จากกรณี ‘น้องต่อ’ เด็กชายวัย 8 เดือน หายสาบสูญไปจากอ้อมอกของผู้เป็น ‘แม่’ กำลังตกเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ถึงเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากที่เจ้าหน้าที่สืบสวนเริ่มปฏิบัติหน้าที่ แม้ล่าสุด (24 ก.พ.) เจ้าหน้าที่ยังหาตัวน้องต่อไม่พบ แต่ทั้งมวลเรื่องราวที่เกิดขึ้น ทำให้เราฉุกคิดได้เรื่องหนึ่งเกี่ยวกรณีนี้ว่า แม่ของน้องต่อกำลังปล่อยให้ชีวิตดำเนินไป ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เกี่ยวกับความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ การตัดสินใจ และการกระทำที่ขาดวุฒิภาวะ ทั้งที่แม่ของน้องต่อ เป็นเยาวชนที่มีอายุเพียง 17 ปีเท่านั้น
มีเด็กผู้หญิงหลายคนที่ตั้งครรภ์ถูกกดดันหรือบังคับให้ออกจากระบบการศึกษา นอกจากนี้ยังมีสถานภาพในบ้านหรือครอบครัวที่ลดลง ถูกตีตรา ตลอดจนประสบกับความรุนแรงจากสมาชิกในครอบครัวเองหรือคู่ครอง
เด็กผู้หญิงในฝั่งตะวันตกและแอฟริกากลาง กว่า 1 ใน 4 ตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรก่อนอายุ 18 ปี คิดเป็นสัดส่วนสูงสุดอยู่ที่ 27% รองลงมาคือแอฟริกาตะวันออกและใต้คิดเป็น 25% ขณะที่ทั่วโลกอยู่ที่ 14% ทว่าตัวเลขหนึ่งที่น่าสนใจคือ เอเชียใต้ ที่มีสัดส่วนอยู่ที่ 10%
ในจำนวน 10% ของเด็กสาวในเอเชียใต้ให้กำเนิดบุตรก่อนอายุ 18 ปี ในช่วงปี 2015 - 2021 ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวนี้เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า เมื่อพิจารณาจากภูมิภาคย่อยของทะเลทรายซาฮารา ทั้งในแอฟริกาตะวันตก แอฟริกากลาง แอฟริกาตะวันออกและใต้ กว่า 25% ของเด็กสาววัยรุ่นในช่วงเวลาเดียวกันนี้ให้กำเนิดบุตรก่อนอายุ 18 ปี ซึ่งในภูมิภาคเหล่านี้มีจำนวนเด็กผู้หญิงประมาณ 11 ล้านคน
เมื่อเรามองไปที่ ‘ต้นตอ’ ของปัญหานี้ พบว่าคือการตั้งครรภ์ในวัยอันไม่สมควร
ข้อมูลจากองค์กรเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (Unicef) ระบุว่า ในปี 2021 ประมาณ 14% ของเด็กผู้หญิงทั่วโลก ให้กำเนิดบุตรก่อนอายุ 18 ปี และตั้งครรภ์ในช่วงวัยรุ่น ซึ่งอาจทำให้พัฒนาการด้านสุขภาพของเด็กผู้หญิงหยุดชะงักเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ และส่งผลเสียต่อการศึกษา การดำรงชีวิต และสุขภาพมีเด็กผู้หญิงหลายคนที่ตั้งครรภ์ถูกกดดันหรือบังคับให้ออกจากระบบการศึกษา นอกจากนี้ยังมีสถานภาพในบ้านหรือครอบครัวที่ลดลง ถูกตีตรา ตลอดจนประสบกับความรุนแรงจากสมาชิกในครอบครัวเองหรือคู่ครอง
การตั้งครรภ์ในวัยอันไม่สมควรนี้ ควรถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นปัญหาสังคม หลักๆ ที่ต้องหาทางการแก้ปัญหาได้หรือยัง?
ข้อมูลจาก Unicef ชี้ให้เห็นว่า เกือบ 1 ใน 6 ของหญิงสาวทั่วโลกคลอดบุตรก่อนอายุ 18 ปี ในช่วงปี 2015 – 2021 อย่างไรก็ตาม สัดส่วนดังกล่าวแตกต่างกันไปตามปัจจัยหลายประการ ซึ่งได้แก่ ภูมิภาค ประเทศ ฐานที่ตั้งภายในประเทศ (ชนบทกับในเมือง) ระดับรายได้ และการศึกษาของเด็กผู้หญิงเด็กผู้หญิงในฝั่งตะวันตกและแอฟริกากลาง กว่า 1 ใน 4 ตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรก่อนอายุ 18 ปี คิดเป็นสัดส่วนสูงสุดอยู่ที่ 27% รองลงมาคือแอฟริกาตะวันออกและใต้คิดเป็น 25% ขณะที่ทั่วโลกอยู่ที่ 14% ทว่าตัวเลขหนึ่งที่น่าสนใจคือ เอเชียใต้ ที่มีสัดส่วนอยู่ที่ 10%
ในจำนวน 10% ของเด็กสาวในเอเชียใต้ให้กำเนิดบุตรก่อนอายุ 18 ปี ในช่วงปี 2015 - 2021 ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวนี้เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า เมื่อพิจารณาจากภูมิภาคย่อยของทะเลทรายซาฮารา ทั้งในแอฟริกาตะวันตก แอฟริกากลาง แอฟริกาตะวันออกและใต้ กว่า 25% ของเด็กสาววัยรุ่นในช่วงเวลาเดียวกันนี้ให้กำเนิดบุตรก่อนอายุ 18 ปี ซึ่งในภูมิภาคเหล่านี้มีจำนวนเด็กผู้หญิงประมาณ 11 ล้านคน

แล้ว ‘ประเทศไทย’ ล่ะ?
ขณะที่ในปี 2013 ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขไทย ที่ได้มีการสำรวจตัวเลขในโรงพยาบาลของรัฐบาล ระหว่างปี 2001 – 2009 พบว่ามีวัยรุ่นที่ไทยตั้งครรภ์ ก่อนวัยอันควร เพิ่มขึ้นจาก 10% เป็น 40% ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ว่า ‘ประเทศไทย’ มีจำนวนหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี ตั้งครรภ์และคลอดบุตรถึง 13%ทางออกของปัญหา คือ การพูดคุย?
ความคิดเห็นหนึ่งของ โรนัลด์ สวอน ที่เผยแพร่โดย Washington Post ระบุว่า วิธีเดียวที่จะป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นคือ ‘การรู้จักการปฏิเสธ’ อย่าปล่อยให้คู่ของคุณบังคับให้คุณทำสิ่งที่คุณอาจต้องเสียใจในภายหลัง อีกทั้งการมีใครสักคนที่คุณสามารถพูดคุยด้วยได้ พ่อแม่ ครูแนะแนว เพื่อน หรือคนที่คุณรู้สึกสบายใจที่จะพูดคุยด้วยจะเป็นประโยชน์อย่างมากสวอนคิดว่าการจัดตั้งคลินิกในโรงเรียนจะช่วยบรรเทาปัญหาได้ คลินิกเหล่านี้จะช่วยให้นักศึกษาได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับบริการทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง เช่นเดียวกับการคุมกำเนิดและการป้องกันกามโรค การมีคลินิกแบบนี้ในโรงเรียนไม่ได้เพื่อบอกให้นักเรียน ‘ห้าม’ มีเพศสัมพันธ์ แต่จะแนะนำให้พวกเขารู้จักการป้องกัน
สวอนมองว่า ‘การศึกษา’ เป็นปัจจัยสำคัญในการต่อสู้กับการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
ขณะที่ไมเคิล ยัง จากมหาวิทยาลัยแอริโซนา ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และได้ข้อเท็จจริงที่น่าประทับใจว่า วัยรุ่นที่ได้รับความรู้เรื่องเพศจากพ่อแม่และโรงเรียนมักจะมีอัตราการตั้งครรภ์ต่ำ และหากพวกเขามีเพศสัมพันธ์ก็จะใช้การคุมกำเนิดอย่างไรก็ตาม รัฐบาลและสถาบันครอบครัวทั้งหลายในกลุ่มประเทศที่ประสบกับปัญหาดังกล่าว ควรยื่นมือเข้ามาเพื่อให้ปัญหาได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังเสียที
เม็กซิโก เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ประสบปัญหานี้เช่นกัน
การตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในเม็กซิโกส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับความยากจนในครัวเรือน และการมีหรือไม่มีพ่อแม่ ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานในละตินอเมริกา จากการสำรวจสำประชากรปี 2020 เพื่อประเมินปัจจัยกำหนดการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นตามลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลจากภาพรวมการวิเคราะห์ของเราพบว่าหญิงสาวที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบทหรือเป็นคนพื้นเมืองมีแนวโน้มที่จะเป็นแม่วัยรุ่น อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาตัวแปรด้านสวัสดิการครัวเรือน (เช่น สภาพที่อยู่อาศัยหรือการครอบครองทรัพย์สิน) เชื้อชาติและความเป็นชนบทจะไม่เป็นปัจจัยเสี่ยงอีกต่อไป ผลลัพธ์เหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีความสัมพันธ์กับความเป็นอยู่ที่ดีในครัวเรือน และไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นชนพื้นเมืองหรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท
การ ‘แก้ปัญหา’ ของเม็กซิโก
นโยบายที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลในการลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ได้แก่ นโยบายสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ โปรแกรมการศึกษาระหว่างเพื่อน หรือโรงเรียน กิจกรรมเสริมศักยภาพและการฝึกอบรม โปรแกรมการรักษา และการรณรงค์เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการวิเคราะห์ร่วมกับรายงานการมีส่วนร่วมของแรงงานสตรีในเม็กซิโก แสดงให้เห็นว่าทั้งศูนย์บริการที่เป็นมิตรและความพร้อมของแพทย์ต่อหน่วยงานทางการแพทย์มีความสัมพันธ์กับโอกาสตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่ต่ำกว่า