ข่าวการเสียชีวิตของ ‘ผู้ว่าฯ หมูป่า’ ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ด้วยโรคมะเร็งลำไส้ ในวัย 58 ปี กลายเป็นข่าวใหญ่
กินพื้นที่ทุกสื่อ ตั้งแต่เมื่อวาน (21 มิถุนายน) หลังมีข่าวเสียชีวิต กระแสความสนใจใน Google Trends แซงข่าวดราม่า ‘หนุ่ม กะลา’ ที่กำลังเป็นเรื่องร้อนวงการบันเทิงไทย และคาดว่าแรงกระเพื่อมของกระแสผู้ว่าฯ หมูป่าจะอยู่ไปอีกสักระยะ
กินพื้นที่ทุกสื่อ ตั้งแต่เมื่อวาน (21 มิถุนายน) หลังมีข่าวเสียชีวิต กระแสความสนใจใน Google Trends แซงข่าวดราม่า ‘หนุ่ม กะลา’ ที่กำลังเป็นเรื่องร้อนวงการบันเทิงไทย และคาดว่าแรงกระเพื่อมของกระแสผู้ว่าฯ หมูป่าจะอยู่ไปอีกสักระยะ

นอกจากเสียงสังคมที่อาลัยถึงการสูญเสีย ‘คนดีมีฝีมือ’ ที่โชว์ผลงานชิ้นโบว์แดงในช่วงดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าฯ จังหวัดเชียงราย ที่เข้าร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัยติดถ้ำหลวงแล้ว ประเด็นหนึ่งที่สื่อให้ความสนใจคือ ‘มะเร็งลำไส้’ ที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิต
จากการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็งลำไส้ พบว่ามีจุดร่วมคล้ายมะเร็งอื่นๆ คือ ไม่มีสาเหตุการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่ก็มีข้อมูลเชิงสถิติตัวเลขที่น่าสนใจ และมีส่วนที่บ่งชี้ถึงการเสียชีวิตของผู้ว่าฯ หมูป่า
จากการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็งลำไส้ พบว่ามีจุดร่วมคล้ายมะเร็งอื่นๆ คือ ไม่มีสาเหตุการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่ก็มีข้อมูลเชิงสถิติตัวเลขที่น่าสนใจ และมีส่วนที่บ่งชี้ถึงการเสียชีวิตของผู้ว่าฯ หมูป่า
- โรคมะเร็งลำไส้ แม้จะเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย แต่มีแนวโน้มเพิ่มสูงในกลุ่มคนอายุ 50 ปีขึ้นไป
- สถิติผู้ป่วยรายใหม่ พ.ศ.2563 ของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ บ่งชี้ว่า พบมะเร็งลำไส้ในคนช่วงอายุ 60 ปีสูงที่สุด

- มะเร็งลำไส้ตรวจพบในเพศชาย (20.7% ของมะเร็งในผู้ป่วยเพศชาย) มากกว่าผู้หญิง (12.2% ของมะเร็งในผู้ป่วยเพศหญิง)
- ภาพรวมการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ พ.ศ.2563 พบผู้ป่วยรายใหม่ 16.9 คนต่อประชากร 100,000 คน
- นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ระบุว่า ทุกๆ วันมีคนไข้เสียชีวิตจากโรคนี้ราว 15 คนต่อวัน หรือปีละ 5,476 คน
- ขณะที่มีผู้ป่วยรายใหม่วันละ 44 คน หรือ 15,939 คนต่อปี
- ประชากรไทย พ.ศ.2565 มีจำนวน 66,090,475 คน คิดเป็นคนที่มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งลำไส้ราว 0.02% หรือทุกๆ ประชากร 10,000 คน จะมี 2 คนที่เป็นโรคมะเร็งลำไส้
- หากดูตามตัวเลขคนไข้เสียชีวิต 15 คนต่อวัน และผู้ป่วยรายใหม่ 44 คนต่อวัน จะพบว่า มีอัตราการเสียชีวิตราว 1 ใน 3
- นับเป็นอัตราเสียชีวิตที่สูง ซึ่งพ้องกับข้อมูลการตรวจพบผู้ป่วยใหม่ที่ส่วนใหญ่จะตรวจพบเมื่ออาการของโรคอยู่ในระยะที่ 4 หรือระยะสุดท้ายที่มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่นแล้ว

- จากกราฟจะเห็นว่า ผู้ป่วยเพศชายส่วนใหญ่ (46.9%) จะรู้ตัวหรือถูกตรวจพบว่าเป็นมะเร็งลำไส้เมื่ออยู่ในระยะสุดท้าย
- สาเหตุเพราะคนส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวว่าเป็นมะเร็งลำไส้ เนื่องจากในระยะต้นมักไม่มีอาการใดๆ
- มีเพียงอาการที่บ่งชี้ ซึ่งเป็นอาการทั่วๆ ไป เช่น ท้องผูกสลับกับท้องเดิน ท้องอืด แน่นเฟ้อ เรื้อรัง น้ำหนักลด อ่อนเพลีย โลหิตจาง คลำพบก้อนในท้อง หากมีอาการข้างต้น ข้อมูลเอกสารของสถาบันมะเร็งแห่งชาติระบุว่าเป็น ‘อาการที่ควรพบแพทย์’
- วิธีที่จะตรวจพบมะเร็งลำไส้ในระยะต้นหรือรอยโรคก่อนเป็นมะเร็ง สมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทยแนะนำให้ ‘ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่’ ซึ่งเป็นการเฝ้าระวังดีกว่ารอให้มีอาการแล้วค่อยตรวจ
- สมมติถ้าตรวจพบว่าเป็นมะเร็งลำไส้ โอกาสรอดชีวิตมีมากน้อยแค่ไหน อยู่ที่ว่าตรวจพบในระยะใด
- หากตรวจพบในระยะที่ 1 อัตรารอดชีวิตที่ 5 ปี จะสูงกว่า 90%
- หากตรวจพบในระยะที่ก้อนมะเร็งลึกกินผนังชั้นนอกของลำไส้ หรือกระจายไปต่อมน้ำเหลือง อัตรารอดชีวิตที่ 5 ปี จะอยู่ที่ 25-75%
- หากตรวจพบในระยะที่ 4 อัตรารอดชีวิตที่ 5 ปี จะน้อยกว่า 3%
- ด้วยสาเหตุการเกิดโรคมะเร็งไม่แน่ชัด วิธีป้องกันจึงเป็นวิธีพื้นฐานทั่วไป คือ การกินอาหารที่ดี มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกาย รักษาสุขภาพใจให้ดี ไม่เครียด (จนเกินไป) มีความสุข ก็จะลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งได้
เป็นไปได้หรือไม่ว่า เพราะคนกรุงเทพฯ อยู่ห่างไกลจากคำว่า กินดี อยู่ดี มากขึ้นทุกที เพราะภาวะการแข่งขันและความเครียดจากการทำงานและชีวิตที่บีบรัดตัวมากขึ้นทุกวัน
ข่าวการเสียชีวิตของผู้ว่าฯ หมูป่าเป็นข่าวใหญ่ที่ชวนให้อาลัย และใครหลายคนคงคิดถึงวันเวลาในชีวิตที่เหลืออยู่ของตัวเอง ไม่มากก็น้อย