‘อย่าเอาการเมืองมายุ่งเกี่ยวกับฟุตบอล’ น่าจะเป็นคำพูดที่เราเห็นกันอยู่บ่อยๆ จากผู้คนทั่วไปที่ดูฟุตบอล หรือแม้กระทั่งคนที่หลงใหลในกีฬาชนิดนี้แบบเข้าเส้น แต่เอาเข้าจริงๆ แล้วบางคนก็รู้กันดีว่าฟุตบอลกับการเมืองคือสองสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้ ยิ่งโดยเฉพาะในบ้านเราที่บรรดาสโมสรฟุตบอลทั้งใหญ่และเล็กต่างก็ได้รับแหล่งเงินทุน รวมไปถึงการสนับสนุนจากนายทุนใหญ่และนักการเมืองท้องถิ่นแทบทั้งสิ้น ซึ่งทั้งสองฝั่งต่างก็ได้รับผลประโยชน์ที่ตัวเองใฝ่หาทั้งคู่ ฝั่งแฟนบอลก็มีทีมฟุตบอลให้เชียร์ ส่วนฟากนายทุนหรือนักการเมืองก็ได้เพิ่มความนิยมของตัวเองในด้านสังคมและการเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น เพื่อนำไปต่อยอดในทางสายการเมืองต่อไปในอนาคต
ฟุตบอลกับการเมืองในประเทศไทย
แน่นอนว่ามีทีมฟุตบอลยังไงก็ต้องมี ‘แฟนบอล’ เพราะถ้าไม่มีกลุ่มคนเหล่านี้คอยขับเคลื่อน บรรดาสโมสรฟุตบอลต่างๆ ก็คงอยู่ไม่ได้ ขาดรายได้ และต้องยุบทีมในที่สุด แฟนบอลมีส่วนกับสโมสรมากมาย เริ่มจากที่พวกเขามารวมตัวกันในวันหยุดเพื่อเชียร์ทีมที่ตัวเองรัก และก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียนกับสโมสรไม่ว่าจะเป็นการซื้อบัตรเข้าชมการแข่งขัน ซื้อเสื้อแข่งและของที่ระลึกต่างๆ อุดหนุนร้านค้าของกินรอบๆ สนามที่ก็ต้องจ่ายค่าเช่าพื้นที่ให้กับทีมฟุตบอล ทุกอย่างคือวงจรเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นภายใต้กีฬาชนิดนี้และทีมฟุตบอลหนึ่งทีม
ถ้าจะเล่าให้เห็นภาพที่สุดก็คงหนีไม่พ้นสโมสร ‘บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด’ ที่มีบอสใหญ่เป็น เนวิน ชิดชอบ ผู้ที่เปลี่ยนจังหวัดธรรมดาๆ ที่มีแค่แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ให้กลายเป็นเมืองแห่งกีฬาที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย เขาสามารถทำให้คนทั้งจังหวัดใส่เสื้อแข่งบุรีรัมย์ได้ในวันแข่งขัน สร้างคนดูในสนามหลักหมื่นขึ้นไปได้ตลอดแทบจะทุกแมตช์ และมีรายได้เป็นเม็ดเงินกว่า 10,000,000 บาท ในทุกๆ สัปดาห์ที่ฟุตบอลเตะ
นอกจากฟุตบอลแล้ว บิ๊กบอสของทีมปราสาทสายฟ้า ยังขยายช่องทางไปสู่กีฬามอเตอร์สปอร์ตกับสนาม ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต สนามแข่งรถระดับเกรด A ที่ได้มาตรฐานทั้ง FIA เกรด 1 และ FIM เกรด A พารายการระดับเมเจอร์อย่าง MotoGP การแข่งขันจักรยานยนต์ชื่อดังระดับโลกมาแข่งที่ประเทศไทย สร้างเม็ดเงินในทางเศรษฐกิจปีๆ หนึ่งหลายร้อยหลายพันล้านบาท
นั่นทำให้ เนวิน ชิดชอบ เป็นที่รักของคนบุรีรัมย์ส่วนใหญ่ จากการสร้างงานสร้างอาชีพ ทำให้บรรดาพ่อค้าแม่ขายทั้งหลายมีลู่ทางในการทำมาหากิน จนเมื่อการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา พรรคภูมิใจไทย ก็กวาดคะแนนในจังหวัดบุรีรัมย์ไปแบบเอกฉันท์ขาดลอย
นอกจากฟุตบอลแล้ว บิ๊กบอสของทีมปราสาทสายฟ้า ยังขยายช่องทางไปสู่กีฬามอเตอร์สปอร์ตกับสนาม ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต สนามแข่งรถระดับเกรด A ที่ได้มาตรฐานทั้ง FIA เกรด 1 และ FIM เกรด A พารายการระดับเมเจอร์อย่าง MotoGP การแข่งขันจักรยานยนต์ชื่อดังระดับโลกมาแข่งที่ประเทศไทย สร้างเม็ดเงินในทางเศรษฐกิจปีๆ หนึ่งหลายร้อยหลายพันล้านบาท
นั่นทำให้ เนวิน ชิดชอบ เป็นที่รักของคนบุรีรัมย์ส่วนใหญ่ จากการสร้างงานสร้างอาชีพ ทำให้บรรดาพ่อค้าแม่ขายทั้งหลายมีลู่ทางในการทำมาหากิน จนเมื่อการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา พรรคภูมิใจไทย ก็กวาดคะแนนในจังหวัดบุรีรัมย์ไปแบบเอกฉันท์ขาดลอย

นอกเหนือจากบุรีรัมย์แล้ว ก็ยังมีอีกหลายๆ ทีมฟุตบอลที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองอีกมากมายอย่างเช่น สโมสรสุพรรณบุรี เอฟซี ที่เป็นฐานเสียงของตระกูล ศิลปอาชา กับพรรคชาติไทยพัฒนา, สโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี กับพรรคชาติพัฒนากล้า ของ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ, สโมสรราชบุรี เอฟซี ที่มีที่ปรึกษาสโมสรเป็น บุญยิ่ง นิติกาญจนา ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ, สโมสรเชียงราย ยูไนเต็ด กับพรรคเพื่อชาติ ของ ‘มาดามฮาย’ ปวิศรัฐฐ์ ติยะไพรัช ที่เพิ่งยุติบทบาทประธานสโมสร เพื่อไปลงเล่นนการเมืองเต็มตัวในปีนี้ และ สโมสรชลบุรี เอฟซี ที่ทางตระกูลคุณปลื้ม บ้านใหญ่แห่งชลบุรีเพิ่งจะย้ายขั้วมาอยู่กับพรรคเพื่อไทย
ฟุตบอลกับการเมืองในต่างประเทศ
นอกจากในประเทศไทยแล้ว ต่างประเทศก็เหมือนกับบ้านเราคือ ฟุตบอลกับการเมืองยังไงก็แยกจากกันไม่ได้ มันมีความเกี่ยวพันกันแบบลึกซึ้ง สนามฟุตบอลบางทีก็เปรียบเสมือนสถานที่แสดงประเด็นทางการเมืองมาตลอดเวลา ไม่ว่าสิ่งที่บอกออกไปนั้นจะดีขึ้นหรือแย่ลงก็ตาม
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพกันง่ายๆ ก็เรื่องของการคุกเข่าเพื่อต่อต้านการเหยียดผิวกับแคมเปญการเคลื่อนไหว Black Lives Matter ในฟุตบอลพรีเมียร์ลีก บางครั้งเราจะเห็นว่ามีทั้งนักฟุตบอลที่คุกเข่า และบางคนที่ไม่คุกเข่า นั่นก็คือการแสดงออกในเชิงการเมืองที่เราเห็นกันตลอด เช่นเดียวกันกับวันทหารผ่านศึกที่เราจะเห็นนักฟุตบอลติดดอกป๊อปปี้บนเสื้อแข่ง แต่ก็มีนักฟุตบอลบางคนเลือกที่จะไม่ติดอย่างเช่น เจมส์ แม็คคลีน นักบอลชาวไอริช ที่ปฏิเสธการติดดอกไม้นี้บนเสื้อ มันก็เน้นย้ำชัดเจนถึงเรื่องการเมืองในกีฬาชนิดนี้
หรือจะเป็นการที่ มาร์คัส แรชฟอร์ด กองหน้าคนดังของแมนฯ ยูไนเต็ด ที่ออกมาให้การสนับสนุนอาหารฟรีในโรงเรียน ที่เคยออกมาพูดต่อต้านแผนงานของรัฐบาลอังกฤษอย่างตรงไปตรงมา แถมแคมเปญของเขายังได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีด้วย โดยฟุตบอลได้ให้พื้นที่ในการแสดงออกที่หาได้ยากสำหรับคนอย่างเขา เพราะจะมีชายหนุ่มผิวดำกี่คนที่มีเสียงและจุดยืนแบบนี้ได้ถ้าไม่ใช่นักฟุตบอลชื่อดังอย่างเขา ซึ่งเป็นกลุ่มที่มักถูกมองข้ามในการอภิปรายทางการเมือง
หรือจะเป็นการที่ มาร์คัส แรชฟอร์ด กองหน้าคนดังของแมนฯ ยูไนเต็ด ที่ออกมาให้การสนับสนุนอาหารฟรีในโรงเรียน ที่เคยออกมาพูดต่อต้านแผนงานของรัฐบาลอังกฤษอย่างตรงไปตรงมา แถมแคมเปญของเขายังได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีด้วย โดยฟุตบอลได้ให้พื้นที่ในการแสดงออกที่หาได้ยากสำหรับคนอย่างเขา เพราะจะมีชายหนุ่มผิวดำกี่คนที่มีเสียงและจุดยืนแบบนี้ได้ถ้าไม่ใช่นักฟุตบอลชื่อดังอย่างเขา ซึ่งเป็นกลุ่มที่มักถูกมองข้ามในการอภิปรายทางการเมือง

และล่าสุดก็ในศึกฟุตบอลโลก 2022 ณ ประเทศกาตาร์ เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ที่ทางเจ้าภาพเองก็มีข้อครหาเยอะแยะไปหมดทั้งเรื่อง การเอาเปรียบแรงงานต่างชาติในเรื่องของค่าจ้างที่ต่ำเกินไป รวมไปถึงการสมรสเท่าเทียมระหว่างเพศเดียวกัน ที่เกิดขึ้นได้ยากในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่ จนถึงขั้นที่ทางทีมชาติเยอรมนี ทำท่าเอามือปิดปากระหว่างถ่ายรูปทีมเพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ถึงการที่ฟีฟ่าปฏิเสธไม่ให้ใส่ปลอกแขน One Love และขู่พร้อมจะลงโทษทีมชาติใดก็ตามที่ขัดขืน

สุดท้ายแล้วทั้งหมดที่เราเขียนมามันแสดงให้เห็นว่า ฟุตบอลกับการเมือง คือความสัมพันธ์ที่ไม่มีทางแยกออกจากกันได้ เป็นเรื่องธรรรมชาติไปแล้วที่ในเวทีการแข่งขันฟุตบอลจะมีเรื่องของการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ซึ่งทั้งสองอย่างต่างต้องการผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน มันเป็นแบบนี้มาเสมอตลอดเวลาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน และในอนาคตมันก็จะเป็นแบบนี้เช่นกัน