เกิดอะไรขึ้นกับ ‘เรือดำน้ำไททัน’ กันแน่?
เป็นคำถามที่ถูกถามไปทั่วโลกว่าเกิดอะไรขึ้นกับ ‘เรือดำน้ำไททัน’ ที่มุ่งตรงไปยังซากเรือไททานิคได้สูญหายไปตั้งแต่วันอาทิตย์ (18 มิ.ย.) ที่ผ่านมา จนกระทั่งวันนี้เข้าสู่วันที่ 5 แล้วแต่ดูเหมือนว่าโอกาสในการเจอเรือดำน้ำดังกล่าวจะริบหรี่ลงเรื่อยๆ เมื่อออกซิเจนภายในเรือที่คาดว่าจะหมดลงในเวลา 12.08 น. ตามเวลาอังกฤษ (18.08 น. เวลาไทย)ผู้เชี่ยวชาญได้ตั้งสมมติฐานท่ามกลางการค้นหาที่ยังคงดำเนินต่อไปเพื่อช่วยผู้โดยสารทั้ง 5 คน ซึ่งเดินทางไปชมซากปรักหักพังเรือไททานิค แต่หลังจากนั้นพวกเขาก็ขาดการติดต่อกับเรือสำรวจของแคนาดา ‘Polar Prince’
“ผมคิดว่าสิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่านี่เป็นภารกิจที่รุนแรงมาก มันไม่ใช่เรื่องปกติสำหรับการท่องเที่ยวดำน้ำลึก” โอเฟอร์ เคตเตอร์ นักบินเรือดำน้ำและผู้เชี่ยวชาญกล่าว
ทว่าเวลาเหลือน้อยลงทุกทีแล้วสำหรับผู้โดยสาร “เรือดำน้ำเริ่มออกเดินทางด้วยออกซิเจนประมาณ 96 ชั่วโมง จนถึงวันพุธ (21 มิ.ย.) ออกซิเจนก็จะลดลงจนเหลือน้อยกว่า 24 ชั่วโมงในการค้นหาเรือ” เจมี เฟรเดอริก กัปตันหน่วยยามฝั่งสหรัฐกล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันอังคาร (20 มิ.ย.) ที่ผ่านมา
ต่อไปนี้คือ 5 ทฤษฎีที่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าสามารถอธิบาย ‘สิ่งที่เกิดขึ้นกับไททัน’ ได้
1. เป็นไปได้ว่าเรืออาจจะ ‘ระเบิด’ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าหากเรือระเบิดขึ้นจริง “นี่อาจเป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด เพราะไม่มีเหยื่อคนใดเลยที่จะรอดชีวิตจากเหตุการณ์ที่หลายคนเรียกว่าเป็น ‘หายนะ’”
การระเบิดน่าจะเกิดจากความล้มเหลวของแรงดันในตัวเรือ “ระบบแรงดันล้มเหลวอย่างรุนแรงจะเหมือนระเบิดลูกเล็กๆ ที่ปะทุขึ้น” สเตฟาน บี. วิลเลียมส์ ศาสตราจารย์ด้านวิทยาการหุ่นยนต์ทางทะเลแห่งมหาวิทยาลัยซิดนีย์ในออสเตรเลียกล่าว
“แม้ว่าตัวถังประกอบของไททันจะถูกสร้างขึ้นให้ทนทานต่อแรงกดดันจากใต้ทะเลลึก แต่ข้อบกพร่องใดๆ ในรูปร่างหรือโครงสร้างของมันอาจส่งผลต่อความสมบูรณ์ของมัน ซึ่งในกรณีนี้อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดการระเบิดได้” วิลเลียมส์เขียนในบล็อกโพสต์บนเว็บไซต์สื่อ The Conversation
ขณะที่ ดร.เดวิด กัลโล ที่ปรึกษาอาวุโสของบริษัทเจ้าของเรือไททานิค RMS Titanic Inc. ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Sky News ว่า “การระเบิดอย่างรุนแรงของตัวเรือดำน้ำเองนั้นน่ากลัวมาก” ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ดร.กัลโลก็เชื่อว่าการระเบิดเป็นสาเหตุที่เป็นไปได้มากที่สุดของการสูญหายไปของเรือดำน้ำ “ผมไม่รู้ว่าเรือจะหายไปอย่างรวดเร็วได้อย่างไร” เขากล่าวเสริม
2. เกิด ‘เปลวไฟ’

แม้จะอยู่ใต้น้ำ แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่ไฟอาจลุกลามภายในเรือและอาจสร้างหายนะได้หลายวิธี
อีริค ฟูซิล รองศาสตราจารย์และผู้อำนวยการศูนย์การต่อเรือแห่งมหาวิทยาลัยแอดิเลดกล่าวว่า “ไฟสามารถสร้างควันพิษที่อาจทำให้ลูกเรือหมดสติได้”
“นอกจากนี้ เปลวไฟยังอาจทำลายระบบอิเล็กทรอนิกส์ของยานพาหนะที่ใช้สำหรับการนำทางและการควบคุม…ไฟเป็นเหตุการณ์ร้ายแรงในสภาพแวดล้อมใต้น้ำที่ถูกปิดล้อม” วิลเลียมส์กล่าวเสริมในบล็อกโพสต์ของเขา
3. หรือเรืออาจ ‘สูญหายไปที่พื้นผิวทะเล’
อีริค ฟูซิล รองศาสตราจารย์และผู้อำนวยการศูนย์การต่อเรือแห่งมหาวิทยาลัยแอดิเลดกล่าวว่า “ไฟสามารถสร้างควันพิษที่อาจทำให้ลูกเรือหมดสติได้”
“นอกจากนี้ เปลวไฟยังอาจทำลายระบบอิเล็กทรอนิกส์ของยานพาหนะที่ใช้สำหรับการนำทางและการควบคุม…ไฟเป็นเหตุการณ์ร้ายแรงในสภาพแวดล้อมใต้น้ำที่ถูกปิดล้อม” วิลเลียมส์กล่าวเสริมในบล็อกโพสต์ของเขา
3. หรือเรืออาจ ‘สูญหายไปที่พื้นผิวทะเล’

เป็นไปได้ว่าเรือดำน้ำไททันอาจกำลังลอยอยู่ที่ไหนสักแห่งบนผิวน้ำของมหาสมุทรแอตแลนติกและยังไม่มีใครพบเห็น
แม้ว่านี่จะเป็นหนึ่งในสถานการณ์ที่ดีที่สุด แต่ผู้โดยสารก็ยังมีความเสี่ยงที่ออกซิเจนจะหมด เนื่องจากเรือถูกล็อคจากด้านนอก และผู้โดยสารไม่สามารถเปิดประตูจากด้านในได้
“คุณออกไปไม่ได้เว้นแต่จะมีใครมาปลดล็อคจากข้างนอกให้” เฟรด ฮาเกน ผู้ซึ่งเคยเยี่ยมชมซากเรือไททานิคบนเรือดำน้ำไททันมาก่อนกล่าว
4. จมหายไป ‘ใต้ทะเล’
อีกหนึ่งความเป็นไปได้ที่ผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐาน คือ เรือดำน้ำไททันอาจจมหายไปที่ก้นมหาสมุทร ซึ่งดูจะเป็นสถานการณ์ที่น่ากังวลมากเหมือนกัน
เคตเตอร์ กล่าวว่า “ไฟดับอาจเป็นตัวอย่างหนึ่งของความล้มเหลวทางกลไกหรือทางเทคนิคอย่างร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นภายในเรือดำน้ำ ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสาร ‘หมดสติ’ เนื่องจากระดับออกซิเจนในห้องโดยสารต่ำ”
การแถลงข่าวเมื่อวันพุธ (21 มิ.ย.) ที่ผ่านมา กัปตันเจมียืนยันถึงรายงานก่อนหน้านี้ที่ระบุว่าเครื่องบินลาดตะเวน Canadian P-3 ตรวจพบเสียงใต้น้ำขณะที่กำลังค้นหาเรือดำน้ำ
กัปตันเจมีกล่าวว่า “Canadian P-3 หลายลำได้ยินเสียงใต้น้ำ ทว่าการค้นหาพื้นที่ดังกล่าวด้วยระบบยานสำรวจใต้น้ำ (ROV) เบื้องต้นให้ผลลัพธ์ในทางลบ แต่ลูกเรือยังคงหวังว่าจะพบเรือดำน้ำที่หายไปก่อนที่ออกซิเจนจะหมด…นี่เป็นภารกิจค้นหาและกู้ภัย 100%”
5. ติดอยู่ใน ‘ซากเรือไททานิค’
แม้ว่านี่จะเป็นหนึ่งในสถานการณ์ที่ดีที่สุด แต่ผู้โดยสารก็ยังมีความเสี่ยงที่ออกซิเจนจะหมด เนื่องจากเรือถูกล็อคจากด้านนอก และผู้โดยสารไม่สามารถเปิดประตูจากด้านในได้
“คุณออกไปไม่ได้เว้นแต่จะมีใครมาปลดล็อคจากข้างนอกให้” เฟรด ฮาเกน ผู้ซึ่งเคยเยี่ยมชมซากเรือไททานิคบนเรือดำน้ำไททันมาก่อนกล่าว
4. จมหายไป ‘ใต้ทะเล’
อีกหนึ่งความเป็นไปได้ที่ผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐาน คือ เรือดำน้ำไททันอาจจมหายไปที่ก้นมหาสมุทร ซึ่งดูจะเป็นสถานการณ์ที่น่ากังวลมากเหมือนกัน
เคตเตอร์ กล่าวว่า “ไฟดับอาจเป็นตัวอย่างหนึ่งของความล้มเหลวทางกลไกหรือทางเทคนิคอย่างร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นภายในเรือดำน้ำ ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสาร ‘หมดสติ’ เนื่องจากระดับออกซิเจนในห้องโดยสารต่ำ”
การแถลงข่าวเมื่อวันพุธ (21 มิ.ย.) ที่ผ่านมา กัปตันเจมียืนยันถึงรายงานก่อนหน้านี้ที่ระบุว่าเครื่องบินลาดตะเวน Canadian P-3 ตรวจพบเสียงใต้น้ำขณะที่กำลังค้นหาเรือดำน้ำ
กัปตันเจมีกล่าวว่า “Canadian P-3 หลายลำได้ยินเสียงใต้น้ำ ทว่าการค้นหาพื้นที่ดังกล่าวด้วยระบบยานสำรวจใต้น้ำ (ROV) เบื้องต้นให้ผลลัพธ์ในทางลบ แต่ลูกเรือยังคงหวังว่าจะพบเรือดำน้ำที่หายไปก่อนที่ออกซิเจนจะหมด…นี่เป็นภารกิจค้นหาและกู้ภัย 100%”
5. ติดอยู่ใน ‘ซากเรือไททานิค’

มีความเป็นไปได้อีกเช่นกันว่าเรือดำน้ำลำดังกล่าวอาจไปติดค้างอยู่ที่ไหนสักแห่งในซากเรือไททานิค ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาก่อนกับเรือลำอื่น “เหตุการณ์นี้ไม่น่าเป็นไปได้ แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้” วิลเลียมส์กล่าว
แฟรงก์ โอเว่น อดีตเจ้าหน้าที่กองทัพเรือออสเตรเลียซึ่งทำงานเป็นผู้อำนวยการโครงการกู้ภัยเรือดำน้ำกล่าวว่า “เศษซากจากภัยพิบัติปกคลุมไปทั่วพื้นมหาสมุทรซึ่งมันอันตราย”
ด้าน ไมเคิล กิลเลน นักข่าวของ ABC News ผู้เคยอยู่บนเรือดำน้ำของรัสเซียเมื่อเดือนกันยายน 2000 ซึ่งเรือติดอยู่ภายในซากปรักหักพังหลังจากกระแสน้ำพัดเข้าไปติดในใบพัดของเรือไททานิค
กิลเลนเล่าวว่า ช่วงเวลานั้นเขากลัวมาก เขาและคนอื่นๆ อยู่ในความเงียบเกือบชั่วโมง ในขณะที่นักบินพยายามที่จะเคลื่อนเรือออกจากตำแหน่งที่ติดอยู่ จนในที่สุดเรือดำน้ำก็หลุดออกมาจากเศษซากได้
“ผมจำได้อย่างแม่นยำว่าเสียงนี้เข้ามาในหัวของผม และผมจะไม่มีวันลืมมันไปตลอดชีวิต เสียงนั้นพูดว่า ‘ทุกอย่างกำลังจะจบลง'” กิลเลนกล่าวทิ้งท้าย
แฟรงก์ โอเว่น อดีตเจ้าหน้าที่กองทัพเรือออสเตรเลียซึ่งทำงานเป็นผู้อำนวยการโครงการกู้ภัยเรือดำน้ำกล่าวว่า “เศษซากจากภัยพิบัติปกคลุมไปทั่วพื้นมหาสมุทรซึ่งมันอันตราย”
ด้าน ไมเคิล กิลเลน นักข่าวของ ABC News ผู้เคยอยู่บนเรือดำน้ำของรัสเซียเมื่อเดือนกันยายน 2000 ซึ่งเรือติดอยู่ภายในซากปรักหักพังหลังจากกระแสน้ำพัดเข้าไปติดในใบพัดของเรือไททานิค
กิลเลนเล่าวว่า ช่วงเวลานั้นเขากลัวมาก เขาและคนอื่นๆ อยู่ในความเงียบเกือบชั่วโมง ในขณะที่นักบินพยายามที่จะเคลื่อนเรือออกจากตำแหน่งที่ติดอยู่ จนในที่สุดเรือดำน้ำก็หลุดออกมาจากเศษซากได้
“ผมจำได้อย่างแม่นยำว่าเสียงนี้เข้ามาในหัวของผม และผมจะไม่มีวันลืมมันไปตลอดชีวิต เสียงนั้นพูดว่า ‘ทุกอย่างกำลังจะจบลง'” กิลเลนกล่าวทิ้งท้าย