‘รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล’ อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว แสดงความห่วงใยเกี่ยวกับ ‘นโยบายยกระดับ 30 บาท รักษาทุกโรค’ โดยระบุหัวข้อว่า ‘จดหมายเปิดผนึกถึงศิษย์รุ่นน้องร่วมบ้านริมน้ำ ฉบับที่ 2’ ลงวันที่ 14 ก.ย. 66
โพสต์ดังกล่าวมีใจความว่า หลังโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงข้อสั่งการของนายกในที่ประชุม ครม. ครั้งแรกว่า มอบหมายให้ ‘นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว’ ไปคิดหาทางยกระดับ ‘โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค’ ให้มีผลเร็วที่สุด โดยยกเรื่องการใช้บัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกที่ว่า ต่อจากนี้จะไม่มีโรงพยาบาลประจำของแต่ละคน แต่ใครสะดวกหรือชอบโรงพยาบาลไหนสามารถไปได้หมดเลย เหมือนประกันของเอกชนดูแล
แต่ปัจจุบันยังมีช่องว่างขนาดใหญ่ เรื่องศักยภาพระหว่างโรงพยาบาลขนาดใหญ่และโรงพยาบาลขนาดเล็กในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ที่เป็นปัญหาสำคัญและอยู่ในระหว่างรอการแก้ไข
การเปิดฟรีให้ประชาชนใช้บัตรทองไปรักษาได้ทุกที่โดยเสรี จะยิ่งเพิ่มความแออัดในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ของกระทรวงสาธารณสุข ที่ไม่สามารถจำกัดปริมาณการให้บริการได้เหมือนโรงพยาบาลในสังกัดอื่น และจะยิ่งไปซ้ำเติมปัญหาสมองไหลของบุคลากรในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ อีกทั้งยังไม่เห็นความพยายามที่จะส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรค
“พี่อดคิดถึงพี่หงวน (นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์) ผู้หาญกล้าผลักดันนโยบายหลักประกันสุขภาพ (30 บาท รักษาทุกโรค) จนมีพรรคการเมืองต้นกำเนิดของน้องซื้อไอเดียไปสานต่อได้สำเร็จ และน่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อเกิดแลนด์สไลด์ในอดีต และยังใช้เป็นต้นทุนฐานเสียงทางการเมืองสำคัญมาตราบจนปัจจุบัน
เท่าที่พี่เคยทำงานร่วมกับพี่หงวนตอนอยู่ในรั้วมหิดล และได้มีโอกาสร่วมดูแลปัญหาสุขภาพของพี่เขาในช่วงบั้นปลายชีวิต พี่เชื่อโดยสนิทใจว่าพี่หงวนคงอยากเห็นนโยบาย 30 บาท เป็นรัฐสวัสดิการที่สำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม มากกว่าที่จะถูกใช้เป็นนโยบายประชานิยมทางการแพทย์ชั่วครั้งชั่วคราว เพื่อต่อลมหายใจให้กับพรรคการเมืองซึ่งเสพติดอำนาจนิยมและสถานะที่ได้เปรียบทางสังคม”
ขอทิ้งท้ายฝากคำชมไปถึงหัวหน้ารัฐนาวาของน้อง ที่ให้ถ้อยคำไว้กับรัฐสภาว่า ต้องการ ‘พัฒนาร่วมกัน’ มากกว่า ‘ปฏิรูป’ แต่พี่เกรงว่าคำที่เลือกใช้ให้ฟังเพราะเสนาะหูและดูดีนี้ จะเท่ากับการละเลยหรือการแกล้งมองไม่เห็นสิ่งไม่ดีที่แฝงอยู่ในระบบราชการ ซึ่งในชีวิตราชการของพี่ที่กำลังจะครบ 40 ปี เห็นว่าเนื้อร้ายนี้มีเป็นส่วนน้อย แต่ส่งผลบดบังการฉายแววอันควรของข้าราชการส่วนใหญ่ที่มุ่งทำความดีเพื่อรับใช้ประชาชน
หากติ่งเนื้อเหล่านี้ตกเป็นเป้ายึดครองสำคัญ ที่ข้าราชการการเมืองใช้เข้ามาแทรกแซงข้าราชการประจำมาทุกยุคทุกสมัย และนับวันจะหนักข้อขึ้น หากจะขลิบติ่งเนื้อร้ายนี้ออกไปบ้างเพื่อรักษาอวัยวะส่วนใหญ่ น่าจะเป็นผลดีต่อต่อสุขภาพของประชาชนและประเทศชาติในระยะยาว
นิธิพัฒน์ เจียรกุล ศิริราช 88
โพสต์ดังกล่าวมีใจความว่า หลังโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงข้อสั่งการของนายกในที่ประชุม ครม. ครั้งแรกว่า มอบหมายให้ ‘นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว’ ไปคิดหาทางยกระดับ ‘โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค’ ให้มีผลเร็วที่สุด โดยยกเรื่องการใช้บัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกที่ว่า ต่อจากนี้จะไม่มีโรงพยาบาลประจำของแต่ละคน แต่ใครสะดวกหรือชอบโรงพยาบาลไหนสามารถไปได้หมดเลย เหมือนประกันของเอกชนดูแล
แต่ปัจจุบันยังมีช่องว่างขนาดใหญ่ เรื่องศักยภาพระหว่างโรงพยาบาลขนาดใหญ่และโรงพยาบาลขนาดเล็กในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ที่เป็นปัญหาสำคัญและอยู่ในระหว่างรอการแก้ไข
การเปิดฟรีให้ประชาชนใช้บัตรทองไปรักษาได้ทุกที่โดยเสรี จะยิ่งเพิ่มความแออัดในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ของกระทรวงสาธารณสุข ที่ไม่สามารถจำกัดปริมาณการให้บริการได้เหมือนโรงพยาบาลในสังกัดอื่น และจะยิ่งไปซ้ำเติมปัญหาสมองไหลของบุคลากรในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ อีกทั้งยังไม่เห็นความพยายามที่จะส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรค
“พี่อดคิดถึงพี่หงวน (นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์) ผู้หาญกล้าผลักดันนโยบายหลักประกันสุขภาพ (30 บาท รักษาทุกโรค) จนมีพรรคการเมืองต้นกำเนิดของน้องซื้อไอเดียไปสานต่อได้สำเร็จ และน่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อเกิดแลนด์สไลด์ในอดีต และยังใช้เป็นต้นทุนฐานเสียงทางการเมืองสำคัญมาตราบจนปัจจุบัน
เท่าที่พี่เคยทำงานร่วมกับพี่หงวนตอนอยู่ในรั้วมหิดล และได้มีโอกาสร่วมดูแลปัญหาสุขภาพของพี่เขาในช่วงบั้นปลายชีวิต พี่เชื่อโดยสนิทใจว่าพี่หงวนคงอยากเห็นนโยบาย 30 บาท เป็นรัฐสวัสดิการที่สำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม มากกว่าที่จะถูกใช้เป็นนโยบายประชานิยมทางการแพทย์ชั่วครั้งชั่วคราว เพื่อต่อลมหายใจให้กับพรรคการเมืองซึ่งเสพติดอำนาจนิยมและสถานะที่ได้เปรียบทางสังคม”
ขอทิ้งท้ายฝากคำชมไปถึงหัวหน้ารัฐนาวาของน้อง ที่ให้ถ้อยคำไว้กับรัฐสภาว่า ต้องการ ‘พัฒนาร่วมกัน’ มากกว่า ‘ปฏิรูป’ แต่พี่เกรงว่าคำที่เลือกใช้ให้ฟังเพราะเสนาะหูและดูดีนี้ จะเท่ากับการละเลยหรือการแกล้งมองไม่เห็นสิ่งไม่ดีที่แฝงอยู่ในระบบราชการ ซึ่งในชีวิตราชการของพี่ที่กำลังจะครบ 40 ปี เห็นว่าเนื้อร้ายนี้มีเป็นส่วนน้อย แต่ส่งผลบดบังการฉายแววอันควรของข้าราชการส่วนใหญ่ที่มุ่งทำความดีเพื่อรับใช้ประชาชน
หากติ่งเนื้อเหล่านี้ตกเป็นเป้ายึดครองสำคัญ ที่ข้าราชการการเมืองใช้เข้ามาแทรกแซงข้าราชการประจำมาทุกยุคทุกสมัย และนับวันจะหนักข้อขึ้น หากจะขลิบติ่งเนื้อร้ายนี้ออกไปบ้างเพื่อรักษาอวัยวะส่วนใหญ่ น่าจะเป็นผลดีต่อต่อสุขภาพของประชาชนและประเทศชาติในระยะยาว
นิธิพัฒน์ เจียรกุล ศิริราช 88
