Photo-Story-LGBATQIA- Cleaning staff-SPACEBAR-Photo00.jpg
Photo-Story-LGBATQIA- Cleaning staff-SPACEBAR-Photo01.jpg
Photo-Story-LGBATQIA- Cleaning staff-SPACEBAR-Photo02.jpg
Photo-Story-LGBATQIA- Cleaning staff-SPACEBAR-Photo03.jpg
Photo-Story-LGBATQIA- Cleaning staff-SPACEBAR-Photo04.jpg
Photo-Story-LGBATQIA- Cleaning staff-SPACEBAR-Photo05.jpg
Photo-Story-LGBATQIA- Cleaning staff-SPACEBAR-Photo06.jpg
Photo-Story-LGBATQIA- Cleaning staff-SPACEBAR-Photo07.jpg
Photo-Story-LGBATQIA- Cleaning staff-SPACEBAR-Photo08.jpg
Photo-Story-LGBATQIA- Cleaning staff-SPACEBAR-Photo09.jpg

Photo Stery : เรื่องชายขอบ 'คู่รักสีรุ้ง' การรอคอยเพื่อมี 'บ้าน' สักหลัง

23 ม.ค. 2568 - 09:37

  • เรื่องราวจากคนชายขอบ 'คู่รักสีรุ้ง' 3 ปีที่รอคอย 'กฎหมายสมรสเท่าเทียม' และความฝันเล็กๆ คือการมี 'บ้าน' ร่วมกันสักหลัง

Photo-Story-LGBATQIA- Cleaning staff-SPACEBAR-Photo00.jpg
Photo-Story-LGBATQIA- Cleaning staff-SPACEBAR-Photo01.jpg
Photo-Story-LGBATQIA- Cleaning staff-SPACEBAR-Photo02.jpg
Photo-Story-LGBATQIA- Cleaning staff-SPACEBAR-Photo03.jpg
Photo-Story-LGBATQIA- Cleaning staff-SPACEBAR-Photo04.jpg
Photo-Story-LGBATQIA- Cleaning staff-SPACEBAR-Photo05.jpg
Photo-Story-LGBATQIA- Cleaning staff-SPACEBAR-Photo06.jpg
Photo-Story-LGBATQIA- Cleaning staff-SPACEBAR-Photo07.jpg
Photo-Story-LGBATQIA- Cleaning staff-SPACEBAR-Photo08.jpg
Photo-Story-LGBATQIA- Cleaning staff-SPACEBAR-Photo09.jpg

"อยู่ด้วยกันมา 3 ปีแล้ว เราทั้งคู่อยากมีบ้านสักหลังเป็นของตัวเอง แต่ก่อนหน้านี้ไม่สามารถกู้ร่วมได้เพราะกฎหมายยังไม่รองรับ จึงให้พ่อกับแม่ (ของสุกานดา) จดรับแฟน (สุภาพร) เป็นลูกบุญธรรม แต่ถึงแม้จะได้นามสกุลเดียวกันก็ยังไม่สามารถทำธุรกรรมร่วมได้"

'สุกานดา แก้วแกมทอง' และ 'สุภาพร แก้วแกมทอง' พนักงานทำความสะอาด สังกัดสำนักงานเขตดุสิต พวกเธอเป็นหนึ่งใน 'คู่รัก LGBTQINA+' ที่เฝ้ารอการรับรอง 'กฎหมายสมรสเท่าเทียม' เพื่อขยับขยายสิทธิและโอกาส พัฒนาความรักสู่ความมั่นคงของชีวิตคู่ 

ทั้งคู่ สะท้อนภาพความต้องการด้านสิทธิคู่รักของกลุ่มเพศที่หลากหลาย ผ่านภาพการทำธุรกรรมที่มีอุปสรรคมากกว่าเมื่อเทียบกับความรักชายหญิง ในกระบวนการทำสัญญายื่นกู้ซื้อทรัพย์สินชิ้นเดียวกัน (กู้ร่วม) โดยหวังจะมี 'บ้าน'เป็นทรัพย์สินร่วมสักหลัง เพื่อสร้างครอบครัว และใช้เป็นทุนต่อยอดการทำธุรกิจในครัวเรือน 

ทว่ากลับติดอุปสรรคด้านกฎหมาย (ก่อนหน้านี้) ซึ่งยังไม่สามารถรองรับสภาพการเป็น 'คู่สมรส' ของทั้งคู่ได้ แม้จะมีการขอ 'จดใบรับการแจ้งชีวิดคู่' และการจดรับรองเป็น 'บุตรบุญธรรม' จนใช้นามสกุลเดียวกันแล้วก็ตามทำให้หลายปีที่ผ่านมา ต้องใช้ชีวิตหลังทำงานอยู่ในห้องเช่าเล็กๆ แถบชานเมืองด้วยกันไปก่อน กระทั่ง 'กฎหมายสมรสเท่าเทียม' เริ่มประกาศใช้อย่างเป็นทางการวันนี้ (23 มกราคม 2568)  

แผนการขยับขยายคุณภาพชีวิตทั้งด้านการงานและความรักของทั้งคู่ จึงเริ่มเข้าสู่เส้นทางที่วาดฝันอีกครั้ง โดยตั้งใจจะ 'จดทะเบียนสมรส' กันในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 โดยถือฤกษ์เอา 'วันแห่งความรัก' เป็นสักขีพยานความรักที่ทัดเทียม ซึ่งต่อจากนี้นอกจากเรื่องบ้านที่จะสร้างด้วยกันแล้ว ทั้งคู่ก็สามารถดูแลซึ่งกันและกันได้ ผ่านสิทธิเชิงโครงสร้างต่างๆ ที่เทียบเท่ากับชายหญิง อาทิ สิทธิในการรับมรดก สิทธิในการยินยอมในการรักษาพยาบาล รวมถึงสิทธิการรับบุตรบุญธรรมร่วมกัน ซึ่งจะเป็นส่วนเติมเต็มให้ชีวิตคู่ดูมั่นคงขึ้น

"พวกเราดีใจมากที่ในที่สุดก็มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม เมื่อก่อนมันมีทั้งอุปสรรคและการถูกบูลลี่ ยิ่งเราเป็นแบบนี้ แต่ก่อนคนก็มองเราเหมือนตัวอะไรสักอย่างที่แปลกประหลาด พอมีกฎหมายมารองรับมันก็ดีทั้งแง่ชีวิตคู่ของพวกเราเอง และการสะท้อนสังคม ถึงความรักของกลุ่มเพศที่หลากหลาย ที่ไม่ได้ด้อยอนุภาพมากไปกว่าหญิงชายเลยแม้แต่น้อย"

สุภาพร กล่าว

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์