กทม.จมฝุ่นพิษ! PM2.5 พุ่งฝั่งธนฯ อ่วม หนองแขมหนัก

20 พ.ย. 2566 - 03:22

  • ฝุ่นพิษคลุมกรุงเทพฯ! PM2.5 พุ่งเกินมาตรฐาน 7 พื้นที่

  • หนองแขมหนักสุด ฝั่งธนบุรียังอ่วม

Bangkok-is-drowning-in-toxic-dust-PM-2.5-exceeds-standards-in-7-areas-SPACEBAR-Hero.jpg

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร (กทม.) สรุปผลการตรวจวัด PM2.5  ระหว่างเวลา 05.00-07.00 น.ตรวจวัดได้ 20.2-42.1 มคก./ลบ.ม. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 30.5 มคก./ลบ.ม.ค่า PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 7 พื้นที่

ทั้งนี้ ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5ได้ในช่วง 21-42.1ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 7 พื้นที่ ได้แก่

1.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 42.1 มคก./ลบ.ม.
2.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 41.2 มคก./ลบ.ม.
3.เขตบางบอน ใกล้ตลาดบางบอน : มีค่าเท่ากับ 40.6 มคก./ลบ.ม.

4.เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 40.4 มคก./ลบ.ม.
5.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 39.7 มคก./ลบ.ม.
6.เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 39.0 มคก./ลบ.ม.
7.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 38.1 มคก./ลบ.ม.

ทั้งนี้ ระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ สำหรับบุคคลทั่วไป ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น

ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง หากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลียควรปรึกษาแพทย์

สำหรับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่นPM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา) ในช่วงวันที่ 20-25 พฤศจิกายน 2566 การระบายอากาศไม่ดีถึงอ่อนประกอบกับอากาศมีเสถียรภาพ จึงคาดว่าจะทำให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองเพิ่มขึ้น และคาดการณ์วันนี้มีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย

จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA ไม่พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร

Bangkok-is-drowning-in-toxic-dust-PM-2.5-exceeds-standards-in-7-areas-SPACEBAR-Photo01.jpg

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์