‘ทิชชู่เปียก’ ปัญหามลพิษเรื้อรัง ที่อังกฤษสั่งแบน!

12 เมษายน 2566 - 08:47

Alternatives-to-wet-wipes-SPACEBAR-Thumbnail
  • กระดาษทิชชู่เปียกที่มีส่วนประกอบของพลาสติกจะถูกแบนในอังกฤษภายใต้แผนการจัดการกับมลพิษทางน้ำ โดยคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปีหน้า

เทียเรส คอฟฟีย์ รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมอังกฤษ กล่าวว่า กระดาษทิชชู่เปียกที่มีส่วนประกอบของพลาสติกจะถูกแบนในอังกฤษภายใต้แผนการจัดการกับมลพิษทางน้ำ ซึ่งการห้ามใช้กระดาษทิชชู่เปียกเช็ดทำความสะอาดที่ทำจากพลาสติกควรมีผลบังคับใช้ในปีหน้า หลังการปรึกษาหารือ 

มาตรการดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของแผนการที่กว้างขึ้นในการปรับปรุงคุณภาพน้ำในอังกฤษ ซึ่งไม่มีแม่น้ำหรือทางน้ำใดที่ถือว่าสะอาด 

ตามรายงานของ Water UK ซึ่งเป็นตัวแทนของอุตสาหกรรมน้ำ ระบุว่า ทิชชู่เปียกที่ถูกทิ้งลงชักโครกทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำทิ้งถึง 93% ซึ่งรวมถึงสิ่งที่เรียกว่า ภูเขาไขมัน (fatbergs) และมีค่าใช้จ่ายประมาณ 100 ล้านปอนด์ หรือราว 4.2 พันล้านบาทต่อปีในการทำความสะอาด  

ในปี 2021 ประมาณ 90% ของกระดาษเช็ดทำความสะอาดมีส่วนผสมของพลาสติก แม้ว่าตอนนี้จะมีทางเลือกอื่นมากมายให้เลือกซื้อ แต่พลาสติกจะไม่สลายตัว เมื่อเวลาผ่านไปทิชชู่เปียกเหล่านี้จะติดแน่นเป็นก้อนทำให้สิ่งปฏิกูลต่างๆ ไม่สามารถเคลื่อนผ่านท่อได้ 

คอฟฟีย์ กล่าวว่า ข้อเสนอของเราคือการแบนพลาสติกจากทิชชู่เปียกโดยจะต้องมีการปรึกษาหารือสั้นๆ ก่อน เพื่อเป็นข้อกำหนดทางกฎหมายให้แน่ใจว่าเราสามารถดำเนินการแบนได้ 

ก็แค่ ‘ทิชชู่เปียก’  

การใช้ทิชชู่เปียกได้รับความนิยมมากขึ้น โดยมีรูปแบบให้เลือกมากมาย เช่น ทิชชู่เปียกสำหรับล้างเครื่องสำอาง สำหรับเด็กทารก และใช้ทั่วไป แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือ การติดฉลากเพื่อการโฆษณาบนผลิตภัณฑ์ทิชชู่เปียกอย่างไม่ถูกต้องว่าสามารถกดลงชักโครกได้ ส่งผลให้เกิดปัญหาระบบประปาอย่างรุนแรง โดยทำให้เกิดเป็น ภูเขาไขมัน หรือที่เรารู้จักกันว่า fatberge ซึ่งก็คือ ก้อนไขมันที่จับตัวกันเป็นก้อน ไม่เปื่อยยุ่ยเหมือนกระดาษชำระทั่วๆ ไป ซึ่งส่วนประกอบของพวกมันมาจากพลาสติก ดังนั้น เมื่อทุกสิ่งถูกปล่อยลงสู่ทะเล ก็จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล  

สิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับ ‘ทิชชู่เปียก’   

ทิชชู่เปียกทิ้งลงชักโครกไม่ได้ 

เราสามารถหลีกเลี่ยงก้อนไขมันในท่อน้ำทิ้งของเราได้ง่ายๆ ซึ่งก็แค่ทิ้งพวกกระดาษทิชชู่เหล่านี้ลงถังขยะ แทนที่จะทิ้งลงชักโครก อีกทั้งเราอาจจะใช้กระดาษชำระแบบอื่นที่สามารถทิ้งลงชักโครกได้ด้วย  

แล้วทิชชู่เปียกที่ ‘ย่อยสลายได้’ ล่ะ? 

ทิชชู่เปียกไม่มีทางย่อยสลายได้ระหว่างการกดลงไปในชักโครก หรือเมื่อไหลไปถึงท่อน้ำทิ้ง เมื่อมันถูกปล่อยลงสู่ท้องทะเล สัตว์ทะเลจะมารุมกัดกิน เช่น เต่า เพราะเข้าใจผิดคิดว่าเป็นแมงกะพรุน และตายในที่สุด ซึ่งวิธีการ ‘ฝังกลบ’ เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้  

เราทำอะไรได้บ้าง?  

ร่วมกัน ‘ไม่’ ใช้ทิชชู่เปียก และไม่ทิ้งลงชักโครก! 

เราอาจจะหันหน้าไปใช้สิ่งอื่นทดแทน เช่น กระดาษชำระธรรมดา และผ้ารีไซเคิล  รวมถึงสนับสนุนให้มีการรีไซเคิลกระดาษและลดการฝังกลบให้เหลือน้อยที่สุด หากมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทิชชู่เปียกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขอให้นำทิชชู่เปียกที่ใช้แล้ว ทิ้งลงถังขยะไม่กดลงชักโครก  

ผลกระทบที่ตามมา 

ปัญหาหลักสำหรับสิ่งแวดล้อม และครัวเรือน คือเมื่อทิชชู่เปียกถูกทิ้งลงชักโครก พวกมันจะรวมตัวกับจาระบี น้ำมัน และสิ่งของอื่นๆ และจับตัวกันเป็นก้อนไขมันที่อุดตันท่อระบายน้ำ และทำให้เกิดการอุดตันหลายหมื่นครั้งต่อปี บริษัทด้านสาธารณูปโภคต้องใช้เงินหลายล้านในการทำความสะอาดก้อนไขมันเหล่านี้  

Thames Water ทำความสะอาดท่อระบายน้ำทิ้งกว่า 1,500 กม.ในปี 2023 โดยใช้พลั่ว และเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง 

นอกจากนี้ การอุดตันยังทำให้เกิดน้ำท่วม มีค่าบำรุงรักษาจำนวนมาก และทำให้สิ่งแวดล้อมเสียหาย เมื่อมันไหลลงสู่แม่น้ำ และทะเล สิ่งนี้จะไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสัตว์ป่าที่กินเม็ดพลาสติกเข้าไป แต่สิ่งเหล่านี้อาจเปลี่ยนแปลงสภาพแม่น้ำได้เลยทีเดียว ซึ่งผลกระทบข้างต้นนี้ เป็นปรากฎการณ์และเพิ่งได้รับการวิเคราะห์เมื่อไม่นานมานี้  

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์