






พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมคณะทำงานชุดคลี่คลายคดี ‘แอม ไซยาไนด์’ ที่กองบังคับการปราบปราม พร้อมเชิญ จุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการควบคุมการนำเข้าและจำหน่ายโพแทสเซียมไซยาไนด์
โดย พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ เปิดเผยว่าตอนนี้คดีมีความคืบหน้าไปมากแล้ว โดยคดีของก้อยคืบหน้าไปกว่า 80% ส่วนคดีอื่นๆ คาดว่าจะเเล้วเสร็จภายในสัปดาห์หน้า โดยภาพรวมไม่มีอะไรที่ต้องหนักใจ และจากการสอบปากคำพ่อแม่ของรองออฟ อดีตสามีของแอมเมื่อวานนี้ พบว่าให้การเป็นประโยชน์ โดยคาดว่าวันพรุ่งนี้น่าจะสามารถออกหมายจับแอม ในคดีของ ‘ทราย’ ที่เสียชีวิตในพื้นที่ สน.ทองหล่อ ในข้อหาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนได้ ส่วนการออกหมายจับในประเด็นอื่นๆ เพิ่มเติม คาดว่าจะมีความชัดเจนภายใน 1-2 วันนี้ และหลังจากรวบรวมพยานหลักฐานในแต่ละคดีเสร็จสิ้นแล้ว พนักงานสอบสวนจะทยอยส่งสำนวนทุกคดีฟ้องต่ออัยการในเวลาไล่เลี่ยกัน ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด
นอกจากนี้ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ยังเปิดเผยว่าจาการสอบถาม อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่องการควบคุมการนำเข้าและจำหน่ายโพแทสเซียมไซยาไนด์ พบว่ากฎหมายมีช่องโหว่และหละหลวมมาก ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดปัญหาในอนาคตได้อีก และตอนนี้ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ยังไม่สามารถชี้แจงได้ว่ามีสารโพแทสเซียมไซยาไนด์หลุดออกไปจากระบบเท่าไร จึงได้แจ้งให้ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เร่งไปหาแนวทางการป้องกันโดยเร็ว เนื่องจากตอนนี้ มีการนำโพแทสเซียมไซยาไนด์มาจำหน่ายในออนไลน์ด้วย จึงกังวลว่าอาจจะเกิดปัญหาตามมาอีก ส่วนช่องโหว่ที่เกิดขึ้น เป็นผลมาจากการละเว้นของเจ้าพนักงานกรมโรงงานฯ ซึ่งถือเป็นความผิดตามมาตรา 157 หรือไม่ เรื่องนี้ ต้องไปตรวจสอบก่อน หากผิดต้องว่าไปตามผิด
ส่วนบุคคลที่นำไซยาไนด์ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ เช่น นักแสดงสาวที่นำไปใช้ไล่สัตว์เลื้อยคลาน เป็นหน้าที่ของกรมโรงงานอุตสาหกรรมที่จะเป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ โดยตำรวจเป็นผู้ทำสำนวนและได้รวบรวมพยานหลักฐานและข้อมูลจากการสอบปากคำบุคคลนี้ไว้ทั้งหมดแล้ว
ขณะที่ จุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ยืนยันว่าปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากความบกพร่องของกรมโรงงานฯ เเต่เนื่องจากช่วงปี 46 มีการเพิ่มข้อยกเว้นว่าผู้ใช้รายย่อย ไม่ต้องขออนุญาตครอบครองสารเคมีอันตราย แต่หากใช้สารเคมีอันตรายเกิน 100 กิโลกรัม ภานใน 6 เดือน ต้องแจ้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบ ดังนั้นแนวทางการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า กรมโรงงานฯ จะไปกำหนดเงื่อนไข ท้ายใบอนุญาตเพิ่มเติม โดยบริษัทที่ขออนุญาตนำเข้าต้องรายงานให้กรมโรงงานทราบว่าผู้ใช้เป็นใครบ้าง และนำไปใช้อะไร ส่วนการแก้ปัญหาระยะยาวต้องไปแก้ไขกฎกระทรวง ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่
ส่วนการจำหน่ายโพแทสเซียมไซยาไนด์ ในแพลตฟอร์มออนไลน์ ไม่ได้อยู่ในอำนาจการดูแลของกรมโรงงานฯ เป็นหน้าที่ของ สํานักงานคุ้มครองผู้บริโภค ที่ต้องไปดูว่าการจำหน่ายโพแทสเซียมไซยาไนด์ ขัดต่อ พ.ร.บ.ขายตรงฯ หรือไม่
อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ยังอธิบายเพิ่มเติมว่า เนื่องจากประเทศไทย ไม่สามารถผลิต ‘โพแทสเซียมไซยาไนด์’ เองได้ จึงต้องใช้วิธีนำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยปัจจุบันมีบริษัทที่ขออนุญาตนำเข้า ‘โพแทสเซียมไซยาไนด์’ จำนวน 14 บริษัท โดยวัตุประสงค์หลักที่นำเข้ามา คือ ใช้เพื่อการศึกษาวิจัยในห้องปฎิบัติการ ใช้ในอุตสาหกรรม และค้าปลีกให้กับผู้ใช้รายย่อย ซึ่งมีอยู่ประมาณ 2,000 ราย เช่น ร้านทอง ที่จะนำโพแทสเซียมไซยาไนด์ มาใช้ในกระบวนการชุบทอง โดยเฉลี่ยต่อปีจะมีการนำเข้าโพแทสเซียมไซยาไนด์ ประมาณ 80 ตัน โดยผู้ที่ครอบครองสารเคมีอันตรายแล้วนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
โดย พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ เปิดเผยว่าตอนนี้คดีมีความคืบหน้าไปมากแล้ว โดยคดีของก้อยคืบหน้าไปกว่า 80% ส่วนคดีอื่นๆ คาดว่าจะเเล้วเสร็จภายในสัปดาห์หน้า โดยภาพรวมไม่มีอะไรที่ต้องหนักใจ และจากการสอบปากคำพ่อแม่ของรองออฟ อดีตสามีของแอมเมื่อวานนี้ พบว่าให้การเป็นประโยชน์ โดยคาดว่าวันพรุ่งนี้น่าจะสามารถออกหมายจับแอม ในคดีของ ‘ทราย’ ที่เสียชีวิตในพื้นที่ สน.ทองหล่อ ในข้อหาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนได้ ส่วนการออกหมายจับในประเด็นอื่นๆ เพิ่มเติม คาดว่าจะมีความชัดเจนภายใน 1-2 วันนี้ และหลังจากรวบรวมพยานหลักฐานในแต่ละคดีเสร็จสิ้นแล้ว พนักงานสอบสวนจะทยอยส่งสำนวนทุกคดีฟ้องต่ออัยการในเวลาไล่เลี่ยกัน ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด
นอกจากนี้ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ยังเปิดเผยว่าจาการสอบถาม อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่องการควบคุมการนำเข้าและจำหน่ายโพแทสเซียมไซยาไนด์ พบว่ากฎหมายมีช่องโหว่และหละหลวมมาก ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดปัญหาในอนาคตได้อีก และตอนนี้ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ยังไม่สามารถชี้แจงได้ว่ามีสารโพแทสเซียมไซยาไนด์หลุดออกไปจากระบบเท่าไร จึงได้แจ้งให้ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เร่งไปหาแนวทางการป้องกันโดยเร็ว เนื่องจากตอนนี้ มีการนำโพแทสเซียมไซยาไนด์มาจำหน่ายในออนไลน์ด้วย จึงกังวลว่าอาจจะเกิดปัญหาตามมาอีก ส่วนช่องโหว่ที่เกิดขึ้น เป็นผลมาจากการละเว้นของเจ้าพนักงานกรมโรงงานฯ ซึ่งถือเป็นความผิดตามมาตรา 157 หรือไม่ เรื่องนี้ ต้องไปตรวจสอบก่อน หากผิดต้องว่าไปตามผิด
ส่วนบุคคลที่นำไซยาไนด์ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ เช่น นักแสดงสาวที่นำไปใช้ไล่สัตว์เลื้อยคลาน เป็นหน้าที่ของกรมโรงงานอุตสาหกรรมที่จะเป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ โดยตำรวจเป็นผู้ทำสำนวนและได้รวบรวมพยานหลักฐานและข้อมูลจากการสอบปากคำบุคคลนี้ไว้ทั้งหมดแล้ว
ขณะที่ จุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ยืนยันว่าปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากความบกพร่องของกรมโรงงานฯ เเต่เนื่องจากช่วงปี 46 มีการเพิ่มข้อยกเว้นว่าผู้ใช้รายย่อย ไม่ต้องขออนุญาตครอบครองสารเคมีอันตราย แต่หากใช้สารเคมีอันตรายเกิน 100 กิโลกรัม ภานใน 6 เดือน ต้องแจ้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบ ดังนั้นแนวทางการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า กรมโรงงานฯ จะไปกำหนดเงื่อนไข ท้ายใบอนุญาตเพิ่มเติม โดยบริษัทที่ขออนุญาตนำเข้าต้องรายงานให้กรมโรงงานทราบว่าผู้ใช้เป็นใครบ้าง และนำไปใช้อะไร ส่วนการแก้ปัญหาระยะยาวต้องไปแก้ไขกฎกระทรวง ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่
ส่วนการจำหน่ายโพแทสเซียมไซยาไนด์ ในแพลตฟอร์มออนไลน์ ไม่ได้อยู่ในอำนาจการดูแลของกรมโรงงานฯ เป็นหน้าที่ของ สํานักงานคุ้มครองผู้บริโภค ที่ต้องไปดูว่าการจำหน่ายโพแทสเซียมไซยาไนด์ ขัดต่อ พ.ร.บ.ขายตรงฯ หรือไม่
อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ยังอธิบายเพิ่มเติมว่า เนื่องจากประเทศไทย ไม่สามารถผลิต ‘โพแทสเซียมไซยาไนด์’ เองได้ จึงต้องใช้วิธีนำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยปัจจุบันมีบริษัทที่ขออนุญาตนำเข้า ‘โพแทสเซียมไซยาไนด์’ จำนวน 14 บริษัท โดยวัตุประสงค์หลักที่นำเข้ามา คือ ใช้เพื่อการศึกษาวิจัยในห้องปฎิบัติการ ใช้ในอุตสาหกรรม และค้าปลีกให้กับผู้ใช้รายย่อย ซึ่งมีอยู่ประมาณ 2,000 ราย เช่น ร้านทอง ที่จะนำโพแทสเซียมไซยาไนด์ มาใช้ในกระบวนการชุบทอง โดยเฉลี่ยต่อปีจะมีการนำเข้าโพแทสเซียมไซยาไนด์ ประมาณ 80 ตัน โดยผู้ที่ครอบครองสารเคมีอันตรายแล้วนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ