หลังมีรายงานข่าวว่า ป.ป.ช. มีมติเป็นเอกฉันท์ยื่นฟ้อง ‘พญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์’ อดีตผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ในคดีจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดและสารเสพติด GT200 และ Alpha6 ในส่วนสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ จำนวน 4 สัญญา แม้ก่อนหน้านี้ อัยการสูงสุด (อสส.) จะมีคำสั่งไม่ฟ้อง ‘พญ.คุณหญิงพรทิพย์’ ในประเด็น GT200 เพราะมีหลักฐานไม่ชัดเจน แต่ด้วยกระบวนการของ ป.ป.ช. หลายๆ ประเด็นที่ดูไม่ชอบมากล ได้กลายเป็นเหตุผลที่ทำให้ ‘พญ.คุณหญิงพรทิพย์’ เชื่อว่ามีกลุ่มบุคคลอยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวของ ป.ป.ช. ในครั้งนี้
สำหรับเหตุผลที่ทำให้เชื่อแบบนั้น ‘พญ.คุณหญิงพรทิพย์’ เปิดเผยกับทีมข่าว SPACEBAR ว่าในส่วนของสถาบันนิติวิทยาศาตร์ มีการจัดซื้อเครื่อง GT200 น้อยกว่าเหล่าทัพที่ซื้อเป็นพันๆ เครื่อง แต่เหตุใดผู้บังคับบัญชาของเหล่าทัพ ถึงไม่โดนยื่นฟ้องเหมือนเธอ และส่วนตัวได้เจอเหตุการณ์บางอย่างที่แม้จะไม่สามารถเปิดเผยได้ แต่ก็เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้เชื่อว่ามีกลุ่มคนอยู่เบื้องหลังเรื่องนี้แน่นอน โดยเป้าหมายของคนกลุ่มนี้ คือ หวังช่วยคนของตัวเองให้พ้นผิด
‘พญ.คุณหญิงพรทิพย์’ ยังแย้มถึงคนที่อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการอยู่เบื้องเรื่องนี้ว่าจากการจับสังเกตของเธอ มีคนๆ หนึ่ง เคยพูดให้ร้ายเธอในช่วงที่ พ.ร.บ.การให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ ถูกเสนอเข้า สนช. ช่วงปี 58 โดยคนๆ นี้แม้ไม่ได้รู้จักกัน แต่เชื่อว่าบุคคลดังกล่าวน่าจะทำงานใกล้ชิดกับคนที่มีส่วนทำให้สำนวน ป.ป.ช. ออกมาในรูปนี้ แต่สิ่งสำคัญที่เธออยากจะเน้นย้ำคือ เรื่องที่เกิดขึ้นเป็นความผิดพลาดในการจัดซื้อ ไม่ใช่การทุจริต และเธอพร้อมเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธ์
“เรื่องนี้ไม่ใช่การทุจริต แต่เป็นเรื่องที่อาจทำไม่ครบ ไม่ถูกระเบียบเต็มที่ ซึ่งคำว่าไม่ครบไม่ถูกระเบียบเต็มที่ คือ เหมือนเเนวทางของเจ้าหน้าที่พัสดุของสถาบันนิติฯ คิดอย่างหนึ่ง แต่เจ้าหน้าที่ทั่วไปคิดอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งกลุ่มคนที่โดนฟ้อง ที่เป็นลูกน้องหมอเขาเป็นทีมปฎิบัติงานหนักมากในพื้นที่ แต่เรากลับโดนฟ้อง แบบนี้ไม่ยุติธรรมกับคนทำงาน เพราะมันคือคำตัดสินให้ออกจากราชการ”
นอกจากนี้ในรายการ เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand ‘พญ.คุณหญิงพรทิพย์’ ยังตั้งข้อสังเกตุเกี่ยวกับกระบวนการทำงานของ ป.ป.ช. และความผิดปกติของเรื่องที่เกิดขึ้นในอีกหลายประเด็น โดยสรุปดังนี้
สำหรับมหากาพย์ ‘ไม้ล้างป่าช้า - GT200’ เริ่มต้นขึ้นช่วงปี 2544 หลัง บริษัท โกลบอล เทคนิคัล จากสหราชอาณาจักร ได้ผลิต ‘เครื่องตรวจจับสสารระยะไกล’ หรือ GT200 ออกมาวางขาย โดยอวดอ้างสรรพคุณว่าเป็นเครื่องที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง สามารถตรวจจับระเบิดได้อย่างเเม่นยำ รวมถึงตรวจหายาเสพติด กระสุนปืน ได้หมด ที่สำคัญไม่ใช้แบตเตอรี่ สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องชาร์จไฟ ทำให้หลายประเทศสนใจและซื้อเครื่องมือดังกล่าวไปใช้จำนวนมาก เช่น ประเทศเม็กซิโก ไทย ปากีสถาน จีน อินเดีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อียิปต์ และตูนิเซีย
โดยหน่วยงานในประเทศไทย เช่น กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากา สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และตำรวจ ได้เริ่มสั่งซื้อและนำเข้าเครื่อง GT200 เข้ามาในช่วงปี 2548-2552 แต่ก็เริ่มมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงประสิทธิภาพการทำงานของ เครื่อง GT200 อย่างหนัก
ต่อมาช่วงปี 2556 ศาลอังกฤษ มีคำพิพากษาสั่งจำคุก ‘เจมส์ แมคคอร์มิค’ ผู้ผลิต GT200 เป็นเวลา 10 ปีในข้อหาหลอกขายเครื่อง GT200 ในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ขณะที่ในประเทศไทยเอง ก็มีการดำเนินการทางกฎหมายกับตัวแทนที่นำเข้า และตรวจสอบเอาผิดหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โดยวันที่ 7 มี.ค. 65 ศาลปกครองสูงสุด ยืนยันตามคำพิพากษาที่ศาลปกครองกลาง ให้ บริษัทเอวิเอ แซทคอม จำกัด ชำระเงิน ให้กับกองทัพบก จำนวน 683,441,561.64 บาท
สำหรับไทม์ไลน์ที่กล่าวมาข้างต้นถือเป็นคดีหลักในเรื่อง GT200 ส่วนกรณีของ ‘พญ.คุณหญิงพรทิพย์’ ที่ถูก ป.ป.ช. สั่งฟ้องถือเป็นกรณีข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากกรณีดังกล่าว เบื้องต้น ‘นิวัติไชย เกษมมงคล’ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยกับทีมข่าว SPACEBAR ว่าเนื่องจากมีผู้ยื่นเรื่องมาให้ ป.ป.ช. ตรวจสอบ เมื่อ ป.ป.ช. มีเห็นว่ามีมูลจึงตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบเรื่องนี้
สำหรับเหตุผลที่ทำให้เชื่อแบบนั้น ‘พญ.คุณหญิงพรทิพย์’ เปิดเผยกับทีมข่าว SPACEBAR ว่าในส่วนของสถาบันนิติวิทยาศาตร์ มีการจัดซื้อเครื่อง GT200 น้อยกว่าเหล่าทัพที่ซื้อเป็นพันๆ เครื่อง แต่เหตุใดผู้บังคับบัญชาของเหล่าทัพ ถึงไม่โดนยื่นฟ้องเหมือนเธอ และส่วนตัวได้เจอเหตุการณ์บางอย่างที่แม้จะไม่สามารถเปิดเผยได้ แต่ก็เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้เชื่อว่ามีกลุ่มคนอยู่เบื้องหลังเรื่องนี้แน่นอน โดยเป้าหมายของคนกลุ่มนี้ คือ หวังช่วยคนของตัวเองให้พ้นผิด
‘พญ.คุณหญิงพรทิพย์’ ยังแย้มถึงคนที่อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการอยู่เบื้องเรื่องนี้ว่าจากการจับสังเกตของเธอ มีคนๆ หนึ่ง เคยพูดให้ร้ายเธอในช่วงที่ พ.ร.บ.การให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ ถูกเสนอเข้า สนช. ช่วงปี 58 โดยคนๆ นี้แม้ไม่ได้รู้จักกัน แต่เชื่อว่าบุคคลดังกล่าวน่าจะทำงานใกล้ชิดกับคนที่มีส่วนทำให้สำนวน ป.ป.ช. ออกมาในรูปนี้ แต่สิ่งสำคัญที่เธออยากจะเน้นย้ำคือ เรื่องที่เกิดขึ้นเป็นความผิดพลาดในการจัดซื้อ ไม่ใช่การทุจริต และเธอพร้อมเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธ์
“เรื่องนี้ไม่ใช่การทุจริต แต่เป็นเรื่องที่อาจทำไม่ครบ ไม่ถูกระเบียบเต็มที่ ซึ่งคำว่าไม่ครบไม่ถูกระเบียบเต็มที่ คือ เหมือนเเนวทางของเจ้าหน้าที่พัสดุของสถาบันนิติฯ คิดอย่างหนึ่ง แต่เจ้าหน้าที่ทั่วไปคิดอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งกลุ่มคนที่โดนฟ้อง ที่เป็นลูกน้องหมอเขาเป็นทีมปฎิบัติงานหนักมากในพื้นที่ แต่เรากลับโดนฟ้อง แบบนี้ไม่ยุติธรรมกับคนทำงาน เพราะมันคือคำตัดสินให้ออกจากราชการ”
นอกจากนี้ในรายการ เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand ‘พญ.คุณหญิงพรทิพย์’ ยังตั้งข้อสังเกตุเกี่ยวกับกระบวนการทำงานของ ป.ป.ช. และความผิดปกติของเรื่องที่เกิดขึ้นในอีกหลายประเด็น โดยสรุปดังนี้
- การจัดซื้อจัดจ้าง GT200 เกิดขึ้นช่วงปี 2551 แต่อยู่ๆ ป.ป.ช. กลับมีการตั้ง คกก.ไต่สวนเรื่องนี้ขึ้นมาในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 ก่อนมีการกล่าวหาเธอและเจ้าหน้าที่ ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ป.ป.ช. ไม่เคยเรียกเธอหรือเจ้าหน้าที่ให้เข้าไปชี้แจ้ง หรือขอดูเอกสารอะไรเพิ่มเติมเลย
- หลังมีหนังสือแจ้งข้อกล่าวหาเธอและทีมงาน ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 ในเอกสารระบุว่าคดีจะหมดอายุความในช่วงเดือนกรกฎาคม 2564 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการระบาดของเชื้อโควิด-19 อย่างหนัก ทำให้การหาเอกสารชี้แจงต่างๆ ทำได้ลำบาก
- ป.ป.ช. กล่าวหาว่าเธอและทีมงาน มีการจัดซื้อจัดจ้างเครื่อง GT200 และมีการเพิ่มราคา โดยไม่มีเอกสารเปรียบเทียบ แต่ในเอกสารที่อนุมัติการจัดซื้อระบุชัดเจนว่าไม่ใช่เธอ เเต่เป็นอีกคนที่ทำ แต่ทำไม ป.ป.ช. ไม่เอาผิดบุคคลดังกล่าว ซึ่งเธอก็ต้องไปหาเอกสารหลักฐานมาชี้แจงว่าตอนนั้นตัวเองปฎิบัติงานอยู่ที่ภาคใต้ เพื่อมายืนยันว่าไม่ได้เกี่ยวข้อง
- ไม่ทราบว่า ป.ป.ช. ใช้เกณฑ์อะไรตัดสินว่าเธอมีความผิด เพราะเท่าที่ทราบผู้ใหญ่ในหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ มีสถาบันนิติฯ เพียงหน่วยเดียวที่ถูกแจ้งข้อกล่าวหา และจนถึงตอนนี้ ( 10 มี.ค.) ก็ยังไม่รู้ว่า ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดเธอและทีมงานในประเด็นใดกันแน่
- ‘พญ.คุณหญิงพรทิพย์’ ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ช่วงปี 2545 มีการปฎิรูประบบราชการ ตอนนั้นหน่วยงานตั้งใหม่ 4 หน่วยในกระทรวงยุติธรรม ซึ่งในจำนวนนี้ คือ สถาบันนิติฯ ถูก ก.พ. กำหนดให้ไม่ต้องมีหน่วยการเงิน หน่วยพัสดุ เป็นของตัวเอง โดยให้กระทรวงเป็นผู้แล ทำให้สถาบันนิติฯ มีข้อจำกัดเรื่องการจัดซื้อ เพราะเครื่องมือที่ใช้ชเป็นเครื่องมือยากๆ ซึ่งระดับเลขาฯ กรม หรือหัวหน้าพัสดุอาจจะไม่รู้เรื่อง ย้ำว่าความผิดพลาดในการจัดซื้อ ไม่ใช่การทุจริตคอรัปชั่น
สำหรับมหากาพย์ ‘ไม้ล้างป่าช้า - GT200’ เริ่มต้นขึ้นช่วงปี 2544 หลัง บริษัท โกลบอล เทคนิคัล จากสหราชอาณาจักร ได้ผลิต ‘เครื่องตรวจจับสสารระยะไกล’ หรือ GT200 ออกมาวางขาย โดยอวดอ้างสรรพคุณว่าเป็นเครื่องที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง สามารถตรวจจับระเบิดได้อย่างเเม่นยำ รวมถึงตรวจหายาเสพติด กระสุนปืน ได้หมด ที่สำคัญไม่ใช้แบตเตอรี่ สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องชาร์จไฟ ทำให้หลายประเทศสนใจและซื้อเครื่องมือดังกล่าวไปใช้จำนวนมาก เช่น ประเทศเม็กซิโก ไทย ปากีสถาน จีน อินเดีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อียิปต์ และตูนิเซีย
โดยหน่วยงานในประเทศไทย เช่น กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากา สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และตำรวจ ได้เริ่มสั่งซื้อและนำเข้าเครื่อง GT200 เข้ามาในช่วงปี 2548-2552 แต่ก็เริ่มมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงประสิทธิภาพการทำงานของ เครื่อง GT200 อย่างหนัก
ต่อมาช่วงปี 2556 ศาลอังกฤษ มีคำพิพากษาสั่งจำคุก ‘เจมส์ แมคคอร์มิค’ ผู้ผลิต GT200 เป็นเวลา 10 ปีในข้อหาหลอกขายเครื่อง GT200 ในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ขณะที่ในประเทศไทยเอง ก็มีการดำเนินการทางกฎหมายกับตัวแทนที่นำเข้า และตรวจสอบเอาผิดหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โดยวันที่ 7 มี.ค. 65 ศาลปกครองสูงสุด ยืนยันตามคำพิพากษาที่ศาลปกครองกลาง ให้ บริษัทเอวิเอ แซทคอม จำกัด ชำระเงิน ให้กับกองทัพบก จำนวน 683,441,561.64 บาท
สำหรับไทม์ไลน์ที่กล่าวมาข้างต้นถือเป็นคดีหลักในเรื่อง GT200 ส่วนกรณีของ ‘พญ.คุณหญิงพรทิพย์’ ที่ถูก ป.ป.ช. สั่งฟ้องถือเป็นกรณีข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากกรณีดังกล่าว เบื้องต้น ‘นิวัติไชย เกษมมงคล’ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยกับทีมข่าว SPACEBAR ว่าเนื่องจากมีผู้ยื่นเรื่องมาให้ ป.ป.ช. ตรวจสอบ เมื่อ ป.ป.ช. มีเห็นว่ามีมูลจึงตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบเรื่องนี้


