รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ถึงผลการศึกษาเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโควิด และอาการของผู้ป่วยลองโควิด (Long COVID) ที่พบว่าผู้ป่วยมีแนวโน้มพบอาการที่ผิดปกติในร่างกาย ถึง 37 อาการ
โพสต์ดังกล่าวมีใจความว่า ในอนาคตจะมีวัคซีนป้องกันโควิดรุ่นใหม่ที่จำเพาะกับสายพันธุ์มากขึ้น และจากงานวิจัยของทีม NIH ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ เผยแพร่ในวารสารการแพทย์ระดับสากล JAMA เมื่อ 25 พฤษภาคม 2566 ยังพบว่าจากการศึกษาในกลุ่มประชากรเกือบ 10,000 คน จากสถานพยาบาล 85 แห่ง ใน 33 รัฐ ของประเทศสหรัฐฯ พบข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ป่วยโควิดจำนวน 10% มีอาการผิดปกติของ Long COVID คงค้างในร่างกาย นานกว่า 6 เดือน และยังพบอาการผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกายราว 37 อาการ เช่น อ่อนเพลีย/เหนื่อยล้า ปัญหาด้านความคิดความจำ และอื่นๆ
นอกจากนี้ยังพบว่า แนวโน้มการคงค้างของไวรัสในร่างกายดูยาวนานขึ้น โดยทีมงานจาก London School of Hygiene and Tropical Medicine สหราชอาณาจักร เผยแพร่ผลการวิจัยใน medRxiv เมื่อ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา
เปรียบเทียบให้เห็นว่าคนที่ติดเชื้อสายพันธุ์ต่างๆ มีลักษณะการคงค้างของไวรัสในร่างกายที่แตกต่างกัน
ที่สำคัญคือ ในยุคที่ Omicron ระบาดนั้นมีแนวโน้มของการคงค้างของไวรัสในร่างกายยาวนานกว่าสายพันธุ์เดลต้า
รศ.นพ.ธีระ ยังทิ้งท้ายว่า สำหรับไทยเรา ยังมีการติดเชื้อแต่ละวันจำนวนมาก ขอให้ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ
การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก
โพสต์ดังกล่าวมีใจความว่า ในอนาคตจะมีวัคซีนป้องกันโควิดรุ่นใหม่ที่จำเพาะกับสายพันธุ์มากขึ้น และจากงานวิจัยของทีม NIH ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ เผยแพร่ในวารสารการแพทย์ระดับสากล JAMA เมื่อ 25 พฤษภาคม 2566 ยังพบว่าจากการศึกษาในกลุ่มประชากรเกือบ 10,000 คน จากสถานพยาบาล 85 แห่ง ใน 33 รัฐ ของประเทศสหรัฐฯ พบข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ป่วยโควิดจำนวน 10% มีอาการผิดปกติของ Long COVID คงค้างในร่างกาย นานกว่า 6 เดือน และยังพบอาการผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกายราว 37 อาการ เช่น อ่อนเพลีย/เหนื่อยล้า ปัญหาด้านความคิดความจำ และอื่นๆ
นอกจากนี้ยังพบว่า แนวโน้มการคงค้างของไวรัสในร่างกายดูยาวนานขึ้น โดยทีมงานจาก London School of Hygiene and Tropical Medicine สหราชอาณาจักร เผยแพร่ผลการวิจัยใน medRxiv เมื่อ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา
เปรียบเทียบให้เห็นว่าคนที่ติดเชื้อสายพันธุ์ต่างๆ มีลักษณะการคงค้างของไวรัสในร่างกายที่แตกต่างกัน
ที่สำคัญคือ ในยุคที่ Omicron ระบาดนั้นมีแนวโน้มของการคงค้างของไวรัสในร่างกายยาวนานกว่าสายพันธุ์เดลต้า
รศ.นพ.ธีระ ยังทิ้งท้ายว่า สำหรับไทยเรา ยังมีการติดเชื้อแต่ละวันจำนวนมาก ขอให้ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ
การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก
