ไม่กี่วันก่อน องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ได้เผยแพร่รายงานที่บ่งชี้ว่า ประชากรทั่วโลกเพิ่มขึ้นมาเป็ย 8,000 ล้านคนแล้วในปี 2022 ในช่วงเวลา 11 ปีมานี้ แต่ถึงแม้ว่าจำนวนประชากรโลกจะมีมากถึง 8,000 ล้านคน แต่ในภาพรวมแล้วอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง
ในรายงานชิ้นนี้ ระบุว่า จีน ยังครองแชมป์อันดับ 1 โดยมีจำนวน 1,425 ล้านคน อินดีย 1,420 ล้านคน และสหรัฐฯ 338 ล้านคน ซึ่งยูเอ็นคาดการณ์ว่า อินเดียจะแซงจีนขึ้นมาเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลกในปี 2023 นี้ โดยคาดว่าจีนจะมีประชากรลดลงในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า
ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียและแอฟริกายังมีอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรมาก และคาดว่าประชากรของยุโรปจะลดลงแต่ถึงแม้ว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกจะอยู่ในลักษณะที่ชะลอตัวลงมาก แต่อายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์ยืนยาวมากขึ้น โดยอายุขัยเฉลี่ยประชากรทั่วโลกอยู่ที่ 72.8 ปีในปี 2019 เพิ่มขึ้นเกือบ 9 ปี นับตั้งแต่ปี 1990
ทั้งยังคาดว่าอายุขัยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 77.2 ปี ภายในปี 2050 และนี่คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในช่วงห้าทศวรรษที่ผ่านมา จากประชากรโลกที่มี 4,000 ล้านคนในปี 1974 และใช้เวลาแค่สิบกว่าปีนิดหน่อยโลกก็จะมีประชากรเพิ่มพันล้านคน
หลังจากที่มีจำนวนประชากรถึง 7,000 ล้านคนในปี 2011 ยูเอ็นก็คาดการณ์ว่า จำนวนประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นถึงจุดสูงสุดที่ 1.04 หมื่นล้านคนในช่วงปี 2080 และจะคงอยู่ในระดับนี้ไปจนเข้าสู่ช่วงปี 2097
ในรายงานชิ้นนี้ ระบุว่า จีน ยังครองแชมป์อันดับ 1 โดยมีจำนวน 1,425 ล้านคน อินดีย 1,420 ล้านคน และสหรัฐฯ 338 ล้านคน ซึ่งยูเอ็นคาดการณ์ว่า อินเดียจะแซงจีนขึ้นมาเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลกในปี 2023 นี้ โดยคาดว่าจีนจะมีประชากรลดลงในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า
ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียและแอฟริกายังมีอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรมาก และคาดว่าประชากรของยุโรปจะลดลงแต่ถึงแม้ว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกจะอยู่ในลักษณะที่ชะลอตัวลงมาก แต่อายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์ยืนยาวมากขึ้น โดยอายุขัยเฉลี่ยประชากรทั่วโลกอยู่ที่ 72.8 ปีในปี 2019 เพิ่มขึ้นเกือบ 9 ปี นับตั้งแต่ปี 1990
ทั้งยังคาดว่าอายุขัยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 77.2 ปี ภายในปี 2050 และนี่คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในช่วงห้าทศวรรษที่ผ่านมา จากประชากรโลกที่มี 4,000 ล้านคนในปี 1974 และใช้เวลาแค่สิบกว่าปีนิดหน่อยโลกก็จะมีประชากรเพิ่มพันล้านคน
หลังจากที่มีจำนวนประชากรถึง 7,000 ล้านคนในปี 2011 ยูเอ็นก็คาดการณ์ว่า จำนวนประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นถึงจุดสูงสุดที่ 1.04 หมื่นล้านคนในช่วงปี 2080 และจะคงอยู่ในระดับนี้ไปจนเข้าสู่ช่วงปี 2097

ยูเอ็นบอกว่าในปี 2020 ที่โลกเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อัตราการเติบโตของประชากรโลกลดลงต่ำกว่า 1% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1950 และปัจจุบันอัตราการเกิดของประชากรอยู่ที่ 2.3 คนต่อผู้หญิงหนึ่งคน ลดลงจากการเกิดโดยเฉลี่ย 5 คนในปี1950 ขณะเดียวกันก็คาดการณ์ว่าในปี 2050 อัตราการเกิดจะลดลงเล็กน้อยเหลือ 2.1 คน
การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลกถือเป็นความท้าทายอย่างมาก เนื่องจากผู้คนหลายพันล้านคนยังต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด ท่ามกลางสารพัดปัญหาที่ต้องรับมือ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทรัพยากรบนโลกที่ลดลงเรื่อยๆ ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าเทียมกัน การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ความอดอยาก สงคราม และปัญหาเศรษฐกิจ
รายงานของยูเอ็นระบุว่า ระดับการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการประเมินจำนวนประชากรโลกในอนาคต โดยมีหน่วยงาน 3 หน่วยงานที่คาดการณ์ตัวเลขเรื่องนี้ นั่นคือ ยูเอ็นสถาบันเพื่อการวัดและประเมินผลด้านสุขภาพ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน และศูนย์ IIASA-Wittgenstein ในกรุงเวียนนา
อย่างไรก็ตาม ขณะที่ยูเอ็นบอกว่าประชากรโลกจะเพิ่มสูงสุดเมื่อถึงทศวรรษ 2080 โดยอยู่ที่ 1.4 หมื่นล้านคน สถาบันเพื่อการวัดและประเมินผลด้านสุขภาพ และศูนย์ IIASA-Wittgenstein กลับเชื่อว่าจะเกิดขึ้นเร็วกว่านั้น โดยจะอยู่ที่น้อยกว่า 1 หมื่นล้านคน ระหว่างทศวรรษ 2060 ถึง 2070
แต่ก็เป็นแค่การคาดการณ์เท่านั้น เพราะมีความเปลี่ยนแปลงมากมายเกิดขึ้นบนโลกอย่างที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน
“เราไม่ได้คาดคิดว่าอัตราการเสียชีวิตจากโรคเอดส์จะน้อยลงมาก และไม่ได้คาดคิดว่าการแพทย์จะช่วยชีวิตคนไว้ได้มากขนาดนี้” ซาเมีย เคซี นักประชากรศาสตร์ที่ศูนย์ IIASA กล่าว โดยเขาต้องเปลี่ยนสูตรคำนวณเพราะอัตราการเสียชีวิตในเด็กที่ดีขึ้นทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในระยะยาว เพราะเด็กที่รอดชีวิตมาก็จะโตขึ้นและไปมีลูกเป็นของตัวเอง
นอกจากนี้ นักประชากรศาสตร์ยังพบข้อมูลที่น่าตกใจคือการที่คนมีลูกกันน้อยลงมาก เช่นในเกาหลีใต้ ผู้หญิงมีลูกโดยเฉลี่ยแค่ 0.81 คน ถือเป็นปัญหาที่เกาหลีใต้และอีกหลายประเทศต้องรับมือ
รายงานระบุว่า ครึ่งหนึ่งของประชากรเกิดใหม่ 1,000 ล้านคนจะมาจากแค่ 8 ประเทศ ส่วนใหญ่เป็นประเทศในแอฟริกา ขณะที่ในประเทศส่วนใหญ่ผู้หญิงจะมีลูกน้อยลงโดยเฉลี่ยต่ำว่า 2.1 คนต่อผู้หญิงหนึ่งคน เป็นอัตราที่จำเป็นในการรักษาจำนวนประชากรให้คงที่
บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาเป็นประเทศที่ประชากรเพิ่มขึ้นช้าที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง ซึ่ง ‘แอดนาน เมวิก’ ชายวัย 23 ปี กังวลใจเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างมาก และบอกว่าต่อไปจะไม่มีคนหนุ่มสาวคอยจ่ายเงินบำนาญให้กับคนวัยเกษียณและคนหนุ่มสาวก็จะหายไปหมด
ขณะที่คาดว่าส่วนแบ่งของประชากรโลกที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปจะเพิ่มขึ้นจาก 10% ในปี 2022 เป็น 16% ในปี 2050 ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้นคาดว่าจำนวนผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปทั่วโลกจะมากกว่าจำนวนเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีถึง 2 เท่า และใกล้เคียงกันกับจำนวนเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี
ยูเอ็นยังแนะนำให้ประเทศที่มีประชากรสูงอายุดำเนินการปรับแผนงานสาธารณะให้เข้ากับจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น รวมถึงจัดตั้งระบบการดูแลสุขภาพถ้วนหน้า ระบบการดูแลระยะยาว และการปรับปรุงความยั่งยืนของระบบประกันสังคมและระบบบำเหน็จบำนาญ
การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลกถือเป็นความท้าทายอย่างมาก เนื่องจากผู้คนหลายพันล้านคนยังต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด ท่ามกลางสารพัดปัญหาที่ต้องรับมือ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทรัพยากรบนโลกที่ลดลงเรื่อยๆ ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าเทียมกัน การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ความอดอยาก สงคราม และปัญหาเศรษฐกิจ
รายงานของยูเอ็นระบุว่า ระดับการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการประเมินจำนวนประชากรโลกในอนาคต โดยมีหน่วยงาน 3 หน่วยงานที่คาดการณ์ตัวเลขเรื่องนี้ นั่นคือ ยูเอ็นสถาบันเพื่อการวัดและประเมินผลด้านสุขภาพ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน และศูนย์ IIASA-Wittgenstein ในกรุงเวียนนา
อย่างไรก็ตาม ขณะที่ยูเอ็นบอกว่าประชากรโลกจะเพิ่มสูงสุดเมื่อถึงทศวรรษ 2080 โดยอยู่ที่ 1.4 หมื่นล้านคน สถาบันเพื่อการวัดและประเมินผลด้านสุขภาพ และศูนย์ IIASA-Wittgenstein กลับเชื่อว่าจะเกิดขึ้นเร็วกว่านั้น โดยจะอยู่ที่น้อยกว่า 1 หมื่นล้านคน ระหว่างทศวรรษ 2060 ถึง 2070
แต่ก็เป็นแค่การคาดการณ์เท่านั้น เพราะมีความเปลี่ยนแปลงมากมายเกิดขึ้นบนโลกอย่างที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน
“เราไม่ได้คาดคิดว่าอัตราการเสียชีวิตจากโรคเอดส์จะน้อยลงมาก และไม่ได้คาดคิดว่าการแพทย์จะช่วยชีวิตคนไว้ได้มากขนาดนี้” ซาเมีย เคซี นักประชากรศาสตร์ที่ศูนย์ IIASA กล่าว โดยเขาต้องเปลี่ยนสูตรคำนวณเพราะอัตราการเสียชีวิตในเด็กที่ดีขึ้นทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในระยะยาว เพราะเด็กที่รอดชีวิตมาก็จะโตขึ้นและไปมีลูกเป็นของตัวเอง
นอกจากนี้ นักประชากรศาสตร์ยังพบข้อมูลที่น่าตกใจคือการที่คนมีลูกกันน้อยลงมาก เช่นในเกาหลีใต้ ผู้หญิงมีลูกโดยเฉลี่ยแค่ 0.81 คน ถือเป็นปัญหาที่เกาหลีใต้และอีกหลายประเทศต้องรับมือ
รายงานระบุว่า ครึ่งหนึ่งของประชากรเกิดใหม่ 1,000 ล้านคนจะมาจากแค่ 8 ประเทศ ส่วนใหญ่เป็นประเทศในแอฟริกา ขณะที่ในประเทศส่วนใหญ่ผู้หญิงจะมีลูกน้อยลงโดยเฉลี่ยต่ำว่า 2.1 คนต่อผู้หญิงหนึ่งคน เป็นอัตราที่จำเป็นในการรักษาจำนวนประชากรให้คงที่
บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาเป็นประเทศที่ประชากรเพิ่มขึ้นช้าที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง ซึ่ง ‘แอดนาน เมวิก’ ชายวัย 23 ปี กังวลใจเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างมาก และบอกว่าต่อไปจะไม่มีคนหนุ่มสาวคอยจ่ายเงินบำนาญให้กับคนวัยเกษียณและคนหนุ่มสาวก็จะหายไปหมด
ขณะที่คาดว่าส่วนแบ่งของประชากรโลกที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปจะเพิ่มขึ้นจาก 10% ในปี 2022 เป็น 16% ในปี 2050 ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้นคาดว่าจำนวนผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปทั่วโลกจะมากกว่าจำนวนเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีถึง 2 เท่า และใกล้เคียงกันกับจำนวนเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี
ยูเอ็นยังแนะนำให้ประเทศที่มีประชากรสูงอายุดำเนินการปรับแผนงานสาธารณะให้เข้ากับจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น รวมถึงจัดตั้งระบบการดูแลสุขภาพถ้วนหน้า ระบบการดูแลระยะยาว และการปรับปรุงความยั่งยืนของระบบประกันสังคมและระบบบำเหน็จบำนาญ
