ย่างเข้าฤดูฝน คนไทยต่างตั้งตารอน้ำฝน หวังจะมาช่วยลดดีกรีความร้อนที่กำลังแผดเผา เพราะฤดูร้อนปีนี้ เราเผชิญกับอากาศร้อนจัดทั่วไทย จนหลายคนบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า “ทำไมปีนี้ร้อนกว่าปีที่ผ่านๆ มา” รวมถึงดัชนีความร้อน หรือ Heat Index ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ พุ่งทะยานเกิน 54 องศาเซลเซียสไปแล้ว
จากสถิติอุณหภูมิสูงสุด ที่เก็บข้อมูลโดยศูนย์ภูมิอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าปีนี้ทำลายสถิติปีก่อนๆ ในหลายจังหวัด อย่างจังหวัดตาก ที่ครองแชมป์ร้อนสุดในไทย วันที่ 15 เมษายน 2566 อุณหภูมิสูงสุด 44.6 องศาเซลเซียส จากสถิติเดิม 44 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2550
ศูนย์ภูมิอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่าปรากฏการณ์เอนโซที่อยู่ในสภาวะปกติ มีแนวโน้มจะเข้าสู่สภาวะเอลนีโญในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม 2566 และจะต่อเนื่องไปจนถึงช่วงเดือนธันวาคม 2566 ถึงกุมภาพันธ์ 2567
ปรากฏการณ์เอลนีโญ ก็คืออุณหภูมิผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณเขตศูนย์สูตร ด้านตะวันออกที่เป็นทวีปอเมริกาใต้ สูงกว่าด้านตะวันตกที่เป็นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย เกิดจากกระแสลมอ่อน และเปลี่ยนทิศทาง จากเดิมพัดมาทางตะวันตก ไปเป็น พัดไปทางตะวันออก ทำให้กระแสน้ำอุ่นไหลไปยังทวีปอเมริกาใต้ ส่งผลให้ทางนั้นฝนตกหนัก ขณะที่ฝั่งบ้านเรามีฝนตกน้อยลง เกิดภาวะภัยแล้ง และอุณหภูมิสูงขึ้น
จากสถิติอุณหภูมิสูงสุด ที่เก็บข้อมูลโดยศูนย์ภูมิอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าปีนี้ทำลายสถิติปีก่อนๆ ในหลายจังหวัด อย่างจังหวัดตาก ที่ครองแชมป์ร้อนสุดในไทย วันที่ 15 เมษายน 2566 อุณหภูมิสูงสุด 44.6 องศาเซลเซียส จากสถิติเดิม 44 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2550
ร้อนจัด แล้งหนัก จากเอลนีโญ
ความร้อนที่เราเจอสูงสุดในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา แต่ไม่ใช่ตลอดไป เพราะปี 2567 และปีต่อๆ ไป เราอาจจะเจอความร้อนที่มากกว่าปีนี้ ซึ่งทำลายสถิติเดิม จากสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงคลื่นความร้อนที่เข้ามา และปรากฏการณ์ ‘เอลนีโญ’ ที่กำลังจะเกิดขึ้นศูนย์ภูมิอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่าปรากฏการณ์เอนโซที่อยู่ในสภาวะปกติ มีแนวโน้มจะเข้าสู่สภาวะเอลนีโญในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม 2566 และจะต่อเนื่องไปจนถึงช่วงเดือนธันวาคม 2566 ถึงกุมภาพันธ์ 2567
ปรากฏการณ์เอลนีโญ ก็คืออุณหภูมิผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณเขตศูนย์สูตร ด้านตะวันออกที่เป็นทวีปอเมริกาใต้ สูงกว่าด้านตะวันตกที่เป็นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย เกิดจากกระแสลมอ่อน และเปลี่ยนทิศทาง จากเดิมพัดมาทางตะวันตก ไปเป็น พัดไปทางตะวันออก ทำให้กระแสน้ำอุ่นไหลไปยังทวีปอเมริกาใต้ ส่งผลให้ทางนั้นฝนตกหนัก ขณะที่ฝั่งบ้านเรามีฝนตกน้อยลง เกิดภาวะภัยแล้ง และอุณหภูมิสูงขึ้น


นี่จึงเป็นข่าวร้ายใหญ่ของเกษตรกร ที่กำลังรอน้ำฝนด้วยใจจดจ่อ หวังปลูกข้าว ปลูกพืชให้ได้ผลผลิตดี แต่ฤดูฝนปีนี้ ประเทศไทยจะมีฝนตกน้อยลง ต่อเนื่องไปจนถึงปลายปีนี้ ถึงต้นปีหน้า หรืออาจจะเป็นกลางปีหน้า เราจะประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ ภัยแล้ง และฤดูร้อนปีหน้า เราอาจจะเจออากาศที่ร้อนกว่าปีนี้
เกษตรกร จะไม่มีน้ำพอสำหรับปลูกข้าว และพืชผลการเกษตรอื่นๆ ทั้งข้าวนาปีและนาปรัง อย่างในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ปลูกข้าวมากที่สุดในไทย เป็นการปลูกข้าวนาปี คือเริ่มปลูกเดือนพฤษภาคม ที่เข้าหน้าฝน และส่วนใหญ่อยู่นอกเขตชลประทาน ใช้น้ำฝนเป็นหลัก เสี่ยงมากที่จะขาดแคลนน้ำ ซ้ำเติมสภาวะ ‘ฝนทิ้งช่วง’ ที่เกิดในช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคมพอดี
ส่วนเกษตรกรที่อยู่ในเขตชลประทาน ก็ต้องเตรียมรับมือกับน้ำไม่เพียงพอเช่นกัน เพราะปีหน้า น้ำต้นทุนจากอ่างที่กักเก็บน้ำฝนในปีนี้จะน้อยลง โดยเฉพาะคนที่ปลูกข้าวนาปรัง ช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ ถึงเมษายนปีหน้า ที่หวังพึ่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำ จะได้รับผลกระทบด้วย
นั่นหมายความว่าปีหน้ามีโอกาสสูง ที่ผลผลิตข้าวจะน้อยลง รวมถึงข้าวส่งออก จากปัจจุบันทั่วโลกกำลังประสบปัญหาข้าวลดลง จากภัยแล้งเช่นกัน
รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ เปิดเผยว่า งานวิจัยจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ IPCC คาดว่าเราจะเจอกับปรากฏการณ์เอลนีโญ อีกสองครั้ง ภายในปี 2571 และเป็นไปได้ที่เราอาจต้องอยู่กับภัยแล้งยาวนานถึง 5 ปี ซ้ำเติมความยากจนของชาวนาที่กำลังเผชิญมาอย่างยาวนาน
“เนื่องจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงและแปรปรวน งานวิจัยชิ้นนี้ชี้ว่า หลังจากเจอเอลนีโญไปแล้ว ในปี 2571 จะเกิดน้ำท่วมหนัก ปี 2573 เข้าสู่โหมดเปียก ดังนั้นเราหนีไม่พ้นการปรับตัว เกษตรกรโดยเฉพาะชาวนา น่าเห็นใจมากถ้าไม่ปรับตัว ตอนนี้ยิ่งทำยิ่งจน ปลูกข้าวไม่เคยรวย แล้วมาเจอสภาพอากาศแบบนี้อีก จึงอยากฝากรัฐ ต้องเข้าไปดูแล อย่างหลายประเทศ รัฐเข้าไปดูแล ทำให้เกษตรกรรวยขึ้นมา เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นี่คือสิ่งที่อยากให้เป็นบทเรียน กับรัฐบาลไทยว่าปล่อยชาวนาทำนาลำพังไม่ได้ เพราะภัยคุกคามจะมาแรงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต”
เกษตรกร จะไม่มีน้ำพอสำหรับปลูกข้าว และพืชผลการเกษตรอื่นๆ ทั้งข้าวนาปีและนาปรัง อย่างในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ปลูกข้าวมากที่สุดในไทย เป็นการปลูกข้าวนาปี คือเริ่มปลูกเดือนพฤษภาคม ที่เข้าหน้าฝน และส่วนใหญ่อยู่นอกเขตชลประทาน ใช้น้ำฝนเป็นหลัก เสี่ยงมากที่จะขาดแคลนน้ำ ซ้ำเติมสภาวะ ‘ฝนทิ้งช่วง’ ที่เกิดในช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคมพอดี
ส่วนเกษตรกรที่อยู่ในเขตชลประทาน ก็ต้องเตรียมรับมือกับน้ำไม่เพียงพอเช่นกัน เพราะปีหน้า น้ำต้นทุนจากอ่างที่กักเก็บน้ำฝนในปีนี้จะน้อยลง โดยเฉพาะคนที่ปลูกข้าวนาปรัง ช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ ถึงเมษายนปีหน้า ที่หวังพึ่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำ จะได้รับผลกระทบด้วย
นั่นหมายความว่าปีหน้ามีโอกาสสูง ที่ผลผลิตข้าวจะน้อยลง รวมถึงข้าวส่งออก จากปัจจุบันทั่วโลกกำลังประสบปัญหาข้าวลดลง จากภัยแล้งเช่นกัน
งานวิจัย เผย ภัยแล้งอาจยืดเยื้อ 5 ปี
ที่น่ากังวลคือ ปรากฏการณ์เอลนีโญ ไม่ได้เกิดขึ้นปีนี้แล้วเว้นระยะยาวรศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ เปิดเผยว่า งานวิจัยจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ IPCC คาดว่าเราจะเจอกับปรากฏการณ์เอลนีโญ อีกสองครั้ง ภายในปี 2571 และเป็นไปได้ที่เราอาจต้องอยู่กับภัยแล้งยาวนานถึง 5 ปี ซ้ำเติมความยากจนของชาวนาที่กำลังเผชิญมาอย่างยาวนาน
“เนื่องจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงและแปรปรวน งานวิจัยชิ้นนี้ชี้ว่า หลังจากเจอเอลนีโญไปแล้ว ในปี 2571 จะเกิดน้ำท่วมหนัก ปี 2573 เข้าสู่โหมดเปียก ดังนั้นเราหนีไม่พ้นการปรับตัว เกษตรกรโดยเฉพาะชาวนา น่าเห็นใจมากถ้าไม่ปรับตัว ตอนนี้ยิ่งทำยิ่งจน ปลูกข้าวไม่เคยรวย แล้วมาเจอสภาพอากาศแบบนี้อีก จึงอยากฝากรัฐ ต้องเข้าไปดูแล อย่างหลายประเทศ รัฐเข้าไปดูแล ทำให้เกษตรกรรวยขึ้นมา เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นี่คือสิ่งที่อยากให้เป็นบทเรียน กับรัฐบาลไทยว่าปล่อยชาวนาทำนาลำพังไม่ได้ เพราะภัยคุกคามจะมาแรงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต”
รัฐบาลควรช่วยเกษตรกรอย่างไร
รศ.ดร.เสรี แนะว่ารัฐบาลควรช่วยเหลือเกษตรกร ดังนี้- ให้ความรู้แก่เกษตรกร เรื่องการให้น้ำและการจัดการน้ำในพื้นที่ เช่น ที่ผ่านมาปล่อยน้ำเข้านาทิ้งไว้ ในปริมาณมาก ทั้งที่มีน้ำน้อย และไม่เกิดประโยชน์
- สนับสนุนพันธุ์ข้าว ต้องทนร้อน ทนแล้ง และอีกพันธุ์ คือทนน้ำ เวลาน้ำท่วม
- ให้ความรู้และเทคโนโลยี ทั้งการบำรุงรักษาดิน การใส่ปุ๋ย การดูแลผลผลิตให้มีประสิทธิภาพ เช่น ในต่างประเทศใช้โดรนบินให้ปุ๋ย หรือให้น้ำหยด ทำให้ประหยัดน้ำ หรือบางพื้นที่ใช้กรีนเฮ้าส์ ควบคุมอุณหภูมิ

ทุกยุคทุกสมัย ชาวนาไม่เคยรวย ไม่ใช่เพียงเพราะราคาขายผลผลิตที่ตกต่ำ ต้นทุนที่สูงขึ้น เงินไปตกที่นายทุน แต่เป็นเพราะการจัดการพื้นที่การเกษตรที่ไม่มีประสิทธิภาพเช่นกัน แม้ว่าไทยจะเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวเป็นอันดับต้นๆ ของโลก แต่ผลผลิตข้าวที่ได้มานั้น มาจากการใช้พื้นที่ที่มากด้วย
จะเป็นไปได้ไหม ที่ชาวนาจะใช้ที่นาน้อยลง แต่ได้ข้าวปริมาณมากขึ้น นั่นคือการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ตามองค์ความรู้ และเทคโนโลยีที่ได้รับการสนับสนุนอย่าง ‘เข้าถึง’ จริงๆ
ที่ผ่านมาเราเห็นการแก้ปัญหาด้วยการให้เงินอุดหนุนเกษตรกร แม้ต้องยอมรับว่าเกษตรกรยินดีที่จะรับ แต่การลบความจนออกจากชาวนา ก็ไม่เคยทำได้ ไม่ว่ากี่ปี ชาวนาก็ยังเหนื่อยมากแต่ได้เงินน้อยอยู่ดี
นี่จึงถือเป็นความหวังใหม่ของรัฐบาลใหม่ ที่จะเข้ามาช่วยเหลือเกษตรกรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่าง ‘ยั่งยืน’ ให้สมกับเป็น ‘กระดูกสันหลังของชาติ’ ที่แข็งแกร่ง หลังผุกร่อนมานาน
อ้างอิง : สัมภาษณ์ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ
จะเป็นไปได้ไหม ที่ชาวนาจะใช้ที่นาน้อยลง แต่ได้ข้าวปริมาณมากขึ้น นั่นคือการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ตามองค์ความรู้ และเทคโนโลยีที่ได้รับการสนับสนุนอย่าง ‘เข้าถึง’ จริงๆ
ที่ผ่านมาเราเห็นการแก้ปัญหาด้วยการให้เงินอุดหนุนเกษตรกร แม้ต้องยอมรับว่าเกษตรกรยินดีที่จะรับ แต่การลบความจนออกจากชาวนา ก็ไม่เคยทำได้ ไม่ว่ากี่ปี ชาวนาก็ยังเหนื่อยมากแต่ได้เงินน้อยอยู่ดี
นี่จึงถือเป็นความหวังใหม่ของรัฐบาลใหม่ ที่จะเข้ามาช่วยเหลือเกษตรกรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่าง ‘ยั่งยืน’ ให้สมกับเป็น ‘กระดูกสันหลังของชาติ’ ที่แข็งแกร่ง หลังผุกร่อนมานาน
อ้างอิง : สัมภาษณ์ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ