เมื่อ ‘ความเหงา’ กลายเป็นความเสี่ยงต่อสุขภาพ
ศัลยแพทย์ทั่วไปของสหรัฐฯ กล่าวว่า ‘ความเหงา’ ที่แพร่หลายในสหรัฐฯ นั้นกำลังก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพพอๆ กับการสูบบุหรี่วันละ 12 มวน ซึ่งทำให้อุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพเสียหายหลายพันล้านดอลลาร์ต่อปี“ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ใหญ่ในสหรัฐฯ เผยว่าพวกเขาเคยรู้สึกเหงา…ตอนนี้เรารู้แล้วว่าความเหงาเป็นความรู้สึกทั่วไปที่หลายคนประสบ มันเหมือนกับความหิวหรือกระหาย มันเป็นความรู้สึกที่ร่างกายส่งถึงเราเมื่อสิ่งที่เราต้องการเพื่อความอยู่รอดขาดหายไป”
“ผู้คนหลายล้านคนในอเมริกากำลังดิ้นรนอยู่ในเงามืด ซึ่งมันไม่ดี นั่นเป็นเหตุผลที่ผมออกคำแนะนำนี้เพื่อดึงม่านการต่อสู้ที่ผู้คนจำนวนมากเกินไปกำลังประสบอยู่” ดร.วิเวก เมอร์ธี ระบุ
การประกาศนี้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความเหงา แต่จะไม่ปลดล็อกเงินทุนของรัฐบาลกลางหรือโครงการที่อุทิศให้การต่อสู้กับปัญหานี้
การวิจัยแสดงให้เห็นว่าชาวอเมริกันซึ่งมีส่วนร่วมน้อยลงกับศาสนสถาน องค์กรชุมชน และแม้แต่สมาชิกในครอบครัวของพวกเขาเองในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา โดยมีรายงานผู้คนรู้สึกเหงาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งจำนวนผู้ที่อยู่คนเดียวก็เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าในช่วง 60 ปีที่ผ่านมาด้วย
ทว่าาวิกฤตดังกล่าวยิ่งเลวร้ายลงเมื่อโควิด-19 แพร่ระบาด ทำให้โรงเรียนและที่ทำงานต้องปิดประตู และส่งชาวอเมริกันหลายล้านคนแยกตัวจากญาติหรือเพื่อน
รายงานของศัลยแพทย์ทั่วไประบุว่า ผู้คนเฟดตัวจากกลุ่มเพื่อนระหว่างการระบาดของไวรัสโคโรนา และลดเวลาที่ใช้กับเพื่อนเหล่านั้น โดยชาวอเมริกันจะใช้เวลากับเพื่อนประมาณ 20 นาทีต่อวันในปี 2020 ซึ่งลดลงจาก 60 นาทีต่อวันเมื่อเกือบ 2 ทศวรรษก่อนหน้านี้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเหงากำลังระบาดหนักในเยาวชนอายุ 15-24 ปี ซึ่งพบว่า 70% พวกเขาใช้เวลากับเพื่อนๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน
แค่ ‘เหงา’ ก็ตายได้!

ความเหงาเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเกือบร้อยละ 30 และผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางสังคมที่ไม่ดีก็มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจสูง
จากการวิจัยพบว่าความโดดเดี่ยวยังเพิ่มโอกาสของบุคคลที่จะประสบกับภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และสมองเสื่อมด้วย ทั้งนี้ เมอร์ธียังไม่ได้ให้ข้อมูลใดๆ ที่แสดงให้เห็นว่าจำนวนผู้เสียชีวิตโดยตรงจากความเหงาหรือความโดดเดี่ยวแต่อย่างใด
เมอร์ธีแนะนำให้ผู้คนเข้าร่วมกลุ่มชุมชนแล้วเลิกเล่นโทรศัพท์เวลาพบปะเพื่อนฝูง รวมถึงนายจ้างต้องคิดอย่างรอบคอบเกี่ยวกับนโยบายการทำงานทางไกล และในการฝึกอบรมแพทย์ก็ให้ตระหนักถึงความเหงาที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพด้วย
อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีทำให้ปัญหาความเหงารุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่อ้างว่าผู้ที่ใช้โซเชียลมีเดียเป็นเวลา 2 ชั่วโมงขึ้นไปทุกวันมีแนวโน้มที่จะรู้สึกโดดเดี่ยวทางสังคมมากกว่าผู้ที่ใช้เป็นเวลาน้อยกว่า 30 นาทีต่อวัน
“โซเชียลมีเดียกำลังกระตุ้นให้เกิดความเหงามากขึ้นโดยเฉพาะ จากรายงานชี้ให้เห็นว่าบริษัทด้านเทคโนโลยีเริ่มออกมาตรการคุ้มครองเด็ก โดยเฉพาะพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์…ไม่มีอะไรมาทดแทนการโต้ตอบแบบตัวต่อตัวได้ ขณะที่เราเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีมากขึ้นในการสื่อสารของเรา เราก็สูญเสียปฏิสัมพันธ์แบบตัวต่อตัวไปมาก”
“เราจะออกแบบเทคโนโลยีที่เสริมสร้างความสัมพันธ์ของเราอย่างไรแทนที่จะทำให้ความสัมพันธ์อ่อนแอลง” เมอร์ธีกล่าวทิ้งท้าย
เมอร์ธีแนะนำให้ผู้คนเข้าร่วมกลุ่มชุมชนแล้วเลิกเล่นโทรศัพท์เวลาพบปะเพื่อนฝูง รวมถึงนายจ้างต้องคิดอย่างรอบคอบเกี่ยวกับนโยบายการทำงานทางไกล และในการฝึกอบรมแพทย์ก็ให้ตระหนักถึงความเหงาที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพด้วย
อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีทำให้ปัญหาความเหงารุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่อ้างว่าผู้ที่ใช้โซเชียลมีเดียเป็นเวลา 2 ชั่วโมงขึ้นไปทุกวันมีแนวโน้มที่จะรู้สึกโดดเดี่ยวทางสังคมมากกว่าผู้ที่ใช้เป็นเวลาน้อยกว่า 30 นาทีต่อวัน
“โซเชียลมีเดียกำลังกระตุ้นให้เกิดความเหงามากขึ้นโดยเฉพาะ จากรายงานชี้ให้เห็นว่าบริษัทด้านเทคโนโลยีเริ่มออกมาตรการคุ้มครองเด็ก โดยเฉพาะพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์…ไม่มีอะไรมาทดแทนการโต้ตอบแบบตัวต่อตัวได้ ขณะที่เราเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีมากขึ้นในการสื่อสารของเรา เราก็สูญเสียปฏิสัมพันธ์แบบตัวต่อตัวไปมาก”
“เราจะออกแบบเทคโนโลยีที่เสริมสร้างความสัมพันธ์ของเราอย่างไรแทนที่จะทำให้ความสัมพันธ์อ่อนแอลง” เมอร์ธีกล่าวทิ้งท้าย