









เจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วน ยังคงระดมกำลังค้นหาผู้สูญหายจากเหตุอาคารก่อสร้างที่ทำการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินแห่งใหม่ เขตจตุจักรถล่ม หลังเกิด ‘แผ่นดินไหว’ อย่างต่อเนื่อง รวมถึงสุนัข K9 USAR Thailand ที่ผลัดเปลี่ยนเวรค้นหา ด้านครอบครัวของผู้สูญหาย ก็ยังเฝ้ารอฟังข่าวอยู่ตลอดเช่นกัน
ล่าสุด เมื่อเวลา 09.30 น. ‘กรุงเทพมหานคร’ ได้รายงานสถานการณ์จากศูนย์เอราวัณ กรณี เหตุแผ่นดินไหว จากอาคารที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ดินแดง บางซื่อ จตุจักร โดยระบุว่า มีผู้เสียชีวิต 6 คน ผู้บาดเจ็บ 26 คน และผู้สูญหาย 47 คน ทั้งนี้ ตัวเลขผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตอาจมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากยังอยู่ระหว่างการให้ความช่วยเหลือ
ขณะที่ ‘กรมอุตุนิยมวิทยา’ ได้อัปเดต ‘อาฟเตอร์ช็อค’ ตั้งแต่หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวานนี้ (28 มี.ค.) จนถึงวันนี้ (29 มี.ค.) ในเวลา 10.19 น. รวมทั้งสิ้น 93 ครั้ง แบ่งเป็น
- แผ่นดินไหว ขนาด 1.0-2.9 รวม 20 ครั้ง
- แผ่นดินไหว ขนาด 3.0-3.9 รวม 39 ครั้ง
- แผ่นดินไหว ขนาด 4.0-4.9 รวม 29 ครั้ง
- แผ่นดินไหว ขนาด 5.0-5.9 รวม 4 ครั้ง
- แผ่นดินไหว ขนาด 6.0-6.9 รวม 0 ครั้ง
- แผ่นดินไหว ขนาด 3.0-3.9 รวม 39 ครั้ง
- แผ่นดินไหว ขนาด 7.0 ขึ้นไป 1 ครั้ง
ด้าน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) โดย ‘ภาสกร บุญญลักษม์’ อธิบดี ปภ. ในฐานะเลขานุการ บกปภ.ช. กล่าวสรุปสถานการณ์แผ่นดินไหวและความคืบหน้าในการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่มีจุดศูนย์อยู่ที่ประเทศเมียนมา ตั้งแต่เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ว่า ประชาชนในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง สามารถรับรู้แรงสั่นไหวได้ในพื้นที่ รวม 57 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน น่าน แม่ฮ่องสอน ลำปาง พะเยา แพร่ ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม ยโสธรเลย สกลนคร อุดรธานี ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สิงห์บุรี สุพรรณบุรี สระบุรี อ่างทอง จันทบรี ฉะชิงเทรา ชลบุรี ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้วกาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี กระบี่ ชุมพร นครศรีธรรมราช ระนอง สุราษฎร์ธานี รวมถึง กรุงเทพมหานคร
อธิบดีปภ. กล่าวต่อว่า เบื้องต้นได้รับรายงานความเสียหาย 13 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปางแม่ฮ่องสอน แพร่ เพชรบูรณ์ สุโขทัย กรุงเทพมหานคร พระนครศรีอยุธยานนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และ ชัยนาท
ในส่วนของการให้ความช่วยเหลือ ทุกพื้นที่ได้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยทหาร ตำรวจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรสาธารณะกุศล ภาคเอกชน และจิตอาสา และพลเรือน ได้เข้าให้การช่วยเหลือและสำรวจความเสียหายเพื่อให้การช่วยเหลือตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สำหรับการปฏิบัติของกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) เมื่อคืนนั้น ได้สั่งการให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ระดมทีมค้นหาและกู้ภัยในเขตเมือง (USAR) จำนวน 48 นาย พร้อมอุปกรณ์ค้นหาสัญญาณชีพและอุปกรณ์พิเศษเข้าสนับสนุนการปฏิบัติให้กับกรุงเทพมหานครในบริเวณจุดที่มีอาคารถล่มและมีผู้ติดค้างและสูญหาย และได้ร่วมกับ กสทช. และผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือส่ง SMS แจ้งประชาชน จำนวน 4 ครั้ง โดยเมื่อเวลา 14.42 น. แจ้งประชาชนสามารถเข้าอาคารได้กรณีจำเป็น เวลา 16.07 น. แจ้งข้อควรปฏิบัติกรณีเกิดแผ่นดินไหว เวลา 16.09 น. แจ้งข้อควรปฏิบัติหลังเกิดแผ่นดินไหว และเวลา 16.45 น. แจ้งประชาชนสามารถเข้าอาคารได้หากได้ตรวจสอบโครงสร้างอาคารแล้ว และเพื่อให้เกิดเสถียรภาพในการทำงาน