มหากาพย์ ‘กำนันนก’ ดูเหมือนจะยังไม่จบกันง่ายๆ เพราะนอกจากคดีอาญากรณีสั่งฆ่า ‘สารวัตรแบงค์’ ที่กำลังถูกตำรวจไล่เช็กบิลสาวไส้นำตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องมาดำเนินคดีตามกฎหมายแล้ว
ล่าสุด กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ตรวจพบข้อมูลว่าการดำเนินธุรกิจในเครือข่ายของ ‘กำนันนก’ เข้าข่ายฮั้วประมูลโครงการรัฐ ในหลายโครงการ
โดยการตรวจสอบครั้งนี้เกิดขึ้นหลังมีข้อมูลปรากฎว่า ‘กำนันนก’ หรือ ‘ประวีณ จันทร์คล้าย’ ทำธุรกิจเกี่ยวกับรับเหมาก่อสร้าง ผลิต และจำหน่ายยางแอสฟัลท์ติกคอนกรีต ก่อสร้างอาคารที่ไม่ใช่ที่พักอาศัย โดยมีมูลค่าหลายพันล้านบาท
เบื้องต้นจากการตรวจสอบข้อมูลในฐานของ กองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ หรือ ‘กคร.’ พบว่า เครือข่ายกำนันนก มีเครือข่ายธุรกิจที่เข้าไปรับงานจัดซื้อจัดจ้างจากหน่วยงานภาครัฐตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 จนถึงปัจจุบัน รวม 1,544 โครงการ วงเงินงบประมาณ 7,579,402,078.72 บาท และวงเงินทำสัญญารวม 6,964,815,249.47 บาท จำนวน 2 บริษัท คือ บริษัท ป.พัฒนารุ่งโรจน์ก่อสร้าง จำกัด (เข้ารับงาน 923 โครงการ) และบริษัท ป.รวีกนก ก่อสร้าง จำกัด (เข้ารับงาน 621 โครงการ)
แต่เนื่องจากตาม พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 ระบุลักษณะคดีพิเศษไว้ว่าต้องเป็นคดีฮั๊วประมูลที่มีมูลค่าวงเงินสัญญาตั้งแต่ 30 ล้านบาทขึ้นไป จึงทำให้การตรวจสอบจำกัดวงแคบลง โดยพบว่า บริษัท ป.พัฒนารุ่งโรจน์ก่อสร้าง จำกัด ได้งานจากภาครัฐที่มีมูลค่าโครงการจำนวนเกิน 30 ล้านบาท จำนวน 18 โครงการ และ บริษัท ป.รวีกนก ก่อสร้าง จำกัด ได้งานจากภาครัฐที่มีมูลค่าโครงการจำนวนเกิน 30 ล้านบาท จำนวน 2 โครงการ
โดยพบว่าในจำนวน 20 โครงการนี้ พบข้อมูลที่มีเหตุอันควรสงสงสัยว่ามีการทำสัญญากับภาครัฐโดยไม่โปร่งใส มีลักษณะอันอาจเข้าข่ายตกลงร่วมกันในการเสนอราคาเพื่อมีวัตถุประสงค์เข้าทำสัญญากับรัฐโดยหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือโดยกีดกันไม่ให้มีการเสนอราคาอันมิใช่เป็นการประกอบธุรกิจปกติ ประกอบไปด้วย
1.โครงการประกวดราคาจ้างเหมาทำการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 375 สาย อ.ดอนตูม - ต.ลำลูกบัว โดยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) (เลขที่โครงการ : 59086265559) งบประมาณ 300,000,000 บาท
2.โครงการประกวดราคาจ้างก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 375 สาย ต.ลำลูกบัว - บรรจบทางหลวงหมายเลข 346 ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) งบประมาณ 350,000,000 บาท
อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ จึงมีคำสั่งให้ทำการสืบสวน โดยให้กองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (กคร.) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินสืบสวน
กรมสอบสวนคดีพิเศษ ยังฝากประชาสัมพันธ์ว่า หากบุคคลใด หรือ บริษัท-ห้างหุ้นส่วนจำกัดใด ที่ได้รับหรือเคยได้รับผลกระทบจากการกระทำที่เกี่ยวข้องกับการข่มขู่ คุกคาม หรือกีดกัน ไม่ให้เข้าร่วมการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐอย่างเป็นธรรม จาก ‘ประวีณ จันทร์คล้าย’ หรือ ‘กำนันนก’ และเครือข่าย ขอให้แจ้งข้อมูลมายังกองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (กคร.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยเร็ว
ทั้งนี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษจะพิจารณาในเรื่องการคุ้มครองพยานตามมาตรการคุ้มครองพยาน เพื่อกวาดล้างขบวนการและร่วมกันในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในรูปแบบของผู้มีอิทธิพลอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ล่าสุด กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ตรวจพบข้อมูลว่าการดำเนินธุรกิจในเครือข่ายของ ‘กำนันนก’ เข้าข่ายฮั้วประมูลโครงการรัฐ ในหลายโครงการ
โดยการตรวจสอบครั้งนี้เกิดขึ้นหลังมีข้อมูลปรากฎว่า ‘กำนันนก’ หรือ ‘ประวีณ จันทร์คล้าย’ ทำธุรกิจเกี่ยวกับรับเหมาก่อสร้าง ผลิต และจำหน่ายยางแอสฟัลท์ติกคอนกรีต ก่อสร้างอาคารที่ไม่ใช่ที่พักอาศัย โดยมีมูลค่าหลายพันล้านบาท
เบื้องต้นจากการตรวจสอบข้อมูลในฐานของ กองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ หรือ ‘กคร.’ พบว่า เครือข่ายกำนันนก มีเครือข่ายธุรกิจที่เข้าไปรับงานจัดซื้อจัดจ้างจากหน่วยงานภาครัฐตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 จนถึงปัจจุบัน รวม 1,544 โครงการ วงเงินงบประมาณ 7,579,402,078.72 บาท และวงเงินทำสัญญารวม 6,964,815,249.47 บาท จำนวน 2 บริษัท คือ บริษัท ป.พัฒนารุ่งโรจน์ก่อสร้าง จำกัด (เข้ารับงาน 923 โครงการ) และบริษัท ป.รวีกนก ก่อสร้าง จำกัด (เข้ารับงาน 621 โครงการ)
แต่เนื่องจากตาม พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 ระบุลักษณะคดีพิเศษไว้ว่าต้องเป็นคดีฮั๊วประมูลที่มีมูลค่าวงเงินสัญญาตั้งแต่ 30 ล้านบาทขึ้นไป จึงทำให้การตรวจสอบจำกัดวงแคบลง โดยพบว่า บริษัท ป.พัฒนารุ่งโรจน์ก่อสร้าง จำกัด ได้งานจากภาครัฐที่มีมูลค่าโครงการจำนวนเกิน 30 ล้านบาท จำนวน 18 โครงการ และ บริษัท ป.รวีกนก ก่อสร้าง จำกัด ได้งานจากภาครัฐที่มีมูลค่าโครงการจำนวนเกิน 30 ล้านบาท จำนวน 2 โครงการ
โดยพบว่าในจำนวน 20 โครงการนี้ พบข้อมูลที่มีเหตุอันควรสงสงสัยว่ามีการทำสัญญากับภาครัฐโดยไม่โปร่งใส มีลักษณะอันอาจเข้าข่ายตกลงร่วมกันในการเสนอราคาเพื่อมีวัตถุประสงค์เข้าทำสัญญากับรัฐโดยหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือโดยกีดกันไม่ให้มีการเสนอราคาอันมิใช่เป็นการประกอบธุรกิจปกติ ประกอบไปด้วย
1.โครงการประกวดราคาจ้างเหมาทำการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 375 สาย อ.ดอนตูม - ต.ลำลูกบัว โดยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) (เลขที่โครงการ : 59086265559) งบประมาณ 300,000,000 บาท
2.โครงการประกวดราคาจ้างก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 375 สาย ต.ลำลูกบัว - บรรจบทางหลวงหมายเลข 346 ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) งบประมาณ 350,000,000 บาท
อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ จึงมีคำสั่งให้ทำการสืบสวน โดยให้กองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (กคร.) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินสืบสวน
กรมสอบสวนคดีพิเศษ ยังฝากประชาสัมพันธ์ว่า หากบุคคลใด หรือ บริษัท-ห้างหุ้นส่วนจำกัดใด ที่ได้รับหรือเคยได้รับผลกระทบจากการกระทำที่เกี่ยวข้องกับการข่มขู่ คุกคาม หรือกีดกัน ไม่ให้เข้าร่วมการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐอย่างเป็นธรรม จาก ‘ประวีณ จันทร์คล้าย’ หรือ ‘กำนันนก’ และเครือข่าย ขอให้แจ้งข้อมูลมายังกองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (กคร.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยเร็ว
ทั้งนี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษจะพิจารณาในเรื่องการคุ้มครองพยานตามมาตรการคุ้มครองพยาน เพื่อกวาดล้างขบวนการและร่วมกันในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในรูปแบบของผู้มีอิทธิพลอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป