‘สเปน’ เจอความร้อนรุนแรงตั้งแต่ต้นปี
หลังจากเผชิญหน้ากับคลื่นความร้อนและไฟป่ารุนแรงเมื่อปีที่แล้ว ในปีนี้เปิดหน้าร้อนมาสเปนก็เจออุณหภูมิที่ร้อนที่สุดที่เคยบันทึกไว้เป็นประวัติการณ์ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาด้วยอุณหภูมิแตะ 38.8 องศาเซลเซียสรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยาของประเทศระบุว่า เป็นเวลาหลายวันที่คลื่นความร้อนแผ่ซ่านเข้ามาในประเทศโดยมีอุณหภูมิ 10-15 องศาเซลเซียสซึ่งอุ่นกว่าที่คาดไว้ในเดือนเมษายน โดยได้รับแรงหนุนจากมวลอากาศร้อนจัดจากแอฟริกา ประกอบกับระบบสภาพอากาศที่เคลื่อนตัวช้า
ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญรู้สึกประหลาดใจกับความร้อนที่เกิดขึ้นทั่วภาคใต้ของสเปนในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา “นี่ไม่ใช่เรื่องปกติ อุณหภูมิไม่สามารถควบคุมได้ในปีนี้” กาเยตาโน ตอร์เรส โฆษกสำนักงานอุตุนิยมวิทยาของสเปนกล่าว
“เหตุการณ์ความร้อนในสเปนครั้งนี้รุนแรงมากเป็นประวัติการณ์ด้วยอุณหภูมิที่ไม่เคยมีมาก่อนในเดือนเมษายน ในบางสถานที่มีการทำลายสถิติซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพียงไม่กี่ครั้งที่สถานีตรวจอากาศทั่วโลก” แม็กซิมิลาโน เฮอร์เรรา นักภูมิอากาศวิทยาของ Extreme Temperatures กล่าว
ขณะที่ทางการประกาศให้โรงเรียนปรับตารางเวลาเพื่อหลีกเลี่ยงความร้อนที่เลวร้ายที่สุด ส่วนรถไฟใต้ดินมาดริดจะเดินรถถี่กว่าปกติเพื่อป้องกันการรอนานบนชานชาลา และคาดว่าสระว่ายน้ำสาธารณะจะเปิดเร็วกว่าปกติ 1 เดือนด้วย
ด้าน คริสตินา ลิแนร์ส นักวิจัยจากสถาบันสาธารณสุข Carlos III Health Institute เตือนถึงผลกระทบโดยเฉพาะต่อคนจน “ความยากจนเป็นปัจจัยสำคัญในการอธิบายว่าเหตุใดจึงมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากขึ้นเนื่องจากอุณหภูมิที่ร้อนจัด รายได้เป็นปัจจัยที่เชื่อมโยงกับผลกระทบของความร้อนต่อการเสียชีวิตในแต่ละวันมากที่สุด”
หลายแห่งทั่วโลกกำลังเผชิญหน้ากับ ‘ความร้อน’เหมือนกัน

คลื่นความร้อนยังคงส่งผลกระทบต่อสถานที่หลายแห่งทั่วโลก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น แม้ว่าบางส่วนของสหราชอาณาจักรจะเย็นกว่าค่าเฉลี่ยในขณะนี้ แต่ในหลายภูมิภาคของสเปนกลับตรงกันข้าม
ขณะเดียวกันอากาศร้อนทั่วแอฟริกาเหนือก็กำลังส่งความร้อนเคลื่อนเข้าสู่ยุโรป เนื่องจากระบบสภาพอากาศที่มีความกดอากาศสูงบวกกับท้องฟ้าแจ่มใสเหนือคาบสมุทรไอบีเรียทำให้แสงแดดส่องลงมากระทบพื้นมากขึ้น ซึ่งแห้งจนไม่สามารถระเหยความร้อนออกไปได้
“เราทราบดีว่าปี 2022 เป็นปีที่ร้อนที่สุดเป็นอันดับ 2 ในประวัติศาสตร์ของยุโรป และเป็นฤดูร้อนที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์”
“ยุโรปกำลังร้อนขึ้นเป็น 2 เท่าของอัตราโลก และเรารู้ว่าเพราะมีอัตราความร้อนที่สูงกว่า จึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดเหตุการณ์รุนแรง และเหตุการณ์ที่รุนแรงเหล่านั้นรวมถึงคลื่นความร้อนด้วย” ดร.ซาแมนธา เบอร์เกส จากศูนย์บริการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโคเปอร์นิคัส (Copernicus climate change service) กล่าว
อย่างไรก็ดี นอกจากผลกระทบต่อเด็กและผู้ใหญ่แล้ว ความกังวลอีกประการหนึ่งก็คือ ภาคการเกษตร เนื่องจากเกษตรกรจำนวนมากกำลังประสบปัญหาฝนไม่ตกอย่างต่อเนื่อง เจ้าของที่ดินบางคนกล่าวว่าพวกเขาจะไม่ปลูกพืชผลเนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง ซึ่งอาจส่งผลต่อเสบียงอาหารทั่วยุโรป
ขณะที่ 8 ประเทศในยุโรปกลางและตะวันออกก็สร้างสถิติสูงสุดใหม่สำหรับสภาพอากาศในเดือนมกราคมที่อบอุ่นที่สุดในวันแรกของปีนี้
นอกจากนี้ ประเทศต่างๆ ทั่วเอเชียก็ต้องเผชิญกับความร้อนจัดในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาด้วยเช่นกัน โดยพบว่าทางตะวันตกเฉียงเหนือของไทยมีอุณหภูมิสูงแตะ 45.4 องศาฯ มาแล้วเมื่อวันที่ 15 เมษายนที่ผ่านมา ส่วนที่ลาวนั้นสูงถึง 42.7 องศาฯ
สำหรับกรุงธากาของบังกลาเทศก็พบว่าอุณหภูมินั้นสูงกว่า 40 องศาฯ ซึ่งเชื่อว่าเป็นวันที่ร้อนที่สุดในรอบ 58 ปี
ความร้อนจะเพิ่มขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกชายฝั่งเปรู และหากเป็นเช่นนั้น ในปี 2024 อาจเป็นปีที่ร้อนที่สุดในโลกเป็นประวัติการณ์ที่มีทั้งพายุ ไฟไหม้ และน้ำท่วมมากขึ้นก็เป็นได้
“ดูเหมือนว่าเรากำลังอยู่ในโลกของความปกติแบบใหม่ที่นี่…คนเหล่านี้ในภูมิภาคอย่างเช่นเอเชียเป็นคนที่ปรับตัวเข้ากับอุณหภูมิที่ร้อนจัดเช่นนี้มาเป็นเวลาหลายพันปีแล้ว แต่ตอนนี้มันเกินความสามารถในการปรับตัวแล้ว นั่นเป็นเหตุผลที่เราเห็นอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากความร้อนแต่ละปีในส่วนนี้ของโลก” ดร.ฟาฮัด ซาอีด จากองค์กรวิจัย Climate Analytics กล่าว
ขณะเดียวกันอากาศร้อนทั่วแอฟริกาเหนือก็กำลังส่งความร้อนเคลื่อนเข้าสู่ยุโรป เนื่องจากระบบสภาพอากาศที่มีความกดอากาศสูงบวกกับท้องฟ้าแจ่มใสเหนือคาบสมุทรไอบีเรียทำให้แสงแดดส่องลงมากระทบพื้นมากขึ้น ซึ่งแห้งจนไม่สามารถระเหยความร้อนออกไปได้
“เราทราบดีว่าปี 2022 เป็นปีที่ร้อนที่สุดเป็นอันดับ 2 ในประวัติศาสตร์ของยุโรป และเป็นฤดูร้อนที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์”
“ยุโรปกำลังร้อนขึ้นเป็น 2 เท่าของอัตราโลก และเรารู้ว่าเพราะมีอัตราความร้อนที่สูงกว่า จึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดเหตุการณ์รุนแรง และเหตุการณ์ที่รุนแรงเหล่านั้นรวมถึงคลื่นความร้อนด้วย” ดร.ซาแมนธา เบอร์เกส จากศูนย์บริการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโคเปอร์นิคัส (Copernicus climate change service) กล่าว
อย่างไรก็ดี นอกจากผลกระทบต่อเด็กและผู้ใหญ่แล้ว ความกังวลอีกประการหนึ่งก็คือ ภาคการเกษตร เนื่องจากเกษตรกรจำนวนมากกำลังประสบปัญหาฝนไม่ตกอย่างต่อเนื่อง เจ้าของที่ดินบางคนกล่าวว่าพวกเขาจะไม่ปลูกพืชผลเนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง ซึ่งอาจส่งผลต่อเสบียงอาหารทั่วยุโรป
ขณะที่ 8 ประเทศในยุโรปกลางและตะวันออกก็สร้างสถิติสูงสุดใหม่สำหรับสภาพอากาศในเดือนมกราคมที่อบอุ่นที่สุดในวันแรกของปีนี้
นอกจากนี้ ประเทศต่างๆ ทั่วเอเชียก็ต้องเผชิญกับความร้อนจัดในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาด้วยเช่นกัน โดยพบว่าทางตะวันตกเฉียงเหนือของไทยมีอุณหภูมิสูงแตะ 45.4 องศาฯ มาแล้วเมื่อวันที่ 15 เมษายนที่ผ่านมา ส่วนที่ลาวนั้นสูงถึง 42.7 องศาฯ
สำหรับกรุงธากาของบังกลาเทศก็พบว่าอุณหภูมินั้นสูงกว่า 40 องศาฯ ซึ่งเชื่อว่าเป็นวันที่ร้อนที่สุดในรอบ 58 ปี
อาจเป็นเพราะปรากฏการณ์ ‘เอลนีโญ’ กำลังจะมา?
ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าแล้วว่าการกลับมาของ ‘เอลนีโญ’ นั้นจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่น่าจะมีอิทธิพลต่อสภาพอากาศทั่วโลกในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ความร้อนจะเพิ่มขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกชายฝั่งเปรู และหากเป็นเช่นนั้น ในปี 2024 อาจเป็นปีที่ร้อนที่สุดในโลกเป็นประวัติการณ์ที่มีทั้งพายุ ไฟไหม้ และน้ำท่วมมากขึ้นก็เป็นได้
“ดูเหมือนว่าเรากำลังอยู่ในโลกของความปกติแบบใหม่ที่นี่…คนเหล่านี้ในภูมิภาคอย่างเช่นเอเชียเป็นคนที่ปรับตัวเข้ากับอุณหภูมิที่ร้อนจัดเช่นนี้มาเป็นเวลาหลายพันปีแล้ว แต่ตอนนี้มันเกินความสามารถในการปรับตัวแล้ว นั่นเป็นเหตุผลที่เราเห็นอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากความร้อนแต่ละปีในส่วนนี้ของโลก” ดร.ฟาฮัด ซาอีด จากองค์กรวิจัย Climate Analytics กล่าว