Meanburi-Model-Metropolitan-Police-Vocation-SPACEBAR-Photo00.jpg
Meanburi-Model-Metropolitan-Police-Vocation-SPACEBAR-Photo01.jpg
Meanburi-Model-Metropolitan-Police-Vocation-SPACEBAR-Photo02.jpg
Meanburi-Model-Metropolitan-Police-Vocation-SPACEBAR-Photo03.jpg

Photo Story: ปัดฝุ่น ‘มีนบุรีโมเดล’ แก้ ‘อาชีวะตีกัน’ ดึงนักจิตวิทยาร่วม

24 พ.ย. 2566 - 08:43

  • ‘นครบาล’ คุย ‘สถาบันอาชีวะ’ ประสาน 13 สน. ปัดฝุ่นแนวคิด ‘มีนบุรีโมเดล’ ป้องกันพื้นที่จุดเสี่ยง เฝ้าระวังโซเชียลฯ ลดเหตุรุนแรง ‘อาชีวะ’ ดึงเป็นจิตอาสาช่วยชุมชน คุมสถาบันอาชีวะเรื่องเพิกถอนใบอนุญาต กิจกรรมตำรวจ-ชุมชน-อาชีวะสัมพันธ์ ดึงมือ ‘นักจิตวิทยา-นักสังคมสงเคราะห์’ ร่วมแก้ปัญหา

Meanburi-Model-Metropolitan-Police-Vocation-SPACEBAR-Photo00.jpg
Meanburi-Model-Metropolitan-Police-Vocation-SPACEBAR-Photo01.jpg
Meanburi-Model-Metropolitan-Police-Vocation-SPACEBAR-Photo02.jpg
Meanburi-Model-Metropolitan-Police-Vocation-SPACEBAR-Photo03.jpg

พล.ต.ต.ชรินทร์ โกพัฒน์ตา รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) เป็นประธานการประชุมแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างสถาบันการศึกษา ร่วมกับศูนย์ความปลอดภัยการอาชีวศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษาอาชีวะที่เป็นคู่กรณีความขัดแย้ง  และผู้กำกับจาก 13 สถานีตำรวจนครบาล ในพื้นที่เสี่ยงเกิดเหตุความรุนแรงจากกลุ่มเด็กอาชีวะที่ วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี  โดยการประชุมครั้งนี้มีการนำแนวคิด ‘มีนบุรีโมเดล’ เข้ามาปรับใช้ขยายผล พัฒนาเป็นแผนป้องกันในพื้นที่เสี่ยงในจุดต่างๆ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ช่วยกันขับเคลื่อน ‘มีนบุรีโมเดล’ ให้ได้ผล

สำหรับแผนป้องกัน ‘มีนบุรีโมเดล’ เกิดขึ้นหลังมีสถาบันเด็กช่างกลตีกันมา 20 กว่าปีก่อน โดยมี พ.ต.อ.โฆษิต บุญทวี รองผู้บังคับการตำรวจนครบาลภาค 3 (ผบก.น.3) ที่เป็นคีย์แมนหลักดูแลงานป้องกันการทะเลาะวิวาทของเด็กในสถานศึกษา ลงพื้นที่ไปพูดคุยทำความเข้าใจกับผู้บริหารสถาบันการศึกษา ดึงนักศึกษามาเป็นจิตอาสาช่วยงานชุมชน ให้นักศึกษาช่วยซ่อมอุปกรณ์เครื่องใช้ที่เสีย เช่น จักรยาน แอร์ และประสานสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาให้ตรวจสอบว่าถ้าสถาบันไหนไม่มีคุณภาพ ไม่คัดเด็กเข้ามาเรียน ปล่อยให้เกิดปัญหาทะเลาะวิวาท ให้เพิกถอนใบอนุญาต รวมทั้งมีกิจกรรมตำรวจชุมชนสัมพันธ์ร่วมกับนักศึกษาช่าง ปรากฏว่าปัญหาทะเลาะวิวาทระหว่างสถาบันลดลง 

ส่วนกรณีที่เกิดเหตุตีกันให้ใช้นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ร่วมด้วย อย่ามองเป็นผู้ต้องหาอย่างเดียว เพราะเด็กที่ก่อเรื่องส่วนใหญ่จะมาจากครอบครัวแตกแยก พร้อมทั้งสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฯ ที่เมื่อเด็กก่อเหตุผู้ปกครองต้องร่วมรับผิดชอบ จัดทำข้อมูลคนที่เป็นหัวโจก ขึ้นบัญชีเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เฝ้าระวังโซเชียล ป้องปราม ยั่วยุ นัดรวมตัวทะเลาะวิวาท ตั้งด่านสกัดกวดขันวินัยจราจร ขึ้นทะเบียนข้อมูลรถทุกคัน ซึ่งหลังนำมาตรการเหล่านี้มาใช้ตั้งแต่หลายปีก่อน ก็ทำให้การก่อเหตุทะเลาะวิวาทระหว่างสถาบันลดน้อยลง จนแทบไม่มี เหลือเพียงการก่อเหตุแบบบังเอิญเจอกันบนถนนเท่านั้น

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์