การจับกุม ‘หะยีสุหลง’ และพวก เมื่อวันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ.2491 ซึ่งหะยีสุหลงบันทึกเหตุการณ์ในวันนั้นเอาไว้
หะยีสุหลง เชื่อว่า สาเหตุน่าจะมาจากการถูกกลั่นแกล้งจากผู้มีอำนาจ และหนังสือ ปาตานี ประวัติศาสตร์และการเมืองในโลกมลายู ได้เปิดบันทึกหะยีสุหลงถึงเรื่องนี้ว่า
หะยีสุหลง เชื่อว่า สาเหตุน่าจะมาจากการถูกกลั่นแกล้งจากผู้มีอำนาจ และหนังสือ ปาตานี ประวัติศาสตร์และการเมืองในโลกมลายู ได้เปิดบันทึกหะยีสุหลงถึงเรื่องนี้ว่า
ด้วยหนังสือฉันทานุมัติ ข้าหลวงได้สั่งจับข้าพเจ้า แต่เหตุผลที่แท้จริง เนื่องจากในขณะที่เขาอยู่ที่กรุงเทพฯ นั้น เขาได้เขียนจดหมายไปยังข้าพเจ้า ขอให้ช่วยหาเสียงในจังหวัดปัตตานี เพื่อเขาจะมาสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร เพราะข้าพเจ้ารู้จักกับเขา เพราะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีเมื่อ 18 ปีก่อน แต่ในเวลานั้นข้าพเจ้ารับปาก ขุนเจริญ สืบแสงไว้แล้ว ข้าพเจ้าจึงไม่สามารถช่วยเหลือเขาได้ เขาจึงโกรธข้าพเจ้าและหาเรื่องจับข้าพเจ้า

การจับกุมครั้งนั้น แม้จะเริ่มต้นด้วยข้อมูลที่หะยีสุหลงเชื่อว่า ถูกกลั่นแกล้ง แต่เมื่อเข้าสู่ขบวนการพิจารณาคดี หะยีสุหลงและพวกรวม 5 คน ก็ถูกตั้งข้อกล่าวหาในคดีด้านความมั่นคง ในความผิดถึง 3 ข้อหา คือ
คือ รับโทษจำคุกมีกำหนด 4 ปี 8 เดือน ส่วนจำเลยอื่นๆ ก็ถูกลงโทษลดหลั่นกันลงไป
- จำเลยทั้งหมดสมคบกันตระเตรียมการและคิดการที่จะเปลี่ยนแปลงราชประเพณีการปกครองภายในราชอาณาจักร ในสี่จังหวัดคือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาสและสตูล
- จำเลยทั้งหมดสมคบกันและตระเตรียมกระทำการเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป
- จำเลยทั้งหมดสมคบกันตระเตรียมกระทำการเพื่อให้เกิดเหตุร้ายแก่ประเทศจากภายนอก
คือ รับโทษจำคุกมีกำหนด 4 ปี 8 เดือน ส่วนจำเลยอื่นๆ ก็ถูกลงโทษลดหลั่นกันลงไป

นั่นคือบทสรุปการต่อสู้ครั้งแรกของหะยีสุหลง ที่ถูกบันทึกไว้ในหนังสือเล่าที่กล่าวถึง (เขียนโดยอารีฟีน บินจิ, อับดุลลอฮ และซูฮัยมีย์ อิสมาแอล) ที่ใช้เวลาในการศึกษา และค้นคว้าข้อมูลอยู่หลายปี ก่อนจะนำมาสู่ข้อความที่เรียงร้อยให้อ่านได้อย่างครบถ้วน
การต่อสู้ครั้งนี้ แม้ ‘หะยีสุหลง’ และครอบครัว จะต้องเจ็บปวดกับการถูกกล่าวหา แต่เมื่อพ้นโทษ และได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำบางขวาง จังหวัดนนทบุรี ก่อนกำหนด เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2495 ด้วยการผลักดันของพลเรือโทหลวงสุนาวินวิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ที่ต้องการลดความตึงเครียดทางการเมืองใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หะยีสุหลง ก็ไม่ได้มีความเคลื่อนไหวในเชิงการต่อต้านภาครัฐแต่อย่างใด โดยกลับไปเปิดโรงเรียนและสอนศาสนาให้กับประชาชนทั่วไป ตามเจตนารมณ์เดิมอีกครั้ง
แต่เพียงปีเศษ วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2496 โรงเรียนของหะยีสุหลงก็ต้องปิดลงอีกครั้ง เมื่อพระยารัตนภักดี เกิดความหวาดระแวง จึงมีคำสั่งให้หยุดสอนศาสนา
ครั้งนั้นหะยีสุหลงรู้ดีว่า อาจจะเกิดความยุ่งยากกับตัวเองอีกครั้ง จึงรีบส่งโทรเลข ถึงหลวงสุนาวินวิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ทราบทันที โดยมีใจความว่า
“กระผมเพียงแต่ทำการสอนหลักธรรมศาสนาแก่ทุกคนที่สมัครใจเรียน และไม่เคยไปไหนเลย แม้แต่งานเลี้ยงและงานศพ เพื่อป้องกันมิให้ถูกเพ่งเล็งในสิ่งที่ไม่เหมาะไม่ควร”
แต่โทรเลขฉบับนั้นของหะยีสุหลงกลับไม่มีผล ที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงใดๆ เมื่อบรรยากาศความหวาดระแวงระหว่างกันในพื้นที่ กลับคุกรุ่นมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อทางราชการมอบหมายให้หน่วยสันติบาลพิเศษภาค 9 จังหวัดสงขลาที่มี พ.ต.ท.บุญเลิศ เลิศปรีชา หรือต่อมาจะชอบเรียกตัวเองว่า “เปาะเลิศ” เป็นหัวหน้าหน่วย หน่วยงานของ พ.ต.ท.บุญเลิศ มีบทบาทสูงอย่างยิ่งต่อการติดตาม และสอดส่องชาวมลายูมุสลิมที่มีความเคลื่อนไหวทางการเมือง เพื่อประโยชน์ในการปราบปรามและสืบสวน
การต่อสู้ครั้งนี้ แม้ ‘หะยีสุหลง’ และครอบครัว จะต้องเจ็บปวดกับการถูกกล่าวหา แต่เมื่อพ้นโทษ และได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำบางขวาง จังหวัดนนทบุรี ก่อนกำหนด เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2495 ด้วยการผลักดันของพลเรือโทหลวงสุนาวินวิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ที่ต้องการลดความตึงเครียดทางการเมืองใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หะยีสุหลง ก็ไม่ได้มีความเคลื่อนไหวในเชิงการต่อต้านภาครัฐแต่อย่างใด โดยกลับไปเปิดโรงเรียนและสอนศาสนาให้กับประชาชนทั่วไป ตามเจตนารมณ์เดิมอีกครั้ง
แต่เพียงปีเศษ วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2496 โรงเรียนของหะยีสุหลงก็ต้องปิดลงอีกครั้ง เมื่อพระยารัตนภักดี เกิดความหวาดระแวง จึงมีคำสั่งให้หยุดสอนศาสนา
ครั้งนั้นหะยีสุหลงรู้ดีว่า อาจจะเกิดความยุ่งยากกับตัวเองอีกครั้ง จึงรีบส่งโทรเลข ถึงหลวงสุนาวินวิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ทราบทันที โดยมีใจความว่า
“กระผมเพียงแต่ทำการสอนหลักธรรมศาสนาแก่ทุกคนที่สมัครใจเรียน และไม่เคยไปไหนเลย แม้แต่งานเลี้ยงและงานศพ เพื่อป้องกันมิให้ถูกเพ่งเล็งในสิ่งที่ไม่เหมาะไม่ควร”
แต่โทรเลขฉบับนั้นของหะยีสุหลงกลับไม่มีผล ที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงใดๆ เมื่อบรรยากาศความหวาดระแวงระหว่างกันในพื้นที่ กลับคุกรุ่นมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อทางราชการมอบหมายให้หน่วยสันติบาลพิเศษภาค 9 จังหวัดสงขลาที่มี พ.ต.ท.บุญเลิศ เลิศปรีชา หรือต่อมาจะชอบเรียกตัวเองว่า “เปาะเลิศ” เป็นหัวหน้าหน่วย หน่วยงานของ พ.ต.ท.บุญเลิศ มีบทบาทสูงอย่างยิ่งต่อการติดตาม และสอดส่องชาวมลายูมุสลิมที่มีความเคลื่อนไหวทางการเมือง เพื่อประโยชน์ในการปราบปรามและสืบสวน

เมื่อ พ.ต.ท.บุญเลิศ ทำหนังสือราชการขอประวัติผู้ที่เคยมีพฤติการณ์จะก่อความไม่สงบจากพระยารัตนภักดี ผู้ว่าราชการภาค 6 เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2497 ประวัติและข้อมูลของหะยีสุหลงจึงถูกส่งตรงไปยัง พ.ต.ท.บุญเลิศ อีกครั้ง ซึ่งนั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่นำพาไปสู่การหายตัวของหะยีสุหลงในเวลาต่อมา
‘เด่น โต๊ะมีนา’ บุตรชายคนที่สามของหะยีสุหลง ที่ต่อมาดำรงตำแหน่ง ส.ส.ปัตตานีหลายสมัย จนได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีถึง 2 ครั้ง ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย บอกเล่าข้อมูลต่ออารีฟีน บินจิ, อับดุลลอฮ และซูฮัยมีย์ อิสมาแอล ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ว่า
“ช่วงปลายเดือนกรกฏาคม พ.ศ.2497 พ.ต.ท.เล็ก กำเนิดงาม ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานี ได้สั่งให้พลตำรวจสมาน ไปเชิญหะยีสุหลง และพวกอีก 3 คนไปพบ พ.ต.ท.เล็ก ที่สถานีตำรวจภูธรปัตตานี จากนั้น พ.ต.ท.เล็กได้แจ้งต่อหะยีสุหลงว่า พ.ต.ท.บุญเลิศ เลิศปรีชา ผู้บังคับการตำรวจสันติบาลสงขลา เชิญให้หะยีสุหลงไปพบที่หน่วยสันติบาลสงขลา ซึ่งตั้งอยู่บริเวณแหลมทราย อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยให้ไปพบในช่วงระหว่างวันที่ 6 – 10 สิงหาคม 2497 และหากจะไปวันใด ก็ให้โทรเลขแจ้งไปก่อน และให้นำรูปถ่ายหน้าตรงไปด้วย”
‘เด่น โต๊ะมีนา’ บุตรชายคนที่สามของหะยีสุหลง ที่ต่อมาดำรงตำแหน่ง ส.ส.ปัตตานีหลายสมัย จนได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีถึง 2 ครั้ง ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย บอกเล่าข้อมูลต่ออารีฟีน บินจิ, อับดุลลอฮ และซูฮัยมีย์ อิสมาแอล ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ว่า
“ช่วงปลายเดือนกรกฏาคม พ.ศ.2497 พ.ต.ท.เล็ก กำเนิดงาม ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานี ได้สั่งให้พลตำรวจสมาน ไปเชิญหะยีสุหลง และพวกอีก 3 คนไปพบ พ.ต.ท.เล็ก ที่สถานีตำรวจภูธรปัตตานี จากนั้น พ.ต.ท.เล็กได้แจ้งต่อหะยีสุหลงว่า พ.ต.ท.บุญเลิศ เลิศปรีชา ผู้บังคับการตำรวจสันติบาลสงขลา เชิญให้หะยีสุหลงไปพบที่หน่วยสันติบาลสงขลา ซึ่งตั้งอยู่บริเวณแหลมทราย อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยให้ไปพบในช่วงระหว่างวันที่ 6 – 10 สิงหาคม 2497 และหากจะไปวันใด ก็ให้โทรเลขแจ้งไปก่อน และให้นำรูปถ่ายหน้าตรงไปด้วย”

“เช้าตรู่ของวันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ.2497 หะยีสุหลงพร้อมบุตรชายคนโต นายอาหมัด โต๊ะมีนา และพวกอีก 2 คน รวม 4 คน จึงได้เดินทางออกจากจังหวัดปัตตานี ไปพบ พ.ต.ท.บุญเลิศที่จังหวัดสงขลา ซึ่งนั่นเป็นครั้งสุดท้ายที่คนในตระกูลโต๊ะมีนา ได้เห็นหะยีสุหลงและพวก เพราะท้ายที่สุดทั้งหมดก็ไม่เคยกลับมายังปัตตานีอีกเลย”
ข้อมูลในหนังสือเล่มนี้ บันทึกข้อมูลไว้ว่า 7 วันหลังจากหะยีสุหลงและพวกออกจากบ้าน และไม่กลับมา ทางครอบครัวได้เริ่มออกตามหา แต่ไม่พบร่องรอยของทั้งหมด
หนึ่งเดือนหลังจากนั้น ครอบครัวของหะยีสุหลงและผู้สูญหายได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ ไปหารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ‘หลวงสุนาวินวิวัฒน์’ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2497 เพื่อขอความเป็นธรรม หลวงสุนาวินวิวัฒน์ได้โทรศัพท์สอบถามไปยังผู้บังคับการตำรวจสันติบาล แต่ก็ไม่ได้รับความกระจ่าง
แม้จะโทรศัพท์สายตรงไปสอบถาม พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เจ้าของวาทะ “ไม่มีอะไรภายใต้ดวงอาทิตย์ ที่ตำรวจไทยทำไม่ได้” ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น แต่ก็ได้รับการปฏิเสธว่า ไม่เคยสั่งให้เรียกหะยีสุหลงและพวกมาสอบสวน
ข้อมูลในหนังสือเล่มนี้ บันทึกข้อมูลไว้ว่า 7 วันหลังจากหะยีสุหลงและพวกออกจากบ้าน และไม่กลับมา ทางครอบครัวได้เริ่มออกตามหา แต่ไม่พบร่องรอยของทั้งหมด
หนึ่งเดือนหลังจากนั้น ครอบครัวของหะยีสุหลงและผู้สูญหายได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ ไปหารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ‘หลวงสุนาวินวิวัฒน์’ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2497 เพื่อขอความเป็นธรรม หลวงสุนาวินวิวัฒน์ได้โทรศัพท์สอบถามไปยังผู้บังคับการตำรวจสันติบาล แต่ก็ไม่ได้รับความกระจ่าง
แม้จะโทรศัพท์สายตรงไปสอบถาม พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เจ้าของวาทะ “ไม่มีอะไรภายใต้ดวงอาทิตย์ ที่ตำรวจไทยทำไม่ได้” ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น แต่ก็ได้รับการปฏิเสธว่า ไม่เคยสั่งให้เรียกหะยีสุหลงและพวกมาสอบสวน

ครอบครัวหะยีสุหลงพยายามติดตามและสอบถามหลายครั้ง เพื่อหาความชัดเจนในเรื่องนี้ รวมทั้งพยายามที่จะเข้าพบพระยารัตนภักดี ผู้ว่าราชการภาคฯ แต่ก็ไม่ได้พบ แม้ว่าจะมีจดหมายฝากไปจากหลวงสุนาวินวิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก็ตาม
ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้ออกประกาศวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2497 เพื่อสยบข่าวลือเกี่ยวกับ การหายตัวไปของหะยีสุหลงว่าอาจถูกเจ้าหน้าที่สังหารนั้น โดยแถลงการณ์ระบุว่า หะยีสุหลงและพวก ได้หลบหนีไปยังต่างประเทศแล้ว
นอกจากนั้น วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2497 ตนกูอับดุลเราะห์มาน ปัตตารอ ซึ่งเป็นอนุชาของสุลต่านรัฐไทรบุรี และยังดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอัมโน ยังได้แถลงข่าวกับสื่อมวลชนที่ปีนัง ยืนยันว่าได้เดินทางไปประเทศไทย และได้พบกับ พ.ต.ท.บุญเลิศ เลิศปรีชา ที่จังหวัดสงขลา มีข้อมูลที่เชื่อถือได้ว่า หะยีสุหลงยังมีชีวิตอยู่ ไม่ได้ถูกตำรวจไทยฆ่าอย่างที่มีการร่ำลือกัน
การแถลงของตนกูอับดุลเราะห์มาน แม้จะทำให้สื่อมวลชนมาเลเซียบางส่วนยุติการนำเสนอข่าว และหยุดค้นหาความจริง แต่สื่อมวลชนบางกลุ่มก็ยังไม่เชื่อข้อมูลนี้ ยังคงเดินหน้าสืบข้อมูลอย่างต่อเนื่อง แต่กระนั้นทุกอย่างก็ยังคงดำมืด
ความจริงทั้งหมดมาปรากฏอีกครั้ง เมื่อ พ.ต.อ.พุฒ บูรณสมภพ หนึ่งในอัศวินแหวนเพชรของพล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ได้รับสารภาพในหนังสือ ‘ชัยชนะและความพ่ายแพ้ของบุรุษเหล็กแห่งเอเชีย’ โดย พายัพ วนาสุวรรณ ซึ่งเขียนในหัวข้อ “การก่อการร้ายสากลกับปัญหาภาคใต้”
โดยระบุว่า นโยบายรัฐนิยมในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม และ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็นนโยบายที่สร้างความรู้ลึกลบ สร้างบาดแผล สร้างความเจ็บปวดอันใหญ่หลวงที่ยากจะรักษาให้กลับมาสู่ภาวะปกติได้ง่ายๆ ในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยเฉพาะประเด็นที่ พ.ต.อ.พุฒ สารภาพว่า ได้รับคำสั่งจาก พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ให้จัดการหะยีสุหลง โต๊ะมีนา
พ.ต.อ.พุฒ จึงได้สั่งการให้ พ.ต.ท.บุญเลิศ เลิศปรีชา ไปสังหารหะยีสุหลง โดยการจับถ่วงน้ำที่ทะเลสาบสงขลาเมื่อปี 2497 พร้อมกับนายอาหมัด โต๊ะมีนา บุตรชายคนโต
ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้ออกประกาศวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2497 เพื่อสยบข่าวลือเกี่ยวกับ การหายตัวไปของหะยีสุหลงว่าอาจถูกเจ้าหน้าที่สังหารนั้น โดยแถลงการณ์ระบุว่า หะยีสุหลงและพวก ได้หลบหนีไปยังต่างประเทศแล้ว
นอกจากนั้น วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2497 ตนกูอับดุลเราะห์มาน ปัตตารอ ซึ่งเป็นอนุชาของสุลต่านรัฐไทรบุรี และยังดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอัมโน ยังได้แถลงข่าวกับสื่อมวลชนที่ปีนัง ยืนยันว่าได้เดินทางไปประเทศไทย และได้พบกับ พ.ต.ท.บุญเลิศ เลิศปรีชา ที่จังหวัดสงขลา มีข้อมูลที่เชื่อถือได้ว่า หะยีสุหลงยังมีชีวิตอยู่ ไม่ได้ถูกตำรวจไทยฆ่าอย่างที่มีการร่ำลือกัน
การแถลงของตนกูอับดุลเราะห์มาน แม้จะทำให้สื่อมวลชนมาเลเซียบางส่วนยุติการนำเสนอข่าว และหยุดค้นหาความจริง แต่สื่อมวลชนบางกลุ่มก็ยังไม่เชื่อข้อมูลนี้ ยังคงเดินหน้าสืบข้อมูลอย่างต่อเนื่อง แต่กระนั้นทุกอย่างก็ยังคงดำมืด
ความจริงทั้งหมดมาปรากฏอีกครั้ง เมื่อ พ.ต.อ.พุฒ บูรณสมภพ หนึ่งในอัศวินแหวนเพชรของพล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ได้รับสารภาพในหนังสือ ‘ชัยชนะและความพ่ายแพ้ของบุรุษเหล็กแห่งเอเชีย’ โดย พายัพ วนาสุวรรณ ซึ่งเขียนในหัวข้อ “การก่อการร้ายสากลกับปัญหาภาคใต้”
โดยระบุว่า นโยบายรัฐนิยมในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม และ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็นนโยบายที่สร้างความรู้ลึกลบ สร้างบาดแผล สร้างความเจ็บปวดอันใหญ่หลวงที่ยากจะรักษาให้กลับมาสู่ภาวะปกติได้ง่ายๆ ในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยเฉพาะประเด็นที่ พ.ต.อ.พุฒ สารภาพว่า ได้รับคำสั่งจาก พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ให้จัดการหะยีสุหลง โต๊ะมีนา
พ.ต.อ.พุฒ จึงได้สั่งการให้ พ.ต.ท.บุญเลิศ เลิศปรีชา ไปสังหารหะยีสุหลง โดยการจับถ่วงน้ำที่ทะเลสาบสงขลาเมื่อปี 2497 พร้อมกับนายอาหมัด โต๊ะมีนา บุตรชายคนโต


ปริศนาการหายตัวไปของหะยีสุหลง เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ.2497 จึงถูกเฉลยชัดว่า ทั้งหมดเป็นฝีมือของตำรวจ เนื่องจากเชื่อว่า หะยีสุหลงมีส่วนเกี่ยวข้องกับความเคลื่อนไหว เพื่อการแบ่งแยกดินแดน
ทั้งที่ข้อมูลที่ถูกบันทึกในหนังสือเล่มนี้ ก็ไม่มีข้อมูลส่วนไหนยืนยันได้เลยว่า หะยีสุหลงมีความเคลื่อนไหวที่จะแบ่งแยกดินแดนแม้แต่ประเด็นเดียว ขณะที่ครอบครัวโต๊ะมีนา ก็ยังถูกคุกคามต่อเนื่อง กระทั่งบุตรชายอีกคน คือ หะยีอามีน โต๊ะมีนา ต้องหลบหนีไปอยู่ประเทศเพื่อนบ้าน และไม่ได้กลับมาอีกเลย จนกระทั่งเสียชีวิต
ทั้งหมด คือ บันทึกประวัติศาสตร์ เพื่อบอกเล่าข้อมูลความเป็นจริงที่เกิดขึ้นบนปลายด้ามขวาน ว่า เนื้อแท้ของปัญหา คือแนวคิดการแบ่งแยกดินแดนหรือความสร้างความไม่เป็นธรรมในพื้นที่
ที่ทำให้ชาวบ้านถูกกดขี่ จนต้องลุกขึ้นมาสู้
ทั้งที่ข้อมูลที่ถูกบันทึกในหนังสือเล่มนี้ ก็ไม่มีข้อมูลส่วนไหนยืนยันได้เลยว่า หะยีสุหลงมีความเคลื่อนไหวที่จะแบ่งแยกดินแดนแม้แต่ประเด็นเดียว ขณะที่ครอบครัวโต๊ะมีนา ก็ยังถูกคุกคามต่อเนื่อง กระทั่งบุตรชายอีกคน คือ หะยีอามีน โต๊ะมีนา ต้องหลบหนีไปอยู่ประเทศเพื่อนบ้าน และไม่ได้กลับมาอีกเลย จนกระทั่งเสียชีวิต
ทั้งหมด คือ บันทึกประวัติศาสตร์ เพื่อบอกเล่าข้อมูลความเป็นจริงที่เกิดขึ้นบนปลายด้ามขวาน ว่า เนื้อแท้ของปัญหา คือแนวคิดการแบ่งแยกดินแดนหรือความสร้างความไม่เป็นธรรมในพื้นที่
ที่ทำให้ชาวบ้านถูกกดขี่ จนต้องลุกขึ้นมาสู้