อุตสาหกรรมอาวุธยุโรปเฟื่องฟู! หลังรัฐบาลยืนหยัดเคียงข้างยูเครน

10 มีนาคม 2566 - 08:41

Europes-defense-industry-is-booming-as-governments-stand-by-Ukraine-SPACEBAR-Thumbnail
  • ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันนั้นได้แปลเป็นข้อผูกพันเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้จ่ายทางทหารในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา

  • ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ กลุ่มประเทศทางยุโรปได้ประกาศว่าจะอัดฉีดเงินอีก 545 ล้านยูโรเข้ากองทุนความช่วยเหลือทางทหาร 3.6 พันล้านยูโรสำหรับยูเครน

  • “ยูเครนควรได้รับยุทโธปกรณ์ทางทหารที่จำเป็นทั้งหมดและการฝึกอบรมที่จำเป็นเพื่อป้องกันดินแดนของตน…สหภาพยุโรปจะยังคงสนับสนุนยูเครนต่อไปตราบเท่าที่ต้องใช้ และตราบเท่าที่จำเป็น”

สำนักข่าว CNN รายงานว่า ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านม่ราคาหุ้นของบริษัทผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ในยุโรปพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดน่าจะเฟื่องฟูขึ้นไปอีกหลังจากสหภาพยุโรปมีแผนจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ไปสนับสนุนยูเครนอีกราว 2 พันล้านยูโร (ราว 7.4 หมื่นล้านบาท)  

รัฐมนตรีกลาโหมสหภาพยุโรปเพิ่งจะเสร็จสิ้นจากการประชุมสุดยอด 2 วันที่สวีเดนในสัปดาห์นี้ ซึ่งผลลัพธ์ก็คือข้อตกลงชั่วคราวเพื่อร่วมกันซื้อกระสุนปืนใหญ่ 155 มม. ที่เคียฟต้องการอย่างยิ่ง และส่งกระสุนปืนใหญ่เพิ่มเติมไปยังยูเครนจากคลังที่มีอยู่ของประเทศในสหภาพยุโรป 

โอเล็กซี เรซนิคอฟ รัฐมนตรีกลาโหมของยูเครนกล่าวที่กรุงสตอกโฮล์มเมื่อวันพุธ (8 มี.ค.) ที่ผ่านมาว่า ประเทศของเขาต้องการกระสุน 1 ล้านนัดโดยเร็วที่สุดเพื่อสกัดกั้นกองกำลังรัสเซีย 

การตัดสินใจขั้นสุดท้ายคาดว่าจะมีขึ้นในวันที่ 20 มีนาคมนี้ ซึ่งรัฐมนตรีต่างประเทศและกระทรวงกลาโหมของสหภาพยุโรปจะประชุมกันที่กรุงบรัสเซลส์ 

“ผมคิดว่าหลายประเทศได้รับการปลุกและจำเป็นต้องเติมและเพิ่มสต็อก…สิ่งนี้จะดำเนินต่อไปอีกหลายปีข้างหน้า” มิคาเอล โจฮานส์สัน ประธานกรรมการบริหารของซาบ (Saab) บริษัทคู่สัญญาด้านการป้องกันประเทศของสวีเดนกล่าวกับ CNN โดยโจฮานส์สันคาดว่ายอดขายของ Saab จะเพิ่มขึ้น 15% ในปีนี้ แม้เขาจะหวังให้สงครามยุติลงโดยเร็ว 

นักลงทุนพากันซื้อหุ้นบริษัทผลิตอาวุธในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากพันธมิตรของยูเครนเพิ่มการสนับสนุนทางทหาร และผู้บริจาคบางส่วนพยายามเติมเสบียงที่เบาบางลง 

ดัชนี STOXX Europe Total Market Aerospace and Defense ซึ่งติดตามบริษัทชั้นนำด้านการป้องกันประเทศ 25 แห่งได้เพิ่มขึ้น 41% นับตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ซึ่งทำได้ดีกว่าดัชนีมาตรฐานที่กว้างขึ้นของภูมิภาคอย่าง Stoxx Europe 600 ถึง 18 จุด 

ส่วนดัชนี MSCI World Aerospace and Defense Index ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานระดับโลก เพิ่มขึ้นเกือบ 26% จากช่วงเวลาเดียวกัน 

อย่างไรก็ดี ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันนั้นได้แปลเป็นข้อผูกพันเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้จ่ายทางทหารในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ กลุ่มประเทศทางยุโรปได้ประกาศว่าจะอัดฉีดเงินอีก 545 ล้านยูโร (ราว 2 หมื่นล้านบาท) เข้ากองทุนความช่วยเหลือทางทหาร 3.6 พันล้านยูโร (ราว 1.33 แสนล้านบาท) สำหรับยูเครน 

และในเดือนมกราคม เยอรมนี ฝรั่งเศส โปแลนด์ และสหราชอาณาจักรตกลงที่จะจัดหารถถังหลักสมัยใหม่ให้กับเคียฟ เพื่อตอบสนองต่อการเรียกร้องอันยาวนานของประธานาธิบดียูเครน โวโลดิมีร์ เซเลนสกี แม้จะมีความกลัวว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวอาจจุดชนวนความตึงเครียดระหว่างชาติตะวันตกกับรัสเซีย 

BAE Systems (BAESF) ซึ่งเป็นผู้รับเหมาด้านกลาโหมรายใหญ่ที่สุดของยุโรปเมื่อพิจารณาจากรายได้ ได้รับคำสั่งซื้อสูงเป็นประวัติการณ์มูลค่า 37 พันล้านปอนด์ (ราว 1.5 ล้านล้านบาท) ในปีที่แล้ว แม้ว่าส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับโครงการก่อนเกิดสงครามก็ตาม 

หุ้น BAE เพิ่มขึ้น 55% นับตั้งแต่รัสเซียรุกรานยูเครนเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยบริษัทคาดการณ์ว่ากำไรต่อหุ้นซึ่งเป็นมาตรวัดความสามารถในการทำกำไรจะเพิ่มขึ้นระหว่าง 5-7% ในปี 2023  

“ยูเครนควรได้รับยุทโธปกรณ์ทางทหารที่จำเป็นทั้งหมดและการฝึกอบรมที่จำเป็นเพื่อป้องกันดินแดนของตน…สหภาพยุโรปจะยังคงสนับสนุนยูเครนต่อไปตราบเท่าที่มันต้องใช้ และตราบเท่าที่จำเป็น” โจเซป บอร์เรลล์ หัวหน้าฝ่ายกิจการต่างประเทศและความมั่นคงของสหภาพยุโรปกล่าวในแถลงการณ์เมื่อเดือนที่แล้ว 

ทั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่สหภาพยุโรปส่งอาวุธร้ายแรงไปยังประเทศที่สามภายใต้สภาวะสงครามรัสเซียยูเครน ซึ่งเป็นการเน้นย้ำถึงขอบเขตของภัยคุกคามที่เชื่อว่ามอสโกมีผลต่อความมั่นคง

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์