ชาวเกาหลีใต้กว่า 56% 'สนับสนุน' การพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์เพื่อตอบโต้ภัยคุกคามนิวเคลียร์ที่ทวีความรุนแรงขึ้นของเกาหลีเหนือ
การสำรวจผู้ใหญ่ 1,008 คน ซึ่งจัดทำโดย Realmeter เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว พบว่า 56.5% ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่า พวกเขาสนับสนุนการสร้างอาวุธนิวเคลียร์ของตัวเอง และประเด็นนี้จำเป็นต้องได้รับการหารือในการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดียุนซอกยอล และประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐฯ
ในทางตรงกันข้าม 40.8% ระบุว่า พวกเขาต่อต้านการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์
เมื่อถูกถามว่าทำไมพวกเขาถึงสนับสนุนการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ กว่า 45.2% ตอบว่าเกาหลีใต้ควร 'เผชิญหน้า' ภัยคุกคามนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ
เมื่อถามถึงเหตุผลในการต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์กว่า 44.2% ระบุว่า จะกระตุ้นให้เกาหลีใต้ได้รับผลกระทบจากการคว่ำบาตรจากทั่วโลก หากเกาหลีใต้เดินหน้าผลิตอาวุธนิวเคลียร์ที่ผลิตในประเทศ อย่างไรก็ตามแบบทดสอบดังกล่าวมีระดับความเชื่อมั่น 95%
ยุนมีกำหนดจะออกเดินทางไปสหรัฐฯ ในวันจันทร์นี้ เพื่อเยือนรัฐเป็นเวลา 6 วัน เนื่องในวันครบรอบ 70 ปีของการเป็นพันธมิตรของทั้ง 2 ประเทศ โดยประเด็นภัยคุกคามนิวเคลียร์และขีปนาวุธของเกาหลีเหนืออยู่ในวาระการประชุม
แนวคิดนี้ได้ขยายไปเป็นกระแสหลักในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา แม้แต่ประธานาธิบดียุนเองก็ได้ยกความเป็นไปได้นี้ขึ้นมาถกในระหว่างการประชุมด้านกลาโหม ทำให้ยุนกลายเป็นประธานาธิบดีคนเดียวที่เสนอตัวเลือกนี้ ขณะที่ประชาชนกว่า 3 ใน 4 สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว โดยมีความกังวลเพิ่มมากขึ้นจากสถานการณ์ในเกาหลีเหนือ
ก่อนหน้านี้ เกาหลีใต้เสนอแนวคิดในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ในช่วงทศวรรษ 1970 เมื่อดำเนินโครงการลับ แต่เมื่อสหรัฐฯ รู้เข้า ก็ได้ยื่นคำขาดว่า เกาหลีใต้สามารถดำเนินการต่อไป หรือให้สหรัฐฯ ปกป้องแบบเต็มกำลังจากคลังแสงนิวเคลียร์ที่มีอยู่ ซึ่งเกาหลีใต้ได้เลือกการสนับสนุนจากสหรัฐฯ และจนถึงทุกวันนี้กองทหารสหรัฐฯ หลายหมื่นนายยังคงประจำการอยู่บนคาบสมุทรเกาหลี
ตั้งแต่นั้นมาสถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ได้เปลี่ยนไปอย่างมาก เกาหลีเหนือกำลังสร้างอาวุธนิวเคลียร์ที่ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสามารถกำหนดเป้าหมายเมืองต่างๆ ทั่วสหรัฐฯ ได้
สหรัฐฯ จะยังคงปกป้องเกาหลีใต้อยู่หรือไม่?
ขณะที่เมื่อเดือนก่อน (มีนาคม) นายยกรัฐมนตรี ฮันดัคซู กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับ CNN ว่า เกาหลีใต้ไม่ต้องการอาวุธนิวเคลียร์ในการยับยั้งภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือ แม้ว่าความคิดเห็นของสาธารณชนจะเปลี่ยนไปในทางตรงกันข้ามท่ามกลางการแข่งขันด้านอาวุธที่เร่งตัวขึ้นของเอเชีย
อย่างไรก็ตามฮันยืนยันว่า ประเทศนี้ (เกาหลีใต้) มีคลังอาวุธมากพอที่จะขัดขวาง 'ความทะเยอทะยานที่ชั่วร้าย' ของเกาหลีเหนือและการพัฒนาขีดความสามารถด้านนิวเคลียร์ไม่ใช่ 'วิธีที่ถูกต้อง'
ฮันกล่าวว่า จีนเป็นผู้มีบทบาทรายใหญ่และมีความสำคัญระดับโลก รวมถึงเกาหลีด้วย ผมคิดว่าหลายๆ ประเทศอยากเห็นจีนปฏิบัติตามกฎระเบียบระดับโลกมากขึ้น
เขากล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ว่าจีนจะมีส่วนร่วมอย่างมากในการแก้ปัญหาระดับโลก แต่จีนมักจะไม่เป็นไปตามความคาดหวังที่หลายๆ ประเทศต้องการ ตัวอย่างเช่น เราหวังว่าจีนจะก้าวร้าวและแข็งขันมากขึ้นในลดความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี
เป็นเวลาหลายปีที่จีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของเกาหลีเหนือและเป็นเส้นทางเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยเกาหลีเหนือถูกคว่ำบาตรจากหลายๆ ประเทศทั่วโลก
การสำรวจผู้ใหญ่ 1,008 คน ซึ่งจัดทำโดย Realmeter เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว พบว่า 56.5% ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่า พวกเขาสนับสนุนการสร้างอาวุธนิวเคลียร์ของตัวเอง และประเด็นนี้จำเป็นต้องได้รับการหารือในการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดียุนซอกยอล และประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐฯ
ในทางตรงกันข้าม 40.8% ระบุว่า พวกเขาต่อต้านการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์
เมื่อถูกถามว่าทำไมพวกเขาถึงสนับสนุนการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ กว่า 45.2% ตอบว่าเกาหลีใต้ควร 'เผชิญหน้า' ภัยคุกคามนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ
เมื่อถามถึงเหตุผลในการต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์กว่า 44.2% ระบุว่า จะกระตุ้นให้เกาหลีใต้ได้รับผลกระทบจากการคว่ำบาตรจากทั่วโลก หากเกาหลีใต้เดินหน้าผลิตอาวุธนิวเคลียร์ที่ผลิตในประเทศ อย่างไรก็ตามแบบทดสอบดังกล่าวมีระดับความเชื่อมั่น 95%
ยุนมีกำหนดจะออกเดินทางไปสหรัฐฯ ในวันจันทร์นี้ เพื่อเยือนรัฐเป็นเวลา 6 วัน เนื่องในวันครบรอบ 70 ปีของการเป็นพันธมิตรของทั้ง 2 ประเทศ โดยประเด็นภัยคุกคามนิวเคลียร์และขีปนาวุธของเกาหลีเหนืออยู่ในวาระการประชุม
ทำไมชาวเกาหลีใต้ถึงต้องการนิวเคลียร์?
ที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งชั้นใต้ดินในกรุงโซล กลุ่มชาวเกาหลีใต้มารวมตัวกันเพื่อรับประทานอาหารกลางวันอย่างลับๆ ซึ่งในจำนวนนี้มีทั้งนักการเมือง นักวิทยาศาสตร์ และทหาร ซึ่งบางคนมีความละเอียดอ่อนเกินกว่าจะเปิดเผยตัวตนได้ นี่คือการประชุมของ Forum for Nuclear Strategy ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อวางแผนว่าเกาหลีใต้จะพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ได้อย่างไรแนวคิดนี้ได้ขยายไปเป็นกระแสหลักในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา แม้แต่ประธานาธิบดียุนเองก็ได้ยกความเป็นไปได้นี้ขึ้นมาถกในระหว่างการประชุมด้านกลาโหม ทำให้ยุนกลายเป็นประธานาธิบดีคนเดียวที่เสนอตัวเลือกนี้ ขณะที่ประชาชนกว่า 3 ใน 4 สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว โดยมีความกังวลเพิ่มมากขึ้นจากสถานการณ์ในเกาหลีเหนือ
ก่อนหน้านี้ เกาหลีใต้เสนอแนวคิดในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ในช่วงทศวรรษ 1970 เมื่อดำเนินโครงการลับ แต่เมื่อสหรัฐฯ รู้เข้า ก็ได้ยื่นคำขาดว่า เกาหลีใต้สามารถดำเนินการต่อไป หรือให้สหรัฐฯ ปกป้องแบบเต็มกำลังจากคลังแสงนิวเคลียร์ที่มีอยู่ ซึ่งเกาหลีใต้ได้เลือกการสนับสนุนจากสหรัฐฯ และจนถึงทุกวันนี้กองทหารสหรัฐฯ หลายหมื่นนายยังคงประจำการอยู่บนคาบสมุทรเกาหลี
ตั้งแต่นั้นมาสถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ได้เปลี่ยนไปอย่างมาก เกาหลีเหนือกำลังสร้างอาวุธนิวเคลียร์ที่ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสามารถกำหนดเป้าหมายเมืองต่างๆ ทั่วสหรัฐฯ ได้
สหรัฐฯ จะยังคงปกป้องเกาหลีใต้อยู่หรือไม่?
ขณะที่เมื่อเดือนก่อน (มีนาคม) นายยกรัฐมนตรี ฮันดัคซู กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับ CNN ว่า เกาหลีใต้ไม่ต้องการอาวุธนิวเคลียร์ในการยับยั้งภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือ แม้ว่าความคิดเห็นของสาธารณชนจะเปลี่ยนไปในทางตรงกันข้ามท่ามกลางการแข่งขันด้านอาวุธที่เร่งตัวขึ้นของเอเชีย
อย่างไรก็ตามฮันยืนยันว่า ประเทศนี้ (เกาหลีใต้) มีคลังอาวุธมากพอที่จะขัดขวาง 'ความทะเยอทะยานที่ชั่วร้าย' ของเกาหลีเหนือและการพัฒนาขีดความสามารถด้านนิวเคลียร์ไม่ใช่ 'วิธีที่ถูกต้อง'
บทบาทของจีน
ฮันยังกล่าวถึงบทบาทของจีนว่า มหาอำนาจนี้ไม่ใช่ประเทศอย่างที่เคยเป็นในทศวรรษที่ผ่านมาซึ่งนำไปสู่การปฏิรูปเศรษฐกิจและการเปิดเสรีฮันกล่าวว่า จีนเป็นผู้มีบทบาทรายใหญ่และมีความสำคัญระดับโลก รวมถึงเกาหลีด้วย ผมคิดว่าหลายๆ ประเทศอยากเห็นจีนปฏิบัติตามกฎระเบียบระดับโลกมากขึ้น
เขากล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ว่าจีนจะมีส่วนร่วมอย่างมากในการแก้ปัญหาระดับโลก แต่จีนมักจะไม่เป็นไปตามความคาดหวังที่หลายๆ ประเทศต้องการ ตัวอย่างเช่น เราหวังว่าจีนจะก้าวร้าวและแข็งขันมากขึ้นในลดความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี
เป็นเวลาหลายปีที่จีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของเกาหลีเหนือและเป็นเส้นทางเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยเกาหลีเหนือถูกคว่ำบาตรจากหลายๆ ประเทศทั่วโลก