










‘กรงดักหนู’ และ ‘ลูกชิ้นปลา’ คืออุปกรณ์สำคัญในปฎิบัติการกวาดล้างหนูท่อ ภายในพื้นที่ของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ที่เจ้าหน้าที่จากกองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ได้นำ ‘ลูกชิ้นปลา’ ที่มีกลิ่นแรงมาเป็นเหยื่อในการล่อจับหนูเข้ากรง
โดยเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่จากกองควบคุมโรคฯ ได้เข้ามาสำรวจกรงดักหนูที่วางไว้เมื่อวานนี้ (12 มิ.ย.) ตามจุดต่างๆ จำนวน 118 กรง เพื่อเปลี่ยนเหยื่อและนำหนูท่อที่จับได้กลับไปกำจัดตามขั้นตอน
หนึ่งในเจ้าหน้าที่กองควบคุมโรคฯ ให้ข้อมูลกับทีมข่าว SPACEBAR ว่า เมื่อวานนี้เป็นการวางกรงดักหนูเป็นวันแรก เบื้องต้นจากการสำรวจพบว่าสามารถจับหนูท่อได้ประมาณ 20 ตัว ส่วนใหญ่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ และโดยภาพรวมถือว่ามีหนูค่อนข้างเยอะ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะอาคารบางส่วนยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีช่อง มีรูเยอะ จึงทำให้หนูเข้าไปอยู่อาศัยและแพร่พันธุ์ ประกอบกับหนูท่อ มีวงจรการขยายพันธุ์ที่เร็ว ใช้เวลาทั้งท้องประมาณ 3 สัปดาห์ ออกลูกครอกละหลายตัว และเมื่อออกลูกเสร็จแล้ว สามารถผสมพันธุ์ต่อได้ทันที ดังนั้นเมื่อมีหนูวัยเจริญพันธุ์เยอะ ก็จะยิ่งแพร่พันธุ์ได้เร็ว แต่เชื่อว่าเมื่อการก่อสร้างต่างๆ เสร็จแล้ว จำนวนหนูคงจะลดลงไปเยอะ โดยกองควบคุมโรคฯ จะเข้ามาวางกรงดักหนูจนถึงวันศุกร์ (16 มิ.ย.) และหลังจากนั้นจะประเมินสถานการณ์เป็นรายสัปดาห์ หากมีการร้องเรียนจาก กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ว่ายังพบหนูท่อจำนวนมาก ก็ยินดีเข้ามาให้การช่วยเหลือ
ด้าน ‘พล.ต.ต.จิรเดช พระสว่าง’ ผู้บังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เปิดเผยว่า เนื่องจากสถานที่แห่งนี้เป็นที่ทำการใหม่ มีทั้งส่วนที่เป็นที่ทำการและที่พักอาศัยของเจ้าหน้าที่ ดังนั้นเมื่อมีคนจำนวนมากเข้ามาอยู่อาศัยใหม่ จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการสุขอนามัยให้ถูกต้อง จึงได้ประสานขอความร่วมมือไปยังสำนักอนามัย กรุงเทพฯ ให้ช่วยเข้ามาดูแล และให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่ โดยเรื่องนี้ผู้บัญชาการตํารวจสอบสวนกลาง ได้เน้นย้ำและกำชับว่าหากปล่อยปัญหานี้ไปในระยะยาวจะจัดการได้ยาก
‘พล.ต.ต.จิรเดช’ ยอมรับว่าที่ต้องเร่งแก้ปัญหานี้ เพราะกังวลว่าหนูอาจจะเข้าไปทำลายทรัพย์สินทางราชการและเกรงว่าจะเป็นพาหนะนำโรคให้กับคนในพื้นที่ โดยเป้าหมายหลักเน้นที่การป้องกัน คือ การดูแลเรื่องความสะอาด เรื่องขยะ และเรื่องเศษอาหาร พร้อมยอมรับว่าเมื่อมีภาพลักษณะนี้ออกไป อาจจะกระทบกับภาพลักษณ์ของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง แต่เราจะพยายามทำให้ทุกคนมีจิตสำนึกในการรักษาความสะอาด โดยเราจะทำให้สำนักงานเป็นเหมือนบ้านที่ทุกคนต้องช่วยกันดูแล
ทั้งนี้จากข้อมูลในช่วงปี 2561 พีพีทีวี เคยรายงานถึงการเพิ่มจำนวนประชากรหนูในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่าจากงานวิจัยเรื่องประชากรหนูในกรุงเทพฯ ปี พ.ศ 2559 และการสอบถามเจ้าหน้าที่และนักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ คำนวณตามพื้นที่ที่คาดว่าจะมีหนูอาศัย 1 ตัว ต่อพื้นที่ 250 ตร.ม. ดังนั้น พื้นที่ กทม.1,569 ตารางกิโลเมตร จะมีหนู ประมาณ 6,276,000 ตัว ขณะที่หนู 1 ตัว ออกลูกปีละ 4-8 ครอก ครอกละ 8-12ตัว โดยใช้เวลาผสมพันธุ์และตั้งท้องเพียง 25 วัน ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าประชากรหนูอาจจะเพิ่มขึ้นได้หากไม่มีการจัดการอย่างถูกต้อง
ขณะที่ปัญหาหลักของการเพิ่มจำนวนประชากรหนูในพื้นที่กรุงเทพฯ ‘ศุภากร ปทุมรัตนาธาร’ รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เคยพูดถึงเรื่องนี้ในช่วงปี 2561 ว่า พฤติกรรมของคนกรุงเทพฯ ทุกวันนี้มักซื้อกับข้าวถุงมารับประทาน เมื่ออาหารเหลือทิ้งในถังขยะก็จะมีหนูเข้ามาหาของกินในถังขยะ ซึ่งถังขยะในกรุงเทพฯ ถือเป็นแหล่งอาหารที่สมบูรณ์อย่างยิ่ง ประกอบกับแมวที่เคยจับหนูเป็นอาหาร วันนี้เปลี่ยนไปกินอาหารเม็ดเป็นหลักแล้ว
นอกจากกรุงเทพฯ ที่เผชิญกับปัญหาหนูล้นเมืองแล้ว ยังพบว่าในพื้นที่เขตเมืองของหลายประเทศทั่วโลกยังเผชิญกับปัญหานี้เช่นกัน และที่น่าสนใจ คือ เมื่อช่วงเดือนที่ผ่านมา นายกเทศมนตรีนครนิวยอร์ก ของประเทศสหรัฐฯ ได้ ประกาศแต่งตั้งให้ ‘แคเธอรีน คอร์ราดิ’ เป็นผู้อำนวยการด้านการลดประชากรหนู เป็นคนแรก โดยมีหน้าที่หาวิธีลดจำนวนประชากรหนู ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะ ทำให้เป็นที่น่าสนใจว่าโมเดลนี้จะช่วยลดปริมาณหนูได้มาน้อยแค่ไหน และหากผลลัพธ์ออกมาดี เชื่อว่าน่าจะเป็นต้นแบบให้หลายๆ เมือง นำไปปรับใช้แน่นอน
โดยเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่จากกองควบคุมโรคฯ ได้เข้ามาสำรวจกรงดักหนูที่วางไว้เมื่อวานนี้ (12 มิ.ย.) ตามจุดต่างๆ จำนวน 118 กรง เพื่อเปลี่ยนเหยื่อและนำหนูท่อที่จับได้กลับไปกำจัดตามขั้นตอน
หนึ่งในเจ้าหน้าที่กองควบคุมโรคฯ ให้ข้อมูลกับทีมข่าว SPACEBAR ว่า เมื่อวานนี้เป็นการวางกรงดักหนูเป็นวันแรก เบื้องต้นจากการสำรวจพบว่าสามารถจับหนูท่อได้ประมาณ 20 ตัว ส่วนใหญ่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ และโดยภาพรวมถือว่ามีหนูค่อนข้างเยอะ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะอาคารบางส่วนยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีช่อง มีรูเยอะ จึงทำให้หนูเข้าไปอยู่อาศัยและแพร่พันธุ์ ประกอบกับหนูท่อ มีวงจรการขยายพันธุ์ที่เร็ว ใช้เวลาทั้งท้องประมาณ 3 สัปดาห์ ออกลูกครอกละหลายตัว และเมื่อออกลูกเสร็จแล้ว สามารถผสมพันธุ์ต่อได้ทันที ดังนั้นเมื่อมีหนูวัยเจริญพันธุ์เยอะ ก็จะยิ่งแพร่พันธุ์ได้เร็ว แต่เชื่อว่าเมื่อการก่อสร้างต่างๆ เสร็จแล้ว จำนวนหนูคงจะลดลงไปเยอะ โดยกองควบคุมโรคฯ จะเข้ามาวางกรงดักหนูจนถึงวันศุกร์ (16 มิ.ย.) และหลังจากนั้นจะประเมินสถานการณ์เป็นรายสัปดาห์ หากมีการร้องเรียนจาก กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ว่ายังพบหนูท่อจำนวนมาก ก็ยินดีเข้ามาให้การช่วยเหลือ
ด้าน ‘พล.ต.ต.จิรเดช พระสว่าง’ ผู้บังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เปิดเผยว่า เนื่องจากสถานที่แห่งนี้เป็นที่ทำการใหม่ มีทั้งส่วนที่เป็นที่ทำการและที่พักอาศัยของเจ้าหน้าที่ ดังนั้นเมื่อมีคนจำนวนมากเข้ามาอยู่อาศัยใหม่ จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการสุขอนามัยให้ถูกต้อง จึงได้ประสานขอความร่วมมือไปยังสำนักอนามัย กรุงเทพฯ ให้ช่วยเข้ามาดูแล และให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่ โดยเรื่องนี้ผู้บัญชาการตํารวจสอบสวนกลาง ได้เน้นย้ำและกำชับว่าหากปล่อยปัญหานี้ไปในระยะยาวจะจัดการได้ยาก
‘พล.ต.ต.จิรเดช’ ยอมรับว่าที่ต้องเร่งแก้ปัญหานี้ เพราะกังวลว่าหนูอาจจะเข้าไปทำลายทรัพย์สินทางราชการและเกรงว่าจะเป็นพาหนะนำโรคให้กับคนในพื้นที่ โดยเป้าหมายหลักเน้นที่การป้องกัน คือ การดูแลเรื่องความสะอาด เรื่องขยะ และเรื่องเศษอาหาร พร้อมยอมรับว่าเมื่อมีภาพลักษณะนี้ออกไป อาจจะกระทบกับภาพลักษณ์ของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง แต่เราจะพยายามทำให้ทุกคนมีจิตสำนึกในการรักษาความสะอาด โดยเราจะทำให้สำนักงานเป็นเหมือนบ้านที่ทุกคนต้องช่วยกันดูแล
ทั้งนี้จากข้อมูลในช่วงปี 2561 พีพีทีวี เคยรายงานถึงการเพิ่มจำนวนประชากรหนูในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่าจากงานวิจัยเรื่องประชากรหนูในกรุงเทพฯ ปี พ.ศ 2559 และการสอบถามเจ้าหน้าที่และนักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ คำนวณตามพื้นที่ที่คาดว่าจะมีหนูอาศัย 1 ตัว ต่อพื้นที่ 250 ตร.ม. ดังนั้น พื้นที่ กทม.1,569 ตารางกิโลเมตร จะมีหนู ประมาณ 6,276,000 ตัว ขณะที่หนู 1 ตัว ออกลูกปีละ 4-8 ครอก ครอกละ 8-12ตัว โดยใช้เวลาผสมพันธุ์และตั้งท้องเพียง 25 วัน ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าประชากรหนูอาจจะเพิ่มขึ้นได้หากไม่มีการจัดการอย่างถูกต้อง
ขณะที่ปัญหาหลักของการเพิ่มจำนวนประชากรหนูในพื้นที่กรุงเทพฯ ‘ศุภากร ปทุมรัตนาธาร’ รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เคยพูดถึงเรื่องนี้ในช่วงปี 2561 ว่า พฤติกรรมของคนกรุงเทพฯ ทุกวันนี้มักซื้อกับข้าวถุงมารับประทาน เมื่ออาหารเหลือทิ้งในถังขยะก็จะมีหนูเข้ามาหาของกินในถังขยะ ซึ่งถังขยะในกรุงเทพฯ ถือเป็นแหล่งอาหารที่สมบูรณ์อย่างยิ่ง ประกอบกับแมวที่เคยจับหนูเป็นอาหาร วันนี้เปลี่ยนไปกินอาหารเม็ดเป็นหลักแล้ว
นอกจากกรุงเทพฯ ที่เผชิญกับปัญหาหนูล้นเมืองแล้ว ยังพบว่าในพื้นที่เขตเมืองของหลายประเทศทั่วโลกยังเผชิญกับปัญหานี้เช่นกัน และที่น่าสนใจ คือ เมื่อช่วงเดือนที่ผ่านมา นายกเทศมนตรีนครนิวยอร์ก ของประเทศสหรัฐฯ ได้ ประกาศแต่งตั้งให้ ‘แคเธอรีน คอร์ราดิ’ เป็นผู้อำนวยการด้านการลดประชากรหนู เป็นคนแรก โดยมีหน้าที่หาวิธีลดจำนวนประชากรหนู ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะ ทำให้เป็นที่น่าสนใจว่าโมเดลนี้จะช่วยลดปริมาณหนูได้มาน้อยแค่ไหน และหากผลลัพธ์ออกมาดี เชื่อว่าน่าจะเป็นต้นแบบให้หลายๆ เมือง นำไปปรับใช้แน่นอน