ภาพของซากเต่าทะเลตนุขนาดใหญ่ลอยเกยตื้นที่บริเวณริมหาดกินรี อ. สัตหีบ จ.ชลบุรี ที่ทางศูนย์อนุรักษ์เต่าพันธุ์ทะเล กองทัพเรือ (ศอพต.) ได้โพสต์บนเพจเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 27 พ.ย. ได้จุดกระแสถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง และถูกแชร์ออกไปบนโลกออนไลน์ไม่ต่ำกว่า 4.4 พันครั้ง (บันทึกวันที่ 29 พ.ย. เวลา 11.46 น.)
เพราะสาเหตุของการเสียชีวิตของเต่าตนุตัวนี้มาจากการกินขยะและสิ่งแปลกปลอมจำนวนมาก โดยพบหมุดและตะปูจากกระทง เศษอวนเชือกไนลอน และแผ่นพลาสติกในระบบทางเดินอาหาร น้ำหนักรวมกว่า 2 กิโลกรัม ทำให้ระบบทางเดินอาหารอักเสบ ไม่สามารถย่อยและขับถ่ายได้ตามปกติ ส่งผลให้เต่าตะนุตัวนี้จมน้ำและเสียชีวิตในที่สุด
ข่าวนี้ยิ่งตอกย้ำถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากงานลอยกระทง ทำให้ผู้คนในสังคมออนไลน์กลับมาตั้งคำถามกับงานประเพณีดังกล่าวกันอีกครั้งว่า เราควรสืบทอดประเพณีนี้ต่อไป หรือถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่ายจะหันมาลดการผลิตและทิ้งขยะกระทงลงในแม่น้ำ ซึ่งสามารถไหลออกสู่ทะเลได้ทุกเมื่อกันแน่
เพราะสาเหตุของการเสียชีวิตของเต่าตนุตัวนี้มาจากการกินขยะและสิ่งแปลกปลอมจำนวนมาก โดยพบหมุดและตะปูจากกระทง เศษอวนเชือกไนลอน และแผ่นพลาสติกในระบบทางเดินอาหาร น้ำหนักรวมกว่า 2 กิโลกรัม ทำให้ระบบทางเดินอาหารอักเสบ ไม่สามารถย่อยและขับถ่ายได้ตามปกติ ส่งผลให้เต่าตะนุตัวนี้จมน้ำและเสียชีวิตในที่สุด
ข่าวนี้ยิ่งตอกย้ำถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากงานลอยกระทง ทำให้ผู้คนในสังคมออนไลน์กลับมาตั้งคำถามกับงานประเพณีดังกล่าวกันอีกครั้งว่า เราควรสืบทอดประเพณีนี้ต่อไป หรือถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่ายจะหันมาลดการผลิตและทิ้งขยะกระทงลงในแม่น้ำ ซึ่งสามารถไหลออกสู่ทะเลได้ทุกเมื่อกันแน่



ถึงแม้ข้อมูลของขยะจากงานลอยกระทงที่ผ่านมาในกรุงเทพฯ จะชี้ว่า ผู้คนหันมาใช้กระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติมากถึง 548,086 ใบ หรือคิดเป็น 95.7% ของขยะกระทงทั้งหมด อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวสะท้อนแค่การจัดการขยะกระทงในกรุงเทพฯ เรายังไม่เห็นสถิติจากการจัดการขยะกระทงในระดับจังหวัดหรือทั่วประเทศ และปฏิเสธไม่ได้ว่าวัสดุหลักที่ใช้ประกอบหรือยึดกระทงนั้นยังเป็นตะปูและหมุดเหล็ก ซึ่งพบเห็นกันได้ทุกปี
ยิ่งไปกว่านั้นขยะทะเลถือเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวง ทั้งในแง่ระบบนิเวศทางทะเล ไปจนถึงความปลอดภัยทางอาหาร แต่กลับเป็นประเด็นที่ยังคงถูกมองข้ามและขาดการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน
ถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่ายควรหาทางยับยั้งและป้องกันการทิ้งขยะลงสู่แหล่งน้ำ เพื่อหลีกเลี่ยงความสูญเสียที่ประเมินค่าไม่ได้เสียที
ยิ่งไปกว่านั้นขยะทะเลถือเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวง ทั้งในแง่ระบบนิเวศทางทะเล ไปจนถึงความปลอดภัยทางอาหาร แต่กลับเป็นประเด็นที่ยังคงถูกมองข้ามและขาดการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน
ถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่ายควรหาทางยับยั้งและป้องกันการทิ้งขยะลงสู่แหล่งน้ำ เพื่อหลีกเลี่ยงความสูญเสียที่ประเมินค่าไม่ได้เสียที

