30 วัน 9 ชั่วโมง อาจดูโอเวอร์ แต่คือข้อเท็จจริงในระดับสายตาหญิงสาวสูญเสียเวลาในชีวิตราว 3 ชั่วโมงต่อวัน (ในทุกๆ วันทำงาน) บนท้องถนน
ใช่, เธออาจอยู่ในกลุ่มคนที่โชคร้าย เพราะมีภูมิลำเนาอยู่ชานเมือง แต่เชื่อเถอะ เธอไม่ใช่คนเดียวที่มีชะตาชีวิตแบบนี้
ไม่แน่ ‘คุณ’ อาจอยู่ในกลุ่มเดียวกับเธอ ถ้าไม่ใช่ (อยู่ในกลุ่มที่ 1-3) ขอแสดงความยินดีในดีกรีความโชคร้ายที่น้อยกว่า (แต่นี่คงไม่ใช่เรื่องน่ายินดีเท่าไหร่นัก)

ถึงตรงนี้ ลองมาคำนวณกันดูว่า การจราจรในกรุงเทพฯ ขโมยเวลาคุณไปมากแค่ไหน ใครได้คำตอบแล้วเก็บไว้ในใจก่อน (กรณีที่คุณอยู่ในกลุ่มที่ 1 ข้ามบทความนี้ไปได้เลย เพราะเวลาที่คุณใช้ในการเดินทางสมเหตุสมผลแล้ว) จากนั้นลองเทียบเคียงกับตัวอย่าง ‘ต้นทุนเวลาชีวิต’ ของหญิงสาวบ้านไกลคนนี้ดู...
ค่าความเสียหายของเวลาที่ ‘หญิงสาว’ เสียไปกับการจราจรในกรุงเทพฯ เท่ากับอะไรบ้าง?
ค่าความเสียหายของเวลาที่ ‘หญิงสาว’ เสียไปกับการจราจรในกรุงเทพฯ เท่ากับอะไรบ้าง?
- ปัจจุบันหญิงสาวอายุ 24 ปี หากเธอมีอายุขัยเท่ากับ อายุเฉลี่ยของคนไทยคือ 80 ปี เท่ากับเธอจะเหลือเวลาในชีวิต 56 ปี
- เวลาที่เธอเสียไปกับการจราจรต่อปี คือ 30 วัน 9 ชั่วโมง เมื่อนำมาคูณกับเวลา 56 ปีที่เหลืออยู่ (สมมติเธอทำงานตลอดเวลาชีวิตที่เหลืออยู่ ซึ่งมีความเป็นไปได้สูง เพราะสังคม ‘คนแก่มากกว่าคนเกิด’ ไม่มีสวัสดิการมากพอมาดูแลคนแก่ คนแก่จึงต้องยืดเวลาทำงานออกไป) จะเท่ากับเธอต้องใช้เวลาชีวิตไปกับการเดินทางไปทำงานราว 4 ปี 8 เดือน กับอีก 1 วัน
- เวลาเท่านี้แปรเป็นหลักชั่วโมงจะเท่ากับ 40,824 ชั่วโมง หรือ 1,701 วัน

- หากหญิงสาวชอบดูหนัง (เฉลี่ยเรื่องละ 2 ชั่วโมง) เธอจะดูหนังได้ทั้งหมด 20,412 เรื่อง
- แอบรู้มาว่า เธอชอบดูซีรีส์เกาหลีเรื่อง Our Beloved Summer เพราะถูกนางเอก คิม ดา-มี (Kim Da-Mi) ‘ตก’ มาตั้งแต่เรื่อง Itaewon Class จนอยากดูซ้ำอีกรอบ แต่ไม่มีเวลา ถ้าเธอไม่ต้องเสียเวลาไปกับการจราจร เธอสามารถดูซีรีส์ Our Beloved Summer (16 ตอน) วนซ้ำได้ถึง 2,538 รอบ

- หรือถ้าเธอเป็นคนชอบอ่านหนังสือ ไม่ว่าจะอ่านเพื่อพัฒนาตัวเองหรือเพื่อความบันเทิง (เฉลี่ยใช้เวลาอ่าน 6 ชั่วโมง/เล่ม) เธอจะอ่านหนังสือได้มากถึง 6,804 เล่ม
- ประเมินจากจำนวนหนัง-ซีรีส์ที่ดู หนังสือที่อ่าน เธอคงจะไม่ต้องมานั่งเสียเวลาบ่นว่า “ไม่มีเวลา” ดูหนังและอ่านหนังสืออีกต่อไป
- ถึงตรงนี้ คนที่ซีเรียสในเชิงข้อมูลและสถิติ ขอระบุและไฮไลท์ไว้หน่อยว่า ตัวเลขที่เห็นเป็นการเปรียบเทียบให้พอเห็นภาพปริมาณเวลาชีวิตที่สูญเสียไปจากการจราจรในกรุงเทพฯ อย่าง ‘คร่าวๆ’ เท่านั้น

- เอาล่ะ มากันต่อ... ถ้าหญิงสาวชอบท่องเที่ยว เธอจะใช้เวลา 4 ปี 8 เดือน กับอีก 1 วัน ไปกับการเที่ยวที่ใดๆ ก็ได้ในโลก แน่นอน เวลาจำนวนเท่านี้ คงอนุญาตให้เราไปไหนต่อไหนได้มากมาย (เสียดาย เธอกลับต้องมาติดแหง็กอยู่บนถนน และนั่งฆ่าเวลาด้วยการไถสมาร์ทโฟนอย่างไร้จุดหมาย)
- เธอเป็นลูกสาวคนโต มีน้องชายหนึ่งคน ทุกๆ วันแม่ของเธอจะนั่งรอจนกว่าเธอจะกลับมาถึงบ้าน ถ้าการจราจรดีกว่านี้ แม่ของเธอคงไม่ต้องนั่งรอ เธอและแม่คงจะมีเวลาอยู่ด้วยกันมากขึ้นราว 4 ปี ไม่น้อยเลย เพราะแม่ของเธออายุมากแล้ว เวลาของแม่กำลังเหลือน้อยลงทุกวัน
- ไม่รู้คุณรู้จักอาการ ‘นอนดึกเพื่อล้างแค้น’ หรือเปล่า หญิงสาวมีอาการเรื้อรังมานานแล้วตั้งแต่เริ่มทำงาน เธอรู้สึกว่าเวลาในแต่ละวันหมดไปอย่างรวดเร็ว กว่าจะกลับถึงบ้านก็ดึกดื่น ยังมีอีกหลายสิ่งที่อยากทำ แต่ยังไม่ทันไรก็หมดวันซะแล้ว เธอจึงเบียดบังเวลานอนมาทำสิ่งที่อยากทำ เพื่อชดเชยเวลาอย่างน้อยก็ 3 ชั่วโมงที่เสียไปในแต่ละวันให้กับการจราจรที่ไร้เหตุผล

- ถ้าเธอมีอายุตามค่าเฉลี่ยของคนไทย 80 ปีก็คงจะดี แต่เวลานี้ เธอชักไม่แน่ใจว่าจะอยู่ถึงหรือเปล่า เพราะเธออ่านมาว่า การนอนดึกมากๆ ไม่ดีต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและยาว และอาจเป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้าได้
- ไม่ต้องห่วง ตอนนี้เธอยังสบายดี เพียงแต่รู้สึกว่าความคิดไม่ว่องไว ตัดสินใจได้ช้า เครียด หงุดหงิดง่าย ไม่รู้ว่าสาเหตุมาจากนอนน้อยหรือเปล่า
- หากตัดข้อมูลเชิงตัวเลขออกไป สามย่อหน้าก่อนหน้านี้ คือความจริงเชิงประจักษ์ที่หญิงสาวกำลังเผชิญอยู่

- การกล่าวโทษ ‘การจราจรที่เลวร้ายในกรุงเทพฯ’ เป็นผู้ร้าย อาจเป็นการด่วนสรุปเกินไป เพราะปัญหาส่วนใหญ่ในโลกนี้ซับซ้อนและไม่เคยมีตัวแปรเดียว
- แต่ก็น่าคิดว่า ถ้าการจราจรในเมืองไม่ขโมยเวลา 3 ชั่วโมงไปจากชีวิตเธอในแต่ละวันที่ไปทำงาน คุณภาพชีวิตของหญิงสาวน่าจะดีกว่านี้...
ไม่ว่ามากหรือน้อย ขอให้รู้ว่าสิ่งที่จ่ายคือเวลาชีวิตของคุณ

เราควร ‘จัดการเวลา’ ชีวิตอย่างไร
ก่อนพูดถึงการจัดการเวลา ถ้ามองโลกด้วยสายตาเรียลลิสติก คงต้องยอมรับว่า การจราจรในกรุงเทพฯ จะยังคงติดขัดและแออัดแบบนี้ไปอีกหลายปีข้อมูลใน สมุดปกขาวทีดีอาร์ไอ เรื่อง ‘ปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ : มีทางแก้ไขหรือไม่?’ เผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2537 พูดถึงสภาพการจราจรใน พ.ศ.นั้น (เมื่อ 29 ปีที่แล้ว) ว่า
‘คนกรุงเทพฯ ทุกคนตระหนักดีถึงสภาพการจราจรที่เลวร้ายและยังคงต้องประสบอยู่ทุกวัน’

สิ่งที่น่าสนใจในรายงานคือ เกร็ดข้อมูลที่ระบุว่า ‘ความสนใจที่จะวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรของกรุงเทพฯ มีมาก่อนเมืองอื่นๆ โดยมีการวางแผนเป็นเมืองแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
‘และประเทศไทยเป็นอันดับสามในเอเชียหลังจากญี่ปุ่นและฮ่องกงที่มีการวางแผนด้านคมนาคมขนส่ง’ (ตัดถนนเส้นแรก 'ถนนเจริญกรุง' ราว พ.ศ.2404 ในสมัยรัชกาลที่ 4 - ผู้เขียน)
แต่ดูเหมือนว่า ปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ จะซับซ้อนและต้องใช้เวลาแก้ไข จนเวลาเดินผ่านจากรายงานฉบับนั้นมาเกือบ 30 ปี ปัญหารถติดยังคงอยู่ (แม้จะทุเลาลงบ้าง) และกลายเป็น ‘จุดขาย’ ของคนที่อาสามาเป็นผู้ว่าฯ กทม. ทุกยุคสมัย
‘และประเทศไทยเป็นอันดับสามในเอเชียหลังจากญี่ปุ่นและฮ่องกงที่มีการวางแผนด้านคมนาคมขนส่ง’ (ตัดถนนเส้นแรก 'ถนนเจริญกรุง' ราว พ.ศ.2404 ในสมัยรัชกาลที่ 4 - ผู้เขียน)
แต่ดูเหมือนว่า ปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ จะซับซ้อนและต้องใช้เวลาแก้ไข จนเวลาเดินผ่านจากรายงานฉบับนั้นมาเกือบ 30 ปี ปัญหารถติดยังคงอยู่ (แม้จะทุเลาลงบ้าง) และกลายเป็น ‘จุดขาย’ ของคนที่อาสามาเป็นผู้ว่าฯ กทม. ทุกยุคสมัย

ดังนั้น การยอมรับว่า การจราจรในกรุงเทพฯ จะไม่เป็นมิตรกับคุณไปอีกสักพักใหญ่ คือขั้นแรกของการจัดการเวลา
ส่วนขั้นตอนต่อๆ มา เราไม่มีคำตอบเป็น ‘ฮาวทู’ แต่มีคำถามให้คุณลองตอบ
แต่ถ้าคำตอบคือ “ไม่” ทุกข้อ ไม่เป็นไร...
คุณก็แค่ใช้ชีวิตอย่างที่เป็นอยู่ และพยายามใช้เวลาที่มีอย่างคุ้มค่าให้ดีที่สุด ก็เท่านั้นเอง
ส่วนขั้นตอนต่อๆ มา เราไม่มีคำตอบเป็น ‘ฮาวทู’ แต่มีคำถามให้คุณลองตอบ
- หากการจราจรเป็น Toxic สามารถย้ายมาทำงานใกล้บ้าน ได้หรือไม่?
- ขอเข้างานเช้าขึ้นหรือสายขึ้น (flexible hour) เพื่อเลี่ยงการจราจรที่แออัด ได้หรือไม่?
- ออฟฟิศอนุญาตให้ Work From Home และมีสิทธิ์เลือกทำงานที่บ้านในวันที่สภาพการจราจรไม่เป็นใจ ได้หรือไม่?
- มีทางเลือกในการเดินทางอื่นๆ ที่ช่วยให้การมาทำงานสะดวกรวดเร็วขึ้น ได้หรือไม่?
แต่ถ้าคำตอบคือ “ไม่” ทุกข้อ ไม่เป็นไร...
คุณก็แค่ใช้ชีวิตอย่างที่เป็นอยู่ และพยายามใช้เวลาที่มีอย่างคุ้มค่าให้ดีที่สุด ก็เท่านั้นเอง
