การหายตัวไปของ หะยีสุหลง และลูกชาย (อาหมัด โต๊ะมีนา) เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ.2497 แม้จะปรากฏภายหลังว่าเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ชุดหนึ่ง
แต่ข้อมูลที่มีการบันทึกไว้ในเอกสารหลายชุด ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า การหายตัวไปของหะยีสุหลงน่าจะมีต้นเหตุสำคัญมาจากข้อเสนอ 7 ประการที่หะยีสุหลงนำเสนอต่อรัฐบาล ที่นำโดยพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2490
แต่ข้อมูลที่มีการบันทึกไว้ในเอกสารหลายชุด ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า การหายตัวไปของหะยีสุหลงน่าจะมีต้นเหตุสำคัญมาจากข้อเสนอ 7 ประการที่หะยีสุหลงนำเสนอต่อรัฐบาล ที่นำโดยพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2490

ข้อเสนอ 7 ประการที่ว่านั้น ประกอบด้วย
1. ขอให้มีการปกครองปัตตานี สตูล ยะลา และนราธิวาส โดยผู้มีตำแหน่งสูงสุดต้องเป็นมุสลิมใน 4 จังหวัดนี้ และจะต้องมีที่มาจากการได้รับเลือกโดยชาวมุสลิมในพื้นที่ และมีอำนาจสูงสุดในการแต่งตั้งข้าราชการ
2. ข้าราชการใน 4 จังหวัดให้มีชาวมลายูร้อยละ 80
3. ให้ใช้ภาษามลายูเป็นภาษาราชการควบคู่กับภาษาไทย
4. ให้มีการศึกษาภาษามลายูในโรงเรียนชั้นประถม
5. แยกศาลศาสนาออกจากศาลจังหวัด มีโต๊ะกาลีที่มีเสรีในการพิพากษาชี้ขาดความ
6. ผลประโยชน์ใดๆ ทางภาษีให้ใช้ใน 4 จังหวัดนี้
7. ให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีเอกสิทธิ์ออกระเบียบเกี่ยวกับปฏิบัติการศาสนาอิสลาม
1. ขอให้มีการปกครองปัตตานี สตูล ยะลา และนราธิวาส โดยผู้มีตำแหน่งสูงสุดต้องเป็นมุสลิมใน 4 จังหวัดนี้ และจะต้องมีที่มาจากการได้รับเลือกโดยชาวมุสลิมในพื้นที่ และมีอำนาจสูงสุดในการแต่งตั้งข้าราชการ
2. ข้าราชการใน 4 จังหวัดให้มีชาวมลายูร้อยละ 80
3. ให้ใช้ภาษามลายูเป็นภาษาราชการควบคู่กับภาษาไทย
4. ให้มีการศึกษาภาษามลายูในโรงเรียนชั้นประถม
5. แยกศาลศาสนาออกจากศาลจังหวัด มีโต๊ะกาลีที่มีเสรีในการพิพากษาชี้ขาดความ
6. ผลประโยชน์ใดๆ ทางภาษีให้ใช้ใน 4 จังหวัดนี้
7. ให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีเอกสิทธิ์ออกระเบียบเกี่ยวกับปฏิบัติการศาสนาอิสลาม

ข้อเสนอทั้ง 7 ประการของหะยีสุหลงในเวลานั้น แม้จะได้รับการตอบรับจากรัฐบาลของพลเรือตรีถวัลย์ เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติในเดือนกรกฏาคม พ.ศ.2490 มอบกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับผิดชอบในการหารูปแบบการปกครองให้เหมาะสม จนเหมือนจะเป็นชัยชนะเล็กๆ ของผู้คนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่การเรียกร้องอย่างเป็นทางการครั้งแรกของพวกเขาได้รับความสนใจ และนำไปสู่การพิจารณาอย่างจริงจัง
แต่ท้ายที่สุดเมื่อลงไปสู่ระดับปฏิบัติ ข้อเสนอทั้ง 7 ประการได้รับการตอบรับน้อยมาก มีเพียงการสอนภาษามลายูในโรงเรียนประชาบาล และการเพิ่มสัดส่วนข้าราชการมลายู แต่ก็เป็นการเพิ่มในสัดส่วนที่น้อยมาก
เด่น โต๊ะมีนา เคยให้สัมภาษณ์กับบีบีซีไทย (BCC Thai) เมื่อ พ.ศ.2560 ว่าสาเหตุที่ข้อเสนอทั้ง 7 ประการของหะยีสุหลง ไม่ได้รับการตอบสนองในทางปฏิบัติทั้งหมด เพราะเนื้อหาของข้อเสนอนั้น ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจ และเป็นการเรียกร้องอิสระทางวัฒนธรรมตามวิถีมลายูมุสลิม
แต่ท้ายที่สุดเมื่อลงไปสู่ระดับปฏิบัติ ข้อเสนอทั้ง 7 ประการได้รับการตอบรับน้อยมาก มีเพียงการสอนภาษามลายูในโรงเรียนประชาบาล และการเพิ่มสัดส่วนข้าราชการมลายู แต่ก็เป็นการเพิ่มในสัดส่วนที่น้อยมาก
เด่น โต๊ะมีนา เคยให้สัมภาษณ์กับบีบีซีไทย (BCC Thai) เมื่อ พ.ศ.2560 ว่าสาเหตุที่ข้อเสนอทั้ง 7 ประการของหะยีสุหลง ไม่ได้รับการตอบสนองในทางปฏิบัติทั้งหมด เพราะเนื้อหาของข้อเสนอนั้น ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจ และเป็นการเรียกร้องอิสระทางวัฒนธรรมตามวิถีมลายูมุสลิม

ขณะที่หนังสือ ปาตานี ประวัติศาสตร์และการเมืองในโลกมลายู ที่เขียนโดยอารีฟีน บินจิ, อับดุลลอฮ ลออแมน และซูฮัยมีย์ อิสมาแอล ได้บันทึกเรื่องข้อเรียกร้องทั้ง 7 ประการของหะยีสุหลงว่า นอกจากข้อเสนอทั้ง 7 ประการแล้ว คณะกรรมการอิสลามกลางจังหวัดนราธิวาสยังเสนอข้อเรียกร้องเพิ่มอีก 6 ประการ รวมเป็น 13 ประการ
หนังสือเล่มดังกล่าวบันทึกว่า ข้อเสนอทั้งหมด ไม่มีรายละเอียดข้อใดที่บ่งชี้ว่า ตั้งใจหรือมีเจตนาที่จะฝ่าฝืนกฏหมายรัฐธรรมนูญ หรือแบ่งแยกการปกครองทั้ง 4 จังหวัดออกไป (เวลานั้นมีจังหวัดสตูลผนวกรวมเข้าด้วย) แต่เป็นข้อเสนอที่ต้องการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนทางเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และการปฏิบัติโดยมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐในขณะนั้น
หนังสือเล่มดังกล่าวบันทึกว่า ข้อเสนอทั้งหมด ไม่มีรายละเอียดข้อใดที่บ่งชี้ว่า ตั้งใจหรือมีเจตนาที่จะฝ่าฝืนกฏหมายรัฐธรรมนูญ หรือแบ่งแยกการปกครองทั้ง 4 จังหวัดออกไป (เวลานั้นมีจังหวัดสตูลผนวกรวมเข้าด้วย) แต่เป็นข้อเสนอที่ต้องการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนทางเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และการปฏิบัติโดยมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐในขณะนั้น

บันทึกของหนังสือ ปาตานี ประวัติศาสตร์และการเมืองในโลกมลายู จึงสอดคล้องกับบทสัมภาษณ์ดังกล่าวของเด่น โต๊ะมีนา ในบีบีซีไทยเมื่อ พ.ศ.2560 ว่าไม่มีข้อเสนอใดเกี่ยวข้องกับการแบ่งแยกดินแดนแม้แต่น้อยย
แต่หลังการรัฐประหารเกิดขึ้นในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 โดยจอมพลผิน ชุณหวัณ รัฐบาลที่นำโดยนายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรี ก็มีนโยบายชัดเจนว่าจะกำจัด "ตัวการที่คิดแบ่งแยกดินแดน" ซึ่งหลังจากนั้นไม่นานหะยีสุหลง และพวกได้ถูกจับกุมในเดือนมกราคม พ.ศ.2491 และถูกฟ้องฐาน "ตระเตรียมและสมคบคิดจะเปลี่ยนแปลงราชประเพณีการปกครอง" และนำไปสู่จุดเริ่มต้นการสูญหายของหะยีสุหลงใน พ.ศ.2497
แต่หลังการรัฐประหารเกิดขึ้นในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 โดยจอมพลผิน ชุณหวัณ รัฐบาลที่นำโดยนายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรี ก็มีนโยบายชัดเจนว่าจะกำจัด "ตัวการที่คิดแบ่งแยกดินแดน" ซึ่งหลังจากนั้นไม่นานหะยีสุหลง และพวกได้ถูกจับกุมในเดือนมกราคม พ.ศ.2491 และถูกฟ้องฐาน "ตระเตรียมและสมคบคิดจะเปลี่ยนแปลงราชประเพณีการปกครอง" และนำไปสู่จุดเริ่มต้นการสูญหายของหะยีสุหลงใน พ.ศ.2497

อะไรที่นำไปสู่ข้อหาร้ายแรงเช่นนี้ ทั้งที่บันทึกเกือบทุกฉบับมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ข้อเสนอ 7 ประการของหะยีสุหลง ไม่มีข้อใดที่ระบุถึงการแบ่งแยกดินแดน หรือแบ่งแยกการปกครองแม้แต่น้อย
เบื้องหลังที่นำไปสู่ข้อหาร้ายแรงต่อข้อเสนอ 7 ประการของหะยีสุหลงคืออะไร ติดตามได้ในตอนหน้า
เบื้องหลังที่นำไปสู่ข้อหาร้ายแรงต่อข้อเสนอ 7 ประการของหะยีสุหลงคืออะไร ติดตามได้ในตอนหน้า