เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามมีไว้ในครอบครอง พ.ศ.2567 โดยประกาศ ณ วันที่ 14 สิงหาคม 2567 ลงชื่อ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เนื้อหาระบุว่า เพื่อประโยชน์ในการป้องกันอันตรายมิให้เกิดแก่สัตว์น้ำและระบบนิเวศ จึงสมควรกำหนดชนิดสัตว์น้ำบางชนิดที่ห้ามมีไว้ในครอบครอง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 65 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการประมง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ห้ามมิให้บุคคลใด มีไว้ในครอบครองปลาหมอสีคางดำหรือปลาหมอคางดำ (Sarotherodon melanotheron) มีชีวิตและที่ไม่มีชีวิต นอกพื้นที่การแพร่ระบาดตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
ข้อ 2 ความในข้อ 1 มิให้ใช้บังคับกรณี ดังต่อไปนี้
(1) กรณีมีการครอบครองโดยการเคลื่อนย้ายปลาหมอสีคางดำหรือปลาหมอคางดำที่ไม่มีชีวิต ซึ่งมีลักษณะ ดังนี้
- (1.1) การเคลื่อนย้ายในลักษณะที่มีการแช่เย็นด้วยน้ำแข็ง ซึ่งมีภาชนะบรรจุมิดชิด
- (1.2) การเคลื่อนย้ายในลักษณะที่มีการแช่แข็ง
- (1.3) การเคลื่อนย้ายในลักษณะที่มีการแปรรูปเบื้องต้นแล้ว เช่น การตัดหัว ควักไส้ แล่เป็นชิ้น หมักเกลือ เป็นต้น
(2) กรณีการเคลื่อนย้ายปลาหมอสีคางตำหรือปลาหมอคางดำที่ไม่มีชีวิตเพื่อนำไปแปแปรรูป เป็นปลาปัน ต้องเคลื่อนย้ายแบบแห้ง และอยู่ในภาชนะบรรจุมิดชิด
(3) กรณีการเคลื่อนย้ายปลาหมอสีคางดำหรือปลาหมอคางดำที่ไม่มีชีวิต เพื่อนำไปเป็นวัตถุดิบตามโครงการของรัฐ เช่น การทำน้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น ต้องเคลื่อนย้ายแบบแห้ง และอยู่ในภาชนะบรรจุมิดชิด
(4) กรณีการเคลื่อนย้ายปลาหมอสีคางดำหรือปลาหมอคางดำที่ไม่มีชีวิตที่กระทำโดยทางราชการเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดและกำจัดออกจากที่จับสัตว์น้ำ
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาษาเป็นต้นไป
กำหนดเขตพื้นที่การแพร่ระบาด ‘ปลาหมอคางดำ’
นอกจากนี้ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ยังเผยแพร่ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่การแพร่ระบาดปลาหมอสีคางดำหรือปลาหมอคางดำ พ.ศ.2567 โดยประกาศ ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2567 ลงชื่อ บัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง
เนื้อหาระบุว่า อาศัยอำนาจตามความในข้อ 1 ของประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามมีไว้ในครอบครอง พ.ศ. 2567 ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2567 กรมประมงจึงประกาศให้บริเวณพื้นที่ตามแนบท้ายประกาศนี้ เป็นเขตพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำ หรือ ปลาหมอคางดำ (Sarotherodon melanotheron)
สำหรับพื้นที่แพร่ระบาดตามแนบท้ายประกาศ ประกอบด้วย
1\. จันทบุรี
- อ.นายายอาม
- อ.ท่าใหม่
2\. ระยอง
- อ.แกลง
- อ.เมืองระยอง
- อ.บ้านฉาง
3\. ฉะเชิงเทรา
- อ.บางคล้า
- อ.บางปะกง
- อ.บ้านโพธิ์
- อ.เมืองฉะเชิงเทรา
4\. สมุทรปราการ
- อ.เมืองสมุทรปราการ
- อ.บางบ่อ
- อ.บางพลี
- อ.พระประแดง
- อ.พระสมุทรเจดีย์
5\. นนทบุรี
- อ.บางบัวทอง
- อ.ไทรน้อย
- อ.บางกรวย
- อ.บางใหญ่
- อ.ปากเกร็ด
- อ.เมืองนนทบุรี
6\. กรุงเทพมหานคร
- เขตบางขุนเทียน
- เขตทวีวัฒนา
- เขตดุสิต
- เขตราชเทวี
- เขตดินแดง
- เขตทุ่งครุ
- เขตบางกอกน้อย
- เขตลาดกระบัง
- เขตจอมทอง
- เขตหนองแขม
7\. นครปฐม
- อ.นครชัยศรี
- อ.เมืองนครปฐม
- อ.สามพราน
- อ.ดอนตูม
8\. ราชบุรี
- อ.ดำเนินสะดวก
- อ.ปากท่อ
- อ.โพธาราม
- อ.เมืองราชบุรี
- อ.บางแพ
- อ.วัดเพลง
9\. สมุทรสาคร
- อ.เมืองสมุทรสาคร
- อ.บ้านแพ้ว
- อ.กระทุ่มแบน
10\. สมุทรสงคราม
- อ.อัมพวา
- อ.เมืองสมุทรสงคราม
- อ.บางคนที
11\. เพชรบุรี
- อ.บ้านแหลม
- อ.หนองหญ้าปล้อง
- อ.เขาย้อย
- อ.เมืองเพชรบุรี
- อ.ท่ายาง
- อ.ชะอำ
- อ.บ้านลาด
12\. ประจวบคีรีขันธ์
- อ.ปราณบุรี
- อ.กุยบุรี
- อ.สามร้อยยอด
- อ.หัวหิน
- อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์
- อ.ทับสะแก
- อ.บางสะพาน
- อ.บางสะพานน้อย
13\. ชุมพร
- อ.สวี
- อ.ละแม
- อ.เมืองชุมพร
- อ.หลังสวน
- อ.ปะทิว
- อ.ทุ่งตะโก
14\. สุราษฎร์ธานี
- อ.ท่าชนะ
- อ.ไชยา
15\. นครศรีธรรมราช
- อ.หัวไทร
- อ.ปากพนัง
- อ.เชียรใหญ่
16\. สงขลา
- อ.ระโนด
17\. ชลบุรี
- อ.เมืองชลบุรี
18\. พัทลุง
- อ.ป่าพะยอม
19\. ปราจีนบุรี
- อ.บ้านสร้าง