มานี มานะ ปิติ และชูใจ เมื่อพวกเขาเจอข้อกล่าวหาว่าเป็นแค่โฆษณาชวนเชื่อของรัฐ

28 เม.ย. 2566 - 08:10

  • แบบเรียน ‘มานี มานะ ปิติ และชูใจ’ คือตัวแทนของคนรุ่น Gen X ที่ชีวิตไม่ได้สวยหรูแต่ก็ไม่เลวร้าย

  • ในขณะที่มันเป็นความทรงจำดีๆ ของคนรุ่นนั้น ในยุคสมัยนี้มันกลับถูกโจมตีว่าเป็น ‘โฆษณาชวนเชื่อ’

TAGCLOUD-manee-mana-and-the-accusation-of-being-propaganda-machine-SPACEBAR-Hero
คำเตือน - บทความนี้มีอาจจะยาวเกินกว่าจะอ่านให้จบได้ในยกเดียว เต็มไปด้วยศัพท์แสงวิชาการแต่ก็เพราะความจำเป็น พาดพิงเรื่องมานี มานะนิดๆ หน่อยๆ แต่หากคุณต้องการเข้าใจโลกให้มากขึ้น โปรดอุทิศเวลาให้กับมันสักเล็กน้อย  

ก่อนอื่นต้องชี้แจงก่อนว่า บทความนี่เป็นทัศนะต่อความเห็นของคุณ คำ ผกา (ลักขณา ปันวิชัย) ที่กล่าวในรายการ ‘ข่าวจบคนไม่จบ’ เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2566 เกี่ยวกับกรณีแบบเรียน  

ตอนหนึ่ง คำ ผกา แสดงความเห็นว่าเนื้อหาของแบบเรียน ‘มานี มานะ ปิติ ชูใจ’ เป็น “Propaganda หรือโฆษณาชวนเชื่อที่ทรงพลังมาก” และ “ทุกคนไม่ตั้งคำถามกับมัน ทุกคนรักมานีมานะมาก ...ทั้งๆ ที่มันมีลักษณะของการโฆษณาชวนเชื่อ” 

เมื่อความเห็นนี้แพร่ออกไป มีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เราจะไม่พูดว่าคนที่เห็นด้วยเพราะอะไร (เพราะจะเป็นการกล่าวซ้ำเจ้าของความเห็น) แต่เราจะมาพูดกันว่าเราควรเห็นต่างจากทัศนะนี้ เพราะอะไร?  

ที่มาของคำว่า ‘ปัญหาเชิงโครงสร้าง’ 

สิ่งที่เกิดขึ้นในเมืองไทยตอนนี้ คือความนิยมของสังคมศาสตร์ในสาย Critical theory หรือ ทฤษฎีวิพากษ์โครงสร้างอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการหรือปัญญาชนต่างก็พยายามวิพากษ์ทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลนี้ว่าเป็นผลพวงมาจากการโครงสร้างที่ถูกกำหนดไว้โดยผู้มีอำนาจ ดังนั้น เราจึงได้ยินคำว่า ‘ปัญหาเชิงโครงสร้าง’ บ่อยครั้งในหมู่ปัญญาชนรุ่นใหม่ 

คงจะยาวไปที่จะอธิบายว่า Critical theory คืออะไร? จะขอสรุปสั้นๆ ว่ามันคือการค้นหาให้เจอว่าสังคมมีปัญหาเพราะการกดขี่ของผู้มีอำนาจ (ชนชั้นสูง อำนาจทหาร และนายทุน) หรือไม่? และการกดขี่นั้นอยู่ในรูปแบบไหนบ้าง?  


ก่อนอื่น ต้องเข้าใจก่อนว่ารากฐานของสำนักคิด Critical theory แตกแขนงมาจากแนวคิดของ คาร์ล มาร์กซ์  (Marxism) ที่อธิบายปัญหาของโลกว่าเกิดจากการกดขี่ของชนชั้นเพื่อที่ชนชั้นนำและนายทุนจะกอบโกยผลประโยชน์ (ทุน) จากการขูดรีดแรงงาน ซึ่งการกดขี่แบบที่ มาร์กซ์ อธิบายนั้น เราเห็นกันอยู่ตำตา ส่วน Critical theory พยายามมองให้ลึกลงไปว่ามันมีการกดขี่ที่ซ่อนรูปอยู่อีกหรือไม่ เช่น การกดขี่ผ่านระบบการศึกษา 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/57ynH6de1IXPFKjXYCeBrF/036e12ad0768620b4d2117d596961422/TAGCLOUD-manee-mana-and-the-accusation-of-being-propaganda-machine-SPACEBAR-Photo01
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5TbT5o5YrSGFtK9XJPeGAG/8a93a28a29b02fe29cc23ceedfa299ea/TAGCLOUD-manee-mana-and-the-accusation-of-being-propaganda-machine-SPACEBAR-Photo02

หลักสูตรที่เลวคือการกดขี่ 

แขนงหนึ่งของแนวคิด Critical theory คือ Critical pedagogy หรือทฤษฎีวิพากษ์ระบบการศึกษา นักคิดสายนี้มองว่าการกดขี่อาจอยู่ในรูปของแบบเรียน หลักสูตร แลวิธีการสอนที่ทำให้เยาวชน/ประชาชน ‘เชื่อง’ ต่อผู้ปกครอง ไม่ตั้งคำถามกับผู้มีอำนาจ และพอใจในสถานะที่เป็นอยู่ภายใต้ระบอบ ‘เผด็จการ’ 

ก่อนอื่น ที่ผู้เขียนล้อมกรอบคำว่า ‘เผด็จการ’ เอาไว้ เพราะคำๆ นี้ไม่ได้หมายถึงแค่เผด็จการที่กุมอำนาจของประเทศแบบที่เห็นกันจะๆ เช่น พวกฟาชิสต์หรือคณะรัฐประหาร แต่ยังหมายถึงเผด็จการที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น นั่นคือเผด็จการทางเศรษฐกิจในลักษณะของทุนนิยม ที่กดขี่ประชาชนไม่ให้เข้าถึงแหล่งทุนและมีสถานะเป็นแค่ปัจจัยการผลิต เพราะอย่าลืมว่า Critical theory ต่อยอดมาจากแนวคิดมาร์กซิสม์ด้วย 

ดังนั้น การวิพากษ์ระบบการศึกษา จึงไม่ใช่แค่การทำลายหลักสูตรที่ทำให้ประชนยอมสยบต่ออำนาจที่ไม่เป็นธรรมเท่านั้น แต่ต้องทำให้ประชาชนตระหนักถึงการเอารัดเอาเปรียบทางเศรษฐกิจด้วย แต่ปรากฏว่าอย่างหลังแทบไม่มีใครพูดถึงอีกแล้ว อาจเป็นเพราะทุนนิยมทุกวันนี้ซับซ้อนเกินกว่าพวกเราจะตามทัน 

ความหมกมุ่นกับ Critical theory 

เพราะความที่เราตามไม่ทันความซับซ้อนของโลกทุนนิยม ทำให้การวิพากษ์สังคมจึงขาดๆ เกินๆ แทนที่เราจะใช้ Critical theory เพื่ออธิบายความบิดเบี้ยวในสังคมแล้วทำให้มันตรง กลับกลายเป็นว่าเรายิ่งทำให้การอธิบายสังคมบิดเบี้ยวเข้าไปอีก เพราะมองปัญหาแบบขาดตกบกพร่อง 

หลายๆ ประเด็นที่ถูกเอ่ยถึงในสังคม แทนที่จะถูกวิพากษ์/วิเคราะห์อย่างละเอียดละออ กลับกลายเป็นแค่การโจมตีประเด็นนั้นแบบลอยๆ โดยยัดศัพท์แสงวิชาการเข้าไป แต่ขาดการอธิบายอย่างเป็นรูปธรรม ว่าสิ่งที่ถูกวิพากษ์นั้นมันเป็นปัญหาที่จับต้องได้จริงหรือ หรือแค่ ‘มโน’ ว่ามันเป็นปัญหา 

ดังนั้น ถ้าการวิพากษ์ประเด็นสังคมทำกันแบบขอไปที มันอาจจะกลายเป็นแค่ ‘ทฤษฎีสมคบคิด’ (Conspiracy theory) ได้เหมือนกัน เช่น การตีขลุมไปว่าแบบเรียนบางยุคสมัย คือผลผลิตของการทำโฆษณาชวนเชื่อโดยรัฐ
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3FQ8ywrbvsAWSILwwEf2to/8f6de80f6575f5dda5be39abaec9863d/TAGCLOUD-manee-mana-and-the-accusation-of-being-propaganda-machine-SPACEBAR-Photo03

สงครามเย็นตายไปแล้วจากบ้านหลังเขา 

‘มานะ มานี ปิติ ชูใจ’ ใช้เป็นแบบเรียนการสอนภาษาไทย ระหว่างปี 2521–2537 ซึ่งถือเป็นช่วงยุคปลายสงครามเย็น ซึ่งเราต้องเตือนความจำกันหน่อยว่า ในยุคสงครามเย็นนั้น รัฐบาลทั่วโลกต่างทำโฆษณาชวนเชื่อกันอย่างหนัก ไม่ว่าจะฝ่ายขาวหรือฝ่ายแดง 

แต่อันที่จริงแล้ว 2 ปีหลังจากที่ใช้แบบเรียนนี้ รัฐบาลพล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ก็ประกาศนิรโทษกรรมฝ่ายซ้ายครั้งใหญ่ด้วย ‘คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523’ หลังจากนั้นนักศึกษาที่หนีขึ้นเขาไปในช่วง 6 ตุลา 2519 และฝ่ายซ้ายที่เริ่มเซ็งกับ ‘เผด็จการ’ พรรคคอมมิวนิสต์ ก็เลิกหนีการตามล่า (เพราะรัฐเลิกไล่ล่าแล้ว) และเริ่มกลับเข้าสู่สังคมอีกครั้ง ความจำเป็นในการทำโฆษณาชวนเชื่อจึงน้อยลงไปมาก 

หลังจากนั้นสังคมไทยเริ่มที่จะปรับตัวเข้าสู่ทุนนิยม แม้แต่ฝ่ายซ้ายก็กลายร่างเป็นนายทุนกันหลายคน ในท่ามกลางการแสวงหากำไรอย่างโหดร้ายและการกดขี่ลูกจ้างหนักขึ้นเรื่อยๆ สังคมชนบทในแบบเรียนดูเหมือนจะช่วยเตือนให้เราเห็นสังคมที่มีระบบเศรษฐกิจที่เอาเปรียบกันน้อยกว่า  

แบบเรียน ‘มานะ มานี ปิติ ชูใจ’ จึงไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อมอมเมาด้วยภาพสวยงามของสังคมที่ปกครองโดยเผด็จการทหารหรือสังคมอะไรก็ตามที่พยายามกดขี่เรา ตรงกันข้าม หากเราพิจารณาตัวละครในแบบเรียน เราจะค่อยๆ แบบวิวัฒนาการของชีวิตที่สวยงามน้อยลงเรื่อย เริ่มจากความไร้เดียงสามาสู่ความเดียงสามากขึ้นเรื่อยๆ จนมีเสียงบ่นจากคนที่เคยใช้แบบเรียนนี้เมื่อพวกเขาเติบโตและหวนนึกถึงมันอีกครั้งว่า ‘ดราม่า’ เกินไปสำหรับวัยขนาดนั้น 

เอาเข้าจริง แบบเรียนที่ว่าดราม่าเกินไปนั้น มีส่วนช่วยเตรียมพร้อมให้เยาวชนไปพบกับโลกนอกแบบเรียนที่เต็มไปด้วยความหวานอมขมกลืน
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3yH7LaVhjg3hyfvOovSShd/e17c372616e153f2373789af0faff4c4/TAGCLOUD-manee-mana-and-the-accusation-of-being-propaganda-machine-SPACEBAR-Photo04

ความเป็นผู้กอบกู้สังคมของมานี มานะ 

ชีวิตบ้านนอกคอกนาของมานี มานะ ปิติ และชูใจ ไม่ได้สุขสบายไปเสียทั้งหมด แต่มันก็เป็นชีวิตที่ไม่เลวร้ายอะไร ว่ากันตามตรงแล้ว มันเป็นแบบเรียนที่ช่วยเชื่อมต่อสังคมกสิกรรมเข้ากับสังคมเมืองได้ด้วยซ้ำ มันทำให้เด็กในชนบทอาจจะไม่รู้สึกแปลกแยก เพราะแบบเรียนเป็นกันเองกับพวกเขา ส่วนเด็กในเมืองก็อาจจะรู้สึกฝันใฝ่ในชีวิตที่ไม่วุ่นวายในชนบท  

นัยหนึ่ง มันช่วยลดการดูหมิ่นดูแคลนกันระหว่างสังคม 2 แบบที่เป็นเหมือนโลก 2 ใบของเมืองไทยในตอนนั้น ซึ่งจะว่าไปแล้ว ด้วยเหตุผลทางการเมือง การทำให้ผู้คนรู้สึกว่าชนบทต้องเป็นศัตรูกับคนในเมือง หรือการสร้างโลกที่เป็นคู่ตรงข้ามกัน เป็นวิธีที่ฝ่ายซ้ายในไทยนิยมใช้กัน 

เมื่อแบบเรียนนี้ใช้กันมาถึงหลายทางของมัน สังคมไทยก็เข้าสู่ความเป็นทุนนิยมที่บ้าคลั่งอย่างไม่เคยมีมาก่อน (ยุค พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ) ช่องว่างทางสังคมและความมั่งคั่งที่เริ่มแตกต่างกันทุกที  

และทุนนิยมบ้าคลั่งในไทยก็มาถึงจุดจบในปี 2540 ที่ตามมาด้วยการสิ้นเนื้อประดาตัว การฆ่าตัวตาย การกลับคืนสู่ชนบท และการเริ่มต้นชีวิตใหม่แบบ Post-capitalism ในวิถีชีวิตเรียบง่าย คล้ายในแบบเรียนที่คนเหล่านี้เคยผ่านมันมา
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/52ergWB9siraGD3b7BLCG4/17373925da2cc3af4f9c18753d9fcfab/TAGCLOUD-manee-mana-and-the-accusation-of-being-propaganda-machine-SPACEBAR-Photo05

ตระหนักในประเด็น แต่ไม่วิพากษ์ลอยๆ 

แน่นอนว่า แบบเรียนคือความพยายามของรัฐที่จะสร้าง ‘พลเมืองที่ดี’ แต่ความเป็นพลเมืองที่ดีที่รับผิดชอบต่อประเทศ กับการเป็นพลเมืองเชื่องๆ ที่สยบต่ออำนาจนั้นต่างกัน  

พลเมืองที่เชื่องๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมาจากแบบเรียนชั้นเลวนั้นเป็นผลพวงมาจากโลกในยุคสงครามเย็น ซึ่งหลายประเทศปกครองโดยเผด็จการ หลักสูตรของบางประเทศที่อยู่ใต้อำนาจเผด็จการจึงสร้างพลเมืองที่เชื่องๆ และกลัวอำนาจรัฐขึ้นมาจริงๆ เช่น การกล่อมเกลาด้วยการศึกษาของบราซิลในทศวรรษที่ 1950 - 1960 จนทำให้นักคิดคนสำคัญของสำนัก Critical theory ที่ชื่อ เปาลู เฟรเร (Paulo Freire) เขียนหนังสือตีแผ่ชื่อ ‘ระบบการศึกษาของผู้ถูกกดขี่’ (Pedagogy of the Oppressed) เพื่ออธิบายว่าการศึกษาทำให้พลเมืองกลัวอำนาจรัฐ หรือกลัวที่จะแสวงหาเสรีภาพได้อย่างไร? และเขามีประสบการณ์นี้โดยตรงในฐานะครูที่บราซิล 

แต่ ‘มานะ มานี ปิติ ชูใจ’ ทำให้คนรุ่นนั้นกลัวการแสวงหาเสรีภาพหรือยอมสยบต่ออำนาจรัฐที่ไม่ชอบธรรมหรือไม่? คำถามนี้จะตอบแบบลอยๆ ไม่ได้ จะต้องมีการวิจัยอย่างเป็นระบบว่า ‘มานะ มานี ปิติ ชูใจ’ ได้สร้างคนที่เป็นปฏิปักษ์ต่อประชาธิปไตยกี่คน หรือได้สร้างยุคสมัยที่เผด็จการครองอำนาจยาวนานหรือไม่

หรือว่าแท้จริงแล้ว แบบเรียนนี้กลับสร้างคนรุ่นที่ต่อต้านและโค่นล้มเผด็จการได้สำเร็จ (ขบวนการพฤษภาทมิฬ) และสร้างทศวรรษแห่งประชาธิปไตยเต็มใบครั้งแรกขึ้นในไทยกันแน่? 

หากเราต้องการจะรู้ว่าแบบเรียนนี้เป็นตัวร้ายหรือฮีโร่ เราอาจจะเทียบโดยมีตัวแปรสำคัญ คือ ระหว่างปี 2521–2537 นั้นสงครามเย็นเริ่มที่จะซาลง เผด็จการเริ่มสูญพันธุ์ แม้แต่ในไทยก็เริ่มเข้าสู่ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ จนกระทั่งหลังปี 2535 ก็เข้าสู่ยุคประชาธิปไตยเต็มไป และยุคที่เสรีนิยมและทุนนิยมเฟื่องฟูอย่างมากในไทย จนกระทั่งถึงปี 2549 แบบนี้เป็นต้น 

หลังปี 2549 นั้น เสรีนิยมไทยยุคแรกได้ดับสูญไป ปัญญาชนไทยมุ่งที่จึงใช้ Critical theory ตีแผ่ปัญหาการเมืองและสังคม แต่มีสักกี่คนที่จะบอกกับคนไทยว่าระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมจ๋าอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ มันกดขี่คนเราแค่ไหน 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์