สุขใดเล่า จะสุขเท่าทหารเกณฑ์!? ‘ทหาร’ อาชีพที่ไม่ได้มาจากความสมัครใจ

25 เม.ย. 2566 - 08:48

  • ปัจจุบัน ‘การเกณฑ์ทหาร’ ก็ยังคงเป็นคำถามที่คนไทยหยิบยกขึ้นมาถกเถียงกันอยู่เสมอว่า เราควรยกระดับคุณภาพชีวิตทหารเกณฑ์หรือไม่?

Countries-still-have-military-conscription-SPACEBAR-Hero
จากกรณีเพจ ‘อยากดังเดี๋ยวจัดให้ รีเทริน์ part 6’ โพสต์ข้อความ พร้อมติดแฮชแท็กให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งตรวจสอบเกี่ยวกับการจัดหาอาหารให้แก่พลทหารเกณฑ์ ที่ร้องเรียนเกี่ยวกับอาหารของโรงเลี้ยงที่จัดอาหารให้กินแต่ละวันว่า ‘ไม่สมน้ำสมเนื้อ’ น้ำซุปน้ำแกงท่วมหม้อ แต่เนื้อสัตว์ต้องงมหากัน
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6fNfjXM8BL8N7L4uoQPfBw/ec176a4ff457baa79fed161f45ba4c91/Countries-still-have-military-conscription-SPACEBAR-Photo02
Photo: Facebook fanpage: อยากดังเดี๋ยวจัดให้ รีเทริน์ part 6
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2FVZPVQCZ8x7F0RkXnrjrg/0c3beae1716100a5dce355b2470b62e5/Countries-still-have-military-conscription-SPACEBAR-Photo01__1_
Photo: Facebook fanpage: อยากดังเดี๋ยวจัดให้ รีเทริน์ part 6
ขณะที่ชาวเน็ตต่างพากันตั้งคำถาม รวมถึงแชร์ประสบการณ์ของตัวเองในช่วงที่ตนเคยเกณฑ์ทหาร บางคนก็แสดงความคิดเห็นไปในทางประชดประชัน เช่น พรุ่งนี้คงได้กินพิซซ่ากันทั้งค่าย แม้ว่าก่อนหน้านี้เราจะเคยเห็นโพสต์จากทางกองทัพฯ ที่แสดงให้เห็นว่าเหล่าทหารเกณฑ์ได้กินอาหารดีๆ อย่างไก่ทอดเคเอฟซีจนกลายเป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์พร้อมกับมีมใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้นมาในช่วงนั้น  

ปัจจุบัน ‘การเกณฑ์ทหาร’ ก็ยังคงเป็นคำถามที่คนไทยหยิบยกขึ้นมาถกเถียงกันอยู่เสมอว่า เราควรยกระดับคุณภาพชีวิตทหารเกณฑ์หรือไม่? เพราะหากอาชีพทหารเกณฑ์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อาจจะมีผู้ที่สมัครใจเกณฑ์ทหารมากกว่านี้ และทำให้กระแสต่อต้านลดน้อยลง แม้กระทั่งพรรคการเมืองหลายๆ พรรคเองก็ได้ถกเถียงถึงประเด็นนี้เช่นกัน บางพรรคถึงขั้นที่จะ ‘ยกเลิกเกณฑ์ทหาร’ ไปเลยก็มี  

‘ทหารเกณฑ์’ อาชีพที่มาจากการบังคับ? 

นอกจากประเทศไทยแล้ว ประเทศเพื่อนบ้านของเราเองบางประเทศก็ยังมีการ ‘บังคับ’ เกณฑ์ทหารเช่นกัน ข้อมูลจากเว็บไซต์ thaiarmedforce ระบุไว้เมื่อปี 2021 ว่า ประเทศสิงคโปร์ ชายอายุ 18 ปี จะต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหาร และเข้าฝึกทหารขั้นพื้นฐาน แล้วเข้าทำงานให้กองทัพ หรือตำรวจ หรือหน่วยป้องกัยภัยฝ่ายพลเรือน (ดับเพลิง, ฉุกเฉิน) เป็นเวลา 2 ปี  

ส่วนประเทศเวียดนาม ชายอายุ 18-27 ปี ต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหาร โดยทหารบกจะใช้เวลา 2 ปี ทหารเรือหรืออากาศใช้เวลา 3 ปี ขณะที่ประเทศลาว และกัมพูชา ชายที่อายุ 18 ปี ต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหารเป็นเวลา 18 เดือน แต่กลายเป็นว่าก็ไม่ได้เป็นการบังคับเลยซะทีเดียว เนื่องจากกองทัพไม่มีงบประมาณในการจ้าง 

แม้ว่าประเทศเหล่านี้จะยังมีการบังคับเกณฑ์ทหาร เพื่อนบ้านเราบางส่วนไม่มีแม้กระทั่งการเกณฑ์ทหาร ถึงขั้นที่ว่า ถ้าอยากเป็นทหาร ก็ต้องจ่ายเงินใต้โต๊ะกันเลยทีเดียว ซึ่งประเทศเหล่านั้นได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ และเมียนมา อย่างไรก็ตาม บางประเทศยังมีกฎหมายที่อนุญาตให้รัฐบาลประเทศนั้นๆ สามารถเกณฑ์กำลังพลมาได้หากมีเหตุจำเป็นจริงๆ ในระดับสงครามเต็มรูปแบบ 

‘เธอ’ ก็เป็นได้นะ ‘ทหาร’ น่ะ 

นอร์เวย์ กลายเป็นประเทศสมาชิกประเทศแรกขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต  ที่เสนอการเกณฑ์ทหารภาคบังคับสำหรับผู้หญิงตั้งแต่ปี 2015 โดยสัดส่วนของผู้หญิงในกองทัพเพิ่มขึ้นเป็น 20% ในปี 2021 ขณะที่สวีเดนคืนสถานะการเกณฑ์ทหารตั้งแต่ปี 2017 โดยขยายการเกณฑ์ทหารให้ผู้หญิงด้วย ส่วนเกาหลีเหนือเองก็มีการบังคับเกณฑ์ทหารทั้งชายและหญิง 

อิสราเอลเองก็เป็นอีกประเทศที่มีการเกณฑ์ทหารทั้งชายและหญิง ซึ่งทหารหญิงของอิสราเอลมีบทบาทสำคัญในแวดวงการเมืองของประเทศตั้งแต่ได้รับเอกราชในปี 1948 แม้ว่าในเวลานั้นการเกณฑ์ทหารหญิงจะจำกัดเฉพาะหญิงชนชาติยิวก็ตาม  

ในปี 2014 กองกำลังป้องกันประเทศอิสราเอล (IDF) ระบุว่า มีผู้หญิงน้อยกว่า 4% ที่อยู่ในตำแหน่งต่อสู้ เช่น ทหารราบเบาและนักบินเฮลิคอปเตอร์หรือเครื่องบินรบ เนื่องจากพวกเธอมุ่งความสนใจไปที่ตำแหน่ง ‘สนับสนุนการรบ’ มากกว่า  

แรงจูงใจ 

โมเดลประเทศที่น่าสนใจที่เรายกมาในวันนี้คือ ‘ไต้หวัน’ 

รัฐบาลไต้หวันปรับเปลี่ยนรูปแบบการเกณฑ์ทหาร แม้ว่าไต้หวันเองจะยังยืนอยู่บนความขัดแย้งกับจีนก็ตาม การเกณฑ์ทหารของไต้หวัน จะมีระบบให้เลือกทำงานบริการสังคมทดแทน ทหารสามารถเดินทางกลับบ้านได้ทุกเสาร์-อาทิตย์ และล่าสุดไต้หวันก็ได้ส่งเสริมกีฬา eSport ผู้ที่เข้าแข่งขันกีฬาดังกล่าว สามารถใช้ความเป็นนักกีฬาทดแทนการเกณฑ์ทหารได้ 

อย่างไรก็ตาม เมื่อปี 2022 ประธานาธิบดี ไช่ อิงเหวิน ของไต้หวัน ได้ออกมาประกาศขยายเวลารับราชการทหารภาคบังคับจากเดิม 4 เดือน เป็น 1 ปี  โดยการตัดสินใจดังกล่าวนี้ เกิดขึ้นจากความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างไต้หวันและจีน ที่อ้างสิทธิ์ในการปกครองไต้หวันว่าเป็นดินแดนของตน

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์