‘สารหนู’ ในแม่น้ำกก ‘มลพิษข้ามแดน’ ที่ยังไร้ทางออก

23 พ.ค. 2568 - 06:23

  • วิกฤตแม่น้ำกก! ‘ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ’ ลั่นต้อง ‘หยุดทำเหมือง’ ปัญหาถึงจะคลี่คลาย แนะภาครัฐเดินหน้าเชิงรุก

  • ‘นักวิชาการ มช.’ ย้ำต้องเร่งแก้ไข พร้อมชี้ ‘สร้างฝายดักตะกอน’ ต้องประเมินตามหลักวิชาการก่อนว่าคุ้มค่าหรือไม่

  • ‘ผอ.สคพ.1’ ยันคุณภาพน้ำประปาใน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ และ อ.เมือง จ.เชียงราย ‘ยังอยู่ในเกณฑ์ที่บริโภคได้’

ปัญหา ‘แม่น้ำกก’ พบการปนเปื้อนโลหะหนัก หรือ ‘สารหนู’ ในตอนนี้ยังถือว่าเป็นปัญหาที่ยังไร้ทางออก เนื่องจากต้นน้ำอยู่ในประเทศเมียนมา ซึ่งการทำเหมืองทองก็ยังคงดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่อง สำหรับแม่น้ำกกนั้นจะไหลเข้ามายังประทศไทยที่อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาจะไหลเข้าสู่จังหวัดเชียงราย ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำโขง


‘แม่น้ำกก’ จึงถือเป็นหนึ่งในแม่น้ำที่มีความสำคัญอีกสายหนึ่งของชาวจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย ที่เกี่ยวโยงกับวิถีชีวิตของชาวบ้านมานาน ส่งผลให้เริ่มมีความกังวลถึงปัญหาที่จะตามมาในระยะยาว ทั้งการอุปโภคบริโภค การทำประมง การเกษตร ฯลฯ


Arsenic-in-Kok-River-Transboundary-pollution-SPACEBAR-Photo12.jpg

‘ครูตี๋’ หรือ นิวัฒน์ ร้อยแก้ว ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ ให้ข้อมูลว่า ตอนนี้น่าเป็นห่วงว่าวิถีชีวิตของคนริมฝั่งแม่น้ำกกจะเป็นอยู่อย่างไรต่อไป ในขณะเดียวกันก็ยังมีประชาชนยังที่คิดว่าปัญหาดังกล่าวยังไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว มองว่าปัญหานี้เป็นสิ่งที่ร้ายแรงเป็นอย่างมาก เป็นปัญหามลพิษข้ามพรมแดน ที่กระทบกับการใช้ชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก


ปัญหานี้ต้องแก้ที่ต้นตอ คือ ต้องหยุดทำเหมืองทองบริเวณต้นน้ำในประเทศเมียนมาเท่านั้น สำหรับผู้ที่จะเข้าไปเจรจา พูดคุย และจัดการกับปัญหานี้ได้ ต้องเป็นรัฐบาลเท่านั้น เพราะเป็นเรื่องระหว่างประเทศ เพียงแค่อำนาจหน้าที่ของจังหวัดเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ รัฐบาลต้องทำทุกวิถีทางในการแก้ไขปัญหานี้ให้ได้ เพราะในทุกวันที่เหมืองทองดำเนินการอยู่ ก็เท่ากับว่าสารพิษตกค้างในแม่น้ำกกก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ภาครัฐต้องคำนึงว่าสิ่งนี้เกี่ยวข้องกับชีวิตประชาชน และความมั่นคง ดังนั้นควรเร่งดำเนินการให้เร็ว

นิวัฒน์ ร้อยแก้ว


Arsenic-in-Kok-River-Transboundary-pollution-SPACEBAR-Photo15.jpg
นิวัฒน์ ร้อยแก้ว ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ


การแก้ที่ยั่งยืนคือ การหยุดการทำเหมืองแร่ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งแม่น้ำกก แม่น้ำสาย แม่น้ำโขง ที่มีการปนเปื้อนสารหนูแบบนี้ เรื่องราวที่เกิดขึ้นมันเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนมาก รัฐบาลต้องเร่งเข้ามาจัดการแบบเชิงรุกได้แล้ว การตั้งรับอย่างเดียวไม่เป็นผลดีกับไทยเลย ต้องเข้าไปพูดคุยหากไม่สำเร็จก็ต้องกดดัน

นิวัฒน์ ร้อยแก้ว

ส่วนที่ว่าจะมีการสร้างเขื่อน หรือ ฝาย ที่เป็นการสกัดสารพิษ, ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ บอกว่า ไม่แน่ใจว่าจะสามารถทำได้จริงหรือไม่ ในทางปฏิบัติจะกรองได้จริงหรือ ใช้เวลาสร้างเท่าไหร่ ผลกระทบจากการสร้างจะมีเพิ่มอีกไหมจะเพิ่มปัญหาอีกหรือไม่ และหากเกิดน้ำท่วมขึ้นมาปัญหามันจะรุนแรงมากขึ้นอีกไหม รัฐบาลต้องให้คำถามที่ชัดเจนกับประชาชน


วันที่ 24 พฤษภาคมนี้ จะรวมตัวออกมาพูด ออกมาแสดงความห่วงใยต่อชีวิตและแม่น้ำของเรา หวังหยุดเหมืองฟื้นฟูแม่น้ำ ก่อนจะมีการรวมตัวใหญ่อีกครั้ง ในวันที่ 5 มิถุนายนนี้

นิวัฒน์ ร้อยแก้ว


Arsenic-in-Kok-River-Transboundary-pollution-SPACEBAR-PhotoSQ01.jpg
รศ.ชูโชค อายุพงศ์ หัวหน้าศูนย์วิชาการสนับสนุนด้านการบริหารจัดการน้ำ ม.เชียงใหม่

ขณะที่ รศ.ชูโชค อายุพงศ์ หัวหน้าศูนย์วิชาการสนับสนุนด้านการบริหารจัดการน้ำ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุว่า การทำเหมืองบริเวณต้นน้ำกกนั้น อยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง มีการสู้รบ อาจจะทำให้ระบบบำบัดไม่ได้มาตรฐาน ส่งผลให้มีสารพิษไหลมาตามแม่น้ำ ซึ่งปัจจุบันนี้แม่น้ำกก “เข้าสู่ภาวะวิกฤตแล้ว”


รัฐบาลต้องเดินหน้าแก้ไขอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งดำเนินการภายในประเทศ การจัดการพูดคุยเพื่อนบ้านอย่างเมียนมา หรือ กลุ่มกองกำลังที่คุมพื้นที่นั้นอยู่ รวมทั้งประเทศจีนที่ได้รับผลประโยชน์จากการทำเหมืองอย่างน้อยที่สุดหากจะดำเนินการต่อ ก็ต้องให้มีมาตรฐานสากล และมีการจัดการบำบัดน้ำให้ปลอดภัยก่อนปล่อยคืนสู่แม่น้ำ

รศ.ชูโชค อายุพงศ์


Arsenic-in-Kok-River-Transboundary-pollution-SPACEBAR-Photo07.jpg


วันนี้ รัฐบาลต้องเร่งประเมินสถานการณ์ ระยะสั้น กลาง ยาว เอาไว้แล้ว หากไม่ทำอะไร ปล่อยปัญหาไว้นาน จะเหลือเพียงประชาชนที่รอรับชะตากรรมกับปัญหาที่จะตามมาในทุก ๆ ด้าน ในส่วนของการทำฝายดักตะกอน ต้องทำการประเมินตามหลักวิชาการก่อนว่าคุ้มค่าหรือไม่ สามารถดักได้มากเพียงใด

รศ.ชูโชค อายุพงศ์


Arsenic-in-Kok-River-Transboundary-pollution-SPACEBAR-Photo16.jpg
อาวีระ ภัคมาตร์ ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 (เชียงใหม่)

อาวีระ ภัคมาตร์ ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 (เชียงใหม่) เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการตรวจหาสารปนเปื้อนในแม่น้ำกก จากการที่พบว่า แม่น้ำกกมีความขุ่นผิดปกติและพบสารปนเปื้อน ไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพน้ำและตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดิน


ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ประชุมหารือเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำกกในเขตพื้นที่อำเภอแม่อาย และมอบหมายให้สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 (เชียงใหม่) ตรวจติดตามผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำผิวดินของแม่น้ำกกและลำน้ำสาขาที่ไหลลงสู่แม่น้ำกกอย่างต่อเนื่อง


Arsenic-in-Kok-River-Transboundary-pollution-SPACEBAR-Photo08.jpg

สำหรับผลจากการลงพื้นที่ตรวจติดตามและเก็บตัวอย่างน้ำผิวดินที่มีความเสี่ยง จำนวน 12 จุด ตลอดลำน้ำกกที่ไหลผ่านพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ไปยังเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย ระยะทางประมาณ 157 กิโลเมตร ในช่วงระหว่างวันที่ 21-24 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา แล้วนำมาวิเคราะห์คุณภาพน้ำเพื่อหาสารปนเปื้อนที่เป็นโลหะหนัก


ผลปรากฏว่า พบสารปนเปื้อนที่เป็นโลหะหนักเกินค่ามาตรฐาน คือ สารหนู จำนวน 9 จุด จากทั้งหมด 12 จุด ที่ตรวจสอบ โดยพบในพื้นที่อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 3 จุด และพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จำนวน 6 จุด


Arsenic-in-Kok-River-Transboundary-pollution-SPACEBAR-Photo01.jpg

ในส่วนของมาตรการแก้ไขปัญหา ภายหลังจากการตรวจพบสารปนเปื้อน, ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจแหล่งน้ำรอบข้างริมน้ำกกว่า มีแหล่งกำเนิดมลพิษทางน้ำเพิ่มเติมหรือไม่ ทั้งจากโรงงานต่างๆ พื้นที่เกษตรแปลงใหญ่ที่ใช้สารเคมีจำนวนมาก รวมถึงเหมืองแร่และบ่อกำจัดของเสีย


ซึ่งปรากฏว่า ในเขตพื้นที่ประเทศไทยที่ติดอยู่กับชายแดนพม่า ทั้งเชียงใหม่และเชียงราย ไม่พบแหล่งที่ปล่อยสารปนเปื้อนที่เป็นโลหะหนักลงสู่แหล่งน้ำแต่อย่างใด


Arsenic-in-Kok-River-Transboundary-pollution-SPACEBAR-Photo13.jpg

ดังนั้น จึงสันนิษฐานได้ว่า สารปนเปื้อนเหล่านี้น่าจะมาจากนอกราชอาณาจักรไทย คือ อาจจะมาจากการทำเหมืองแร่ในประเทศพม่า


และล่าสุด ได้เจรจาแก้ปัญหากันในระดับพื้นที่ร่วมกันของผู้ใช้น้ำ ในขณะที่ระดับประเทศ ทางรัฐบาลเตรียมส่งทีมเจ้าหน้าที่เข้าไปเจรจาร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านให้มีการบริหารจัดการบ่อเหมืองแร่ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการเพื่อลดผลกระทบ


เรื่องของการใช้น้ำประปา การลงน้ำ รวมถึงการบริโภคสัตว์น้ำตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำกก เจ้าหน้าที่ได้เข้าไปทำการตรวจสอบคุณภาพน้ำประปาแล้ว ทั้งในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย สามารถใช้ในการอุปโภคและบริโภคได้

อาวีระ ภัคมาตร์ ผอ.สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 (เชียงใหม่)


Arsenic-in-Kok-River-Transboundary-pollution-SPACEBAR-Photo14.jpg


ส่วนที่พบปลาตายในพื้นที่จังหวัดเชียงราย สำนักงานประมงจังหวัดเชียงรายได้เข้าไปตรวจสอบแล้ว พบว่า ปลาที่ตายเกิดจากการ “ติดเชื้อไวรัส” เมื่อนำชิ้นเนื้อมาตรวจหาสารปนเปื้อนแล้ว “ไม่พบโลหะหนัก” ไม่ว่าจะเป็น “สารหนู” หรือ “สารปรอท” จึงสามารถบริโภคสัตว์น้ำได้ปกติ แต่ต้องทำให้สุกก่อนทุกครั้ง

อาวีระ ภัคมาตร์ ผอ.สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 (เชียงใหม่)


Arsenic-in-Kok-River-Transboundary-pollution-SPACEBAR-Photo10.jpg


Arsenic-in-Kok-River-Transboundary-pollution-SPACEBAR-Photo03.jpg


Arsenic-in-Kok-River-Transboundary-pollution-SPACEBAR-Photo04.jpg


Arsenic-in-Kok-River-Transboundary-pollution-SPACEBAR-Photo02.jpg


Arsenic-in-Kok-River-Transboundary-pollution-SPACEBAR-Photo V01.jpg
Arsenic-in-Kok-River-Transboundary-pollution-SPACEBAR-Photo V02.jpg
Arsenic-in-Kok-River-Transboundary-pollution-SPACEBAR-Photo05.jpg


Arsenic-in-Kok-River-Transboundary-pollution-SPACEBAR-Photo06.jpg
Arsenic-in-Kok-River-Transboundary-pollution-SPACEBAR-Photo09.jpg
Arsenic-in-Kok-River-Transboundary-pollution-SPACEBAR-Photo11.jpg



เรื่องเด่นประจำสัปดาห์