การทูตแพนด้า จุดเริ่มต้นวัฒนธรรมขนปุยของจีน

19 เมษายน 2566 - 09:10

Hard-truth-about-Chinas-cuddliest-diplomat-SPACEBAR-Thumbnail
  • ข่าวการจากไปของ ‘หลินฮุ่ย’ แพนด้าที่เป็นขวัญใจชาวไทย แน่นอนว่าขณะนี้ ‘เจ้าภาพ’ หรือชาวจีน เริ่มตั้งคำถามถึงการจากไปของหมีแพนด้าวัย 21 ปีที่พวกเขาเป็นคน ‘ให้ยืม’ หลังจากมีภาพเลือดไหลออกมาจากจมูกหลินฮุ่ย

ข่าวการจากไปของ ‘หลินฮุ่ย’ แพนด้าที่เป็นขวัญใจชาวไทย แน่นอนว่าขณะนี้ ‘เจ้าภาพ’ หรือชาวจีน เริ่มตั้งคำถามถึงการจากไปของหมีแพนด้าวัย 21 ปีที่พวกเขาเป็นคน ‘ให้ยืม’ หลังจากมีภาพเลือดไหลออกมาจากจมูกหลินฮุ่ย 

ก่อนหน้านี้มีเคยมีดราม่าเกี่ยวกับการเสียชีวิต และสุขภาพที่ไม่ดีของแพนด้ายักษ์ 2 ตัว ในสหรัฐฯ ที่ทำให้ชาวจีนบางคนเริ่มตั้งคำถามว่า.. ถึงเวลายุติ ‘การทูตแพนด้า’ แล้วหรือยัง?

การทูตแพนด้า - จุดเริ่มต้นวัฒนธรรมขนปุย 

‘แพนด้า’ เป็นมากกว่าการเจรจาต่อรองระหว่างประเทศ แต่แพนด้าเปรียบเสมือนแรงผลักดันสำหรับความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ที่ทั่วโลกมีในการปกป้องสายพันธุ์แพนด้าร่วมกัน  

ตัวอย่างแรกของการใช้หมีแพนด้าเป็นของขวัญทางการเมืองอย่างชัดเจน เริ่มต้นที่ภรรยาของ เจียงไคเชก ผู้นำจีนในสมัยนั้น ได้มอบสัตว์คู่หนึ่งชื่อแพนดี้ และแพนด้าให้กับสวนสัตว์บรองซ์ ของสหรัฐฯ ในปี 1941 เพื่อแสดงความขอบคุณที่สหรัฐฯ ช่วยเหลือจีนในยามกับญี่ปุ่นน และหลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์ขึ้นสู่อำนาจในปี 1949 ประธาน เหมาเจ๋อตุง ได้รื้อฟื้นวิธีปฏิบัติในการให้แพนด้าเป็นของขวัญแก่พันธมิตรใกล้ชิด ซึ่งในตอนนั้นก็คือ เกาหลีเหนือ และสหภาพโซเวียต  

จนกระทั่งในปี 1957 จีนได้มอบแพนด้าให้กับนานาประเทศ เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพและความปรารถนาดี ต่อมารัฐบาลจีนยุตินโยบายให้แพนด้าแบบฟรีๆ ในปี 1982 เนื่องจากสัตว์ชนิดนี้หายากและต้องการการปกป้องสัตว์ที่ดีขึ้น 

จากนั้นทางการจีนเปลี่ยนแนวทางเป็นการให้ยืมแพนด้า ภายใต้ในเงื่อนไขการวิจัยแบบร่วมมือจากจีนไปยังบางประเทศและภูมิภาค  ซึ่งในระหว่างนั้น แพนด้าที่เกิดจากการเพาะพันธุ์ยังคงเป็นของจีน และจะถูกส่งกลับไปยังจีนเมื่ออายุ 4 ขวบเพื่อทำการผสมพันธุ์ 

Global Times สื่อของทางการจีนระบุว่า สวนสัตว์ในสหรัฐฯ ต้องจ่ายเงินถึง 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 34 ล้านบาท) ต่อปี เพื่อเช่าแพนด้าเพียงตัวเดียว โดยสวนสัตว์ส่วนใหญ่เซ็นสัญญา 10 ปีและจะเช่าครั้งละ 2-3 ตัวเพื่อประโยชน์ของการขยายพันธุ์ และหากมีลูกแพนด้าเกิดขึ้นมา พวกเขาจะต้องจ่ายเงินเพิ่ม 400,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 13 ล้านบาท) ให้กับจีน

ดราม่าที่เริ่มปะทุจาก ‘สาเหตุ’ การตาย 

แม้จะดูเป็นการเสียชีวิตธรรมดาของหลินฮุ่ย ที่มีอายุมากถึง 21 ปี ซึ่งเป็นอายุเฉลี่ยของแพนด้า ทว่าชาวเน็ตจีนรายหนึ่งได้เผยแพร่ภาพผ่านทางโซเชียลมีเดีย ที่แสดงให้เห็นว่า หลินฮุ่ยมีเลือดออกที่จมูก และมีแผลที่คอซึ้งเปื้อนเลือดก่อนที่จะเสียชีวิตในวันต่อมาเวลา 01.10 น.
 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1ClZdsEwcFyGPi3hvhEwSx/bd5d29acc7530859930880303bf763b0/Hard-truth-about-Chinas-cuddliest-diplomat-SPACEBAR-Photo01
Photo: 牛牛牛奶泡面包, 封面新闻
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2pWszHpYHM1np3YzrrekV5/db75144c66a2eade3b3019b7b5243586/Hard-truth-about-Chinas-cuddliest-diplomat-SPACEBAR-Photo06
Photo: 牛牛牛奶泡面包, 封面新闻
ภาพชุดดังกล่าวถูกเผยแพร่ต่ออย่างรวดเร็วในโลกออนไลน์ ผู้คนเริ่มตั้งคำถามกันมากขึ้นถึงการจากไปของหลินฮุ่ยว่า เป็นเพราะปัญหาสุขภาพ หรือเพราะถึงวัยอันควรแล้ว?

อย่างไรก็ตาม สวนสัตว์เชียงใหม่ได้ออกแถลงการณ์ถึงสาเหตุการตายของหลินฮุ่ยว่าเป็นการตายตามอายุขัยปกติ แม้จะพบว่าเลือดกำเดาไหลแต่ก่อนหน้านี้ก็สุขภาพดี แต่สาเหตุที่แท้จริงก็ต้องรอให้ทางจีนเป็นผู้ชันสูตรอีกครั้ง

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์