หลังจากมีข่าวการซ่อมแซม ‘บัลลังก์ราชาภิเษก’ แห่งราชวงศ์อังกฤษที่มีอายุราว 700 ปีแล้ว เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับงานพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 6 พฤษภาคมนี้
หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมจะต้องใช้บัลลังก์เก่าแก่โบราณนี้ด้วย? บัลลังก์นี้มีความสำคัญอย่างไร? ทำไมอังกฤษต้องบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่? ทว่ามันมีที่มาและประวัติศาสตร์อันยาวนานที่เริ่มขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 ในสมัยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1
หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมจะต้องใช้บัลลังก์เก่าแก่โบราณนี้ด้วย? บัลลังก์นี้มีความสำคัญอย่างไร? ทำไมอังกฤษต้องบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่? ทว่ามันมีที่มาและประวัติศาสตร์อันยาวนานที่เริ่มขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 ในสมัยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1
‘บัลลังก์ราชาภิเษก’ ที่มีค่าและมีชื่อเสียงที่สุดในโลก

กลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของกษัตริย์แห่งราชวงศ์อังกฤษไปแล้วสำหรับประกอบพิธีราชาภิเษกที่กษัตริย์จะต้องสวมมงกุฏพร้อมทั้งนั่งบนบัลลังก์เก่าแก่ที่สร้างขึ้นมาอย่างยาวนาน
บัลลังก์โบราณหลังนี้ถูกสร้างขึ้นตามพระราชดำรัสสั่งของกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 1 เพื่อบรรจุหินแห่งสโคน/หินแห่งชะตา หรือเรียกอีกอย่างว่า ‘หินราชาภิเษก (Stone of Scone)’ (หินทรายสีแดงทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งใช้ในพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์แห่งสก็อตแลนด์มาเป็นเวลานับร้อยๆ ปี และในภายหลังรวมถึงพระมหากษัตริย์แห่งหราชอาณาจักรด้วย) ซึ่งพระองค์เอามาจากสกอตแลนด์และนำไปไว้ยัง ณ วิหารเวสต์มินสเตอร์แอบบี (Westminster Abbey) ในปี 1296 โดยในความดูแลของเจ้าอาวาสแห่งเวสต์มินสเตอร์ (Abbot of Westminster)
บัลลังก์ขนาดความสูง 2.05 เมตร (6 ฟุต 9 นิ้ว) นี้ถูกนำมาใช้ในพิธีราชาภิเษกมาตั้งแต่ปี 1308 และตลอดเวลาที่ผ่านมามีพิธีราชาภิเษกแล้ว 38 ครั้งสำหรับพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ซึ่งจัดขึ้นที่วิหารเวสต์มินสเตอร์แอบบี
บัลลังก์นี้ทำจากไม้โอ๊กและแต่เดิมปิดด้วยแผ่นทองคำเปลว พร้อมทั้งประดับด้วยกระจกสีอย่างประณีต ราวกับว่าทำจากทองคำแท้ นอกจากนี้ยังมีลวดลายนก ใบไม้ และสัตว์ด้วย นับได้ว่าเป็นตัวอย่างของศิลปะยุคกลางที่ยังหลงเหลืออยู่ที่หาจับต้องได้ยากเลยทีเดียว
บัลลังก์โบราณหลังนี้ถูกสร้างขึ้นตามพระราชดำรัสสั่งของกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 1 เพื่อบรรจุหินแห่งสโคน/หินแห่งชะตา หรือเรียกอีกอย่างว่า ‘หินราชาภิเษก (Stone of Scone)’ (หินทรายสีแดงทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งใช้ในพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์แห่งสก็อตแลนด์มาเป็นเวลานับร้อยๆ ปี และในภายหลังรวมถึงพระมหากษัตริย์แห่งหราชอาณาจักรด้วย) ซึ่งพระองค์เอามาจากสกอตแลนด์และนำไปไว้ยัง ณ วิหารเวสต์มินสเตอร์แอบบี (Westminster Abbey) ในปี 1296 โดยในความดูแลของเจ้าอาวาสแห่งเวสต์มินสเตอร์ (Abbot of Westminster)
บัลลังก์ขนาดความสูง 2.05 เมตร (6 ฟุต 9 นิ้ว) นี้ถูกนำมาใช้ในพิธีราชาภิเษกมาตั้งแต่ปี 1308 และตลอดเวลาที่ผ่านมามีพิธีราชาภิเษกแล้ว 38 ครั้งสำหรับพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ซึ่งจัดขึ้นที่วิหารเวสต์มินสเตอร์แอบบี
บัลลังก์นี้ทำจากไม้โอ๊กและแต่เดิมปิดด้วยแผ่นทองคำเปลว พร้อมทั้งประดับด้วยกระจกสีอย่างประณีต ราวกับว่าทำจากทองคำแท้ นอกจากนี้ยังมีลวดลายนก ใบไม้ และสัตว์ด้วย นับได้ว่าเป็นตัวอย่างของศิลปะยุคกลางที่ยังหลงเหลืออยู่ที่หาจับต้องได้ยากเลยทีเดียว
<iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/vawWBui4_kM" title="YouTube video player" frameborder="0" allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen></iframe>
แม้ว่าบริเวณด้านหลังบัลลังก์จะเสียหายจากรอยกราฟฟิตีเป็นส่วนใหญ่ซึ่งเป็นฝีมือของนักท่องเที่ยว และเด็กนักเรียนที่มาเยือนในวิหารเวสต์มินสเตอร์แอบบีตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 18-19 นอกจากนี้ยังเสียหายจากการโจมตีด้วยระเบิดในปี 1914 ซึ่งเป็นผลมาจากกลุ่มขบวนการสตรีซัฟฟราเจ็ตต์ที่เรียกร้องสิทธิออกเสียงเลือกตั้งให้กับผู้หญิง
ในวันคริสต์มาสปี 1950 กลุ่มชาตินิยมชาวสก็อตบุกเข้าไปในวิหารและขโมยหินแห่งสโคน ทำให้ทั้งบัลลังก์และหินได้รับความเสียหาย แต่แล้วก็ได้รับการกู้คืนในเวลาต่อมาสำหรับพิธีราชาภิเษกของควีนเอลิซาเบธที่ 2 ในปี 1953 ต่อมาในปี 1996 หินแห่งสโคนก็ถูกส่งกลับไปยังสกอตแลนด์ และถูกเก็บไว้ที่ปราสาทเอดินเบอระโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องส่งกลับไปยังอังกฤษเพื่อใช้ในพิธีราชาภิเษก
ขณะที่บัลลังก์ถูกเก็บรักษาไว้ในโบสถ์ Chapel of St Edward the Confessor เป็นเวลาหลายศตวรรษจนกระทั่งโบสถ์หลังนั้นปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวทั่วไปเข้าชมในปี 1997
ระหว่างปี 2010-2012 บัลลังก์ได้รับการทำความสะอาดและบูรณะโดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งถูกย้ายไปไว้ที่โบสถ์เซนต์จอร์จ (St George's Chapel) ภายในพระราชวังวินด์เซอร์ จนกระทั่งช่วงต้นปี 2023 ก็มีการดำเนินโครงการบูรณะและอนุรักษ์เพิ่มเติมเพื่อเตรียมสำหรับพระราชพิธีราชาภิเษกของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 และราชินีคามิลลาในเดือนพฤษภาคมนี้
ในวันคริสต์มาสปี 1950 กลุ่มชาตินิยมชาวสก็อตบุกเข้าไปในวิหารและขโมยหินแห่งสโคน ทำให้ทั้งบัลลังก์และหินได้รับความเสียหาย แต่แล้วก็ได้รับการกู้คืนในเวลาต่อมาสำหรับพิธีราชาภิเษกของควีนเอลิซาเบธที่ 2 ในปี 1953 ต่อมาในปี 1996 หินแห่งสโคนก็ถูกส่งกลับไปยังสกอตแลนด์ และถูกเก็บไว้ที่ปราสาทเอดินเบอระโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องส่งกลับไปยังอังกฤษเพื่อใช้ในพิธีราชาภิเษก
ขณะที่บัลลังก์ถูกเก็บรักษาไว้ในโบสถ์ Chapel of St Edward the Confessor เป็นเวลาหลายศตวรรษจนกระทั่งโบสถ์หลังนั้นปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวทั่วไปเข้าชมในปี 1997
ระหว่างปี 2010-2012 บัลลังก์ได้รับการทำความสะอาดและบูรณะโดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งถูกย้ายไปไว้ที่โบสถ์เซนต์จอร์จ (St George's Chapel) ภายในพระราชวังวินด์เซอร์ จนกระทั่งช่วงต้นปี 2023 ก็มีการดำเนินโครงการบูรณะและอนุรักษ์เพิ่มเติมเพื่อเตรียมสำหรับพระราชพิธีราชาภิเษกของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 และราชินีคามิลลาในเดือนพฤษภาคมนี้
บัลลังก์หลังนี้มีความสำคัญอย่างไร?

หากย้อนกลับไปในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ภาพจำของเราก็มักจะเห็นภาพที่กษัตริย์แห่งราชวงศ์อังกฤษสวมมงกุฎและนั่งบนบัลลังก์ในพิธีราชาภิเษก ซึ่งในมุมมองของชาวอังกฤษถือว่าเป็นราชพิธีที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์มากพิธีหนึ่ง
เนื่องจากบัลลังก์ราชาภิเษกเป็นเครื่องเรือนที่เก่าแก่ที่สุดในสหราชอาณาจักรจนถึงปัจจุบันนั้นก็ล่วงเลยมากว่า 700 ปีแล้ว และใช้ตามวัตถุประสงค์เดิม เมื่อเวลาผ่านไปทำให้มีการเปลี่ยนแปลงแทบจะทั้งหมด แต่ก็ยังคงเป็นบัลลังก์เคียงคู่ราชวงศ์อังกฤษเสมอมาในยามที่มีราชพิธีราชาภิเษก และยังเป็นอีกประเพณีหนึ่งที่เชื่อมสายสัมพันธ์ของราชวงศ์ด้วย
“บัลลังก์หลังนี้สำคัญมากต่อประวัติศาสตร์ของประเทศเราและในประวัติศาสตร์ของสถาบันกษัตริย์ และมีเอกลักษณ์มากที่ยังคงรูปแบบดั้งเดิมที่สร้างขึ้นมา” คริสตา เบลสลีย์ นักอนุรักษ์กล่าว
เป็นเวลาหลายศตวรรษแล้วที่ตามประเพณีดั้งเดิมระบุว่าไม่ควรมีราชวงศ์อื่นมาเข้าร่วมพิธีสวมมงกุฎในพิธีราชาภิเษกของกษัตริย์อังกฤษ เพราะพิธีนี้มีความศักดิ์สิทธิ์โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างพระมหากษัตริย์และประชาชนของพวกเขาในที่ประทับของพระเจ้า
แต่ทว่าในปี 2023 นี้ กษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3 ก็ทรงวางแผนที่จะทำให้พิธีนี้มีความทันสมัย และทรงตัดสินใจเปลี่ยนประเพณีเก่าแก่ที่ดำเนินมาอย่างยาวนานกว่า 900 ปีด้วยการเชิญพระสหายมาเข้าร่วมพิธีสวมมงกุฎ รวมทั้งราชวงศ์ยุโรปและผู้ปกครองจากรัฐอาหรับด้วย
ทั้งนี้คาดว่าประกาศอย่างเป็นทางการในการเชิญแขกมาร่วมงานสำหรับพิธีราชาภิเษกจะในช่วงเดือนเมษายนนี้ และจำกัดไว้แค่ 2,000 คนเท่านั้น จากแต่ก่อนในสมัยพระราชพิธีของควีนเอลิซาเบธที่ 2 ซึ่งมีแขกร่วมงานถึง 8,000 คนในปี 1953
เนื่องจากบัลลังก์ราชาภิเษกเป็นเครื่องเรือนที่เก่าแก่ที่สุดในสหราชอาณาจักรจนถึงปัจจุบันนั้นก็ล่วงเลยมากว่า 700 ปีแล้ว และใช้ตามวัตถุประสงค์เดิม เมื่อเวลาผ่านไปทำให้มีการเปลี่ยนแปลงแทบจะทั้งหมด แต่ก็ยังคงเป็นบัลลังก์เคียงคู่ราชวงศ์อังกฤษเสมอมาในยามที่มีราชพิธีราชาภิเษก และยังเป็นอีกประเพณีหนึ่งที่เชื่อมสายสัมพันธ์ของราชวงศ์ด้วย
“บัลลังก์หลังนี้สำคัญมากต่อประวัติศาสตร์ของประเทศเราและในประวัติศาสตร์ของสถาบันกษัตริย์ และมีเอกลักษณ์มากที่ยังคงรูปแบบดั้งเดิมที่สร้างขึ้นมา” คริสตา เบลสลีย์ นักอนุรักษ์กล่าว
เป็นเวลาหลายศตวรรษแล้วที่ตามประเพณีดั้งเดิมระบุว่าไม่ควรมีราชวงศ์อื่นมาเข้าร่วมพิธีสวมมงกุฎในพิธีราชาภิเษกของกษัตริย์อังกฤษ เพราะพิธีนี้มีความศักดิ์สิทธิ์โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างพระมหากษัตริย์และประชาชนของพวกเขาในที่ประทับของพระเจ้า
แต่ทว่าในปี 2023 นี้ กษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3 ก็ทรงวางแผนที่จะทำให้พิธีนี้มีความทันสมัย และทรงตัดสินใจเปลี่ยนประเพณีเก่าแก่ที่ดำเนินมาอย่างยาวนานกว่า 900 ปีด้วยการเชิญพระสหายมาเข้าร่วมพิธีสวมมงกุฎ รวมทั้งราชวงศ์ยุโรปและผู้ปกครองจากรัฐอาหรับด้วย
ทั้งนี้คาดว่าประกาศอย่างเป็นทางการในการเชิญแขกมาร่วมงานสำหรับพิธีราชาภิเษกจะในช่วงเดือนเมษายนนี้ และจำกัดไว้แค่ 2,000 คนเท่านั้น จากแต่ก่อนในสมัยพระราชพิธีของควีนเอลิซาเบธที่ 2 ซึ่งมีแขกร่วมงานถึง 8,000 คนในปี 1953