คนที่ชอบเรื่องบู๊ๆ จะรู้จักขุนพันธรักษ์ราชเดช (บุตร พันธรักษ์) ในฐานะ ‘มือปราบเสือ’ เพราะท่านมีผลงานทะลายซ่องโจร กำราบ ‘เสือ’ หรือพวกหัวหน้าโจรตัวเอ้ๆ ตั้งแต่ปักษ์ใต้จรดภาคกลางตอนเหนือ
คนที่ชอบเรื่องไสยศาสตร์จะรู้จักขุนพันธ์ในฐานะผู้มีวิทยาคมแก่กล้า มีวิชาคงกระพันชาตรี เป็นศิษย์ไสยศาสตร์แห่งสำนักเขาอ้ออันลือลั่น
คนเล่นเล่นพระเครื่องจะรู้จักขุนพันธ์ในฐานะหนึ่งในผู้ให้กำเนิดเหรียญจตุคามรามเทพ ที่เคยเป็นกระแสคลั่งไคล้ไปทั่วประเทศเมือเกือบ 20 ปีก่อน
คนดูหนังจะรู้จักขุนพันธ์ในฐานะตัวละครหนึ่งในภาพยนต์ ‘ขุนพันธ์’
ขุนพันธ์ตัวจริงเป็นคนกล้าคนจริงยิ่งกว่าในหนัง และตัวจริงของท่านร่างไม่สูงใหญ่ผิดกับชื่อเสียงอันยิ่งใหญ่ของท่าน เพราะความที่ท่านตัวเล็กแต่มากด้วยพิษสง ทำให้คนมลายูเรียกขนานนามให้ท่านว่า ‘รายอกะจิ’ ที่หมายความว่า “ผู้ยิ่งใหญ่กายเล็ก”
รายอ (raja) นั้นแปลว่า ราชา เจ้านาย ผู้ยิ่งใหญ่
กะจิ (kecil) แปลว่า เล็ก
บางว่า กะจิ หมายถึง พริกขี้หนู ซึ่งน่าจะมาจากภาษาเจ๊ะเหที่เรียกพริกขี้หนูว่า กะจีนหรือลูกกะจีน บางสำนวนจึงแปลว่า อัศวินเล็กพริกขี้หนู คำนี้มีความนัยที่น่าสนใจ เพราะพริกขี้หนูมันเล็ก แต่ความเผ็ดของมันนั้นร้าย ส่วนคำว่าอัศวินหมายถึงตำรวจ
รายอกะจิ นั้นถูกพวกเสือยิงจังๆ ไม่รู้กี่ครั้งยังเอาไม่อยู่ แต่พวกเสือเองกลับถูกจับเป็นและจับตายโดยรายอกะจิไม่รู้จักกี่คน
พวกโจรเลยขยาดขุนพันธ์ เพราะท่านทั้งเด็ดขาดกับคนชั่วและอยู่ยงคงกระพันจากอาวุธของคนเลว
แต่เสือบางตัวไม่กลัวขุนพันธ์ ไม่ใช่ว่าพวกเขามีวิชาอาคมที่แกร่งกว่า แต่เพราะมี ‘นายหัว’ ที่มีอิทธิพลเหนือกว่าขุนพันธ์ นายหัวพวกนี้ไม่ใช่โจร แต่เป็นพวกคนในเครื่องแบบ พูดให้ชัดก็คือ คนสวมเครื่องแบบสีกากีด้วยกัน
ตอนนั้นผู้บังคับบัญชาให้นายร้อยจบใหม่ 2 คนรวมถึงขุนพันธ์เลือกว่าจะไปประจำที่ไหนระหว่างพัทลุงที่ชุกชุมไปด้วยชุมนุมเสือ กับสุราษฎร์ธานีที่ปลอดภัยไร้กังวล
ขุนพันธ์อาสาเจ้านายขอไปพัทลุง เพราะอยากจะไปปราบโจรใจจะขาด แต่นายไม่อยากให้ไปเพราะตัวเล็ก กลัวว่าจะสู้โจรไม่ไหว การตัดสินใจของผู้บังคับบัญชาทำให้ขุนพันธ์เสียใจมาก คิดว่าเป็นการดูแคลนท่าน
แต่สุดท้าย เพราะความบังเอิญหรือสับสนในเรื่องคำสั่งก็ไม่ทราบ กลับมีคำสั่งให้ขุนพันธ์ไปประจำที่พัทลุงในที่สุด ด้วยความยินดีของนายร้อยหนุ่มที่รอวันจะไปปราบคนร้ายในเร็ววัน
เมื่อขุนพันธ์ออกปราบเสือครั้งแรกที่พัทลุง ถึงแม้จะวิสามัญคนร้ายลงได้ แต่ถูกป้ายสีว่ากระทำเกินกว่าเหตุ เพราะเสือตัวนั้นดันมีคนใหญ่คนโตคอยสนับสนุนอยู่
บางครั้งขุนพันธ์กำจัดซ่องโจรได้เกือบทั้งกลุ่ม แต่หลุดรอดไปบางคนด้วยเหตุผลที่นักเลงด้วยกันเท่านั้นที่รู้ แทนที่ผู้ใหญ่จะชมเชยกลับด่าเสียๆ หายๆ โดยไม่ได้ตระหนักว่า ถ้าไม่ได้คนอย่างขุนพันธ์ตำรวจยุคนั้นไม่มีวันปราบซ่องโจรได้แน่นอน เพราะโจรบางกลุ่มร้ายกาจขนาดเกือบทำให้คนระดับผู้บัญชาการหรือข้าหลวงมณฑลเกือบจะตกงานเอา ต้องมาวอนขอขุนพันธ์ให้ช่วยออกแรงปราบให้
บางครั้งขุนพันธ์ถูกใส่ร้ายจากนายตำรวจด้วยกันเองว่าเป็นเสือเสียอย่างนั้น ถึงขนาดเกือบจะหมดอนาคต แต่โชคดีที่ผู้หลักผู้ใหญ่ระดับอธิบดีกรมตำรวจในยุคนั้นไม่ใช่คนหูเบา นอกจากจะไม่เชื่อข่าวลือแล้ว ยังเลื่อนตำแหน่งให้อีกต่างหาก
เรี่องราวพวกนี้สะท้อนให้เห็นว่า นอกจากจะต้องรบกับเสือแล้ว ขุนพันธ์ยังต้องรับมือกับพวก ‘สิงห์’ ในกระทรวงและกรมกองต่างๆ ด้วย
ในเมื่อตำรวจพึ่งไม่ได้ โจรจึงเหิมเกริม ในบางพื้นที่ เพราะตำรวจไร้น้ำยา ชาวบ้านจึงต้องหันไปพึ่ง ‘เสือคุณธรรม’ ให้คอยคุ้มครอง และ ‘จ่ายค่าคุ้มครอง’ ให้
นี่คือสถานการณ์ของตำรวจภูธรบางพื้นที่ แต่ตำรวจนครบาลเองก็ใช่ย่อย เมื่อถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตำรวจไทยมาถึงจุดที่แข็งแกร่งอย่างไม่เคยมีมาก่อน ภายใต้การปกครองของ พ.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ (ยศในขณะนั้น) ผู้เป็นเสาหลักแห่งอำนาจหลังการปฏิวัติปี 2490 และ 2491 ซึ่งนำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ (ยศในขณะนั้น)
เผ่าเป็นลูกเขยของผิน และเพื่อนตายของเผ่าชื่อว่า พล.อ. สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (ยศในขณะนั้น)
ทำไมตำรวจภายใต้การนำของ เผ่า ศรียานนท์ ถึงมีอำนาจล้นฟ้า? เรามาดูที่เหตุและปัจจัยกันก่อน ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้คนเรามีอำนาจได้ก็คือ สามารถควบคุมกำลังคนเอาไว้ได้ และกรมตำรวจของเผ่านั้นมีกำลังตำรวจมากกว่ากองกำลังทหารของสฤษดิ์เสียอีก และยังเสริมอำนาจด้วยการทำให้กรมตำรวจมีหน่วยรถถัง หน่วยตำรวจน้ำ ตำรวจพลร่ม เหมือนกับทหาร
อำนาจของเผ่ายิ่งแกร่งเข้าไปอีก เมื่อได้รับการสนับสนุนจาก CIA หน่วยข่าวกรองของสหรัฐที่เคลื่อนไหวในไทย เพื่อใช้เป็นฐานสู้กับคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคอินโดจีน รัฐบาลสหรัฐยุคนั้นไม่แคร์ว่าผู้มีอำนาจในไทยจะเลวร้ายแค่ไหน ขอให้รับปากกับสหรัฐว่าจะเป็นศัตรูกับพวกคอมมิวนิสต์ แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว
มีกองทัพแล้ว มหาอำนาจหนุนหลังแล้ว สิ่งต่อมาก็คือจะต้องมหาศาลเอาไว้เลี้ยงคนและเอาไว้ปราบฝ่ายตรงข้าม แล้วเงินของเผ่ามาจากไหน? คำตอบก็คือมาจาก ‘ฝิ่น’
เป็นเรื่องที่ทราบกันทั่วไปว่า เผ่าเป็นผู้ควบคุมเครือข่ายค้าฝิ่นของไทย และไทยในยุคนั้นเป็นศูนย์กลางค้าฝิ่นที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผ่าไม่ใช่แค่หากินกับฝิ่น แต่พันพัวกับการค้ายาเสพติดเกือบทุกอย่าง
ความมั่งคั่งของเผ่ามีมากขนาดทำให้ช่วงหนึ่งเขาเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดอันดับ 6 ของโลก
จะไม่น่าแปลกใจเลย ถ้าเรากำลังพูดถึง Drug lord หรือเจ้าพ่อค้ายา แต่คนที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี่คืออธิบดีกรมตำรวจของไทย
แต่เมื่อถึงยุคที่เผ่าเรืองอำนาจ ฝิ่นจึงแพร่หลายไปทั่วแผ่นดิน โดยไม่มีใครกล้าที่จะท้าทายอำนาจของเผ่าและบรรดา ‘อัศวิน’ หรือตำรวจในเครืออำนาจของเผ่า เพราะยุคนั้นมันเป็นอย่างที่เผ่าเคยลั่นวาจาเอาไว้ว่า “ภายใต้ดวงอาทิตย์นี้ ไม่มีสิ่งใดที่ตำรวจไทยทำไม่ได้”
และสิ่งที่ตำรวจอย่างเผ่าทำได้แบบที่ตำรวจอื่นทำไม่ได้ก็คือการเป็นพ่อค้ายาตัวใหญ่ แต่มันเป็นสิ่งที่ตำรวจดีๆ ทนไม่ได้ คนๆ นั้นคือ ขุนพันธ์
มีครั้งหนึ่งขุนพันธ์จับฝิ่นเถื่อนของเผ่า โดยที่รู้ทั้งรู้ว่ามันคือฝิ่นของอธิบดีกรมตำรวจ พวกตำรวจลูกน้องของเผ่าจึงรายงานไปถึงนาย เป็นเหตุให้ขุนพันธ์ถูกเผ่าเรียกตัวเข้าพบ
วันที่ขุนพันธ์ไปพบกับเผ่า ท่านไม่ได้สวมเครื่องแบบตำรวจ แต่ไปในชุดพลเรือน เตรียมพร้อมที่จะถูกปลดจากราชการเต็มที่
เผ่าถามท่านขุนว่ารู้หรือเปล่าฝิ่นที่จับน่ะเป็นของใคร?
ท่านขุนรู้ดี แต่บอกว่า “ผมจับเพราะผมเป็นตำรวจ”
เจอคนจริงเข้าแบบนี้เผ่าได้แต่อึ้ง และยิ่งอึ้งเมื่อถามว่าทำไมขุนพันธ์ถึงไม่ใส่เครื่องแบบเข้าพบผู้บังคับบัญชา คำตอบที่เผ่าได้รับก็คือ “ผมไม่แต่งเครื่องแบบมา เพราะเตรียมใจไว้พร้อมตั้งแต่ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา ถ้าผิด ผมพร้อมที่จะเป็นพลเรือน”
ความกล้าและตรงไปตรงมาของขุนพันธ์ทำให้เผ่ายอมนับถือหัวใจ ถึงกับออกปากว่าอยากได้ตัวมาอยู่ใกล้ชิด
แน่นอนว่า ขุนพันธ์ปฏิเสธ ไม่ยอมมาอยู่กับผู้ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งในประเทศ และคนที่รวยที่สุดคนหนึ่งของโลกในยุคนั้น
เรี่องราวตอนนี้บันทึกไว้ในหนังสือ ‘ขุนพันธ์มือปราบสิบทิศ’ โดย สัมพันธ์ ก้องสมุทร ผู้ที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับขุนพันธ์ที่ดีที่สุดเล่มหนึ่ง และได้สัมภาษณ์ขุนพันธ์ด้วยตัวเอง
สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ฉวยจังหวะก่อรัฐประหารขึ้นในเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2500 เพื่อกุมอำนาจอยู่ในมือแต่ผู้เดียว จัดการควบคุมกองกำลังตรวจอย่างส่งรวดเร็วเพื่อตัดกำลังของเผ่า แต่ในฐานะเพื่อน สฤษดิ์ยอมให้เผ่ามีชีวิตต่อไป แต่ต้องไม่ใช่ในประเทศไทย เผ่าจึงเดินทางจากไทยไปอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ ที่ซึ่งเขามีเงินในบัญชีธนาคารสวิสมากมายมหาศาล
เมื่อสฤษดิ์ครองอำนาจ สิ่งแรกๆ ที่ทำคือการทำลายเครือข่ายธุรกิจฝิ่นของเผ่า ทำให้ไทยเปลี่ยนสภาพจากศูนย์กลางการค้าฝิ่นของโลก มาเป็นประเทศตัวอย่างในการทำลายฝิ่น
ดูเผินๆ การทำเช่นนี้เหมือนจะเป็นคุณูปการของสฤษดิ์ ถ้าเราไม่รู้ว่าก่อนหน้านั้นสฤษดิ์ก็ทำธุรกิจค้าฝิ่นเหมือนกับเผ่านั่นเอง ดังนั้นการทำลายฝิ่นของสฤษดิ์ จึงดูเหมือนจะเป็นตัดท่อน้ำเลี้ยงของเผ่า และถอนรากถอนโคนแหล่งเงินของเครืออำนาจสายเผ่ามากกว่า
เผ่ายังเลี้ยงคนจำพวก ‘gangsters’ เอาไว้มากมายทั้งในเครื่องแบบและนอกเครื่องแบบ ทั้งอันธพาลและอั้งยี่จีน ในยุคที่เผ่าครองเมืองจึงเป็นยุคที่อันธพาลครองเมืองไปด้วย แน่นอนว่า คนจำพวกนี้ย่อมอยู่ร่วมโลกกับขุนพันธ์ไม่ได้ ยังดีที่ขุนพันธ์เป็นมือปราบภูธรจึงไม่ต้องมาปะทะกับ ‘ลูกน้อง’ ของเผ่าโดยตรง
พอถึงยุคของสฤษดิ์ จึงใช้นโยบายปราบอันธพาลอย่างเด็ดขาด แบบถ้าฆ่าได้ก็จะฆ่าทิ้ง ดังนั้น คนที่กล้าตั้งตัวเป็นโจรจึงลดน้อยลงไป และเรื่องนี้ทำให้สฤษดิ์ได้ใจประชาชนอย่างมาก
ส่วนขุนพันธ์ยังคงปฏิบัติหน้าที่ตำรวจเถรตรงต่อไป เพียงแต่หลังจากนั้นขุนพันธ์จะเก็บดาบเข้าฝัก เพราะหมดยุคของเสือครองเมือง
ดาบและปืนของขุนพันธ์จึงได้เวลาพักผ่อนนับแต่บัดนั้น
คนที่ชอบเรื่องไสยศาสตร์จะรู้จักขุนพันธ์ในฐานะผู้มีวิทยาคมแก่กล้า มีวิชาคงกระพันชาตรี เป็นศิษย์ไสยศาสตร์แห่งสำนักเขาอ้ออันลือลั่น
คนเล่นเล่นพระเครื่องจะรู้จักขุนพันธ์ในฐานะหนึ่งในผู้ให้กำเนิดเหรียญจตุคามรามเทพ ที่เคยเป็นกระแสคลั่งไคล้ไปทั่วประเทศเมือเกือบ 20 ปีก่อน
คนดูหนังจะรู้จักขุนพันธ์ในฐานะตัวละครหนึ่งในภาพยนต์ ‘ขุนพันธ์’
ขุนพันธ์ตัวจริงเป็นคนกล้าคนจริงยิ่งกว่าในหนัง และตัวจริงของท่านร่างไม่สูงใหญ่ผิดกับชื่อเสียงอันยิ่งใหญ่ของท่าน เพราะความที่ท่านตัวเล็กแต่มากด้วยพิษสง ทำให้คนมลายูเรียกขนานนามให้ท่านว่า ‘รายอกะจิ’ ที่หมายความว่า “ผู้ยิ่งใหญ่กายเล็ก”
รายอ (raja) นั้นแปลว่า ราชา เจ้านาย ผู้ยิ่งใหญ่
กะจิ (kecil) แปลว่า เล็ก
บางว่า กะจิ หมายถึง พริกขี้หนู ซึ่งน่าจะมาจากภาษาเจ๊ะเหที่เรียกพริกขี้หนูว่า กะจีนหรือลูกกะจีน บางสำนวนจึงแปลว่า อัศวินเล็กพริกขี้หนู คำนี้มีความนัยที่น่าสนใจ เพราะพริกขี้หนูมันเล็ก แต่ความเผ็ดของมันนั้นร้าย ส่วนคำว่าอัศวินหมายถึงตำรวจ
รายอกะจิ นั้นถูกพวกเสือยิงจังๆ ไม่รู้กี่ครั้งยังเอาไม่อยู่ แต่พวกเสือเองกลับถูกจับเป็นและจับตายโดยรายอกะจิไม่รู้จักกี่คน
พวกโจรเลยขยาดขุนพันธ์ เพราะท่านทั้งเด็ดขาดกับคนชั่วและอยู่ยงคงกระพันจากอาวุธของคนเลว
แต่เสือบางตัวไม่กลัวขุนพันธ์ ไม่ใช่ว่าพวกเขามีวิชาอาคมที่แกร่งกว่า แต่เพราะมี ‘นายหัว’ ที่มีอิทธิพลเหนือกว่าขุนพันธ์ นายหัวพวกนี้ไม่ใช่โจร แต่เป็นพวกคนในเครื่องแบบ พูดให้ชัดก็คือ คนสวมเครื่องแบบสีกากีด้วยกัน
เสือในซ่องโจรกับเสือในเครื่องแบบ
ตั้งแต่จบจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจแล้วถูกส่งไปปักษ์ใต้เพื่อรับราชการ ด้วยความที่มีรูปร่างเล็กทำให้ผู้บังคับบัญชาไม่ไว้ใจว่าจะมีความสามารถตอนนั้นผู้บังคับบัญชาให้นายร้อยจบใหม่ 2 คนรวมถึงขุนพันธ์เลือกว่าจะไปประจำที่ไหนระหว่างพัทลุงที่ชุกชุมไปด้วยชุมนุมเสือ กับสุราษฎร์ธานีที่ปลอดภัยไร้กังวล
ขุนพันธ์อาสาเจ้านายขอไปพัทลุง เพราะอยากจะไปปราบโจรใจจะขาด แต่นายไม่อยากให้ไปเพราะตัวเล็ก กลัวว่าจะสู้โจรไม่ไหว การตัดสินใจของผู้บังคับบัญชาทำให้ขุนพันธ์เสียใจมาก คิดว่าเป็นการดูแคลนท่าน
แต่สุดท้าย เพราะความบังเอิญหรือสับสนในเรื่องคำสั่งก็ไม่ทราบ กลับมีคำสั่งให้ขุนพันธ์ไปประจำที่พัทลุงในที่สุด ด้วยความยินดีของนายร้อยหนุ่มที่รอวันจะไปปราบคนร้ายในเร็ววัน
เมื่อขุนพันธ์ออกปราบเสือครั้งแรกที่พัทลุง ถึงแม้จะวิสามัญคนร้ายลงได้ แต่ถูกป้ายสีว่ากระทำเกินกว่าเหตุ เพราะเสือตัวนั้นดันมีคนใหญ่คนโตคอยสนับสนุนอยู่
บางครั้งขุนพันธ์กำจัดซ่องโจรได้เกือบทั้งกลุ่ม แต่หลุดรอดไปบางคนด้วยเหตุผลที่นักเลงด้วยกันเท่านั้นที่รู้ แทนที่ผู้ใหญ่จะชมเชยกลับด่าเสียๆ หายๆ โดยไม่ได้ตระหนักว่า ถ้าไม่ได้คนอย่างขุนพันธ์ตำรวจยุคนั้นไม่มีวันปราบซ่องโจรได้แน่นอน เพราะโจรบางกลุ่มร้ายกาจขนาดเกือบทำให้คนระดับผู้บัญชาการหรือข้าหลวงมณฑลเกือบจะตกงานเอา ต้องมาวอนขอขุนพันธ์ให้ช่วยออกแรงปราบให้
บางครั้งขุนพันธ์ถูกใส่ร้ายจากนายตำรวจด้วยกันเองว่าเป็นเสือเสียอย่างนั้น ถึงขนาดเกือบจะหมดอนาคต แต่โชคดีที่ผู้หลักผู้ใหญ่ระดับอธิบดีกรมตำรวจในยุคนั้นไม่ใช่คนหูเบา นอกจากจะไม่เชื่อข่าวลือแล้ว ยังเลื่อนตำแหน่งให้อีกต่างหาก
เรี่องราวพวกนี้สะท้อนให้เห็นว่า นอกจากจะต้องรบกับเสือแล้ว ขุนพันธ์ยังต้องรับมือกับพวก ‘สิงห์’ ในกระทรวงและกรมกองต่างๆ ด้วย
ยุคที่ตำรวจมีอำนาจล้นฟ้า
นอกจาก ศัตรูในเครื่องแบบแล้ว ประวัติการปราบเสือของขุนพันธ์ยังทำให้เราเห็นด้วยว่า กิจการตำรวจในยุคนั้นล้าหลังอย่างมาก ตำรวจหลายมือปืนกับเครื่องแบบแท้ๆ แต่กลัวเสือจนขาสั่น บางคนพอถูกขุนพันธ์เกณฑ์ไปปราบคนร้ายก็ถึงกลับกล้วจนร้องไห้ บางคนกลัวจนโกหกว่าป่วยบ้าง หลงๆ ลืมๆ บ้าง เพื่อจะได้ไม่ต้องไปลุยกับโจรในเมื่อตำรวจพึ่งไม่ได้ โจรจึงเหิมเกริม ในบางพื้นที่ เพราะตำรวจไร้น้ำยา ชาวบ้านจึงต้องหันไปพึ่ง ‘เสือคุณธรรม’ ให้คอยคุ้มครอง และ ‘จ่ายค่าคุ้มครอง’ ให้
นี่คือสถานการณ์ของตำรวจภูธรบางพื้นที่ แต่ตำรวจนครบาลเองก็ใช่ย่อย เมื่อถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตำรวจไทยมาถึงจุดที่แข็งแกร่งอย่างไม่เคยมีมาก่อน ภายใต้การปกครองของ พ.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ (ยศในขณะนั้น) ผู้เป็นเสาหลักแห่งอำนาจหลังการปฏิวัติปี 2490 และ 2491 ซึ่งนำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ (ยศในขณะนั้น)
เผ่าเป็นลูกเขยของผิน และเพื่อนตายของเผ่าชื่อว่า พล.อ. สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (ยศในขณะนั้น)
ทำไมตำรวจภายใต้การนำของ เผ่า ศรียานนท์ ถึงมีอำนาจล้นฟ้า? เรามาดูที่เหตุและปัจจัยกันก่อน ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้คนเรามีอำนาจได้ก็คือ สามารถควบคุมกำลังคนเอาไว้ได้ และกรมตำรวจของเผ่านั้นมีกำลังตำรวจมากกว่ากองกำลังทหารของสฤษดิ์เสียอีก และยังเสริมอำนาจด้วยการทำให้กรมตำรวจมีหน่วยรถถัง หน่วยตำรวจน้ำ ตำรวจพลร่ม เหมือนกับทหาร
อำนาจของเผ่ายิ่งแกร่งเข้าไปอีก เมื่อได้รับการสนับสนุนจาก CIA หน่วยข่าวกรองของสหรัฐที่เคลื่อนไหวในไทย เพื่อใช้เป็นฐานสู้กับคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคอินโดจีน รัฐบาลสหรัฐยุคนั้นไม่แคร์ว่าผู้มีอำนาจในไทยจะเลวร้ายแค่ไหน ขอให้รับปากกับสหรัฐว่าจะเป็นศัตรูกับพวกคอมมิวนิสต์ แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว
มีกองทัพแล้ว มหาอำนาจหนุนหลังแล้ว สิ่งต่อมาก็คือจะต้องมหาศาลเอาไว้เลี้ยงคนและเอาไว้ปราบฝ่ายตรงข้าม แล้วเงินของเผ่ามาจากไหน? คำตอบก็คือมาจาก ‘ฝิ่น’
เป็นเรื่องที่ทราบกันทั่วไปว่า เผ่าเป็นผู้ควบคุมเครือข่ายค้าฝิ่นของไทย และไทยในยุคนั้นเป็นศูนย์กลางค้าฝิ่นที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผ่าไม่ใช่แค่หากินกับฝิ่น แต่พันพัวกับการค้ายาเสพติดเกือบทุกอย่าง
ความมั่งคั่งของเผ่ามีมากขนาดทำให้ช่วงหนึ่งเขาเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดอันดับ 6 ของโลก
จะไม่น่าแปลกใจเลย ถ้าเรากำลังพูดถึง Drug lord หรือเจ้าพ่อค้ายา แต่คนที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี่คืออธิบดีกรมตำรวจของไทย
ขุนพันธ์เผชิญหน้าเสือเผ่า
ฝิ่นคือสิ่งที่ทำให้จีนสมัยราชวงศ์ชิงเกือบจะสิ้นชาติ รัฐบาลไทยตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์จึงมีทั้งพระบรมราชโองการและพระราชบัญญัติห้ามการสูบฝิ่้นในประเทศ หรืออย่างน้อยก็ห้ามคนเชื้อชาติไทยสูบฝิ่นแต่เมื่อถึงยุคที่เผ่าเรืองอำนาจ ฝิ่นจึงแพร่หลายไปทั่วแผ่นดิน โดยไม่มีใครกล้าที่จะท้าทายอำนาจของเผ่าและบรรดา ‘อัศวิน’ หรือตำรวจในเครืออำนาจของเผ่า เพราะยุคนั้นมันเป็นอย่างที่เผ่าเคยลั่นวาจาเอาไว้ว่า “ภายใต้ดวงอาทิตย์นี้ ไม่มีสิ่งใดที่ตำรวจไทยทำไม่ได้”
และสิ่งที่ตำรวจอย่างเผ่าทำได้แบบที่ตำรวจอื่นทำไม่ได้ก็คือการเป็นพ่อค้ายาตัวใหญ่ แต่มันเป็นสิ่งที่ตำรวจดีๆ ทนไม่ได้ คนๆ นั้นคือ ขุนพันธ์
มีครั้งหนึ่งขุนพันธ์จับฝิ่นเถื่อนของเผ่า โดยที่รู้ทั้งรู้ว่ามันคือฝิ่นของอธิบดีกรมตำรวจ พวกตำรวจลูกน้องของเผ่าจึงรายงานไปถึงนาย เป็นเหตุให้ขุนพันธ์ถูกเผ่าเรียกตัวเข้าพบ
วันที่ขุนพันธ์ไปพบกับเผ่า ท่านไม่ได้สวมเครื่องแบบตำรวจ แต่ไปในชุดพลเรือน เตรียมพร้อมที่จะถูกปลดจากราชการเต็มที่
เผ่าถามท่านขุนว่ารู้หรือเปล่าฝิ่นที่จับน่ะเป็นของใคร?
ท่านขุนรู้ดี แต่บอกว่า “ผมจับเพราะผมเป็นตำรวจ”
เจอคนจริงเข้าแบบนี้เผ่าได้แต่อึ้ง และยิ่งอึ้งเมื่อถามว่าทำไมขุนพันธ์ถึงไม่ใส่เครื่องแบบเข้าพบผู้บังคับบัญชา คำตอบที่เผ่าได้รับก็คือ “ผมไม่แต่งเครื่องแบบมา เพราะเตรียมใจไว้พร้อมตั้งแต่ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา ถ้าผิด ผมพร้อมที่จะเป็นพลเรือน”
ความกล้าและตรงไปตรงมาของขุนพันธ์ทำให้เผ่ายอมนับถือหัวใจ ถึงกับออกปากว่าอยากได้ตัวมาอยู่ใกล้ชิด
แน่นอนว่า ขุนพันธ์ปฏิเสธ ไม่ยอมมาอยู่กับผู้ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งในประเทศ และคนที่รวยที่สุดคนหนึ่งของโลกในยุคนั้น
เรี่องราวตอนนี้บันทึกไว้ในหนังสือ ‘ขุนพันธ์มือปราบสิบทิศ’ โดย สัมพันธ์ ก้องสมุทร ผู้ที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับขุนพันธ์ที่ดีที่สุดเล่มหนึ่ง และได้สัมภาษณ์ขุนพันธ์ด้วยตัวเอง
วันที่นายหัวอัศวินสิ้นบารมี
นิสัยแบบขุนพันธ์ไม่มีทางอยู่กับเผ่าได้ และอำนาจของเผ่าเองก็มีอายุที่แสนสั้น ในเวลาไม่นาน อิทธิพลของตำรวจที่คับฟ้าคับแผ่นดินก็ไปล้ำเส้นทหารเข้าจนได้ และนายทหารที่ไม่ยอมทนกับเผ่าก็ไม่ใช่ใครที่ไหน เขาคือเพื่อนรักของเผ่าที่ชื่อ สฤษดิ์ ธนะรัชต์สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ฉวยจังหวะก่อรัฐประหารขึ้นในเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2500 เพื่อกุมอำนาจอยู่ในมือแต่ผู้เดียว จัดการควบคุมกองกำลังตรวจอย่างส่งรวดเร็วเพื่อตัดกำลังของเผ่า แต่ในฐานะเพื่อน สฤษดิ์ยอมให้เผ่ามีชีวิตต่อไป แต่ต้องไม่ใช่ในประเทศไทย เผ่าจึงเดินทางจากไทยไปอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ ที่ซึ่งเขามีเงินในบัญชีธนาคารสวิสมากมายมหาศาล
เมื่อสฤษดิ์ครองอำนาจ สิ่งแรกๆ ที่ทำคือการทำลายเครือข่ายธุรกิจฝิ่นของเผ่า ทำให้ไทยเปลี่ยนสภาพจากศูนย์กลางการค้าฝิ่นของโลก มาเป็นประเทศตัวอย่างในการทำลายฝิ่น
ดูเผินๆ การทำเช่นนี้เหมือนจะเป็นคุณูปการของสฤษดิ์ ถ้าเราไม่รู้ว่าก่อนหน้านั้นสฤษดิ์ก็ทำธุรกิจค้าฝิ่นเหมือนกับเผ่านั่นเอง ดังนั้นการทำลายฝิ่นของสฤษดิ์ จึงดูเหมือนจะเป็นตัดท่อน้ำเลี้ยงของเผ่า และถอนรากถอนโคนแหล่งเงินของเครืออำนาจสายเผ่ามากกว่า
เผ่ายังเลี้ยงคนจำพวก ‘gangsters’ เอาไว้มากมายทั้งในเครื่องแบบและนอกเครื่องแบบ ทั้งอันธพาลและอั้งยี่จีน ในยุคที่เผ่าครองเมืองจึงเป็นยุคที่อันธพาลครองเมืองไปด้วย แน่นอนว่า คนจำพวกนี้ย่อมอยู่ร่วมโลกกับขุนพันธ์ไม่ได้ ยังดีที่ขุนพันธ์เป็นมือปราบภูธรจึงไม่ต้องมาปะทะกับ ‘ลูกน้อง’ ของเผ่าโดยตรง
พอถึงยุคของสฤษดิ์ จึงใช้นโยบายปราบอันธพาลอย่างเด็ดขาด แบบถ้าฆ่าได้ก็จะฆ่าทิ้ง ดังนั้น คนที่กล้าตั้งตัวเป็นโจรจึงลดน้อยลงไป และเรื่องนี้ทำให้สฤษดิ์ได้ใจประชาชนอย่างมาก
ส่วนขุนพันธ์ยังคงปฏิบัติหน้าที่ตำรวจเถรตรงต่อไป เพียงแต่หลังจากนั้นขุนพันธ์จะเก็บดาบเข้าฝัก เพราะหมดยุคของเสือครองเมือง
ดาบและปืนของขุนพันธ์จึงได้เวลาพักผ่อนนับแต่บัดนั้น