การเล่นกีฬาท่ามกลางสภาพอากาศที่ร้อนจัด อาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ จนสามารถส่งผลเสียถึงขั้นทำให้กลไกในร่างกายทำงานผิดปกติขึ้นมาได้ รวมไปถึงการเจอภาวะของโรคลมแดด (Heatstroke) ที่อาจสร้างอันตรายถึงชีวิตได้ ทำให้ในปัจจุบันหลายกีฬา อย่างเช่น ฟุตบอล ก็ได้เริ่มมีกฎ Cooling break ให้เห็นกันแล้วในหลายๆ ลีก ไม่เว้นแม้กระทั่งลีกอังกฤษ เพราะบางทีต้องพบเจอกับคลื่นความร้อนก็ต้องมีการพักดื่มน้ำเช่นกัน แล้วกฎ Cooling break โดยทั่วไปเป็นยังไง เริ่มต้นเมื่อไหร่ วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกันครับ
โดย FIFA เคยออกแถลงการณ์เรื่องนี้ไว้เมื่อปี 2014 “ผู้ตัดสินจะสั่งให้มีการ Cooling break เมื่อเกมการแข่งขันผ่านไปแล้ว 30 นาทีของแต่ละครึ่ง (ประมาณนาทีที่ 30 และนาทีที่ 75) และผู้ตัดสินสามารถเอาเวลาระหว่างหยุดพักตอนนั้นมาทดเวลาบาดเจ็บเพิ่มได้”
ในช่วงศึกยูโร 2020 ก็มีการพัก Cooling break เช่นกัน โดยใช้เวลาพักประมาณ 90 วินาที สำหรับฟุตบอลลีกบ้านเราในทุกระดับ การหยุดพัก Cooling break จะตั้งกฎกำหนดให้หยุดเมื่ออุณหภูมิถึง 35 องศาเซลเซียส เพราะบ้านเราเป็นประเทศที่มีอากาศร้อนอยู่แล้ว นักฟุตบอลจะปรับตัวได้ดีกว่าทางฝั่งยุโรป
สุดท้ายก็อยากจะฝากทุกคนด้วยความเป็นห่วงไว้ว่า สภาพอากาศบ้านเราตอนนี้ ‘ร้อนมาก’ จริงๆ อุณหภูมิสูงสุดแตะ 36 – 37 องศาเซลเซียสตลอด ใครที่ออกกำลังกายหรือต้องทำอะไรกลางแจ้ง เจอแดดบ่อยๆ ก็ควรจะดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อให้ร่างกายไม่เกิดภาวะขาดน้ำ เพราะอาจทำให้เป็นโรคลมแดด หรือ Heatstroke ที่ส่งผลเสียต่อร่างกายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย
FIFA cooling break ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อไหร่
กฎการพัก Cooling break ครั้งแรกถูกนำมาใช้ในฟุตบอลโลก 2014 ที่จัดขึ้นที่ประเทศบราซิล ในเกมระหว่าง เนเธอร์แลนด์ พบกับ เม็กซิโก โดย Pedro Polenca ผู้ตัดสินชาวโปรตุกีสในเกมนั้นสั่งให้มีการหยุดพัก เพราะอุณหภูมิพุ่งสูงถึง 39 องศาเซลเซียส ในเมืองฟอร์ตาเลซ่า โดยในวันนั้นมีการหยุดพักนานถึงประมาณ 5 นาทีเลยอุณหภูมิขั้นต่ำสำหรับการใช้กฎ Cooling break
กฎอย่างเป็นทางการตอนนี้ได้ระบุไว้ว่าเมื่อไหร่ที่ระหว่างการแข่งขันมีอุณหภูมิอย่างน้อย 32 องศาเซลเซียส ผู้ตัดสินจะสามารถสั่งพักให้มีการ Cooling break ได้ทันที ซึ่งการพักเบรกนี้จะมาราวๆ นาทีที่ 25 และ 70 ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในเวลานั้น และดุลยพินิจของผู้ตัดสินในสนาม ส่วนช่วงการพักนักฟุตบอลจะไม่สามารถเดินออกนอกสนามได้ ทำได้แค่เดินมาดื่มน้ำบริเวณข้างสนามเท่านั้น เป็นเวลาไม่เกิน 2 นาทีในแต่ละช่วง แต่บรรดาโค้ชก็มักจะอาศัยช่วงเวลานี้มาติวแท็คติกลูกทีมด้วยเหมือนกันโดย FIFA เคยออกแถลงการณ์เรื่องนี้ไว้เมื่อปี 2014 “ผู้ตัดสินจะสั่งให้มีการ Cooling break เมื่อเกมการแข่งขันผ่านไปแล้ว 30 นาทีของแต่ละครึ่ง (ประมาณนาทีที่ 30 และนาทีที่ 75) และผู้ตัดสินสามารถเอาเวลาระหว่างหยุดพักตอนนั้นมาทดเวลาบาดเจ็บเพิ่มได้”
ในช่วงศึกยูโร 2020 ก็มีการพัก Cooling break เช่นกัน โดยใช้เวลาพักประมาณ 90 วินาที สำหรับฟุตบอลลีกบ้านเราในทุกระดับ การหยุดพัก Cooling break จะตั้งกฎกำหนดให้หยุดเมื่ออุณหภูมิถึง 35 องศาเซลเซียส เพราะบ้านเราเป็นประเทศที่มีอากาศร้อนอยู่แล้ว นักฟุตบอลจะปรับตัวได้ดีกว่าทางฝั่งยุโรป
สุดท้ายก็อยากจะฝากทุกคนด้วยความเป็นห่วงไว้ว่า สภาพอากาศบ้านเราตอนนี้ ‘ร้อนมาก’ จริงๆ อุณหภูมิสูงสุดแตะ 36 – 37 องศาเซลเซียสตลอด ใครที่ออกกำลังกายหรือต้องทำอะไรกลางแจ้ง เจอแดดบ่อยๆ ก็ควรจะดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อให้ร่างกายไม่เกิดภาวะขาดน้ำ เพราะอาจทำให้เป็นโรคลมแดด หรือ Heatstroke ที่ส่งผลเสียต่อร่างกายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย