‘จน’ จนอยากตายมีจริงเหรอ? เมื่อกฏหมายแคนาดาเปิดโอกาสให้คนจนเลือก ‘อยู่’ หรือ ‘ตาย’

16 พ.ย. 2565 - 02:54

  • มีหลักฐานบางประการของผู้ที่มาขอรับการการุณยฆาตเพราะความยากจน แม้จะถูกต้องตามกฏหมายแต่ก็เป็นที่ถกเถียงกันมายาวนานถึงความเหมาะสม

  • ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญเปิดงานวิจัยที่ระบุว่า แท้จริงแล้วคนเราไม่ได้อยากตายเพราะความยากจน

Canadas-euthanasia-laws-unbearable-poverty-SPACEBAR-Main
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4M7m05chwQUSSVsMUwuB5w/33b84ba2735894b7c4a5013ce69a9d8d/Canadas-euthanasia-laws-unbearable-poverty-SPACEBAR-Photo01
Photo: Photo: AFP
มีหลักฐานบางอย่างที่แสดงให้เห็นว่า ‘คนจน’ ไปเข้ารับการช่วยเหลือทางการแพทย์ในการตาย หรือเรียกให้เข้าใจง่ายๆ ว่าการ ‘การุณยฆาต’

ฝ่ายบริหารของ จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา ได้แสดงการสนับสนุน โครงการความช่วยเหลือทางการแพทย์ในการตาย (MAID) ที่ขยายไปสู่ผู้ที่ป่วยเป็นโรคทางจิตที่แก้ไขไม่ได้ อย่างไรก็ตามตัวเลือกดังกล่าวว่าทำให้เกิดข้อกังวลด้านจริยธรรม

ในปี 2016 การอนุมัติกฏหมายซี-14 ซึ่งเป็นกฎหมายที่อนุญาตให้แพทย์ช่วยให้คนฆ่าตัวตายได้หากเข้าเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้อย่างเข้มงวด รัฐสภาได้ตัดสินว่ารัฐแคนาดาจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับการการุณยฆาตให้ผู้ที่ประสบความเจ็บป่วยระยะสุดท้ายที่ปลายทางต้องตายตามธรรมชาติ รวมไปถึงผู้ที่ยากจนเกินไปด้วย

ในเดือนมีนาคม ปี 2021 สมาชิกสภานิติบัญญัติได้ เปลี่ยนแปลงข้อกำหนดของ ‘การตายที่อาจคาดการณ์ได้’ ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ระบุว่าอาการของผู้ป่วยควรเป็น ‘ระยะสุดท้าย’ แต่เป็นผู้ป่วยที่ทนทุกข์ทรมานจากอาการเจ็บป่วยหรือทุพพลภาพที่ไม่สามารถบรรเทาได้ ทว่าต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ระบุไว้ก็สามารถเข้าร่วมโปรแกรม MAID ได้

หยวนอี้จู นักวิจัยจาก Oxford Nuffield College กล่าวในบทความที่เกี่ยวกับคนยากจนที่ไม่สามารถปรับปรุงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ และเริ่มสมัครเข้าโครงการ MAID ว่า แคนาดามีการใช้จ่ายด้านการดูแลสังคมที่ต่ำที่สุดในประเทศอุตสาหกรรมใดๆ การดูแลแบบประคับประคองนั้นเข้าถึงได้เฉพาะส่วนน้อยเท่านั้น และเวลาที่รอคอยการดูแลจากภาคส่วนสาธารณสุขนั้นสุดจะทน

ตัวอย่างเช่น ผู้หญิงคนหนึ่งในออนแทรีโอเลือกวิธีการการุณยฆาตเพื่อจบชีวิตตัวเอง เนื่องจากเธอไม่มีที่อยู่อาศัย และต้องการหลีกหนีจากอาการภูมิแพ้

“รัฐบาลมองว่าฉันเป็นขยะที่สิ้นเปลือง ขี้แง และไร้ประโยชน์” ผู้หญิงคนนี้ทิ้งจดหมายก่อนเลือกจบชีวิตตัวเอง ซึ่งมันแสดงถึงการที่เธอต้องการความช่วยเหลือจากรัฐบาล และพบเพียงความสิ้นหวังมานานกว่า 2 ปี

ขณะที่พระราชบัญญัติการุณยฆาต ปี 2016 ระบุว่า ห้ามให้มีการการุณยฆาต เฉพาะในกรณีผู้ป่วยทางจิตเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ฝ่ายบริหารของทรูโด เสนอว่า ชาวแคนาดาที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา ควรมีสิทธิได้รับการการุณยฆาตได้ นอกจากนี้ยังได้เสนอทางเลือกให้ประชาชนที่กลัวว่าจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ ขอรับการการุณยฆาตก่อนกำหนดได้

ด้านสมาคมสุขภาพจิตแห่งแคนาดา กล่าวว่า รู้สึกผิดหวังอย่างยิ่งกับแนวทางนี้ของรัฐบาล ‘จนกว่าระบบการดูแลสุขภาพจะตอบสนองต่อความต้องการด้านสุขภาพจิตของชาวแคนาดาอย่างเพียงพอ การตายด้วยการการุณยฆาตก็ไม่ควรเป็นทางเลือก’
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4S27xiHP0nuhTeeGboCMBy/0e5e1de7e76e62a7547b7c56698c3d7d/Canadas-euthanasia-laws-unbearable-poverty-SPACEBAR-Photo02
Photo: Photo: AFP
มีงานวิจัยที่ระบุว่า ไม่มีความเชื่อมโยงเรื่อง ‘ความจน’ กับการไปขอรับ ‘การุณยฆาต’

การศึกษาใหม่ที่นำโดยนักวิจัยใน Ottawa พบว่าการขอรับการการุณยฆาตไม่ได้เกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่น ความยากจน ความโดดเดี่ยว หรือการขาดการเข้าถึงการดูแลแบบประคับประคองที่เหมาะสม

การศึกษานี้ขจัดความกังวลที่ว่า ‘ผู้ที่อ่อนแอจะถูกผลักดันให้ขอรับการการุณยฆาต เพราะพวกเขาไม่มีทางเลือกอื่น’

เจมส์ ดาวนาร์ หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า ข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการเสียชีวิตด้วยการรับการุณยฆาตไม่ได้เกิดจากความเปราะบางทางสังคมและเศรษฐกิจ เนื่องจากการศึกษาได้ศึกษาข้อมูลทางคลินิก เศรษฐกิจและสังคมจากชาวออนแทเรียนจำนวน 2,241 คน ที่ได้เข้าร่วม MAID ระหว่างเดือนมิถุนายน 2016 ถึงตุลาคม 2018

มีการเปรียบเทียบผลลัพธ์กับชาวออนแทรีโอจำนวน 186,814 คน ที่เสียชีวิตในช่วงเวลาเดียวกัน พวกเขาพบว่ากว่า 75% ของชาวออนแทเรียนที่ได้รับ MAID มีอายุน้อย มั่งคั่ง และมีแนวโน้มที่จะแต่งงานในช่วงเวลาที่พวกเขาเสียชีวิต เมื่อเทียบกับประชากรทั่วไป

หากไม่เกี่ยวกับความยากจน แล้วมันเกี่ยวกับอะไร?

ประชากรที่รับการการุณยฆาตกว่าครึ่งหนึ่งแต่งงานแล้ว และ 85% อาศัยอยู่ในบ้านส่วนตัวและมีแนวโน้มของการอยู่อาศัยในย่านที่มีรายได้สูง

ขณะที่การสร้างความมั่นใจว่าการการุณยฆาตจะไม่ถูกขับเคลื่อนโดยความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ และสังคม หรือจากการที่ขาดการเข้าถึงการดูแลแบบประคับประคอง แต่ผู้คนทั้งหลายก็ต่างมีความทุกข์ทรมานจนต้องการจบชีวิต
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1KrVv9ZxdQQIucjDy7nbXM/7cb48a0cb58b01f5cce495bd4780fbbe/Canadas-euthanasia-laws-unbearable-poverty-SPACEBAR-Photo03
Photo: Photo: AFP
“มันไม่เกี่ยวกับการเข้าถึงการรักษา หรือเรื่องของเศรษฐกิจ แต่เรามีข้อมูลมากพอจากแคนาดาและที่อื่นๆ ที่บ่งชี้ว่า ความทุกข์จาก ‘อัตถิภาวนิยม’ (หรือ Existential Crisis ซึ่งเป็นวิกฤตทางอารมณ์ที่ว่ากันว่าทำให้คนเราจมทุกข์และค้นหาความหมายของการมีชีวิตอยู่) นั่นเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก” ดาวนาร์ กล่าวและเสริมว่า แพทย์และนักวิจัยควรปรับปรุงความเข้าใจในปัจจัยต่างๆ ที่นำไปสู่การขอการุณยฆาต

อย่างไรก็ตาม ‘การการุณยฆาต’ ยังคงเป็นอีกหนึ่งข้อที่สามารถหยิบยกขึ้นมาถกเถียงกันอยู่เสมอ อย่างกรณีล่าสุด ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนส.ค. อลัน นิโคลส์ ชายวัย 61 ปี มีประวัติภาวะซึมเศร้าและปัญหาทางการแพทย์ทว่าไม่มีสิ่งใดที่คุกคามชีวิต กลับเข้ารักษาในโรงพยาบาลในเดือนมิ.ย.ปี 2019 ด้วยความกลัวที่ว่าเขาอาจจะ ‘ฆ่าตัวตาย’

ภายในหนึ่งเดือนของการรักษานิโคลส์ได้ยื่นคำร้องเพื่อทำการุณยฆาตสำเร็จและได้จากไปอย่างสงบ แม้จะมีข้อกังวลจากครอบครัวของเขาและแพทย์ก็ตาม เนื่องจากการสมัครขอรับการการุณยฆาตของเขา ระบุว่า มีภาวะสุขภาพเพียงข้อเดียวเท่านั้นที่เป็นสาเหตุของการขอการุณยฆาต นั่นก็คือ ‘สูญเสียการได้ยิน’

ด้วยเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้ จึงเป็นที่มาของการถกเถียงว่า การที่ใครสักคนต้องการ ‘ตาย’ อะไรที่เป็นเหตุผลมากพอที่จะสนับสนุนแนวคิดการอยากตายของพวกเขาบ้าง หรือจริงๆ แล้วอาจเป็นเพียงอารมณ์วูบหนึ่งของพวกเขาที่ผ่านเข้ามาในหัวและทำให้กระทำการตัดสินใจเช่นนั้นไป

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์