โควิดกลับมาแล้ว! ทำความรู้จักสายพันธุ์ใหม่ ‘XBB.1.16’ ที่ WHO เฝ้าระวังอยู่

17 เมษายน 2566 - 10:25

Arcturus-XBB116-New-Covid-19-Variant-WHO-SPACEBAR-Hero
  • ทำความรู้จักโควิด ‘XBB.1.16’ ร้ายแรงอย่างไร? อาการเป็นยังไงบ้าง? และเราจะป้องกันได้อย่างไร?

  • สายพันธุ์ใหม่ที่ WHO จับตาดูอยู่! หลายประเทศในเอเชียติดหลายรายแล้ว ไทยกำลังเฝ้าระวัง

เพิ่งจะประกาศเป็นโรคประจำถิ่นไปสำหรับโควิด-19 แต่ก็ยังวางใจไม่ได้อยู่ดี เพราะปัจจุบันยังคงมีผู้ป่วยหลายรายที่ได้รับเชื้ออยู่ และล่าสุดกับสายพันธุ์ใหม่ที่มีชื่อว่า ‘XBB.1.16’ หรือ ‘Arcturus/อาร์คทูรัส’ สายพันธุ์ย่อยของโอมิครอน (Omicron) ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) จับตาดูอยู่ ซึ่งได้รับการขนานนามให้เป็น ‘สายพันธุ์ที่อยู่ภายใต้การเฝ้าติดตาม’ หลังจากพบว่ามันแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในหลายส่วนของโลกโดยเฉพาะในอินเดีย ยุโรป สหรัฐฯ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และอื่นๆ 

และแน่นอนประเทศไทยก็กำลังเฝ้าระวังอยู่ด้วยเช่นกัน หลังจากพบผู้ป่วยเกือบ 10 รายที่คาดว่าจะติดเชื้อสายพันธุ์นี้แต่ยังไม่รุนแรง 

“XBB.1.16 อาจไม่ใช่แค่สายพันธุ์โอมิครอนทั่วไป…โควิดสายพันธุ์ใหม่มีแนวโน้มมเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน และ ดูเหมือนว่าจะปรากฏในฟีโนไทป์ของทารกด้วย” ดร.วิพิน วัชชิตตา กุมารแพทย์ละอดีตหัวหน้าคณะกรรมการกุมารเวชศาสตร์แห่งอินเดียทวีตเมื่อช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา 

โควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 นี้ทำให้สัดส่วนผู้ติดเชื้อทั่วโลกเพิ่มขึ้นจาก 0.21% ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์เป็น 3.96% หลังจากนั้น 1 เดือน  ส่วนในสหรัฐฯ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (CDC) ระบุว่า ตัวอย่างเชื้อที่เก็บระหว่าง 9-15 เมษายน มีสัดส่วนถึง 7.2% ของเชื้อทั้งหมด ขณะที่สัดส่วนของ XBB.1.16 ในสัปดาห์ก่อนหน้าอยู่ที่ 3.9% 

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโตเกียวเตือนว่า สายพันธุ์  XBB.1.16 “จะระบาดไปทั่วโลกในอนาคตอันใกล้” 

สำหรับอาการของสายพันธุ์นี้ได้แก่ มีไข้สูง ไอ เยื่อบุตาอักเสบหรือตาแดง 

ทำความรู้จักกับสายพันธุ์ ‘ XBB.1.16 หรือ Arcturus’

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5ghvzaXeNPV9hSQc9LTOHe/c79ce8091fabb97837112cec2aec6f94/Arcturus-XBB116-New-Covid-19-Variant-WHO-SPACEBAR-Photo01
ตามรายงานระบุว่า “สายพันธุ์ XBB.1.16 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์โอมิครอนที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุของการติดเชื้อเพิ่มขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้”  

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวถึงอาการทั่วไปของ XBB.1.16 ในผู้ใหญ่ว่า คนส่วนใหญ่มักจะสูญเสียการรับรสและกลิ่นในวันที่มีการแพร่กระจายของเชื้อเดลตา (Delta) นั้นไม่ใช่เรื่องปกติในขณะนี้ ส่วนอาการต่างๆ เช่น มีไข้ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ปวดเมื่อยตามตัว ท้องเสีย อ่อนเพลีย เป็นเรื่องปกติมากในผู้ป่วยโควิด 

สำหรับอาการของ XBB.1.16 ที่พบในเด็ก ได้แก่ เจ็บคอ น้ำมูกไหล คัดจมูก หรืออาจมีอาการตาแดงร่วมด้วย  “XBB covid ในเด็กมักมีพฤติกรรมเหมือนการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ อาการจะแยกไม่ออกจากอาการป่วยคล้ายไข้หวัด โดยเด็กได้รับผลกระทบรองลงมาหลังจากคนในครอบครัวติดเชื้อโควิด” ปราชาน อุดาวาน กุมารแพทย์ และนักประสาทวิทยาที่ Ruby Hall Clinic แห่งอินเดียกล่าว 

ผู้เชี่ยวชาญบอกกับ The Times ว่า พวกเขายังเห็นการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของเด็กเพิ่มขึ้นเนื่องจาก ‘เชื้อไวรัสอะดีโน / Adenovirus’ (ไวรัสที่ส่งผลให้เกิดโรคได้ในหลายระบบของร่างกาย มีอาการได้ตั้งแต่ไข้หวัด คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ท้องเสีย ตาแดง โดยความรุนแรงมีตั้งแต่น้อยจนถึงรุนแรงมาก ซึ่งพบอัตราการป่วยในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่) อาการคล้ายโควิด และอาจส่งผลให้เกิดโรคตาแดงได้  

ทั้งนี้ เพราะอาการมีความคล้ายคลึงกันของไวรัสอะดีโนและโควิด ทำให้ไม่สามารถแยกความแตกต่างจากกันได้หากไม่มีการทดสอบ 

ริชาร์ด ริทิงเงอร์ นักระบาดวิทยาโรคติดเชื้อที่สถาบันวิจัย RTI International กล่าวว่า “ผมได้ยินรายงานดังกล่าวเช่นกัน แต่อาจเร็วเกินไปที่จะบอกว่าอาการของไวรัสเปลี่ยนไปจริงหรือไม่” 

XBB.1.16 สายพันธุ์ใหม่ที่ควรระวัง 

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3r2PxLiYZWSibbC0DKFiE0/5dbacf26b31fa23e8bd8f31cdf3290cc/Arcturus-XBB116-New-Covid-19-Variant-WHO-SPACEBAR-Photo02
“เมื่อพูดถึงโรคระบาด ปัจจุบันโลกกำลังอยู่ใน ‘ยุคของการรวมตัวใหม่’ หรือสายพันธุ์ที่มีอยู่ ซึ่งรวมกันแล้วอาจสร้างความหายนะได้มากขึ้น” ไรอัน เกร็กกอรี ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาแห่งมหาวิทยาลัย Guelph ในออนแทรีโอ ประเทศแคนาดากล่าว 

XBB.1.16 เป็นสายพันธ์ผสมที่เรียกว่า ‘โอมิครอนล่องหน (stealth Omicron)’ หรือสายพันธุ์ย่อย BA.2 โดยนักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยโตเกียวชี้ให้เห็นว่าการแพร่กระจายมีประสิทธิภาพมากกว่าสายพันธุ์ XBB.1 และ XBB.1.5 หรือที่เรียกว่า ‘โควิดสายพันธุ์คราเคน (Kraken)’ ประมาณ 1.17-1.27 เท่า  

“ความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นของ XBB.1.16 ในการแซงสายพันธุ์อื่นๆ บ่งชี้ว่ามันอาจจะแพร่กระจายไปทั่วโลกในอนาคตอันใกล้นี้…สายพันธุ์นี้ต้านทานอย่างแข็งแกร่งต่อแอนติบอดีจากสายพันธุ์ต่างๆ ของโควิด รวมถึงโอมิครอนล่องหนสายพันธุ์ BA.2 และ BA.5 ซึ่งเพิ่มขึ้นทั่วโลกเมื่อฤดูร้อนที่แล้ว” นักวิจัยเขียน 

นั่นหมายความว่าโควิดสายพันธุ์นี้อาจทำให้ผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีกครั้ง แม้ในพื้นที่ที่เพิ่งพบการติดเชื้อโควิดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการติดเชื้อเหล่านั้นเกิดจากสายพันธุ์ BA.2 และ BA.5 หรือสายพันธุ์อื่นๆ 

อย่างไรก็ดี WHO ได้ประกาศให้ XBB.1.16 เป็น ‘สายพันธุ์ที่อยู่ภายใต้การตรวจสอบและเป็นสายพันธุ์ที่แพร่เชื้อได้มากที่สุด’ เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

“การกลายพันธุ์ที่เพิ่มใน spike protein ของไวรัสหรือโปรตีนตรงส่วนหนาม ซึ่งติดเชื้อในเซลล์ของมนุษย์ ทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายขึ้นและยังทำให้เกิดโรคที่รุนแรงขึ้น ด้วยเหตุผลนี้ และเนื่องจากกรณีผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นทางภาคตะวันออกทำให้ XBB.1.16 ถือเป็น ‘สายพันธุ์ที่น่าจับตามอง’ ” มาเรีย ฟาน เคอร์โคฟ หัวหน้าฝ่ายเทคนิคด้านโควิด-19 ของ WHO กล่าว 

ป้องกันสายพันธุ์ร้าย XBB.1.16 อย่างไร? 

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6v55GQGDcksPCPYWJPnF2K/1bbcfbae778b36229b0596d184d273f2/Arcturus-XBB116-New-Covid-19-Variant-WHO-SPACEBAR-Photo03
ดร.กูร์มีท ซิงห์ ชับบรา ผู้อำนวยการโรคระบบทางเดินหายใจโรงพยาบาล Marengo Asia เมืองฟาริดาบาด อินเดีย กล่าวว่า “ผู้คนควรสวมหน้ากากอนามัย 3 ชั้น ดูแลสุขอนามัย ล้างมือบ่อยๆ และปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม…การฉีดวัคซีนอาจป้องกันการเข้าโรงพยาบาลและโรคร้ายแรงในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรครุนแรง” 

จริงๆ แล้ว การดูแลไม่ให้ติดเชื้อสายพันธุ์ก็ไม่ต่างกับสายพันธุ์อื่นๆ เท่าใดนัก แตกต่างกันที่เมื่อติดเชื้อสายพันธุ์ XBB.1.16 จะรุนแรงและแยกออกยากกว่าชนิดอื่นนั่นเอง และนั่นเป็นผลเสียทำให้ได้รับการรักษาช้า 

ส่วนวัคซีนโควิด (Bivalent Vaccine) อย่าง Moderna และ Pfizer นั้นจะสามารถป้องกันสายพันธุ์ร้ายชนิดนี้ได้ไหม?  

คำตอบก็คือ ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะทราบว่าวัคซีนเข็มกระตุ้นที่ได้รับการปรับปรุงใหม่สามารถป้องกันโรคที่รุนแรงขึ้น การรักษาตัวในโรงพยาบาล และการเสียชีวิตได้ดีเพียงใด แต่่นักวิจัยคาดหวังว่าวัคซีนเข็มกระตุ้นรุ่นใหม่จะให้การป้องกันที่สูงขึ้น 

“สิ่งที่เรารู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมาโดยทั่วไปคือวัคซีนป้องกันได้ดีกว่าจากโรคที่รุนแรงกว่า” รูธ ลิงค์-เกลเลส ผู้นำทีมของหน่วยงานเกี่ยวกับประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนาจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ (CDC) กล่าว 

“ท่ามกลางการฟื้นตัวของโควิดและการคุกคามของไข้หวัดตามฤดูกาล เราต้องไม่ยอมแพ้ต่อความกลัว แต่ให้เพิ่มพลังให้ตัวเองด้วยความรู้และใช้มาตรการป้องกันที่จำเป็นแทน” ชับบรากล่าวทิ้งท้าย 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์