เมื่อวันที่ 26 เม.ย.66 รพี ชำนาญเรือ ผู้ประสานงานเหยื่อในคดี ‘แอม-ไซยาไนด์’ ได้พาสามีของ จันทรรัตน์ ผู้เสียชีวิตในบ้านพัก พื้นที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี มาให้ปากคำเพิ่มเติม กับ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่ สโมสรตำรวจ
พล.ต.อ. สุรเชษฐ์ เปิดเผยภาพรวมการสืบสวนว่า ตอนนี้พบว่ามีผู้เสียชีวิตที่ต้องสงสัยว่าอาจถูก ‘แอม’ วางยาไซยาไนด์ รวม 13 คน ในพื้นที่ 5 จังหวัด คือ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดนครปฐมจังหวัดราชบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดเพชรบุรี ในจำนวนนี้มีเพียงคดีของ ‘ก้อย’ ที่คดีอยู่ในความดูแลของกองบังคับการปราบปราม และมีผู้รอดชีวิต 1 คนที่อยู่ระหว่างการสอบสวน
สำหรับคดีอื่นๆ จะให้ตำรวจในท้องที่ดูแล รับผิดชอบ และได้กำชับให้ทำงานอย่างรอบคอบแล้ว โดยมีพนักงานสอบสวนจากส่วนกลางคอยช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด แต่ไม่ใช่การรวมสำนวนคดี เนื่องจากแต่ละคดีไม่เกี่ยวข้องกัน เพียงแต่มีผู้ต้องสงสัยคนเดียวกันเท่านั้น
โดยในวันศุกร์นี้ (28 เม.ย.) ได้นัดหมายให้พนักงานสอบสวนทุกคดีเข้ามาประชุมรายงานความคืบหน้าพร้อมกัน ที่ สโมสรตำรวจ ถนนวิภาวดีรังสิต
พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ยังระบุว่าผู้เสียหายที่ยังไม่ได้แจ้งความด้วย สามารถแจ้งความได้ แม้จะไม่มีศพผู้เสียชีวิตแล้ว โดยพนักงานสอบสวนจะดำเนินการ รับเลขคดีและทำการสืบสวนสอบสวนตามขั้นตอนเหมือนทุกคดี พร้อมกำชับว่าให้พนักงานสอบสวนดูประวัติการป่วยของผู้เสียชีวิตทุกคน รวมถึงที่มาของ ไซยาไนด์ของแอม และพยานแวดล้อมให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ขณะที่ เจ้าหน้าที่นิติเวช, พิสูจน์หลักฐาน ได้ลงพื้นที่ตรวจที่เกิดเหตุ เพื่อเก็บวัตถุพยานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในทุกคดีแล้ว ย้ำว่าคดีนี้ไม่ตัดจบที่ ‘แอม’ เพียงคนเดียวแน่นอน โดยตำรวจตั้งสมมุติฐาน ว่า มีผู้ให้คำปรึกษาหรือให้การสนับสนุนหรือไม่
ส่วนประเด็นที่หลายคนตั้งข้อสังเกตถึงการทำงานของพนักงานสอบสวนในพื้นที่เกิดเหตุ ว่าเหตุใดพบการเสียชีวิตที่ผิดธรรมชาติแล้วไม่ส่งชันสูตร พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ บอกว่าในทางปฏิบัติทำได้ไม่ทั่วถึง เพราะในพื้นที่ห่างไกล ไม่มีแพทย์นิติเวช พนักงานสอบสวนจึงยึดความประสงค์ของญาติว่าติดใจหรือไม่ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะพบว่ากรณีหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวาย ครอบครัวผู้เสียชีวิตมักไม่ติดใจ และไม่ประสงค์ให้ผ่าชันสูตร แต่หลังจากเกิดเรื่องนี้ขึ้น ก็ได้กำชับให้พนักงานสอบสวนทุกพื้นที่ เคร่งครัดในการปฎิบัติในการส่งศพผ่าชันสูตรทุกกรณีที่พบว่าเป็นการเสียชีวิตแบบผิดธรรมชาติ
ด้าน สามีของนางจันทรรัตน์ เล่าว่า ภรรยารู้จัก ‘แอม’ ผ่านกลุ่มเพื่อนที่อยู่ในทีมประกันชีวิตในจังหวัดราชบุรี ตั้งแต่ปี 2565 ก่อนร่วมกันทำธุรกิจปล่อยเงินกู้ ในวันเกิดเหตุ คือ วันที่ 15 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 น. ‘แอม’ ได้นัดภรรยาไปเจอที่ปั๊มน้ำมันในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี โดยได้บอกกับเพื่อนบ้านเอาไว้ว่า “จะไปหาเพื่อนชาวจังหวัดราชบุรี” แต่ไม่ได้บอกรายละเอียดว่าจะออกไปทำอะไร
จนกระทั่งเพื่อนบ้านเห็นภรรยากลับมาที่บ้านในช่วงเวลา 10.00-11.00 น. และเพื่อนบ้านได้พูดคุยกับภรรยาอีกครั้ง ก่อนที่ภรรยาจะบอกว่า “รู้สึกอาการไม่ค่อยดี ขอเข้าไปพักในบ้านก่อน” ต่อมาช่วง 12.00 น. ตัวเองได้กลับมาจากทำงาน เพื่อมากินข้าวเที่ยงที่บ้าน เนื่องจากว่าที่พักและโรงงานไม่ไกลกัน แต่ปรากฏว่าเมื่อมาถึงกลับพบภรรยานอนคว่ำหน้า และสภาพตัวเขียวช้ำเลือดมีเลือดและน้ำลายไหลออกจากปาก ตัวเองจึงรีบโทรศัพท์แจ้ง 1669 และในขณะเดียวกันเจ้าหน้ากู้ภัยที่มาถึง ก็พยายามช่วยปั๊มหัวใจ และพาไปส่งโรงพยาบาล แต่สุดท้ายก็ไม่ทัน สุดท้ายภรรยาเสียชีวิต
ส่วนสาเหตุที่ตัวเองไม่ได้ติดใจตั้งแต่แรก เนื่องจากคิดว่าการเสียชีวิตของภรรยามาจากเรื่องสุขภาพ เพราะก่อนหน้านี้ภรรยาบ่นปวดหัว 2 วันแล้ว รวมถึงแพทย์ลงความเห็นว่าการเสียชีวิตเกิดจาก ‘หัวใจล้มเหลว’ เลยตัดสินใจไม่ได้ผ่าชันสูตรในช่วงเวลานั้น แต่พอมาเห็นข่าว ก็ยอมรับว่า ไม่คิดว่าภรรยาจะกลายเป็นเหยื่อของ ‘แอม’ ที่มีจิตใจโหดเหี้ยมเกินมนุษย์ และพอนึกย้อนตัวภรรยาเองก็ไม่มีโรคประจำตัวมาก่อน
ส่วนความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงเรื่องการเงินกับ ‘แอม’ พบว่า ภรรยาเคยลงทุนให้ ‘แอม’ ปล่อยเงินกู้ให้จำนวน 70,000 บาท โดยตัวเองก็ทราบเรื่องนี้ เพราะเป็นคนไปเบิกจากธนาคารด้วยตัวเอง และเงินจำนวนนี้ก็กำลังจะได้รับเงินปันผลจาก ‘แอม’ ในช่วงสิ้นเดือนสิงหาคม 2565 แต่ภรรยาก็มาเสียชีวิตก่อนรับเงินไม่กี่วัน
นอกจากนี้ยังมีเงินลงทุนขายของในติ๊กต๊อกร่วมกันกับ ‘แอม’ อีก 26,800 บาท แต่เงินส่วนนี้โอนไปให้บุคคลหนึ่งที่ตัวเองไม่ทราบว่าเป็นใคร แต่สุดท้ายหลังจากนั้นเพียง 3 วัน ภรรยาก็เสียชีวิต
ส่วนสิ่งที่น่าสงสัยอีกอย่าง คือ ‘แอม’ ไม่ได้มาร่วมงานศพภรรยา แต่ได้ติดต่อมาภายหลัง โดย ‘แอม’ บอกว่า “ภรรยาไม่ได้โอนเงินจำนวน 70,000 บาทให้เลย” ส่วนก่อนที่ภรรยาจะออกไปหา ‘แอม’ แล้วเสียชีวิต เห็นหลักฐานเป็นสายที่โทรเข้า-ออก โดย ‘แอม’ เป็นคนนัดให้ภรรยาออกไปเจอ
พล.ต.อ. สุรเชษฐ์ เปิดเผยภาพรวมการสืบสวนว่า ตอนนี้พบว่ามีผู้เสียชีวิตที่ต้องสงสัยว่าอาจถูก ‘แอม’ วางยาไซยาไนด์ รวม 13 คน ในพื้นที่ 5 จังหวัด คือ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดนครปฐมจังหวัดราชบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดเพชรบุรี ในจำนวนนี้มีเพียงคดีของ ‘ก้อย’ ที่คดีอยู่ในความดูแลของกองบังคับการปราบปราม และมีผู้รอดชีวิต 1 คนที่อยู่ระหว่างการสอบสวน
สำหรับคดีอื่นๆ จะให้ตำรวจในท้องที่ดูแล รับผิดชอบ และได้กำชับให้ทำงานอย่างรอบคอบแล้ว โดยมีพนักงานสอบสวนจากส่วนกลางคอยช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด แต่ไม่ใช่การรวมสำนวนคดี เนื่องจากแต่ละคดีไม่เกี่ยวข้องกัน เพียงแต่มีผู้ต้องสงสัยคนเดียวกันเท่านั้น
โดยในวันศุกร์นี้ (28 เม.ย.) ได้นัดหมายให้พนักงานสอบสวนทุกคดีเข้ามาประชุมรายงานความคืบหน้าพร้อมกัน ที่ สโมสรตำรวจ ถนนวิภาวดีรังสิต
พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ยังระบุว่าผู้เสียหายที่ยังไม่ได้แจ้งความด้วย สามารถแจ้งความได้ แม้จะไม่มีศพผู้เสียชีวิตแล้ว โดยพนักงานสอบสวนจะดำเนินการ รับเลขคดีและทำการสืบสวนสอบสวนตามขั้นตอนเหมือนทุกคดี พร้อมกำชับว่าให้พนักงานสอบสวนดูประวัติการป่วยของผู้เสียชีวิตทุกคน รวมถึงที่มาของ ไซยาไนด์ของแอม และพยานแวดล้อมให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ขณะที่ เจ้าหน้าที่นิติเวช, พิสูจน์หลักฐาน ได้ลงพื้นที่ตรวจที่เกิดเหตุ เพื่อเก็บวัตถุพยานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในทุกคดีแล้ว ย้ำว่าคดีนี้ไม่ตัดจบที่ ‘แอม’ เพียงคนเดียวแน่นอน โดยตำรวจตั้งสมมุติฐาน ว่า มีผู้ให้คำปรึกษาหรือให้การสนับสนุนหรือไม่
ส่วนประเด็นที่หลายคนตั้งข้อสังเกตถึงการทำงานของพนักงานสอบสวนในพื้นที่เกิดเหตุ ว่าเหตุใดพบการเสียชีวิตที่ผิดธรรมชาติแล้วไม่ส่งชันสูตร พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ บอกว่าในทางปฏิบัติทำได้ไม่ทั่วถึง เพราะในพื้นที่ห่างไกล ไม่มีแพทย์นิติเวช พนักงานสอบสวนจึงยึดความประสงค์ของญาติว่าติดใจหรือไม่ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะพบว่ากรณีหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวาย ครอบครัวผู้เสียชีวิตมักไม่ติดใจ และไม่ประสงค์ให้ผ่าชันสูตร แต่หลังจากเกิดเรื่องนี้ขึ้น ก็ได้กำชับให้พนักงานสอบสวนทุกพื้นที่ เคร่งครัดในการปฎิบัติในการส่งศพผ่าชันสูตรทุกกรณีที่พบว่าเป็นการเสียชีวิตแบบผิดธรรมชาติ
ด้าน สามีของนางจันทรรัตน์ เล่าว่า ภรรยารู้จัก ‘แอม’ ผ่านกลุ่มเพื่อนที่อยู่ในทีมประกันชีวิตในจังหวัดราชบุรี ตั้งแต่ปี 2565 ก่อนร่วมกันทำธุรกิจปล่อยเงินกู้ ในวันเกิดเหตุ คือ วันที่ 15 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 น. ‘แอม’ ได้นัดภรรยาไปเจอที่ปั๊มน้ำมันในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี โดยได้บอกกับเพื่อนบ้านเอาไว้ว่า “จะไปหาเพื่อนชาวจังหวัดราชบุรี” แต่ไม่ได้บอกรายละเอียดว่าจะออกไปทำอะไร
จนกระทั่งเพื่อนบ้านเห็นภรรยากลับมาที่บ้านในช่วงเวลา 10.00-11.00 น. และเพื่อนบ้านได้พูดคุยกับภรรยาอีกครั้ง ก่อนที่ภรรยาจะบอกว่า “รู้สึกอาการไม่ค่อยดี ขอเข้าไปพักในบ้านก่อน” ต่อมาช่วง 12.00 น. ตัวเองได้กลับมาจากทำงาน เพื่อมากินข้าวเที่ยงที่บ้าน เนื่องจากว่าที่พักและโรงงานไม่ไกลกัน แต่ปรากฏว่าเมื่อมาถึงกลับพบภรรยานอนคว่ำหน้า และสภาพตัวเขียวช้ำเลือดมีเลือดและน้ำลายไหลออกจากปาก ตัวเองจึงรีบโทรศัพท์แจ้ง 1669 และในขณะเดียวกันเจ้าหน้ากู้ภัยที่มาถึง ก็พยายามช่วยปั๊มหัวใจ และพาไปส่งโรงพยาบาล แต่สุดท้ายก็ไม่ทัน สุดท้ายภรรยาเสียชีวิต
ส่วนสาเหตุที่ตัวเองไม่ได้ติดใจตั้งแต่แรก เนื่องจากคิดว่าการเสียชีวิตของภรรยามาจากเรื่องสุขภาพ เพราะก่อนหน้านี้ภรรยาบ่นปวดหัว 2 วันแล้ว รวมถึงแพทย์ลงความเห็นว่าการเสียชีวิตเกิดจาก ‘หัวใจล้มเหลว’ เลยตัดสินใจไม่ได้ผ่าชันสูตรในช่วงเวลานั้น แต่พอมาเห็นข่าว ก็ยอมรับว่า ไม่คิดว่าภรรยาจะกลายเป็นเหยื่อของ ‘แอม’ ที่มีจิตใจโหดเหี้ยมเกินมนุษย์ และพอนึกย้อนตัวภรรยาเองก็ไม่มีโรคประจำตัวมาก่อน
ส่วนความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงเรื่องการเงินกับ ‘แอม’ พบว่า ภรรยาเคยลงทุนให้ ‘แอม’ ปล่อยเงินกู้ให้จำนวน 70,000 บาท โดยตัวเองก็ทราบเรื่องนี้ เพราะเป็นคนไปเบิกจากธนาคารด้วยตัวเอง และเงินจำนวนนี้ก็กำลังจะได้รับเงินปันผลจาก ‘แอม’ ในช่วงสิ้นเดือนสิงหาคม 2565 แต่ภรรยาก็มาเสียชีวิตก่อนรับเงินไม่กี่วัน
นอกจากนี้ยังมีเงินลงทุนขายของในติ๊กต๊อกร่วมกันกับ ‘แอม’ อีก 26,800 บาท แต่เงินส่วนนี้โอนไปให้บุคคลหนึ่งที่ตัวเองไม่ทราบว่าเป็นใคร แต่สุดท้ายหลังจากนั้นเพียง 3 วัน ภรรยาก็เสียชีวิต
ส่วนสิ่งที่น่าสงสัยอีกอย่าง คือ ‘แอม’ ไม่ได้มาร่วมงานศพภรรยา แต่ได้ติดต่อมาภายหลัง โดย ‘แอม’ บอกว่า “ภรรยาไม่ได้โอนเงินจำนวน 70,000 บาทให้เลย” ส่วนก่อนที่ภรรยาจะออกไปหา ‘แอม’ แล้วเสียชีวิต เห็นหลักฐานเป็นสายที่โทรเข้า-ออก โดย ‘แอม’ เป็นคนนัดให้ภรรยาออกไปเจอ