พี้จนเพี้ยน! ‘ฉลาม’ ฟลอริดาติดโคเคน เหตุผู้ลักลอบขนยาทิ้งลงทะเล

10 สิงหาคม 2566 - 06:59

Cocaine-sharks-might-feasting-drugs-dumped-SPACEBAR-Thumbnail
  • ฉลามนอกชายฝั่งฟลอริดาถูกค้นพบว่า ‘อาจพี้โคเคนกันจนเพี้ยน’ หลังพบว่าพวกมันได้รับเศษโคเคน (หรือที่บ้านเขาเรียกกันว่า ‘โค้ก’) ที่ถูกทิ้งลงทะเลในปริมาณมหาศาลระหว่างการลักลอบขนยาเสพติดในสหรัฐฯ

ฉลามนอกชายฝั่งฟลอริดาถูกค้นพบว่า ‘อาจพี้โคเคนกันจนเพี้ยน’ หลังพบว่าพวกมันได้รับเศษโคเคน (หรือที่บ้านเขาเรียกกันว่า ‘โค้ก’) ที่ถูกทิ้งลงทะเลในปริมาณมหาศาลระหว่างการลักลอบขนยาเสพติดในสหรัฐฯ  

ด้วยปริมาณยาจำนวนมากที่ถูกซัดเกยชายหาดและถูกกู้ขึ้นมาจากมหาสมุทรโดยทางการรสหรัฐฯ ในทุกปี ทอม เฮิร์ด นักชีววิทยาทางทะเลต้องการตรวจสอบว่า ฉลามในทะเลได้กินโคเคนเข้าไปบ้างหรือไม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของซีรีส์เรื่องใหม่ ‘Cocaine Sharks’ ซึ่งจะออนแอร์ในช่วง ‘ชาร์กวีค - Shark Week’ ของ Discovery Channel ในสัปดาห์หน้า 

เฮิร์ดและนักวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมแห่งมหาวิทยาลัยฟลอริดา ทำการทดลองหลายครั้งกับฉลามนอกฟลอริดา ซึ่งเป็นที่เล่าขานของกลุ่มชาวประมงว่ามีฉลามติดยา เฮิร์ดบอกกับ Live Science ว่า เรื่องราวที่ลึกกว่านี้คือวิธีที่สารเคมี เวชภัณฑ์ และยาผิดกฎหมายเข้าน่านน้ำของเรา มหาสมุทรของเรา และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อระบบนิเวศของมหาสมุทรนี้ 

ฉลามหัวค้อน จริงๆ แล้วซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มักหลบหน้ามนุษย์ กลับพุ่งตรงมาที่มนุษย์ และดูเหมือนจะว่ายน้ำวนไปวนมา ขณะที่ที่ความลึก 60 ฟุตใต้ผิวน้ำ ฉลามสันทรายตัวหนึ่งว่ายน้ำเป็นวงกลม ดูเหมือนจับจ้องไปที่วัตถุอะไรบางอย่างทั้งๆ ที่ไม่ได้มีอะไรอยู่ตรงนั้น เหมือนกับว่าพวกมันกำลัง ‘เมายา’  

นักวิทยาศาสตร์ทดสอบว่าฉลามมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อบรรจุภัณฑ์ที่ทิ้งลงในน้ำ ซึ่งมีขนาดและรูปร่างใกล้เคียงกับก้อนโคเคน ในการทดลองนั้นพวกเขาทิ้งก้อนโคเคนปลอมลงไปในน้ำ และพบว่าฉลามบางตัวพุ่งเข้าหาก้อนนั้นอย่างรวดเร็วและกัด รวมถึงบางตัวว่ายเข้ามาและคาบหนีไปเลยก็มี  

จากนั้น นักวิทยาศาสตร์นำเอา ‘ผงปลา’ ซึ่งเป็นสิ่งที่คล้ายกับโคเคนที่สุดแล้ว (ในเชิงจริยธรรม) ใส่ลงไปในบรรจุภัณฑ์ เพื่อกระตุ้นการตอบสนองต่อโดพามีนในฉลาม ซึ่งก็ทำให้พบว่าฉลามเข้ามารุมมันอย่างเห็นได้ชัด 

เฮิร์ดบอกว่า แม้ว่าการทดลองนี้จะไม่ได้พิสูจน์ว่ามีฉลามติดยาที่คอยกัดกินโคเคนอยู่นอกฟลอริดา จึงจะต้องมีการทดลองซ้ำอีกหลายครั้ง และอาจมีเหตุผลด้านสิ่งแวดล้อมหลายประการที่ทำให้ฉลามตอบสนองในลักษณะนี้ 

“เราไม่รู้ว่าโคเคนทำอะไรกับฉลามได้บ้าง” เฮิร์ดกล่าวกับ Live Science และเสริมว่า จากการวิจัยที่ดำเนินการไปแล้วนั้น ปลาต่างชนิดกันดูเหมือนจะมีปฏิกิริยาต่อสารเคมีชนิดเดียวกันในลักษณะต่างๆ กัน ดังนั้นเราจึงไม่สามารถพูดได้ว่านี่เป็นพฤติกรรมพื้นฐานหรือไม่

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์