สลดไม่รู้จบ! ดับสังเวยโครงสร้าง ‘สะพานทางด่วน’ ถนนพระราม 2 พังถล่ม

15 มี.ค. 2568 - 03:44

  • โครงสร้างทางยกระดับ หน้าด่านดาวคะนอง พังถล่ม! คนงานดับสังเวย 7 ชีวิต

  • ‘นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างฯ’ เผย 3 ข้อสันนิษฐานเบื้องต้น

collapse-of-the-structure-during-the-construction-of-the-Rama-2-elevated-road-SPACEBAR-Hero.jpg

เกิดเหตุสลดขึ้นอีกครั้งกับโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ โดยคราวนี้เป็นอุบัติเหตุโครงสร้างทางยกระดับ บริเวณหน้าด่านดาวคะนอง ทรุดตัวลงมา ใกล้พื้นที่ซอยพระราม 2 ซอย 25 ถนนพระรามที่ 2 แขวงบางมด เขตจอมทอง โดยที่เกิดเหตุ เป็นตอม่อสะพานที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ถล่มเป็นทางยาวตั้งแต่ซอย 17 ถึง 25

พื้นที่เกิดเหตุเป็นโครงสร้างทางยกระดับชั้นที่ 2 ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ซึ่งเป็นส่วนต่อขยายจากสะพานทศมราชัน คู่ขนานสะพานพระราม 9 โดยในช่วงเกิดเหตุมีพนักงานก่อสร้างปฏิบัติงานอยู่ด้วย จนส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 7 ราย และบาดเจ็บ 24 คน อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อทางด่วนดาวคะนองและถนนพระราม 2

collapse-of-the-structure-during-the-construction-of-the-Rama-2-elevated-road-SPACEBAR-Photo01.jpg

‘กทพ.’ แนะแนะเส้นทางเลี่ยง

ขณะที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) แจ้งปิดทางขึ้น-ลง ทางพิเศษเฉลิมมหานครชั่วคราว เนื่องจากเกิดเหตุโครงสร้างที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างเกิดการทรุดตัว บริเวณหน้าด่านดาวคะนอง พื้นที่การก่อสร้างโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก สัญญาที่ 3  

พร้อมแจ้งประชาชนที่ต้องการขึ้นทางด่วนเพื่อเข้าเมือง ขอให้ขับรถมุ่งหน้าไปแยกบางปะแก้วและใช้ถนนสุขสวัสดิ์ เพื่อไปใช้ด่านฯ สุขสวัสดิ์แทน และประชาชนที่จะเดินทางมุ่งหน้าไปสมุทรสาคร โดยใช้สะพานพระราม 9 ให้ลงทางออกถนนสุขสวัสดิ์แทน เพื่อมุ่งหน้าไปถนนพระราม 2

View post on Facebook

3 ข้อสันนิษฐาน ‘โครงสร้างถล่ม’

สำหรับเหตุสลดดังกล่าวนั้น อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย ให้ความเห็นว่า ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปสาเหตุของการพังถล่ม แต่จากการประเมินภาพถ่ายเบื้องต้น พบว่าคานขวาง (Cross beam) ที่หัวเสาพังถล่มลงมาต่อเนื่องหลายช่วง ซึ่งเป็นโครงสร้างช่วงยาว (long span)

อย่างไรก็ตาม ได้ตั้งข้อสันนิษฐานเบื้องต้น 3 ประเด็นหลัก ได้แก่

กิจกรรมขณะเกิดเหตุ – อาจเป็นช่วงเทคอนกรีตคานขวาง หรือมีกิจกรรมที่ส่งแรงกระทำต่อโครงสร้าง หากเป็นการเทคอนกรีต น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้โครงสร้างรับไม่ไหว

ความแข็งแรงของโครงถักเหล็ก – โครงถักเหล็กที่รองรับคานขวางพังลงมาพร้อมกัน ต้องตรวจสอบกำลังรับน้ำหนักของโครงถัก รวมถึงรอยต่อระหว่างชิ้นส่วนว่ามีปัญหาหรือไม่

จุดยึดกับเสาตอม่อ – ต้องตรวจสอบว่าโครงถักเหล็กเชื่อมต่อกับเสาตอม่ออย่างแข็งแรงเพียงพอหรือไม่

ทั้งนี้ ต้องรอการตรวจสอบเชิงวิศวกรรมเพิ่มเติม โดยจะมีการตั้งคณะทำงานเพื่อตรวจสอบสาเหตุการพังถล่ม รวมถึงการพิจารณาแบบก่อสร้าง ขั้นตอนการทำงาน และคุณภาพวัสดุ ขณะนี้การก่อสร้างต้องถูกระงับไว้ก่อน จนกว่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์