ในโอกาสที่เทศกาลการเลือกตั้งกลับมาอีกครั้ง SPACEBAR พาย้อนกลับไปดูว่าในสมัยกรีก-โรมันโบราณ ซึ่งเป็นที่เลื่องลือว่าเป็น ‘ต้นแบบประชาธิปไตยของโลก’ เขามีวิธีเลือกผู้นำกันอย่างไร? แล้วการมีส่วนร่วมของพลเมืองทั่วถึงหรือไม่?
ทั้งในกรุงเอเธนส์และกรุงโรม การมีส่วนร่วมในกระบวนการประชาธิปไตย (คำภาษากรีก dēmokratia แปลว่า ‘อำนาจประชาชน’) นั้น ถูกจำกัดไว้เฉพาะ ‘dēmos’ หรือพลเมืองชายที่เป็นอิสระ ส่วนผู้หญิงและทาสไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงแต่อย่างใด
ทั้งในกรุงเอเธนส์และกรุงโรม การมีส่วนร่วมในกระบวนการประชาธิปไตย (คำภาษากรีก dēmokratia แปลว่า ‘อำนาจประชาชน’) นั้น ถูกจำกัดไว้เฉพาะ ‘dēmos’ หรือพลเมืองชายที่เป็นอิสระ ส่วนผู้หญิงและทาสไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงแต่อย่างใด
ระบบลอตเตอรี่สุ่มเลือกผู้นำกันโกง

แม้จะได้ชื่อว่าเป็นต้นแบบประชาธิปไตยของโลก แต่กรุงเอเธนส์มีการเลือกตั้งน้อยมาก เนื่องจากชาวเอเธนส์โบราณไม่คิดว่าการเลือกตั้งเป็นวิธีการเลือกผู้นำที่เป็นประชาธิปไตยที่สุด
“เพื่อให้ระบอบประชาธิปไตยมอบอำนาจอย่างเต็มที่ให้กับประชาชนในการดำเนินการ ไม่ใช่แค่คนร่ำรวย คุณจึงต้องสุ่มเลือกคน” เอริค โรบินสัน ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยอินเดียนากล่าว
ในการตัดสินใจว่าใครจะทำหน้าที่ในสภา 500 คนนั้น ชาวเอเธนส์จะใช้ระบบที่เรียกว่า ‘การจับสลาก (sortition)’ จากทั้งหมด 10 เผ่าในเอเธนส์และแต่ละเผ่ามีหน้าที่จัดหาพลเมือง 50 คนเพื่อทำหน้าที่เป็นเวลา 1 ปีในสภา 500 คน
การเลือกตั้งโดยการจับสลากเลือกข้าราชการในนครรัฐกรีกโบราณมักจะถูกใช้สำหรับคัดเลือก ‘ผู้ปกครอง (Archons)’ รวมถึง ‘สมาชิกสภา (Boule)’ จำนวน 500 คนและคณะลูกขุนในศาล
สำหรับวิธีการจับสลากหรือสุ่มลอตเตอรี่นั้น พลเมืองจะใช้โทเค็นประจำตัวที่ทำจากไม้หรือทองสัมฤทธิ์เรียกว่า ‘พินนาเกีย (pinakion)’ ไปเสียบในอุปกรณ์พิเศษที่เรียกว่า ‘คลีโรเทอเรียน (kleroterion)’ ซึ่งเป็นตัวอย่างแรกของกระบวนการประชาธิปไตยเพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต
“เพื่อให้ระบอบประชาธิปไตยมอบอำนาจอย่างเต็มที่ให้กับประชาชนในการดำเนินการ ไม่ใช่แค่คนร่ำรวย คุณจึงต้องสุ่มเลือกคน” เอริค โรบินสัน ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยอินเดียนากล่าว
ในการตัดสินใจว่าใครจะทำหน้าที่ในสภา 500 คนนั้น ชาวเอเธนส์จะใช้ระบบที่เรียกว่า ‘การจับสลาก (sortition)’ จากทั้งหมด 10 เผ่าในเอเธนส์และแต่ละเผ่ามีหน้าที่จัดหาพลเมือง 50 คนเพื่อทำหน้าที่เป็นเวลา 1 ปีในสภา 500 คน
การเลือกตั้งโดยการจับสลากเลือกข้าราชการในนครรัฐกรีกโบราณมักจะถูกใช้สำหรับคัดเลือก ‘ผู้ปกครอง (Archons)’ รวมถึง ‘สมาชิกสภา (Boule)’ จำนวน 500 คนและคณะลูกขุนในศาล
สำหรับวิธีการจับสลากหรือสุ่มลอตเตอรี่นั้น พลเมืองจะใช้โทเค็นประจำตัวที่ทำจากไม้หรือทองสัมฤทธิ์เรียกว่า ‘พินนาเกีย (pinakion)’ ไปเสียบในอุปกรณ์พิเศษที่เรียกว่า ‘คลีโรเทอเรียน (kleroterion)’ ซึ่งเป็นตัวอย่างแรกของกระบวนการประชาธิปไตยเพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต

คลีโรเทอเรียนเป็นอุปกรณ์ที่มีการใช้เมื่อ 2,500 ปีที่แล้วในช่วงเริ่มต้นของประชาธิปไตยในเอเธนส์โบราณ เพื่อเลือกพลเมืองโดยการสุ่มสำหรับตำแหน่งที่มีอำนาจ สำหรับลักษณะโดยรอบทำจากแผ่นหินขนาดใหญ่ที่มีรอยบากด้วยช่องเล็กๆ หลายแถว ด้านข้างมีท่อแบบกรวยยึดติดอยู่
พลเมืองแต่ละคนจะเสียบแผ่นพินนาเกียเข้าไปในคอลัมน์หนึ่งของคลีโรเทอเรียน โดยเริ่มจากแถวบนสุด เมื่อพินนาเกียของผู้สมัครทั้งหมดถูกเสียบเข้าไปในตำแหน่งอาร์คอนหรือผู้ปกครอง จากนั้นพวกเขาจะนำลูกบอลทองแดงเล็กๆ (สีขาว-ดำ) เทลงจากด้านบนในช่องกรวยทางด้านข้างของคลีโรเทอเรียน
เมื่อลูกบอลหล่นลงท่อที่ด้านล่าง พวกเขาจะใช้อุปกรณ์หยุดพวกมันแล้วหมุนด้วยข้อเหวี่ยงจนกว่าลูกบอลจะหลุดออกมา 1 ลูก หากลูกบอลเป็นสีดำ พินนาเกียแถวแรกจะถูกเอาออก และเจ้าของพินนาเกียก็จะถูกคัดออก แต่หากเป็นลูกบอลสีขาว นั่นหมายความว่าพินนาเกียแถวแรกจะยังคงอยู่ และเจ้าของพินนาเกียจะเป็นตัวแทนในแถวนั้น
ชมคลิปจำลองสถานการณ์ระบบสุ่มเลือกผู้นำลอตเตอรี่โบราณ
พลเมืองแต่ละคนจะเสียบแผ่นพินนาเกียเข้าไปในคอลัมน์หนึ่งของคลีโรเทอเรียน โดยเริ่มจากแถวบนสุด เมื่อพินนาเกียของผู้สมัครทั้งหมดถูกเสียบเข้าไปในตำแหน่งอาร์คอนหรือผู้ปกครอง จากนั้นพวกเขาจะนำลูกบอลทองแดงเล็กๆ (สีขาว-ดำ) เทลงจากด้านบนในช่องกรวยทางด้านข้างของคลีโรเทอเรียน
เมื่อลูกบอลหล่นลงท่อที่ด้านล่าง พวกเขาจะใช้อุปกรณ์หยุดพวกมันแล้วหมุนด้วยข้อเหวี่ยงจนกว่าลูกบอลจะหลุดออกมา 1 ลูก หากลูกบอลเป็นสีดำ พินนาเกียแถวแรกจะถูกเอาออก และเจ้าของพินนาเกียก็จะถูกคัดออก แต่หากเป็นลูกบอลสีขาว นั่นหมายความว่าพินนาเกียแถวแรกจะยังคงอยู่ และเจ้าของพินนาเกียจะเป็นตัวแทนในแถวนั้น
ชมคลิปจำลองสถานการณ์ระบบสุ่มเลือกผู้นำลอตเตอรี่โบราณ
ทำอย่างนี้เรื่อยๆ จนกว่าจะถึงแถวสุดท้าย เมื่อนั้นพวกเขาก็จะได้ตัวแทนของแต่ละแถวและเริ่มกระบวนการเลือกผู้นำเป็นอันดับต่อไป
ทั้งนี้ ชาวเอเธนส์ตระหนักดีถึงความเป็นไปได้ของการทุจริต การให้อำนาจมักจะทำให้อำนาจนั้นถูกใช้ในทางที่ผิด ดังนั้นพวกเขาจึงคิดค้นระบบลอตเตอรี่เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ โดยตัดสินใจว่าควรใช้คณะผู้แทนจำนวน 500 คนแทนที่จะใช้ผู้ปกครองคนเดียว (ซึ่งอาจถูกติดสินบนหรือข่มขู่ได้) ใครก็ตามที่ได้รับเลือกจากการสุ่มคลีโรเทอเรียนจะต้องผ่านการตรวจสอบเพื่อป้องกันการขาดคุณสมบัติในตำแหน่งอำนาจอีกด้วย
ทั้งนี้ ชาวเอเธนส์ตระหนักดีถึงความเป็นไปได้ของการทุจริต การให้อำนาจมักจะทำให้อำนาจนั้นถูกใช้ในทางที่ผิด ดังนั้นพวกเขาจึงคิดค้นระบบลอตเตอรี่เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ โดยตัดสินใจว่าควรใช้คณะผู้แทนจำนวน 500 คนแทนที่จะใช้ผู้ปกครองคนเดียว (ซึ่งอาจถูกติดสินบนหรือข่มขู่ได้) ใครก็ตามที่ได้รับเลือกจากการสุ่มคลีโรเทอเรียนจะต้องผ่านการตรวจสอบเพื่อป้องกันการขาดคุณสมบัติในตำแหน่งอำนาจอีกด้วย
‘หลักหนึ่งคนหนึ่งเสียง’ (One Man One Vote)

ในกรุงเอเธนส์ กฎหมายและคดีในศาลทั้งหมดได้รับการตัดสินโดยสมัชชา (ekklēsia) ซึ่งเป็นองค์กรประชาธิปไตยขนาดใหญ่ที่พลเมืองชายทุกคนมีสิทธิออกเสียง จากพลเมือง 30,000-60,000 คนในกรุงเอเธนส์ ซึ่งจะมีประมาณ 6,000 คนเท่านั้นที่เข้าร่วมและมีส่วนร่วมในการประชุมสมัชชาเป็นประจำ
การประชุมดังกล่าวเกิดขึ้นบริเวณอัฒจันทร์ธรรมชาติบนยอดเขาที่เรียกว่า ‘Pnyx’ ซึ่งมาจากคำภาษากรีกที่แปลว่า ‘แน่นแฟ้น’ และสามารถจุคนได้ระหว่าง 6,000-13,000 คน
“ชาวกรีกไม่มีการเลือกตั้งอย่างที่เราคิด พวกเขาลงคะแนนทางไปรษณีย์หรือไปโรงเรียนหรือโบสถ์เพื่อส่งบัตรลงคะแนน นั่นคือที่ที่เราเรียกว่า ‘สาธารณรัฐ’ (res publica เป็นภาษาละตินแปลว่า ‘สถานที่สาธารณะ’) คุณไปชุมนุมกับพลเมืองคนอื่นๆ และคุณตัดสินใจปัญหาต่อหน้าสภาในวันนั้น” เดล ดิกสัน ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยซานดิเอโกกล่าว
วาระการประชุมประจำวันสำหรับสภาถูกกำหนดโดยสภา 500 คน แต่กฎหมายและนโยบายของรัฐบาลทั้งหมดจะถูกโหวต ซึ่งการลงคะแนนทำได้โดยการยกมือและผู้ชนะจะถูกกำหนดโดย ‘ประธาน’ 9 คน (proedroi) อย่างไรก็ดี ชาวเอเธนส์จะระมัดระวังอย่างมากในการหลีกเลี่ยงความเป็นไปได้ที่จะโกงระบบ
“ตัวอย่างเช่น เครื่องนับคะแนน 9 เครื่องจะถูกสุ่มเลือกในตอนเช้าก่อนการประชุมสมัชชา ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากมากที่จะติดสินบนพวกเขา” โรบินสันกล่าว
ทั้งนี้มีเพียงไม่กี่ตำแหน่งเท่านั้นในเอเธนส์ที่ได้รับเลือกจากรัฐสภา โดยตำแหน่งที่โดดเด่นที่สุดก็คือ นายพลทหาร ซึ่งทุกๆ ปีจะมีนายพลราว 10 คนได้รับเลือกจากการลงคะแนนแบบง่ายๆ จากสมัชชาใหญ่
การประชุมดังกล่าวเกิดขึ้นบริเวณอัฒจันทร์ธรรมชาติบนยอดเขาที่เรียกว่า ‘Pnyx’ ซึ่งมาจากคำภาษากรีกที่แปลว่า ‘แน่นแฟ้น’ และสามารถจุคนได้ระหว่าง 6,000-13,000 คน
“ชาวกรีกไม่มีการเลือกตั้งอย่างที่เราคิด พวกเขาลงคะแนนทางไปรษณีย์หรือไปโรงเรียนหรือโบสถ์เพื่อส่งบัตรลงคะแนน นั่นคือที่ที่เราเรียกว่า ‘สาธารณรัฐ’ (res publica เป็นภาษาละตินแปลว่า ‘สถานที่สาธารณะ’) คุณไปชุมนุมกับพลเมืองคนอื่นๆ และคุณตัดสินใจปัญหาต่อหน้าสภาในวันนั้น” เดล ดิกสัน ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยซานดิเอโกกล่าว
วาระการประชุมประจำวันสำหรับสภาถูกกำหนดโดยสภา 500 คน แต่กฎหมายและนโยบายของรัฐบาลทั้งหมดจะถูกโหวต ซึ่งการลงคะแนนทำได้โดยการยกมือและผู้ชนะจะถูกกำหนดโดย ‘ประธาน’ 9 คน (proedroi) อย่างไรก็ดี ชาวเอเธนส์จะระมัดระวังอย่างมากในการหลีกเลี่ยงความเป็นไปได้ที่จะโกงระบบ
“ตัวอย่างเช่น เครื่องนับคะแนน 9 เครื่องจะถูกสุ่มเลือกในตอนเช้าก่อนการประชุมสมัชชา ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากมากที่จะติดสินบนพวกเขา” โรบินสันกล่าว
ทั้งนี้มีเพียงไม่กี่ตำแหน่งเท่านั้นในเอเธนส์ที่ได้รับเลือกจากรัฐสภา โดยตำแหน่งที่โดดเด่นที่สุดก็คือ นายพลทหาร ซึ่งทุกๆ ปีจะมีนายพลราว 10 คนได้รับเลือกจากการลงคะแนนแบบง่ายๆ จากสมัชชาใหญ่
เลือกตั้งพิเศษเพื่อขับไล่และเนรเทศ!

ในกรุงเอเธนส์ หากบุคคลสาธารณะคนใดทำให้บ้านเมืองเป็นที่น่าอับอายขายหน้า เป็นภัยคุกคามต่อรัฐหรือเป็นทรราช ยิ่งไปกว่านั้นหากว่าคนๆ นั้นเป็นที่นิยมมากเกินไป ผลที่ตามมาคือ บุคคลนั้นจะถูกเนรเทศออกจากกรุงเอเธนส์ไปเป็นเวลา 10 ปีผ่านการเลือกตั้งพิเศษที่เรียกว่า ‘การเนรเทศ (ostracism)’ ซึ่งเป็นคำที่มาจากภาษากรีกโบราณ ‘ostraka’ แปลว่า เศษเสี้ยวของเครื่องปั้นดินเผา
สำหรับการเลือกตั้งเพื่อเนรเทศนี้ สมาชิกสภาแต่ละคนจะได้รับเครื่องปั้นดินเผาชิ้นเล็กๆ และต้องเขียนชื่อคนที่สมควรถูกเนรเทศออกไป “หากมีคนอย่างน้อย 6,000 คนเขียนชื่อเดียวกัน คนที่ได้คะแนนเสียงมากที่สุดจะถูกไล่ออกจากเอเธนส์เป็นเวลา 10 ปี” ดิกสันกล่าว
ตัวอย่างที่มีชื่อเสียงคือ ‘เธมิสโตคลีส (Themistokles)’ วีรบุรุษทางการทหารของเอเธนส์จากยุทธนาวีซาลามิส (Salamis) ระหว่างกรีกและเปอร์เซียซึ่งถูกเนรเทศในปี 472 ก่อนคริสต์ศักราช และเขาเสียชีวิตจากการเนรเทศด้วย
นอกจากนี้ยังมีหลักฐานบ่งชี้ว่าศัตรูทางการเมืองของเธมิสโตคลีสได้สลักชื่อของเขาไว้ล่วงหน้าบนเศษเครื่องปั้นดินเผาหลายร้อยหรือหลายพันชิ้น พร้อมแจกจ่ายให้กับสมาชิกสภาที่ไม่รู้หนังสือ
สำหรับการเลือกตั้งเพื่อเนรเทศนี้ สมาชิกสภาแต่ละคนจะได้รับเครื่องปั้นดินเผาชิ้นเล็กๆ และต้องเขียนชื่อคนที่สมควรถูกเนรเทศออกไป “หากมีคนอย่างน้อย 6,000 คนเขียนชื่อเดียวกัน คนที่ได้คะแนนเสียงมากที่สุดจะถูกไล่ออกจากเอเธนส์เป็นเวลา 10 ปี” ดิกสันกล่าว
ตัวอย่างที่มีชื่อเสียงคือ ‘เธมิสโตคลีส (Themistokles)’ วีรบุรุษทางการทหารของเอเธนส์จากยุทธนาวีซาลามิส (Salamis) ระหว่างกรีกและเปอร์เซียซึ่งถูกเนรเทศในปี 472 ก่อนคริสต์ศักราช และเขาเสียชีวิตจากการเนรเทศด้วย
นอกจากนี้ยังมีหลักฐานบ่งชี้ว่าศัตรูทางการเมืองของเธมิสโตคลีสได้สลักชื่อของเขาไว้ล่วงหน้าบนเศษเครื่องปั้นดินเผาหลายร้อยหรือหลายพันชิ้น พร้อมแจกจ่ายให้กับสมาชิกสภาที่ไม่รู้หนังสือ
เลือกสมาชิกสภาจาก ‘เสียงโห่ร้องและปรบมือ’ (Applause-o-Meter)

“เอเธนส์เป็นนครรัฐกรีกโบราณที่ใหญ่ที่สุดและมีอำนาจมากที่สุด แต่เทศบาลแต่ละแห่งนั้นต่างก็มีรูปแบบการลงคะแนนเสียงและการเลือกตั้งของตนเอง” โรบินสันกล่าว
‘สปาร์ตา’ รัฐอิสระโบราณของกรีกที่เลืองชื่อว่าไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่กลับมีองค์ประกอบที่เป็นประชาธิปไตยอยู่ด้วย โดยหนึ่งในองค์กรปกครองสูงสุดของสปาร์ตาก็คือ ‘สภาผู้สูงอายุ (เยรูเซีย / gerousia)’ ประกอบด้วยกษัตริย์สปาร์ตัน 2 พระองค์ รวมถึงสมาชิกสภาที่ได้รับการเลือกตั้ง 28 คน ซึ่งมีอายุมากกว่า 60 ปี และจะดำรงตำแหน่งไปตลอดชีวิต
“เพื่อเติมที่นั่งในสภาที่ว่างอยู่ ชาวสปาร์ตันมีจัดการเลือกตั้งในรูปแบบที่แปลกประหลาด โดยผู้สมัครแต่ละคนจะผลัดกันเดินเข้าไปในห้องประชุมขนาดใหญ่ และผู้คนก็จะโห่ร้องยินดี แต่ในอีกห้องหนึ่งซึ่งถูกซ่อนไว้ไม่ให้มองเห็นนั้น ผู้ตัดสินก็จะเปรียบเทียบระดับเสียงตะโกนเพื่อเลือกผู้ชนะนั่นเอง” โรบินสันกล่าว
‘สปาร์ตา’ รัฐอิสระโบราณของกรีกที่เลืองชื่อว่าไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่กลับมีองค์ประกอบที่เป็นประชาธิปไตยอยู่ด้วย โดยหนึ่งในองค์กรปกครองสูงสุดของสปาร์ตาก็คือ ‘สภาผู้สูงอายุ (เยรูเซีย / gerousia)’ ประกอบด้วยกษัตริย์สปาร์ตัน 2 พระองค์ รวมถึงสมาชิกสภาที่ได้รับการเลือกตั้ง 28 คน ซึ่งมีอายุมากกว่า 60 ปี และจะดำรงตำแหน่งไปตลอดชีวิต
“เพื่อเติมที่นั่งในสภาที่ว่างอยู่ ชาวสปาร์ตันมีจัดการเลือกตั้งในรูปแบบที่แปลกประหลาด โดยผู้สมัครแต่ละคนจะผลัดกันเดินเข้าไปในห้องประชุมขนาดใหญ่ และผู้คนก็จะโห่ร้องยินดี แต่ในอีกห้องหนึ่งซึ่งถูกซ่อนไว้ไม่ให้มองเห็นนั้น ผู้ตัดสินก็จะเปรียบเทียบระดับเสียงตะโกนเพื่อเลือกผู้ชนะนั่นเอง” โรบินสันกล่าว
ในโรมันอภิสิทธ์เลือกตั้งก่อนเป็นของ ‘คนรวย’

“ในสมัยโบราณนั้น สาธารณรัฐโรมันยึดถือหลักการบางอย่างของประชาธิปไตยในเอเธนส์มาใช้ แต่ก็แบ่งการเลือกตั้งตามชนชั้นและสร้างระบบที่อภิสิทธิ์กับคนร่ำรวย” ดิกสันกล่าว
แทนที่จะลงคะแนนเสียงในสภาขนาดใหญ่แห่งเดียวเช่นเอเธนส์ ทว่าชาวโรมันกลับมี 3 สภา สำหรับสภาแรกเรียกว่า ‘สภาราษฎร / สภาเซนจูรี่ หรือสภาร้อยคน (The Centuriate Assembly) ซึ่งรับผิดชอบในการประกาศสงคราม ประกอบด้วยกงสุล ขุนนางผู้ปกครอง และเซ็นเซอร์ หรือผู้พิพากษา
การลงคะแนนเสียงในสภาราษฎรนั้นจะเริ่มต้นด้วยชนชั้นที่ร่ำรวยที่สุด และการนับคะแนนเสียงจะหยุดลงทันทีที่ได้เสียงข้างมากจากสมาชิกทั้งหมด 193 คน ดังนั้นหากคนรวยทุกคนต้องการให้มีการผ่านร่างกฎหมาย หรือเลือกกงสุลคนใดคนหนึ่ง พวกเขาก็สามารถลงคะแนนเสียงแบบบล็อค (ผู้มีสิทธิเลือกตั้งกลุ่มหนึ่งสามารถบังคับให้ระบบเลือกเฉพาะผู้สมัครที่ต้องการได้) ซึ่งอภิสิทธิ์นี้ในภาษาละตินเรียกว่า ‘praerogativa’ (แปลว่า ‘ขอความเห็นก่อนผู้อื่น’)
ส่วนอีก 2 สภาโรมัน ได้แก่ สภาเผ่าพันธุ์และสภาเพลเบียน (Plebeian) สำหรับลำดับการลงคะแนนเสียงถูกกำหนดโดยการ ‘จับสลากชนเผ่า’
อย่างไรก็ดี สิทธิ์ในการเลือกตั้งทั้งในเอเธนส์และโรมไม่ได้ขึ้นอยู่กับสายเลือดหรือเชื้อชาติ แต่ขึ้นอยู่กับพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่พวกเขาอาศัยอยู่ ด้วยระบบที่เป็นเช่นนี้สภาเผ่าพันธุ์จึงทำหน้าที่คล้ายกับวุฒิสภาสหรัฐฯ ซึ่งแต่ละรัฐจะมีตัวแทนที่มีศักดิ์เท่าเทียมกัน
แทนที่จะลงคะแนนเสียงในสภาขนาดใหญ่แห่งเดียวเช่นเอเธนส์ ทว่าชาวโรมันกลับมี 3 สภา สำหรับสภาแรกเรียกว่า ‘สภาราษฎร / สภาเซนจูรี่ หรือสภาร้อยคน (The Centuriate Assembly) ซึ่งรับผิดชอบในการประกาศสงคราม ประกอบด้วยกงสุล ขุนนางผู้ปกครอง และเซ็นเซอร์ หรือผู้พิพากษา
การลงคะแนนเสียงในสภาราษฎรนั้นจะเริ่มต้นด้วยชนชั้นที่ร่ำรวยที่สุด และการนับคะแนนเสียงจะหยุดลงทันทีที่ได้เสียงข้างมากจากสมาชิกทั้งหมด 193 คน ดังนั้นหากคนรวยทุกคนต้องการให้มีการผ่านร่างกฎหมาย หรือเลือกกงสุลคนใดคนหนึ่ง พวกเขาก็สามารถลงคะแนนเสียงแบบบล็อค (ผู้มีสิทธิเลือกตั้งกลุ่มหนึ่งสามารถบังคับให้ระบบเลือกเฉพาะผู้สมัครที่ต้องการได้) ซึ่งอภิสิทธิ์นี้ในภาษาละตินเรียกว่า ‘praerogativa’ (แปลว่า ‘ขอความเห็นก่อนผู้อื่น’)
ส่วนอีก 2 สภาโรมัน ได้แก่ สภาเผ่าพันธุ์และสภาเพลเบียน (Plebeian) สำหรับลำดับการลงคะแนนเสียงถูกกำหนดโดยการ ‘จับสลากชนเผ่า’
อย่างไรก็ดี สิทธิ์ในการเลือกตั้งทั้งในเอเธนส์และโรมไม่ได้ขึ้นอยู่กับสายเลือดหรือเชื้อชาติ แต่ขึ้นอยู่กับพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่พวกเขาอาศัยอยู่ ด้วยระบบที่เป็นเช่นนี้สภาเผ่าพันธุ์จึงทำหน้าที่คล้ายกับวุฒิสภาสหรัฐฯ ซึ่งแต่ละรัฐจะมีตัวแทนที่มีศักดิ์เท่าเทียมกัน
การลงคะแนนเสียงแบบ ‘ลับๆ’ ในสาธารณรัฐโรมัน

บางแง่มุมของการเลือกตั้งในสาธารณรัฐโรมันยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้ การลงคะแนนเสียงในสภานั้นเริ่มต้นเหมือนต้นแบบอย่างกรุงเอเธนส์ โดยสมาชิกแต่ละคนในสภาจะยกมือขึ้นและลงคะแนนเสียงกันอย่างเปิดเผย แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็เห็นได้ชัดว่า ‘ผู้สนับสนุน’ ที่ฐานะมั่งคั่งกำลังกดดันสมาชิกสภาโรมันให้ลงคะแนนเสียง ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนั้นการลงคะแนนจึงต้องเป็น ‘ความลับ’
ในปี 139 ก่อนคริสต์ศักราช โรมได้เปิดตัวบัตรลงคะแนนลับรูปแบบใหม่ “มันเป็นแผ่นไม้ที่มีแผ่นขี้ผึ้งอยู่ด้านนอก ผู้ลงคะแนนจะต้องเขียนคะแนนของตัวเองบนแผ่นขี้ผึ้งแล้วหย่อนทั้งแผ่นลงในกล่องลงคะแนน ซึ่งชนชั้นสูงมีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะพวกเขาสูญเสียการควบคุมบางส่วนไป” โรบินสันกล่าวทิ้งท้าย
ในปี 139 ก่อนคริสต์ศักราช โรมได้เปิดตัวบัตรลงคะแนนลับรูปแบบใหม่ “มันเป็นแผ่นไม้ที่มีแผ่นขี้ผึ้งอยู่ด้านนอก ผู้ลงคะแนนจะต้องเขียนคะแนนของตัวเองบนแผ่นขี้ผึ้งแล้วหย่อนทั้งแผ่นลงในกล่องลงคะแนน ซึ่งชนชั้นสูงมีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะพวกเขาสูญเสียการควบคุมบางส่วนไป” โรบินสันกล่าวทิ้งท้าย
