ดร.ปิยนุช วุฒิสอน ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่าสำนักงานสถิติแห่งชาติได้ดำเนินการสำรวจการย้ายถิ่นของประชากรเป็นประจำทุกปี โดยในปี พ.ศ.2565 เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างตุลาคมถึงธันวาคม เพื่อรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านประชากรและสังคมของผู้ย้ายถิ่น สำหรับนำไปใช้ในการติดตามสถานการณ์การย้ายถิ่นของประชากร
ผลการสำรวจจำนวนผู้ย้ายถิ่นและอัตราการย้ายถิ่นในปี 2565 ที่สำคัญสรุปได้ดังนี้
การย้ายถิ่นสุทธิจากการสำรวจ พบว่าอัตราการย้ายถิ่นสุทธิของภาคเหนือและภาคกลาง มีผลเป็นบวก (0.13 และ 0.06 ตามลำดับ) คือมีผู้ย้ายถิ่นเข้ามากกว่าผู้ย้ายถิ่นออก
ส่วนกรุงเทพมหานคร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ มีทิศทางตรงกันข้าม คือ มีอัตราการย้ายถิ่นสุทธิผลเป็นลบ ( - 0.20 - 0.14 และ 0.09 ตามลำดับ) คือมีผู้ย้ายถิ่นเข้าน้อยกว่าผู้ย้ายถิ่นออก
ผลการสำรวจจำนวนผู้ย้ายถิ่นและอัตราการย้ายถิ่นในปี 2565 ที่สำคัญสรุปได้ดังนี้
การย้ายถิ่นในภาพรวม
- ผู้ย้ายถิ่นมีจำนวน 8.09 แสนคน คิดเป็นอัตราการย้ายถิ่นร้อยละ 1.2 ของประชากรทั้งประเทศ (69.91 ล้านคน)
- ภาคกลางมีผู้ย้ายถิ่นมากที่สุด 3.45 แสนคน (ร้อยละ 42.6 ของจำนวนผู้ย้ายถิ่นทั้งหมด)
- กรุงเทพมหานครมีจำนวนผู้ย้ายถิ่นน้อยที่สุด 0.55 แสนคน (ร้อยละ 6.8 ของจำนวนผู้ย้ายถิ่นทั้งหมด)
การมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
- ผู้ย้ายถิ่นร้อยละ 68.4 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ซึ่งอยู่ที่อื่น (ในจำนวนนี้ ร้อยละ 41.2 อยู่ในจังหวัดอื่น และร้อยละ 27.2 อยู่ในจังหวัดที่อยู่ปัจจุบัน)
- นอกนั้นเป็นผู้ที่มีชื่อในทะเบียนบ้านในประเทศอื่น (ร้อยละ 8.8)
- ผู้ที่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ร้อยละ 0.1
สาเหตุของการย้ายถิ่น
- ผู้ย้ายถิ่นที่ย้ายถิ่นด้วยสาเหตุด้านการงานเช่น หางานทำ หน้าที่การงาน หรือต้องการ
- เปลี่ยนงาน มีจำนวนมากที่สุด 2.81 แสนคน (ร้อยละ 34.8)
- รองลงมาคือ ด้านครอบครัว เช่นติดตามคนในครอบครัว และทำกิจการครอบครัวจำนวน 1.67 แสนคน (ร้อยละ 20.7)
- ด้านอื่นๆ เช่น ย้ายที่อยู่อาศัย กลับภูมิลำเนาและศึกษาต่อ เป็นต้น จำนวน 3.60 แสนคน (ร้อยละ 44.5) ตามลำดับ
ประเภทและรูปแบบการย้ายถิ่น
- ผู้ย้ายถิ่นภายในภาคเดียวกัน (จำนวน 5.18 แสนคน)
- ผู้ย้ายถิ่นระหว่างภาค (จำนวน 2.44 แสนคน)
- ผู้ย้ายถิ่นมาจากต่างประเทศ ( จำนวน0.47 แสนคน)
การย้ายถิ่นสุทธิจากการสำรวจ พบว่าอัตราการย้ายถิ่นสุทธิของภาคเหนือและภาคกลาง มีผลเป็นบวก (0.13 และ 0.06 ตามลำดับ) คือมีผู้ย้ายถิ่นเข้ามากกว่าผู้ย้ายถิ่นออก
ส่วนกรุงเทพมหานคร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ มีทิศทางตรงกันข้าม คือ มีอัตราการย้ายถิ่นสุทธิผลเป็นลบ ( - 0.20 - 0.14 และ 0.09 ตามลำดับ) คือมีผู้ย้ายถิ่นเข้าน้อยกว่าผู้ย้ายถิ่นออก